Chava Lin
21h
ถึงจะเคยฟังมาก่อน ถึงจะมีโอกาสได้นั่งฟังอยู่ในห้องนั้นด้วย แต่พอได้อ่านเรื่องนี้อีกครั้งก็ยังเสียน้ำตา ...
#ปวีณ in Sydney
ลักพาตัวแฟนมาเป็น Aussie
21h
ความทรมาน ความโดดเดี่ยว และความภูมิใจ ของคุณปวีณ ในฐานะผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย
∥
มีคนถามคุณปวีณว่า …
“ประสบการณ์ของผู้ลี้ภัย เป็นอย่างไรบ้าง? มีคำแนะนำให้กับผู้ลี้ภัยคนอื่นไหม?”
1- คุณปวีณนั่งเงียบเพื่อใช้ความคิดไปประมาณเกือบ 5 วินาทีและตอบว่า
“วันที่ผมมาที่ออสเตรเลีย เป็นวันที่ผมสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง”
“ในตอนนั้น ผมไม่ทราบถึงนโยบายของผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย ผมคิดแค่ว่าจะทำยังไงเพื่อรักษาชีวิตให้ปลอดภัย และประเทศออสเตรเลีย น่าจะให้สิ่งนั้น (ความปลอดภัย) กับผมได้”
2- ผมนั่งฟังอย่างตั้งใจอยู่หลังห้อง เพราะคิดว่าคุณปวีณคงจะเตรียมคำตอบที่ให้กำลังใจหรือมีคำแนะนำที่ดีให้กับผู้ถามได้ จึงเกริ่นมาแบบนั้น
แต่เมื่อฟังต่อ ผมก็ได้รู้ว่าโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครเลยที่จะรับมือกับการสูญเสียโดยไม่เศร้าโศก
3- “ผู้ลี้ภัย ชีวิตไม่ง่ายครับ การที่สูญเสียทุกสิ่งอย่างและไปเริ่มต้นในที่ใหม่ … ผมยังหาคำแนะนำที่ดีเพื่อปลอบประโลมคนที่สูญเสียไม่ได้ ว่าควรจะพูดอย่างไรดี”
“เพราะมันโกหกไม่ได้ … ผมเป็นผู้ลี้ภั…”
คุณปวีณพักหายใจไปสักครู่ เพราะเขาเริ่มรู้สึกว่าเสียงสั่น
“ผมเป็นผู้ลี้ภัย”
“มันทุกข์ทรมานมากที่ต้องอยู่คนเดียว มันทุกข์ทรมานมากที่ต้องสูญเสีย ผมเข้าใจชีวิตของผู้ลี้ภัยครับ การลี้ภัยคือการได้รับการช่วยเหลือ และส่วนตัวของผม รู้สึกทราบซึ้งใจ (ต่อประเทศออสเตรเลีย) อย่างยิ่ง จนไม่รู้จะขอบคุณอย่างไร”
“การเริ่มต้นใหม่ มันไม่ง่ายเลยครับ …
… ผมเองก็เหลือเวลาอีกไม่มากเท่าไหร่แล้ว”
4- จู่ๆ บรรยากาศในห้องก็เงียบไป
ทุกคนในห้องคงจะคิดเหมือนผมว่า ผ่านมา 7 ปี ผู้ลี้ภัยก็น่าทำใจและพร้อมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้แล้วล่ะ
แต่หลังจากได้ยินคำตอบของคุณปวีณ มันทำให้ผมฉุกคิดได้ว่าบางครั้งพวกเราอาจจะลืมนึกไป ว่าคนที่ย้ายประเทศมาเรียนต่อ มาทำงานต่ออย่างพวกเรา … ย้ายมาเพราะเป็นทางเลือกของเราครับ
สำหรับผู้ลี้ภัย เขาไม่ได้ “ย้ายเพราะเลือก” … แต่เป็นการย้ายเพื่อรักษาชีวิตให้รอด โดยทิ้งทุกสิ่งที่เป็นตัวตนของเขาไว้ข้างหลัง โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะได้เจอกับมันอีกหรือไม่ … ตลอดชีวิต
5- “ถ้าให้พูดจากใจ ผมลำบากจนถึงขนาดที่ว่า ถ้าย้อนเวลากลับไป คงไม่มาแล้วครับ”
คุณปวีณเล่าให้ผมฟังบ่อยๆ ว่า 7 ปีที่ผ่านมา มันเป็นช่วงเวลาที่ว่างเปล่าและโดดเดี่ยว มันเหงาและว้าเหว่
6- เขาต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ต้องปรับตัวกับอากาศติดลบ ต้องพูดภาษาที่ไม่คุ้นเคย ต้องฝึกตัวเองด้วยการอาบน้ำเย็น ต้องอดทนและอดกลั้นกับเพื่อนร่วมงานคนไทยบางคน ที่ไม่สนับสนุนและกลั่นแกล้ง เพียงเพราะเขาเคยเป็นตำรวจ
เขาต้องทำงานทำความสะอาด ทำงานแรงงานในโรงงาน ติดกระดุมเบาะรถยนต์จนมีปัญหากระดูกและต้องพบหมอ เขาต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านทั้งๆ ที่มีบ้านในประเทศไทย
คุณปวีณทำทั้งหมดนี้ในช่วงอายุที่เพื่อนวัยเดียวกันได้อยู่บ้านอุ้มหลาน ได้เจอเพื่อนฝูง ได้เฮฮาหัวเราะ ได้เกษียณและดื่มด่ำกับสิ่งที่ใช้เวลาทั้งชีวิตสั่งสมมา
ผมลองคิดเล่นๆ ว่าหากผมอายุ 60 และผมต้องย้ายไปอยู่ในประเทศที่ไม่รู้จักใคร ไม่มีทรัพย์สิน ไม่มีทุน ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีฐานะ ไม่มีงาน ไม่มีครอบครัว …. ไม่มีอะไรเลย … ผมทำไม่ได้
แต่คุณปวีณทำได้ และเขาทำแบบนี้คนเดียวมาตลอด 7 ปีเต็ม
7- “ผมพยายามจะยืนด้วยขาตัวเองให้ได้ ผมพยายามจะฝึกภาษาอังกฤษให้ได้”
คุณปวีณเล่าต่อหลังจากพักรวบรวมความคิดไปสักครู่
“แต่ทุกวันนี้ … ผมภูมิใจครับ” เขาเริ่มยิ้มและยกมือข้างซ้ายที่วางบนตักมาตลอด ขึ้นมาประคองไมโครโฟน
“ในฐานะผู้ลี้ภัย ผมภูมิใจที่ทำงานเสียภาษี และไม่ต้องใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลียแล้วครับ”
เขาลดไมค์ลง พร้อมกับส่งสายตาไปยังผู้ถาม คล้ายกับจะบอกว่าที่ผ่านมานั้น คงไม่มีคำปลอบใจอะไรที่จะทำให้ 7 ปีของเขามันเจ็บปวดน้อยลงได้เลย
มีแต่ต้องอดทนสู้ สู้เพื่อสร้างชีวิตใหม่เท่านั้น
คนในห้องลุกขึ้นยืนและปรบมือให้คุณปวีณอย่างล้นหลาม ผมเองก็ปรบมือจนเจ็บมือไปหมดแต่มันไม่อยากหยุด มือจะแดงก็ช่างมัน มือจะแตกก็ช่างมัน ในนาทีนี้ ผู้ชายคนนี้ควรจะได้รับรู้ว่าเขาเข้มแข็งขนาดไหน
แด่คุณปวีณ
ไม่ว่าจะกี่ปีต่อจากนี้คุณปวีณจะไม่ต้องอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้วครับ
เพราะมีคนไทยอีกมากมายที่อยากเจอ อยากกอด อยากให้กำลังใจ
ขอบคุณจากใจ ในฐานะคนไทยครับ
เบส
ผมจะทยอยเขียนเรื่องของคุณปวีณไปเรื่อยๆ ครับ เพราะเรื่องของเองของคุณปวีณ ไม่ควรเงียบหายไป
รออ่านกันเรื่อยๆ นะครับ
|||
#ค้ามนุษย์ #ปวีณพงศ์สิรินทร์
**สามารถอ่านเรื่องราวของคุณปวีณในออสเตรเลียได้ที่แฮชแท็ก #ลักพาตัวแฟนมาเจอคุณปวีณ ได้เลยนะครับ ผมจะรวบรวมมาเป็นตอนๆ ให้อ่านได้ง่ายๆ นะครับ
21h
ถึงจะเคยฟังมาก่อน ถึงจะมีโอกาสได้นั่งฟังอยู่ในห้องนั้นด้วย แต่พอได้อ่านเรื่องนี้อีกครั้งก็ยังเสียน้ำตา ...
#ปวีณ in Sydney
ลักพาตัวแฟนมาเป็น Aussie
21h
ความทรมาน ความโดดเดี่ยว และความภูมิใจ ของคุณปวีณ ในฐานะผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย
∥
มีคนถามคุณปวีณว่า …
“ประสบการณ์ของผู้ลี้ภัย เป็นอย่างไรบ้าง? มีคำแนะนำให้กับผู้ลี้ภัยคนอื่นไหม?”
1- คุณปวีณนั่งเงียบเพื่อใช้ความคิดไปประมาณเกือบ 5 วินาทีและตอบว่า
“วันที่ผมมาที่ออสเตรเลีย เป็นวันที่ผมสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง”
“ในตอนนั้น ผมไม่ทราบถึงนโยบายของผู้ลี้ภัยในออสเตรเลีย ผมคิดแค่ว่าจะทำยังไงเพื่อรักษาชีวิตให้ปลอดภัย และประเทศออสเตรเลีย น่าจะให้สิ่งนั้น (ความปลอดภัย) กับผมได้”
2- ผมนั่งฟังอย่างตั้งใจอยู่หลังห้อง เพราะคิดว่าคุณปวีณคงจะเตรียมคำตอบที่ให้กำลังใจหรือมีคำแนะนำที่ดีให้กับผู้ถามได้ จึงเกริ่นมาแบบนั้น
แต่เมื่อฟังต่อ ผมก็ได้รู้ว่าโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครเลยที่จะรับมือกับการสูญเสียโดยไม่เศร้าโศก
3- “ผู้ลี้ภัย ชีวิตไม่ง่ายครับ การที่สูญเสียทุกสิ่งอย่างและไปเริ่มต้นในที่ใหม่ … ผมยังหาคำแนะนำที่ดีเพื่อปลอบประโลมคนที่สูญเสียไม่ได้ ว่าควรจะพูดอย่างไรดี”
“เพราะมันโกหกไม่ได้ … ผมเป็นผู้ลี้ภั…”
คุณปวีณพักหายใจไปสักครู่ เพราะเขาเริ่มรู้สึกว่าเสียงสั่น
“ผมเป็นผู้ลี้ภัย”
“มันทุกข์ทรมานมากที่ต้องอยู่คนเดียว มันทุกข์ทรมานมากที่ต้องสูญเสีย ผมเข้าใจชีวิตของผู้ลี้ภัยครับ การลี้ภัยคือการได้รับการช่วยเหลือ และส่วนตัวของผม รู้สึกทราบซึ้งใจ (ต่อประเทศออสเตรเลีย) อย่างยิ่ง จนไม่รู้จะขอบคุณอย่างไร”
“การเริ่มต้นใหม่ มันไม่ง่ายเลยครับ …
… ผมเองก็เหลือเวลาอีกไม่มากเท่าไหร่แล้ว”
4- จู่ๆ บรรยากาศในห้องก็เงียบไป
ทุกคนในห้องคงจะคิดเหมือนผมว่า ผ่านมา 7 ปี ผู้ลี้ภัยก็น่าทำใจและพร้อมจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้แล้วล่ะ
แต่หลังจากได้ยินคำตอบของคุณปวีณ มันทำให้ผมฉุกคิดได้ว่าบางครั้งพวกเราอาจจะลืมนึกไป ว่าคนที่ย้ายประเทศมาเรียนต่อ มาทำงานต่ออย่างพวกเรา … ย้ายมาเพราะเป็นทางเลือกของเราครับ
สำหรับผู้ลี้ภัย เขาไม่ได้ “ย้ายเพราะเลือก” … แต่เป็นการย้ายเพื่อรักษาชีวิตให้รอด โดยทิ้งทุกสิ่งที่เป็นตัวตนของเขาไว้ข้างหลัง โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะได้เจอกับมันอีกหรือไม่ … ตลอดชีวิต
5- “ถ้าให้พูดจากใจ ผมลำบากจนถึงขนาดที่ว่า ถ้าย้อนเวลากลับไป คงไม่มาแล้วครับ”
คุณปวีณเล่าให้ผมฟังบ่อยๆ ว่า 7 ปีที่ผ่านมา มันเป็นช่วงเวลาที่ว่างเปล่าและโดดเดี่ยว มันเหงาและว้าเหว่
6- เขาต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ ต้องปรับตัวกับอากาศติดลบ ต้องพูดภาษาที่ไม่คุ้นเคย ต้องฝึกตัวเองด้วยการอาบน้ำเย็น ต้องอดทนและอดกลั้นกับเพื่อนร่วมงานคนไทยบางคน ที่ไม่สนับสนุนและกลั่นแกล้ง เพียงเพราะเขาเคยเป็นตำรวจ
เขาต้องทำงานทำความสะอาด ทำงานแรงงานในโรงงาน ติดกระดุมเบาะรถยนต์จนมีปัญหากระดูกและต้องพบหมอ เขาต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่ ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านทั้งๆ ที่มีบ้านในประเทศไทย
คุณปวีณทำทั้งหมดนี้ในช่วงอายุที่เพื่อนวัยเดียวกันได้อยู่บ้านอุ้มหลาน ได้เจอเพื่อนฝูง ได้เฮฮาหัวเราะ ได้เกษียณและดื่มด่ำกับสิ่งที่ใช้เวลาทั้งชีวิตสั่งสมมา
ผมลองคิดเล่นๆ ว่าหากผมอายุ 60 และผมต้องย้ายไปอยู่ในประเทศที่ไม่รู้จักใคร ไม่มีทรัพย์สิน ไม่มีทุน ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ ไม่มีฐานะ ไม่มีงาน ไม่มีครอบครัว …. ไม่มีอะไรเลย … ผมทำไม่ได้
แต่คุณปวีณทำได้ และเขาทำแบบนี้คนเดียวมาตลอด 7 ปีเต็ม
7- “ผมพยายามจะยืนด้วยขาตัวเองให้ได้ ผมพยายามจะฝึกภาษาอังกฤษให้ได้”
คุณปวีณเล่าต่อหลังจากพักรวบรวมความคิดไปสักครู่
“แต่ทุกวันนี้ … ผมภูมิใจครับ” เขาเริ่มยิ้มและยกมือข้างซ้ายที่วางบนตักมาตลอด ขึ้นมาประคองไมโครโฟน
“ในฐานะผู้ลี้ภัย ผมภูมิใจที่ทำงานเสียภาษี และไม่ต้องใช้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลียแล้วครับ”
เขาลดไมค์ลง พร้อมกับส่งสายตาไปยังผู้ถาม คล้ายกับจะบอกว่าที่ผ่านมานั้น คงไม่มีคำปลอบใจอะไรที่จะทำให้ 7 ปีของเขามันเจ็บปวดน้อยลงได้เลย
มีแต่ต้องอดทนสู้ สู้เพื่อสร้างชีวิตใหม่เท่านั้น
คนในห้องลุกขึ้นยืนและปรบมือให้คุณปวีณอย่างล้นหลาม ผมเองก็ปรบมือจนเจ็บมือไปหมดแต่มันไม่อยากหยุด มือจะแดงก็ช่างมัน มือจะแตกก็ช่างมัน ในนาทีนี้ ผู้ชายคนนี้ควรจะได้รับรู้ว่าเขาเข้มแข็งขนาดไหน
แด่คุณปวีณ
ไม่ว่าจะกี่ปีต่อจากนี้คุณปวีณจะไม่ต้องอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้วครับ
เพราะมีคนไทยอีกมากมายที่อยากเจอ อยากกอด อยากให้กำลังใจ
ขอบคุณจากใจ ในฐานะคนไทยครับ
เบส
ผมจะทยอยเขียนเรื่องของคุณปวีณไปเรื่อยๆ ครับ เพราะเรื่องของเองของคุณปวีณ ไม่ควรเงียบหายไป
รออ่านกันเรื่อยๆ นะครับ
|||
#ค้ามนุษย์ #ปวีณพงศ์สิรินทร์
**สามารถอ่านเรื่องราวของคุณปวีณในออสเตรเลียได้ที่แฮชแท็ก #ลักพาตัวแฟนมาเจอคุณปวีณ ได้เลยนะครับ ผมจะรวบรวมมาเป็นตอนๆ ให้อ่านได้ง่ายๆ นะครับ