วันอาทิตย์, สิงหาคม 14, 2565

ชวนฟัง ‘Freedom of speech must be absolute’ จาก ซัลมาน รัชดี นักเขียนผู้ถูกตั้งค่าหัว


Watch Salman Rushdie speaking on the need for free expression
Rushdie, who has faced death threats for his 1988 novel ‘The Satanic Verses’, was stabbed in the abdomen and neck at an event in the US
......

way magazine
14h

ซัลมาน รัชดี: นักเขียนผู้ถูกตั้งค่าหัว
ความน่าหวาดกลัวจากความคิดสุดโต่ง
ปากกาทรงพลังกว่าอาวุธ คำกล่าวทรงพลังในหน้าประวัติศาสตร์อาจลืมนึกไปว่า บางครั้งอาวุธก็ถูกใช้กับมือที่ถือปากกาเช่นกัน ตัวอย่างสำคัญในขณะนี้คือความพยายามลอบสังหาร ซัลมาน รัชดี นักเขียนนิยายชื่อดัง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2022 ในงานกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองชาโตกัว (Chautauqua) มลรัฐนิวยอร์ก ที่ผ่านมา
แม้ขณะนี้สื่อหลายแห่งยังไม่ทราบอาการที่แน่ชัดหลังรัชดีถูกแทงด้วยมีด แต่หากมองย้อนกลับในจะพบว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีความพยายามลอบสังหาร นักเขียนผู้นี้จำเป็นต้องใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ มาตั้งแต่ปี 1988 และมีการตั้งค่าหัวของเขาเป็นเงินปริมาณมหาศาลจากผู้นำสูงสุดของอิหร่านอีกด้วย
ดูเหมือนว่าทิศทางของความคิดสร้างสรรค์และเสรีภาพในการพูดนั้นถูกสั่นคลอนอยู่เรื่อยๆ หากย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของงานเขียนที่ส่งผลให้ชีวิตรัชดีต้องไปยืนอยู่บนเส้นแบ่งของชีวิตและความตายเช่นนี้ นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าว
• ว่าด้วยศาสนาและการวิพากษ์ หนังสือเล่มแรกที่ทำให้เขาต้องหลบซ่อน
รัชดีเกิดที่อินเดียแต่ไปศึกษาต่อยังอังกฤษ เมื่อมีความฝันที่จะเป็นนักเขียนก็ทำให้นิยายเล่มแรกของเขาลืมตาดูโลกในปี 1975 ทว่าเรื่อง Grimus กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนต้องรอถึงปี 1981 ที่เขาแต่งนิยายเล่มที่สองชื่อ Midnight’s Children ขึ้นจนเป็นที่รู้จักในสังคม และได้รางวัล Booker Prize ในปี 1981 ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายเล่มที่ดีที่สุดในหมู่เล่มที่ได้รับรางวัล โดยเนื้อเรื่องเล่าถึงเด็กอินเดียคนหนึ่งที่เกิดมีพลังวิเศษขึ้นมาในคืนที่อินเดียกำลังสร้างรัฐชาติขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับงานชิ้นที่สามของเขา ‘Shame’ ในปี 1983 ที่เล่าถึงความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและฮินดูในปากีสถาน
ในปี 1988 เขาได้เขียนงานที่จะส่งผลระยะยาวตลอดชีวิตของเขาออกมา นั่นคือ ‘The Satanic Veres’ ประกอบด้วยเรื่องเล่าหลายเรื่อง โดยหนึ่งในนั้นเล่าเรื่องของตัวเอกสองคนผู้กำลังเดินทางจากอินเดียไปอังกฤษ ทว่าเครื่องบินกลับตกลงบริเวณช่องแคบอังกฤษและเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาหลังรอดชีวิต ตัวเอกคนหนึ่งมีอัตลักษณ์แบบเทวดา ‘กาเบรียล’ ขณะที่อีกคนกลับมีอัตลักษณ์เป็นปีศาจ ซึ่งทำให้ทั้งสองต้องเจอกับความวุ่นวายด้านกฎหมายคนเข้าเมืองที่มองพวกเขาเป็นคนต่างด้าว ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาวะทางจิตที่ถดถอย
อย่างไรก็ตาม การใช้ชื่อเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับคัมภีร์กุรอาน และเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นอย่างมาก ทำให้ชุมชนมุสลิมหลายแห่งทั่วโลกไม่พอใจ ถึงขนาดที่ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน อายะตุลลอฮ์ โคมัยนี (Ayatollah Khomeini) ตั้งค่าหัวเขาผ่านสถานีวิทยุเตหะราน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1989 จนทำให้เขาต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อนในความดูแลของตำรวจไปอีกหลายปี รวมถึงยังเป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยที่ทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรและอิหร่านขาดสะบั้นลงในช่วงปี 1989 อีกด้วย
• หนังสือที่ถูกต่อต้าน สู่การเผาตำรา พยายามฆ่าผู้เกี่ยวข้อง
มีประเทศในโลกนี้ประมาณ 13 แห่งที่แบนหนังสือ The Satanic Veres ของรัชดี ซึ่งรัชดีก็ได้ออกมาตอบโต้ในปี 1989 จากบทสัมภาษณ์ใน The Observer ว่า “หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือต่อต้านศาสนา แต่เขียนถึงผู้ลี้ภัย ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น”
หลังจากนั้น ร้านหนังสือที่มีผลงานของรัชดีวางขายอยู่ต่างถูกวางเพลิง ขณะเดียวกันในหลายประเทศมุสลิมทั่วโลกก็จัดการเดินขบวนประท้วงเผาหนังสือเล่มนี้ เกิดความรุนแรงจากการเดินขบวนตามจุดต่างๆ ประปราย ที่สำคัญที่สุดคือมีการโจมตีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ The Satanic Veres จนบาดเจ็บ เช่น ฮิโตชิ อิงาราชิ (Hitoshi Igarashi) ผู้แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น ถูกแทงหลายแผลจนเสียชีวิตที่มหาวิทยาลัยสึกุบะ (University of Tsukuba) ปี 1991 และ เอตโตเร คาปริโอโล (Ettore Capriolo) นักแปลชาวอิตาลี ก็ถูกจู่โจมด้วยมืดในลักษณะเดียวกัน แต่เขารอดชีวิต
สำนักข่าว BBC รายงานว่า ค่าหัวในการสังหารรัชดีถูกยกเลิกโดยรัฐบาลอิหร่านอย่างเป็นทางหารในปี 1998 แต่ก็ยังคงไม่สามารถยุติความโกรธแค้นของมุสลิมหลายคนทั่วโลกได้ ทำให้เขายังคงค้องหลบซ่อนและระมัดระวังต่อไปอีกหลายปี
• การลอบสังหารในวันที่ 12 สิงหาคม 2022
ขณะที่กำลังกล่าวสุนทรพจน์อยู่ที่สถาบันชาโตกัว (Chautauqua Institution) มลรัฐนิวยอร์ก ผู้ต้องหาวิ่งขึ้นไปบนเวทีและแทงรัชดีหลายครั้ง ปัจจุบันตัวแทนของรัชดีระบุว่า เขาอาจจะต้องสูญเสียดวงตาหนึ่งข้าง เส้นประสาทที่ท่อนแขนบาดเจ็บสาหัส และตับได้รับความเสียหายจากการแทง อาการโดยรวมตอนนี้ยังสรุปไม่ได้ว่านายรัชดีจะเป็นอย่างไรต่อ
ตำรวจจับกุมผู้ต้องสงสัยได้คือ ฮาดิ มาทาร์ (Hadi Matar) วัย 24 ปี จากมลรัฐนิวเจอร์ซีย์ แต่ก็ยังไม่ทราบแรงจูงใจที่แน่ชัดหรือมีการตั้งข้อหาแต่อย่างใด ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังขอหมายศาลเพื่อตรวจสอบกระเป๋าเป้ของมาทาร์พร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิดที่ถูกพบในอาคารที่เกิดเหตุ คาดหมายว่าจะค้นหาความจริงในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
ไม่ใช่แค่รัชดีที่ได้รับบาดเจ็บ แต่พิธีกรร่วมเวทีอย่างเฮนรี รีส (Henry Reese) เองก็ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยที่ศีรษะ และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรีสเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนองค์การไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อมอบพื้นที่พักพิงให้แก่บรรดานักเขียนลี้ภัย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ยิ่งย้ำเตือนสิ่งที่เขาทำมากยิ่งขึ้นว่าสำคัญแค่ไหน
การโจมตีในงานดังกล่าวถูกหยุดลงด้วยเจ้าหน้าที่ในงานและผู้ร่วมงาน ที่ตรงไปยังผู้โจมตีแล้วจัดการกดเขาลงกับพื้น มิเช่นนั้นความเสียหายอาจจะมีมากกว่านี้ โดยต้องใช้คนถึง 5 คนในการจัดการผู้ต้องสงสัยลง การสืบสวนผู้ต้องสงสัยรายนี้จึงยังคงเป็นที่น่าติดตามต่อไป
ซัลมาน รัชดี ถือเป็นผู้มีคุณูปการสำคัญต่อวงการวรรณกรรมคนหนึ่ง เป็นผู้สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก และฝากผลงานไว้มากมายในโลกวรรณกรรม อย่างไรก็ตาม เขากลับต้องจ่ายสิ่งที่ได้มาด้วยราคาที่แพงกว่าที่ควร และยิ่งย้ำเตือนถึงความไม่ปลอดภัยของการแสดงออกในโลกปัจจุบันมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา
ที่มา:
- Who is Salman Rushdie? The writer who emerged from hiding https://www.bbc.co.uk/news/entertainment-arts-62523259
- Salman Rushdie: Author on ventilator and unable to speak, agent says https://www.bbc.co.uk/news/world-us-canada-62528689
---
text: ภูภุช กนิษฐชาต
.....

Pinchy Lekpetch
21h

ตัวแทนซัลมัน รัชดี แจ้งความคืบหน้าอาการจากการโดนคนร้ายแทงที่คอ ขณะบรรยายใน Chautauqua Institution
รัชดียังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ พูดไม่ได้ อาจจะสูญเสียดวงตาหนึ่งข้าง เส้นประสาทแขนขาด มีแผลถูกแทงที่ตับและเสียหาย
คนร้ายวิ่งเข้ามาจากด้านข้างเวที พิธีกรได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
ตำรวจรวบตัวคนร้ายได้ในที่เกิดเหตุ (ตามข่าวอ้างว่าเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลอิหร่าน)
Hadi Matar อายุ 24 ปี จากนิวเจอร์ซีย์
รัชดีถูกขู่ฆ่าและลอบทำร้ายหลายครั้ง ถูกตั้งค่าหัว นับตั้งแต่ออกหนังสือ The Satanic Verses เมื่อ 34 ปีที่แล้วจนต้องขอลี้ภัยอาศัยในอังกฤษและต้องย้ายที่อยู่บ่อย ๆ
ในงาน PEN World Voices Festival. รัชดีเคยบรรยายว่า
“A poem cannot stop a bullet. A novel can’t defuse a bomb … But we are not helpless … We can sing the truth & name the liars.
ขอให้ปลอดภัย