วันพุธ, สิงหาคม 03, 2565

สะพานกลับรถถล่มไม่มีใครต้องรับผิดชอบเหรอ? วัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด และกระบวนการสร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิด มีอยู่ทุกวงการ


อุบัติเหตุสะพานกลับรถถล่มใครต้องรับผิดชอบ ? ภาพจาก บีบีซี

Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
21h

มีกี่ประเทศในโลกที่ “แผ่นปูนสะพานหล่นทับคนตาย” จะถูก “ผู้เชี่ยวชาญ” ตีความว่าเป็น “เหตุสุดวิสัย” ซึ่งแปลว่า “ไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ”
#แถยังกะแผ่นปูนตกเป็นภัยธรรมชาติ
#ต่ำตมทุกวงการ

สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
Yesterday
วิศวกรรมสถานฯ ตรวจจุดแผ่นปูนสะพานกลับรถถล่ม พบ แผ่นเหล็กเสื่อมสภาพ เกิดเหตุขณะเตรียมการซ่อมบำรุงที่ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอน เป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความประมาท
รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทีมงานด้านวิศวกรรม ขึ้นไปตรวจสอบด้านบนสะพานกลับรถ หน้าโรงพยาบาลวิภาราม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร ที่พังถล่มลงมาเมื่อคืนวันที่ 31 กค.ที่ผ่านมา
พบว่า ชิ้นส่วนที่หลุดหล่นลงมานั้น เป็นลักษณะแท่นปูนคล้ายกับแบริเออร์ เพื่อป้องกันผู้ใช้สะพานกลับรถ ไม่ให้หลุดถนนหล่นลงมา
สะพานกลับรถนี้มีอายุการใช้งานมานานกว่า 30 ปี และเคยเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน อาจจะมีผลกระทบทำให้ ‘แผ่นเหล็ก’ ที่ใช้ในการเชื่อมแท่งปูนกับผิวคอนกรีตของสะพานเสียหาย และเสื่อมสภาพ แต่ตัวโครงสร้างยังมีความแข็งแรงไม่ได้รับผลกระทบ
รศ.สิริวัฒน์ กล่าวว่า จากการสอบถามทีมช่าง ทราบว่า ขณะเกิดเหตุอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานปกติ และเป็นความตั้งใจดีของกรมทางหลวง ที่ต้องการบูรณะซ่อมแซมสะพานกลับรถ ซึ่งดูจากรายงาน ก็เป็นการถอดเฉพาะส่วนที่ชำรุดเสียหายออกไปทำการซ่อมแซม เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมทุกอย่าง
เมื่อถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นความประมาทหรือไม่ รศ.สิริวัฒน์ บอกว่า ไม่อยากให้มองเป็นเรื่องความประมาทของวิศวกร เป็นเหตุสุดวิสัย เพราะขณะซ่อมบำรุง ทีมช่างกำลังเตรียมที่จะปิดถนน ไม่ให้รถสัญจรผ่านไปมา แต่มาเกิดเหตุเสียก่อน

Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
20h
ชวนอ่าน
วิศวกรรมสถานฯ ไม่น่าด่วนสรุปว่า กรณีนี้รื้อถอน “ถูกต้องตามขั้นตอน” เลยนะคะ ยังไม่ต้องพูดถึงการใช้คำว่า “เหตุสุดวิสัย” อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะออกมาจากปากผู้แทนองค์กรวิชาชีพในปี 2022


รศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี
Yesterday

EP.380 ว่าด้วยการรื้อถอนซ่อมแซมปรับปรุงโครงสร้าง กรณีศึกษา คาน Girder สะพานกลับรถ พระราม 2 หล่นลงมา(คหสต.และเพื่อการศึกษาเท่านั้น **ต้องกราบขออภัยที่กล่าวถึงกรณีศึกษานี้…**)
**ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต(RIP) เราคงเคยได้ยินหลักการว่า “การรื้อถอนก็คล้ายกับการย้อนกลับของวิธีการก่อสร้าง(Reverse method in construction) เช่น ตอนก่อสร้าง เสา คาน พื้น ตอนรื้อก็ควร พื้น คาน เสา ประมาณนี้” ก็ยังพอใช้ได้ แต่ถ้าต้องการรื้อที่พิเศษ เช่น ตัดเสา โดยอาคารยังใช้งานอยู่ ทำได้แต่ต้องมีอะไรเสริมพิเศษ และ ต้องคิดถึงพฤติกรรมอันนี้สำคัญ
**(เพิ่มเติม)กรณีนี้มีลักษณะเป็นการ Renovate จะเปลี่ยนแค่พื้น แต่ก็คงต้องดูพฤติกรรม ถ้าจะไม่รื้อแผงซึ่งหนัก ก็ต้องมีแรงมาชดเชยส่วนที่พื้นได้ถูกตัดไป ให้เกิดความแข็งแรง สมดุลไม่ล้มคว่ำ(ในรูปแรกดูเหมือนมีการยึดรั้งระหว่าง Girder แต่ถ้ายึดรั้งตัวที่หล่น คงต้องจัดหนักกว่านี้มาก)
**กรณีศึกษานี้ เป็นไปตามที่ อธิบายผ่านรูป คือ ตามหลักคิดนี้ การไปรื้อปลดพื้นหรือส่วนอื่นๆที่รั้ง ทำให้น้ำหนักของพื้นส่วนโค้งและแผงกันตก(หมุนตามเข็ม แกน X) มากกว่าแรงต้าน ซึ่งหายหมดหรือน้อยมาก เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เสียสมดุล จนมาสมดุลที่พื้นจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่น่าเกิด
**ถ้าเราใช้หลักคิดข้างต้น อย่างน้อยควรเพิ่มการยึดรั้งหรือรื้อแผงกันตกก่อน(อาจคิดว่าช่วยป้องกันเศษทางด้านข้างก็เป็นได้)แล้วค่อยรื้อพื้นตาม แต่…รื้อพื้นก่อน แผงกันตกหนักด้วยถ่วงให้คว่ำ ซึ่งพฤติกรรมไม่เหมือนตอนที่สร้าง ลองคิดดู น่าจะมีประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจในการรื้อถอนปรับปรุงซ่อมแซมโครงการอื่นๆครับ
Cr: ภาพจากสำนักข่าวฯ..

Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
19h
สะพานหล่นเพราะพายุไต้ฝุ่นเข้า แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่แรงเป็นประวัติการณ์ = เหตุสุดวิสัย
สะพานหล่นระหว่างการซ่อมแซม = ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
สะพานหล่นระหว่างการซ่อมแซมและมีคนตาย = ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต
พูดอีกเป็นครั้งที่หลายสิบว่า ระบอบอุปถัมภ์สุดขีด + อำนาจนิยมสุดขั้ว = ภาวะลอยนวลพ้นผิด ในทุกระดับทุกวงการของสังคมค่ะ

Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
18h
ปัญหาเกิด - บอกเราว่าเกิดปัญหา
ปฏิกิริยา ท่าทีของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ - บอกเราว่าปัญหาน่าจะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังหรือไม่ มีแนวโน้มที่จะเกิดซ้ำในอนาคตแค่ไหน
#ต่ำตมทุกวงการ
.....