นานมาแล้ว อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ถือเป็นสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม และพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าถูกใช้เพื่อแสดงพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ จนกระทั่งย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรก็ได้เปลี่ยนความหมายของพื้นที่นี้ไปอย่างสิ้นเชิง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย ลานพระบรมรูปทรงม้าคือพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้คนทุกกลุ่มเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างอิสระ ไม่ว่างานพระราชพิธี รัฐพิธี งานเฉลิมฉลองทั่วไป ตลอดจนชุมนุมทางการเมือง ล้วนถูกจัดขึ้นในพื้นที่เดียวกัน กลายเป็นสีสันแต่งแต้มให้ลานพระบรมรูปทรงม้าเต็มไปด้วยความหลากหลายของกิจกรรม และเป็นตัวแทนเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ รัฐ ประชาชน มาวันนี้การเปลี่ยนแปลงมาเยือนลานพระบรมรูปทรงม้าอีกครา เมื่อมีการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าลานพระบรมรูปฯ สร้างแท่งคอนกรีตและรั้วเหล็กกั้นขวางระหว่างประชาชนและอนุสาวรีย์ พร้อมด้วยมาตรการจำกัดการเข้าใช้พื้นที่ กำหนดเวลาเข้าออก และห้ามจัดกิจกรรมทางการเมือง กว่าร้อยปีที่ผ่านมา ลานพระบรมรูปทรงม้าอยู่ในสถานะที่ไม่เคยตัดขาดจากประชาชน กระนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลง ณ วันนี้กำลังสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งใด 101 Documentary ชวนค้นหาคำตอบใน Public | Space ไพร่ ฟ้า ม้า ลาน
...
พระบรมรูปทรงม้า : พื้นที่แห่งความทรงจำและอำนาจร่วมกันของกษัตริย์ รัฐ ประชาชน ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’
พระบรมรูปทรงม้า : พื้นที่แห่งความทรงจำและอำนาจร่วมกันของกษัตริย์ รัฐ ประชาชน ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’
ที่มา 1O1
25 Jun 2021
บนหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ลานพระราชวังดุสิต หรือที่คุ้นหูกันในชื่อลานพระบรมรูปทรงม้า คือสถานที่ที่อัดแน่นไปด้วยความทรงจำอันหลากหลายของผู้คน
ทั้งความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรในฐานะพื้นที่ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฝังหมุดเป็นอนุสรณ์ และจัดงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอีกหลายปีถัดจากนั้น ความทรงจำเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐ ผ่านพระราชพิธี รัฐพิธีสำคัญ การวางพวงมาลาสักการะพระปิยมหาราชทุกวันที่ 23 ตุลาคม และเหตุการณ์เสด็จออกมหาสมาคมของรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีมวลชนเฝ้าชื่นชมพระเกียรติจนเต็มลาน
ผสานรวมกับความทรงจำของประชาชน ที่เข้ามาใช้พื้นที่ชุมนุมทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง กระทั่งกำความหวังและดอกกุหลาบมาขอพรเสด็จพ่อ ร.5 หลายต่อหลายหน ทั้งหมดนี้ทำให้ลานพระบรมรูปทรงม้ากลายเป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะสำคัญของไทย ซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ รัฐ ประชาชนไว้ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แต่บัดนี้ ความทรงจำที่เรามีร่วมกันต่อพื้นที่แห่งนั้นกำลังจะถูกเขียนขึ้นใหม่ให้ต่างไปจากเดิม เมื่อลานอเนกประสงค์ของคนทุกกลุ่มเกิดแนวรั้วกั้น ถูกสั่งห้ามจัดกิจกรรมทางการเมือง พร้อมตั้งเงื่อนไขเข้าถึงเป็นเวลา
ภาพของพระบรมรูปทรงม้าที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปส่อเค้าลางถึงอะไร? 101 สนทนากับ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อหาคำตอบนั้น ผ่านการย้อนมองเรื่องราวในอดีตจากจุดเริ่มต้นของพระบรมรูปทรงม้าในสมัยรัชกาลที่ 5 สัญญะอำนาจและคุณค่าต่อสังคมไทย ไปจนถึงนิยามและความสำคัญของพื้นที่สาธารณะต่อความเป็นประชาธิปไตย
พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะการเมืองไทย
พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีอายุกว่าร้อยปี เป็นพื้นที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญหลายครั้ง ทั้งเป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมือง จัดรัฐพิธีสำคัญของชาติ และทำพระราชพิธีต่างๆ เป็นประจำ ในทัศนะของผมพื้นที่นี้จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญแห่งแรกๆ ในสังคมไทยทีเดียว
สำหรับผม ‘พื้นที่สาธารณะ’ (public space) ที่แท้จริงเกิดขึ้นหลัง 2475 หรือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่พูดแบบนี้เพราะการมีพื้นที่โล่งๆ ที่คนสามารถเดินเข้าไปใช้สอยได้เฉยๆ ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ มาตรวัดสำคัญในการเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างหนึ่งคือต้องดูว่าใครเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น พื้นที่สาธารณะที่แท้จริงประชาชนทุกคนคือเจ้าของพื้นที่ โดยมีรัฐเป็นผู้ดูแลจัดการพื้นที่ในนามของประชาชน
ก่อน 2475 พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าถูกใช้ทำพระราชพิธีต่างๆ ใช้เดินสวนสนามของรัฐ ในลักษณะที่ในทางวิชาการอาจนิยามว่าจะมีสถานะเป็น ‘พื้นที่กึ่งสาธารณะ’ (quasi-public space) ที่แม้เปิดให้คนทั่วไปใช้สอยได้ แต่เจ้าของพื้นที่มิใช่ประชาชน
แต่หลัง 2475 เป็นต้นมา เช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พื้นที่นี้กลายเป็นสถานที่รวมพลของกลุ่มคณะราษฎรเพื่อประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่ปรากฏบนพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พื้นที่นี้เริ่มเปลี่ยนมาสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง
หลังจากนั้นมาก็มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมของประชาชน เกิดการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง เช่น ในปี 2500 มีการชุมนุมเพื่อประท้วงการเลือกตั้งสกปรก ปี 2519 มีชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านเพื่อต่อต้านกลุ่มนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อยคือการชุมนุมเหตุการณ์พฤษภา 2535 เรามักเห็นภาพฝูงชนบริเวณถนนราชดำเนิน แต่จริงๆ แล้ว ลานพระบรมรูปทรงม้าก็เป็นสถานที่ชุมนุมอีกแห่งที่สำคัญ ต่อมาในยุคใกล้ปัจจุบัน ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรปี 2549 (ที่นำมาสู่การรัฐประหาร 2549) การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรปี 2551 แล้วก็กลุ่ม นปช. กปปส. ทั้งหมดนี้ได้ทำให้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีสถานะเป็นพื้นที่ชุมนุมทางการเมืองสำคัญในระดับที่ไม่ต่างกันมากนักกับสนามหลวง
แล้วอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ที่เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ลักษณะตามแบบตะวันตก มีนัยสำคัญในแง่การเมืองไทยอย่างไรบ้าง
ในทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ถือว่าเป็นอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลที่ตั้งอยู่ในที่สาธารณะเป็นแห่งแรกของไทย แม้การสร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลจะมีมาก่อนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่ก็ตั้งอยู่ในที่ส่วนตัว เช่น ในพระราชวัง หรืออาคารที่ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ พระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลจริงที่ตั้งในที่สาธารณะ เปิดโล่ง เห็นได้โดยคนทั่วไป
อนุสาวรีย์แห่งนี้ รัชกาลที่ 5 ได้รับแรงบันดาลใจจากอนุสาวรีย์กษัตริย์ทรงม้าซึ่งได้รับความนิยมในยุโรปช่วงเวลานั้น แรงบันดาลใจนี้ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะอนุสาวรีย์ลักษณะนี้ในยุโรปคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ใน ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ (Absolute Monarchy) ซึ่งเป็นโมเดลทางการเมืองให้รัชกาลที่ 5 นำมาใช้ปฏิรูปการปกครองสยามในทศวรรษ 2430 เปลี่ยนสยามจาก ‘รัฐแบบจารีต’ มาสู่ ‘รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ เพราะฉะนั้น ตัวพระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นวัตถุสัญลักษณ์ชิ้นหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามด้วย
การสร้างอนุสาวรีย์กษัตริย์ในที่สาธารณะถือเป็นหนึ่งในพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ด้วยไหม เหตุใดพระองค์จึงตั้งใจเช่นนั้น
เราไม่มีหลักฐานชัดเจนนักเกี่ยวกับเหตุผลจริงๆ ของรัชกาลที่ 5 เท่าที่มีตอนนี้เป็นเพียงหลักฐานที่พูดถึงภายหลังการตัดสินใจที่จะสร้างแล้ว ดังนั้นหลักฐานเรื่องความตั้งใจลึกๆ ของพระองค์คงตอบยาก แต่ถ้าพิจารณาจากบริบทที่เกี่ยวข้อง ผมคิดว่ารัชกาลที่ 5 คงได้โมเดลจากกษัตริย์ในยุโรปที่นิยมสร้างอนุสาวรีย์ในรูปแบบนี้ที่กำลังขี่ม้าและมักตั้งอยู่บริเวณลานหน้าพระราชวังหรือโบสถ์สำคัญของเมือง รัชกาลที่ 5 คงได้รับแรงบันดาลใจแบบนั้นมา และเมื่อตัดสินใจจะสร้างวังสวนดุสิตที่ก็มีโมเดลเหมือนพระราชวังของกษัตริย์ยุโรปในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน จึงไม่แปลกที่พื้นที่ด้านหน้าท้องพระโรง (พระที่นั่งอนันตสมาคม) ซึ่งเป็นลานกว้างโล่งยาว จึงควรมีอนุสาวรีย์กษัตริย์ทรงม้าเหมือนยุโรปตั้งประดับด้วยเช่นเดียวกัน
การมีรูปปั้นเช่นนี้ตั้งในพื้นที่สาธารณะของสังคมไทยสมัยนั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นตาตื่นใจมาก ประชาชนทั่วไปที่แม้ไม่รู้จักไอเดียว่าด้วยการสร้าง ‘ความศิวิไลซ์’ (civilization) หรือ westernization ก็คงตื่นเต้นว่าเป็นของแปลก ส่วนในหมู่ชนชั้นนำสยามก็คงเห็นว่านี่คือมาตรวัดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสยามกำลังก้าวเข้าไปทัดเทียมกับนานาอารยประเทศมากขึ้นอีกก้าวหนึ่ง จากการที่เห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างถนนสมัยใหม่ อาคารราชการสมัยใหม่ สวนสาธารณะแบบใหม่
แต่สมัยก่อนคนไทยถือว่าไม่ควรสร้างรูปเคารพหรืออนุสาวรีย์ตอนที่บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ แล้วการสร้างพระบรมรูปทรงม้าได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมความเชื่อของไทยบ้างไหม
การสร้างพระบรมรูปเหมือนจริงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างขัดกับความเชื่อดั้งเดิมของคนสยาม ในอดีตคนสยามเชื่อว่าการทำรูปเหมือนจริงเป็นสิ่งอัปมงคล ไม่ใช่แค่การทำรูปปั้นเหมือนจริงเท่านั้น ภาพถ่ายก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล แต่รัชกาลที่ 4 เข้ามาปรับเปลี่ยนความเชื่อตรงนี้ ด้วยการถ่ายภาพตนเองเผยแพร่ อีกทั้งยังส่งไปให้กษัตริย์ยุโรปด้วย ทั้งหมดเพื่อแสดงให้เห็นว่าสยามกำลังก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ และควรยกเลิกความเชื่อบางอย่างหรือสิ่งที่แสดงว่าสยามล้าหลัง ซึ่งการถ่ายภาพและการสร้างรูปปั้นเหมือนจริงคือหนึ่งในสัญลักษณ์ของความเป็นสมัยใหม่ดังกล่าว
ถ้าดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าการถ่ายรูปเหมือนจริงของรัชกาลที่ 4 ช่วงแรกๆ ก็มีชนชั้นนำด้วยกันรู้สึกไม่สบายใจ หรือแม้กระทั่งการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของรัชกาลที่ 5 ก็มีคนทักท้วงเช่นกัน ยิ่งหลังจากพระบรมรูปทรงม้าทำพิธีเปิดเมื่อปี 2451 เพียงปีกว่าๆ รัชกาลที่ 5 ก็สวรรคตในปี 2453 ยิ่งทำให้คนหัวโบราณที่ยังเชื่อเรื่องการทำพระบรมรูปเหมือนจริงว่าเป็นสิ่งอัปมงคลยังคงเชื่ออยู่แบบนั้น
โดยสรุปคือ ไม่ว่าภาพถ่ายสมัยใหม่ อนุสาวรีย์เหมือนจริงสมัยใหม่ ล้วนเป็นจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แต่จุดเปลี่ยนนั้นก็ยังไม่ได้กระจายแพร่หลายไปสู่ทุกคน ยังไม่ได้ทำให้เปลี่ยนความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมทั้งหมด
เมื่อเทียบกับพระบรมราชานุสาวรีย์อื่นๆ พระบรมรูปทรงม้าอาจถือได้ว่ามีขนาดเล็กและใกล้เคียงกับคนจริงมากที่สุด การสร้างอนุสาวรีย์กษัตริย์ที่ไม่ใหญ่โตโอ่อ่าเกินไปมีความหมายอะไรแฝงอยู่หรือไม่
พระบรมรูปทรงม้ามีขนาดสองเท่าตัวคน ถือว่าไม่ได้เล็กมากเท่าไหร่ เพียงแต่ตั้งอยู่ในลานขนาดใหญ่เลยอาจทำให้เรารู้สึกว่าเล็ก ผมคิดว่าเรื่องขนาดไม่น่ามีนัยยะพิเศษอะไร นัยยะพิเศษที่น่าสนใจจริงๆ คือต้นแบบทางความคิดของอนุสาวรีย์มากกว่า ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ารัชกาลที่ 5 ได้แรงบันดาลใจมาจากอนุสาวรีย์ขี่ม้าของกษัตริย์คนไหนกันแน่ ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ตั้งอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซาย กับกษัตริย์วิกเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ 2 ที่ตั้งอยู่ในเมืองมิลาน หน้าโบสถ์ดูโอโม ทั้งสองแห่งมีลักษณะขี่ม้าเหมือนกันแต่ท่าทางไม่เหมือนกัน
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้นมีความพิเศษ คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในทางประวัติศาสตร์มีสถานะเป็นเหมือนสัญลักษณ์สำคัญของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป เพราะเป็นผู้สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสและเป็นต้นแบบให้กษัตริย์พระองค์อื่นๆ ในยุโรปด้วย ส่วนพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ 2 ของอิตาลี คือกษัตริย์พระองค์แรกที่รวบรวมชาติอิตาลีเข้าด้วยกันสำเร็จนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เพราะฉะนั้นทั้งสองอนุสาวรีย์จึงเป็นกษัตริย์ที่มีความยิ่งใหญ่และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป ซึ่งรัชกาลที่ 5 ก็เป็นกษัตริย์ที่ต้องการเปลี่ยนรัฐสยามไปเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการเลือกรูปแบบอนุสาวรีย์ทรงม้าในลักษณะใกล้เคียงกันกับทั้ง 2 แห่งที่กล่าวมา (ไม่ว่าข้อเท็จจริงของแรงบันดาลใจจะมาจากแห่งไหนก็ตาม) ผมจึงคิดว่ามีนัยยะบางอย่างทางการเมืองและอุดมการณ์ที่เชื่อมโยงถึงกัน
มีคำกล่าวว่าพระบรมรูปทรงม้าถือเป็นหลักฐานความเคารพรัก ความใกล้ชิดระหว่างประชาชนและพระมหากษัตริย์ คุณมีความเห็นอย่างไร
ทั้งรัชกาลที่ 5 รวมถึงชนชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระบรมรูปทรงม้าในสมัยนั้นมีเป้าประสงค์ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการให้อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ซึ่งกษัตริย์สยามแบบเดิมไม่เคยทำมาก่อน กล่าวคือกษัตริย์สยามในรัฐแบบจารีตมีความห่างเหินกับประชาชนมาก ถ้าใครเคยอ่านพงศาวดารรัชกาลที่ 2 จะเห็นชัด มีการบันทึกไว้ว่าคราวหนึ่งเมื่อมีขบวนเสด็จของกษัตริย์ ตามธรรมเนียมทหารจะสั่งให้ประชาชนทั้งสองข้างทางปิดหน้าต่างและประตู แต่มีหลังหนึ่งแง้มหน้าต่างออกดู ทหารก็ยิงธนูสวนขึ้นไปจนตาบอด เรื่องที่ปรากฏในพงศาวดารแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์แบบรัฐจารีตกับประชาชนว่าเป็นรูปแบบไม่เคยเจอหน้ากัน เรารู้ว่ามีกษัตริย์อยู่ แต่ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไรหรือมีพระราชกรณียกิจอย่างไรที่ชัดเจน
แต่รัชกาลที่ 5 มีเป้าประสงค์ค่อนข้างชัดว่าต้องการเปลี่ยนหรือพัฒนาชุดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นผ่านนโยบายหลายๆ อย่าง พระบรมรูปทรงม้าเป็นหนึ่งในวัตถุสัญลักษณ์ที่พยายามนำเสนอสารนี้ออกมา เห็นได้จากการเรี่ยไรเงินจากประชาชนโดยสมัครใจ นำมาสู่การประกาศว่าอนุสาวรีย์นี้ สร้างด้วยเงินส่วนหนึ่งที่มาจากความรักของประชาชนต่อกษัตริย์ นำมาสู่ภายหลังการสวรรคตที่มีการถวายสมัญญานามใหม่ว่า ‘พระปิยมหาราช’ หรือกษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน รวมถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาที่พระบรมรูปทรงม้าจากหน่วยงานราชการและประชาชนทั้งหลายในวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคต การจัดพระราชพิธีแบบนี้เป็นการสร้างพิธีกรรมให้ประชาชนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับกษัตริย์มากขึ้น และแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกับประชาชน
บริบทสังคมไทยในสมัยนั้นเป็นอย่างไร ทำไมรัชกาลที่ 5 จึงต้องการเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์และประชาชนใหม่
สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนรูปแบบรัฐจากรัฐจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ในแบบเดิมคือสมมติเทพ ในรัฐจารีตที่กษัตริย์มุ่งเน้นประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ เพื่อให้รัฐคงอยู่ได้เป็นปกติสุขโดยอิงกับหลักการทางศาสนา สถานภาพของกษัตริย์แบบนี้ไม่ได้เรียกร้องความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชน มีแค่ความสัมพันธ์กับกลุ่มชนชั้นนำที่ใกล้ชิดแวดล้อมก็เพียงพอแล้ว แต่กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นต่างออกไป กษัตริย์ไม่ได้ดำรงสถานะเป็นกษัตริย์ในเชิงพิธีกรรมมากเท่าในอดีตอีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาทำหน้าที่บริหารประเทศแบบสมัยใหม่โดยตรง ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำฝ่ายบริหาร เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายตุลาการ และเป็นผู้นำในส่วนของนิติบัญญัติไปพร้อมกัน
ภาระหน้าที่ของกษัตริย์สมัยใหม่แบบนี้เรียกร้องความสัมพันธ์แบบใหม่ที่ลงไปถึงประชาชน นโยบายต่างๆ ที่กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ทำจะกระทำในนามของกษัตริย์โดยตรงเหมือนผู้นำรัฐบาล ด้วยระบบของรัฐหรือความสัมพันธ์แบบนี้ไม่สามารถทำให้กษัตริย์อยู่เงียบๆ นิ่งๆ หลังม่าน ไม่มีใครพบเห็นได้ (นอกจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่) อีกต่อไป แต่ต้องมาแสดงตัวเปรียบเสมือนเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องเริ่มเปลี่ยนบทบาทใหม่
เหตุผลข้อที่สองคือในระบอบแบบจารีต กษัตริย์จะมีตัวกลางคือข้าราชการ ขุนนาง เจ้านาย เชื่อมระหว่างประชาชนและกษัตริย์ ระบบแบบนี้ทำให้ขุนนางมีอำนาจมาก ตามประวัติศาสตร์เราจะเห็นว่าขุนนางในรัชกาลที่ 2, 3, 4 มีอำนาจขนาดเลือกได้ว่าใครจะเป็นกษัตริย์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ที่โตมาในระบอบความสัมพันธ์แบบนั้นรู้สึกไม่พอพระทัยอย่างมาก ฉะนั้นการที่รัชกาลที่ 5 พยายามลงมาสัมพันธ์กับประชาชนมากขึ้นก็เพื่อสร้างความชอบธรรมในการตัดตัวกลางอย่างขุนนางออกไป ลดอำนาจของขุนนางลง และเพิ่มอำนาจเข้าสู่กษัตริย์โดยตรง
ถ้ามองว่าพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คือตัวแทนของพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สืบต่อมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 กษัตริย์แต่ละรัชกาลถัดมามีการใช้พื้นที่นี้สนับสนุนพระราชอำนาจตนเองอย่างไร
ภายหลังสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้ว รัชกาลที่ 6 และ 7 ใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในทางการเมืองและกิจกรรมของรัฐเพื่อสนับสนุนอุดมการณ์และพระราชอำนาจของพระองค์ ตัวอย่างเช่น รัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งกองเสือป่าและจัดกิจกรรมของเสือป่าที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและสนามเสือป่าเป็นประจำ กองเสือป่านี้พูดกันอย่างง่ายๆ คือเป็นกองกำลังส่วนพระองค์ ลานบริเวณนี้จึงเหมือนลานแสดงแสนยานุภาพทางทหารของรัชกาลที่ 6 นั่นเอง
อีกกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นในบริเวณนี้คือ งาน expo แบบไทยๆ คล้ายๆ งานกาชาดในปัจจุบัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และขยายตัวขึ้นในรัชกาลที่ 6 ในนาม ‘งานฤดูหนาว’ หรือ ‘งานรื่นเริงฤดูหนาว’ เป็นงานที่ใช้พื้นที่สนามเสือป่าหรือลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่จัดงานหลัก งานดังกล่าวจะมีการออกร้านต่างๆ มากมาย และยังจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้แสดงนโยบายของรัชกาลที่ 6 ให้สาธารณชนเห็น เช่น ในงานรื่นเริงฤดูหนาวปี 2458 ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดแสดงเรือรบจำลองชื่อเรือหลวงสุโขทัย ที่รัชกาลที่ 6 พยายามผลักดันให้มีการซื้อเรือรบลำนี้ ก็ถือว่าเป็นการใช้พื้นที่สนามเสือป่าและลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นเครื่องมือในการประกาศและหาแรงสนับสนุนนโยบายทางการเมืองของพระองค์
พอมาถึงรัชกาลที่ 7 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์คาดว่ามีการใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าจัดพระราชพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ มอบธงชัยเฉลิมพลเป็นครั้งแรกในปี 2470 พิธีดังกล่าวเป็นการถวายสัตย์ปฏิญาณของทหารเหล่าทัพต่างๆ ต่อสถาบันกษัตริย์ จะว่าไปก็เทียบเคียงได้กับพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแบบโบราณ ซึ่งถ้าเป็นรัฐจารีตคงทำในอุโบสถวัดพระแก้ว แต่นี่เป็นรัฐสมัยใหม่ ก็แสดงผ่านการสวนสนาม มอบธง ให้ทหารแสดงความจงรักภักดีในที่สาธารณะต่อสถาบันกษัตริย์ เป็นแนวคิดแบบเดิมแต่ใช้รูปแบบสมัยใหม่บนพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
นอกจากนี้ พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ายังใช้จัดสวนสนามอื่นๆ พระราชพิธีอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นเราอาจพูดได้ว่าตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เรื่อยมาถึงรัชกาลที่ 6 และ 7 มีการใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นฉากของรัฐพิธีและพระราชพิธีเพื่อประกาศสถานภาพและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ให้ปรากฏแก่สาธารณะผ่านกิจกรรมต่างๆ มาโดยตลอด
เราสามารถกล่าวได้ไหมว่ารัชกาลที่ 6 และ 7 เลือกพื้นที่นี้จัดกิจกรรมและพระราชพิธีต่างๆ เพราะต้องการพึ่งพิงหรือเชื่อมโยงพระราชอำนาจของพระองค์เองเข้ากับพระราชอำนาจของรัชกาลที่ 5
ใช่ครับ แน่นอนเลย เพราะรัชกาลที่ 6 และ 7 รวมถึงชนชั้นนำทั้งหมดมีรัชกาลที่ 5 เป็นต้นแบบเลยก็ว่าได้ 42 ปีแห่งการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 แม้ว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย แต่ชนชั้นนำในสยามแทบทุกคนในสมัยนั้นก็มองว่ารัชกาลที่ 5 คือต้นแบบที่กษัตริย์ทุกพระองค์ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เพราะฉะนั้นกิจกรรมทั้งหลายจึงไม่แปลกที่จะย้อนกลับไปอ้างอิงกับรัชกาลที่ 5 ด้วย
แล้วการที่มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เดินสวนสนามของทหาร สามารถมองได้ไหมว่ากองทัพก็ใช้พื้นที่นี้ยึดโยงอำนาจตนเองเข้ากับสถาบันกษัตริย์ด้วย
ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว เพราะก่อน 2475 พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในทัศนะของผม ตามที่บอกไปตอนแรกคือเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่ยังมีเจ้าของคือสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นกิจกรรมบนพื้นที่นั้นเจ้าของต้องอนุญาตเสียก่อน ก่อน 2475 กิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงล้วนแล้วแต่มุ่งแสดงพระราชอำนาจ บารมีของสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก โดยมีทหารรวมถึงประชาชนเข้ามาเป็นองค์ประกอบของฉาก พูดแบบสรุปก็คือ กองทัพสมัยนั้นไม่ได้เป็นผู้เลือกใช้พื้นที่นี้เพื่อยึดโยงอำนาจตนเข้ากับสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นสถาบันกษัตริย์ที่เลือกใช้พื้นที่นี้ในการให้ทหารมาแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่างหาก
ภายหลังการปฏิวัติ 2475 การใช้สอยพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
หลัง 2475 ลานพระบรมรูปทรงม้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในทัศนะผม แม้ว่าทางกายภาพจะเหมือนเดิม แต่ความหมายเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ในแง่นิยามของพื้นที่ ลานพระบรมรูปทรงม้าเปลี่ยนจากพื้นที่กึ่งสาธารณะมาสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง กลายเป็นพื้นที่ multi-functional space ที่สามารถจัดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของคนหลากหลายกลุ่มในพื้นที่เดียวกันได้
ก่อนหน้านี้กิจกรรมทั้งหมดจะเป็นไปเพื่อสนองเป้าประสงค์ของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น แต่พอหลัง 2475 มีการแชร์กันหลายความต้องการ พระราชพิธียังดำรงอยู่เช่นเดิม เช่นพิธีวางพวงมาลา 23 ตุลาฯ ก็เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นคือมีรัฐพิธีที่แสดงแสนยานุภาพของรัฐ ของหน่วยงานราชการอย่างทหาร หรือคณะราษฎรก็ใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าจัดกิจกรรมฉลองรัฐธรรมนูญต่อเนื่องกันหลายปีเพื่อประกาศอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรทำขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้ามาใช้จัดกิจกรรมของตนเองได้ จะเป็นอีเวนต์ใหญ่หรือเข้าไปพักผ่อนทางใจโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีหรือรัฐพิธีโดยตรงก็ได้ นี่คือความหลากหลายของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในลานพระบรมรูปทรงม้าหลัง 2475
จุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าคืออะไร
จุดเปลี่ยนคือเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หรือวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พื้นที่นี้ถูกเลือกใช้เป็นสถานที่รวมพลของทหารและพลเรือนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันนั้นจึงเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่พื้นที่นี้ถูกใช้ด้วยเป้าหมายและความหมายอื่นนอกเหนือจากพระราชดำริของกษัตริย์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่แห่งนี้ก็ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป ไม่ใช่พื้นที่กึ่งสาธารณะอีกต่อไป แต่คือพื้นที่สาธารณะของประชาชน เงื่อนไขการใช้งานบนพื้นที่แห่งนี้ก็เปลี่ยนไป ไม่ได้ผูกโยงอยู่กับพระราชพิธีหรือกิจกรรมของสถาบันกษัตริย์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ถูกเปิดให้กับรัฐพิธีและประชาพิธีด้วย
หากมองการเลือกใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในการประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองและปักหมุดของคณะราษฎรในแง่การช่วงชิงพื้นที่อำนาจ สามารถตีความได้แบบไหน
มันชัดเจนมากนะว่าพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจทั้งหมดในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ลองคิดดูว่าบริเวณที่แวดล้อมตรงนั้นไม่ได้มีแค่ลานกว้างและพระบรมรูปทรงม้า แต่ด้านหลังคือท้องพระโรงของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีถนนราชดำเนินพุ่งตรงเข้ามาซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ เป็นบูเลอวาร์ดขนาดใหญ่ตามอย่างในยุโรป เหมือนเดอะมอลล์หน้าบักกิงแฮม เหมือนช็องเซลิเซของฝรั่งเศส
ถนนเส้นนี้ยังรายล้อมด้วยวัง ตำหนักเจ้านายพระองค์สำคัญหรือหน่วยราชการที่สำคัญ บริเวณถนนราชดำเนินนอกใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าก็เป็นที่ตั้งของโรงเรียนทหาร เราจะเห็นได้ชัดว่าบริเวณตอนเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์หรือบริเวณที่มีพระราชวังสวนดุสิตเป็นศูนย์กลาง คือศูนย์กลางของอำนาจรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากพระบรมมหาราชวังและสนามหลวง
ดังนั้น เมื่อคณะราษฎรเลือกที่จะทำการปฏิวัติ แน่นอนว่าต้องเลือกกระทำการบนพื้นที่ศูนย์กลางอำนาจที่สำคัญที่สุด คงไม่มีใครปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ทุ่งรังสิตหรอก ไม่มีประโยชน์ กิจกรรมใดๆ ที่ต้องการให้อิมแพ็ก เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ต้องพุ่งตรงมาที่พื้นที่ศูนย์กลางอำนาจเสมอ จึงไม่เป็นเรื่องประหลาดเลยที่คณะราษฎรจะต้องมาใช้พื้นที่บริเวณนี้ประกาศปฏิวัติในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน
การที่ภายหลังปฏิวัติ 2475 ถึงปัจจุบันมีชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามากมาย สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ผมคิดว่า message ชัดเจนมากว่าพื้นที่ตรงนี้ถูกผ่องถ่ายความเป็นเจ้าของหรือแบ่งปันความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสถาบันกษัตริย์ รัฐ และประชาชน ประชาชนมีสิทธิเข้าไปใช้ในฐานะพื้นที่แสดงออกทางการเมือง นี่คือหัวใจสำคัญของการนิยามพื้นที่สาธารณะด้วย
พื้นที่สาธารณะไม่ใช่แค่การเป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่โล่งๆ ที่เพียงแค่อนุญาตให้คนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปได้นะครับ แม้คนส่วนใหญ่มักคิดแบบนั้น แต่มันผิด เพราะหัวใจสำคัญของการเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงคือ การเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพมากพอให้คนที่เข้าไปใช้สามารถแสดงออกถึงความคิดของตัวเองได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดทางการเมือง แต่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ผิดกติกาทางสังคมบางอย่าง เช่น การไม่เปลือยกายก็เป็นเงื่อนไขที่สังคมตกลงร่วมกันไว้
ใครที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะควรได้รับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ฉะนั้น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่ประชาชนสามารถเข้าไปชุมนุมทางการเมืองได้ คือหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง
25 Jun 2021
บนหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ลานพระราชวังดุสิต หรือที่คุ้นหูกันในชื่อลานพระบรมรูปทรงม้า คือสถานที่ที่อัดแน่นไปด้วยความทรงจำอันหลากหลายของผู้คน
ทั้งความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรในฐานะพื้นที่ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฝังหมุดเป็นอนุสรณ์ และจัดงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญอีกหลายปีถัดจากนั้น ความทรงจำเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และรัฐ ผ่านพระราชพิธี รัฐพิธีสำคัญ การวางพวงมาลาสักการะพระปิยมหาราชทุกวันที่ 23 ตุลาคม และเหตุการณ์เสด็จออกมหาสมาคมของรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีมวลชนเฝ้าชื่นชมพระเกียรติจนเต็มลาน
ผสานรวมกับความทรงจำของประชาชน ที่เข้ามาใช้พื้นที่ชุมนุมทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง กระทั่งกำความหวังและดอกกุหลาบมาขอพรเสด็จพ่อ ร.5 หลายต่อหลายหน ทั้งหมดนี้ทำให้ลานพระบรมรูปทรงม้ากลายเป็นหนึ่งในพื้นที่สาธารณะสำคัญของไทย ซึ่งเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ รัฐ ประชาชนไว้ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
แต่บัดนี้ ความทรงจำที่เรามีร่วมกันต่อพื้นที่แห่งนั้นกำลังจะถูกเขียนขึ้นใหม่ให้ต่างไปจากเดิม เมื่อลานอเนกประสงค์ของคนทุกกลุ่มเกิดแนวรั้วกั้น ถูกสั่งห้ามจัดกิจกรรมทางการเมือง พร้อมตั้งเงื่อนไขเข้าถึงเป็นเวลา
ภาพของพระบรมรูปทรงม้าที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปส่อเค้าลางถึงอะไร? 101 สนทนากับ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อหาคำตอบนั้น ผ่านการย้อนมองเรื่องราวในอดีตจากจุดเริ่มต้นของพระบรมรูปทรงม้าในสมัยรัชกาลที่ 5 สัญญะอำนาจและคุณค่าต่อสังคมไทย ไปจนถึงนิยามและความสำคัญของพื้นที่สาธารณะต่อความเป็นประชาธิปไตย
พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีความสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะการเมืองไทย
พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีอายุกว่าร้อยปี เป็นพื้นที่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญหลายครั้ง ทั้งเป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมือง จัดรัฐพิธีสำคัญของชาติ และทำพระราชพิธีต่างๆ เป็นประจำ ในทัศนะของผมพื้นที่นี้จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่สำคัญแห่งแรกๆ ในสังคมไทยทีเดียว
สำหรับผม ‘พื้นที่สาธารณะ’ (public space) ที่แท้จริงเกิดขึ้นหลัง 2475 หรือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่พูดแบบนี้เพราะการมีพื้นที่โล่งๆ ที่คนสามารถเดินเข้าไปใช้สอยได้เฉยๆ ยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะ มาตรวัดสำคัญในการเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างหนึ่งคือต้องดูว่าใครเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น พื้นที่สาธารณะที่แท้จริงประชาชนทุกคนคือเจ้าของพื้นที่ โดยมีรัฐเป็นผู้ดูแลจัดการพื้นที่ในนามของประชาชน
ก่อน 2475 พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าถูกใช้ทำพระราชพิธีต่างๆ ใช้เดินสวนสนามของรัฐ ในลักษณะที่ในทางวิชาการอาจนิยามว่าจะมีสถานะเป็น ‘พื้นที่กึ่งสาธารณะ’ (quasi-public space) ที่แม้เปิดให้คนทั่วไปใช้สอยได้ แต่เจ้าของพื้นที่มิใช่ประชาชน
แต่หลัง 2475 เป็นต้นมา เช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พื้นที่นี้กลายเป็นสถานที่รวมพลของกลุ่มคณะราษฎรเพื่อประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง นี่เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่ปรากฏบนพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พื้นที่นี้เริ่มเปลี่ยนมาสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง
หลังจากนั้นมาก็มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรมของประชาชน เกิดการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้ง เช่น ในปี 2500 มีการชุมนุมเพื่อประท้วงการเลือกตั้งสกปรก ปี 2519 มีชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านเพื่อต่อต้านกลุ่มนักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตย ใกล้ตัวเราขึ้นมาหน่อยคือการชุมนุมเหตุการณ์พฤษภา 2535 เรามักเห็นภาพฝูงชนบริเวณถนนราชดำเนิน แต่จริงๆ แล้ว ลานพระบรมรูปทรงม้าก็เป็นสถานที่ชุมนุมอีกแห่งที่สำคัญ ต่อมาในยุคใกล้ปัจจุบัน ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรปี 2549 (ที่นำมาสู่การรัฐประหาร 2549) การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรปี 2551 แล้วก็กลุ่ม นปช. กปปส. ทั้งหมดนี้ได้ทำให้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีสถานะเป็นพื้นที่ชุมนุมทางการเมืองสำคัญในระดับที่ไม่ต่างกันมากนักกับสนามหลวง
แล้วอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ที่เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ลักษณะตามแบบตะวันตก มีนัยสำคัญในแง่การเมืองไทยอย่างไรบ้าง
ในทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ถือว่าเป็นอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลที่ตั้งอยู่ในที่สาธารณะเป็นแห่งแรกของไทย แม้การสร้างอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลจะมีมาก่อนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่ก็ตั้งอยู่ในที่ส่วนตัว เช่น ในพระราชวัง หรืออาคารที่ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ พระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นอนุสาวรีย์รูปเหมือนบุคคลจริงที่ตั้งในที่สาธารณะ เปิดโล่ง เห็นได้โดยคนทั่วไป
อนุสาวรีย์แห่งนี้ รัชกาลที่ 5 ได้รับแรงบันดาลใจจากอนุสาวรีย์กษัตริย์ทรงม้าซึ่งได้รับความนิยมในยุโรปช่วงเวลานั้น แรงบันดาลใจนี้ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะอนุสาวรีย์ลักษณะนี้ในยุโรปคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ใน ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ (Absolute Monarchy) ซึ่งเป็นโมเดลทางการเมืองให้รัชกาลที่ 5 นำมาใช้ปฏิรูปการปกครองสยามในทศวรรษ 2430 เปลี่ยนสยามจาก ‘รัฐแบบจารีต’ มาสู่ ‘รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ เพราะฉะนั้น ตัวพระบรมรูปทรงม้าจึงเป็นวัตถุสัญลักษณ์ชิ้นหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยามด้วย
การสร้างอนุสาวรีย์กษัตริย์ในที่สาธารณะถือเป็นหนึ่งในพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ด้วยไหม เหตุใดพระองค์จึงตั้งใจเช่นนั้น
เราไม่มีหลักฐานชัดเจนนักเกี่ยวกับเหตุผลจริงๆ ของรัชกาลที่ 5 เท่าที่มีตอนนี้เป็นเพียงหลักฐานที่พูดถึงภายหลังการตัดสินใจที่จะสร้างแล้ว ดังนั้นหลักฐานเรื่องความตั้งใจลึกๆ ของพระองค์คงตอบยาก แต่ถ้าพิจารณาจากบริบทที่เกี่ยวข้อง ผมคิดว่ารัชกาลที่ 5 คงได้โมเดลจากกษัตริย์ในยุโรปที่นิยมสร้างอนุสาวรีย์ในรูปแบบนี้ที่กำลังขี่ม้าและมักตั้งอยู่บริเวณลานหน้าพระราชวังหรือโบสถ์สำคัญของเมือง รัชกาลที่ 5 คงได้รับแรงบันดาลใจแบบนั้นมา และเมื่อตัดสินใจจะสร้างวังสวนดุสิตที่ก็มีโมเดลเหมือนพระราชวังของกษัตริย์ยุโรปในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน จึงไม่แปลกที่พื้นที่ด้านหน้าท้องพระโรง (พระที่นั่งอนันตสมาคม) ซึ่งเป็นลานกว้างโล่งยาว จึงควรมีอนุสาวรีย์กษัตริย์ทรงม้าเหมือนยุโรปตั้งประดับด้วยเช่นเดียวกัน
การมีรูปปั้นเช่นนี้ตั้งในพื้นที่สาธารณะของสังคมไทยสมัยนั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นตาตื่นใจมาก ประชาชนทั่วไปที่แม้ไม่รู้จักไอเดียว่าด้วยการสร้าง ‘ความศิวิไลซ์’ (civilization) หรือ westernization ก็คงตื่นเต้นว่าเป็นของแปลก ส่วนในหมู่ชนชั้นนำสยามก็คงเห็นว่านี่คือมาตรวัดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าสยามกำลังก้าวเข้าไปทัดเทียมกับนานาอารยประเทศมากขึ้นอีกก้าวหนึ่ง จากการที่เห็นอนุสาวรีย์แห่งนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างถนนสมัยใหม่ อาคารราชการสมัยใหม่ สวนสาธารณะแบบใหม่
แต่สมัยก่อนคนไทยถือว่าไม่ควรสร้างรูปเคารพหรืออนุสาวรีย์ตอนที่บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ แล้วการสร้างพระบรมรูปทรงม้าได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมความเชื่อของไทยบ้างไหม
การสร้างพระบรมรูปเหมือนจริงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างขัดกับความเชื่อดั้งเดิมของคนสยาม ในอดีตคนสยามเชื่อว่าการทำรูปเหมือนจริงเป็นสิ่งอัปมงคล ไม่ใช่แค่การทำรูปปั้นเหมือนจริงเท่านั้น ภาพถ่ายก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นสิ่งอัปมงคล แต่รัชกาลที่ 4 เข้ามาปรับเปลี่ยนความเชื่อตรงนี้ ด้วยการถ่ายภาพตนเองเผยแพร่ อีกทั้งยังส่งไปให้กษัตริย์ยุโรปด้วย ทั้งหมดเพื่อแสดงให้เห็นว่าสยามกำลังก้าวสู่ความเป็นสมัยใหม่ และควรยกเลิกความเชื่อบางอย่างหรือสิ่งที่แสดงว่าสยามล้าหลัง ซึ่งการถ่ายภาพและการสร้างรูปปั้นเหมือนจริงคือหนึ่งในสัญลักษณ์ของความเป็นสมัยใหม่ดังกล่าว
ถ้าดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เราจะพบว่าการถ่ายรูปเหมือนจริงของรัชกาลที่ 4 ช่วงแรกๆ ก็มีชนชั้นนำด้วยกันรู้สึกไม่สบายใจ หรือแม้กระทั่งการสร้างพระบรมรูปทรงม้าของรัชกาลที่ 5 ก็มีคนทักท้วงเช่นกัน ยิ่งหลังจากพระบรมรูปทรงม้าทำพิธีเปิดเมื่อปี 2451 เพียงปีกว่าๆ รัชกาลที่ 5 ก็สวรรคตในปี 2453 ยิ่งทำให้คนหัวโบราณที่ยังเชื่อเรื่องการทำพระบรมรูปเหมือนจริงว่าเป็นสิ่งอัปมงคลยังคงเชื่ออยู่แบบนั้น
โดยสรุปคือ ไม่ว่าภาพถ่ายสมัยใหม่ อนุสาวรีย์เหมือนจริงสมัยใหม่ ล้วนเป็นจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แต่จุดเปลี่ยนนั้นก็ยังไม่ได้กระจายแพร่หลายไปสู่ทุกคน ยังไม่ได้ทำให้เปลี่ยนความคิดความเชื่อแบบดั้งเดิมทั้งหมด
เมื่อเทียบกับพระบรมราชานุสาวรีย์อื่นๆ พระบรมรูปทรงม้าอาจถือได้ว่ามีขนาดเล็กและใกล้เคียงกับคนจริงมากที่สุด การสร้างอนุสาวรีย์กษัตริย์ที่ไม่ใหญ่โตโอ่อ่าเกินไปมีความหมายอะไรแฝงอยู่หรือไม่
พระบรมรูปทรงม้ามีขนาดสองเท่าตัวคน ถือว่าไม่ได้เล็กมากเท่าไหร่ เพียงแต่ตั้งอยู่ในลานขนาดใหญ่เลยอาจทำให้เรารู้สึกว่าเล็ก ผมคิดว่าเรื่องขนาดไม่น่ามีนัยยะพิเศษอะไร นัยยะพิเศษที่น่าสนใจจริงๆ คือต้นแบบทางความคิดของอนุสาวรีย์มากกว่า ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ารัชกาลที่ 5 ได้แรงบันดาลใจมาจากอนุสาวรีย์ขี่ม้าของกษัตริย์คนไหนกันแน่ ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ตั้งอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซาย กับกษัตริย์วิกเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ 2 ที่ตั้งอยู่ในเมืองมิลาน หน้าโบสถ์ดูโอโม ทั้งสองแห่งมีลักษณะขี่ม้าเหมือนกันแต่ท่าทางไม่เหมือนกัน
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้นมีความพิเศษ คือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในทางประวัติศาสตร์มีสถานะเป็นเหมือนสัญลักษณ์สำคัญของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป เพราะเป็นผู้สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฝรั่งเศสและเป็นต้นแบบให้กษัตริย์พระองค์อื่นๆ ในยุโรปด้วย ส่วนพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอล ที่ 2 ของอิตาลี คือกษัตริย์พระองค์แรกที่รวบรวมชาติอิตาลีเข้าด้วยกันสำเร็จนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เพราะฉะนั้นทั้งสองอนุสาวรีย์จึงเป็นกษัตริย์ที่มีความยิ่งใหญ่และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป ซึ่งรัชกาลที่ 5 ก็เป็นกษัตริย์ที่ต้องการเปลี่ยนรัฐสยามไปเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการเลือกรูปแบบอนุสาวรีย์ทรงม้าในลักษณะใกล้เคียงกันกับทั้ง 2 แห่งที่กล่าวมา (ไม่ว่าข้อเท็จจริงของแรงบันดาลใจจะมาจากแห่งไหนก็ตาม) ผมจึงคิดว่ามีนัยยะบางอย่างทางการเมืองและอุดมการณ์ที่เชื่อมโยงถึงกัน
ทั้งรัชกาลที่ 5 รวมถึงชนชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระบรมรูปทรงม้าในสมัยนั้นมีเป้าประสงค์ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการให้อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน ซึ่งกษัตริย์สยามแบบเดิมไม่เคยทำมาก่อน กล่าวคือกษัตริย์สยามในรัฐแบบจารีตมีความห่างเหินกับประชาชนมาก ถ้าใครเคยอ่านพงศาวดารรัชกาลที่ 2 จะเห็นชัด มีการบันทึกไว้ว่าคราวหนึ่งเมื่อมีขบวนเสด็จของกษัตริย์ ตามธรรมเนียมทหารจะสั่งให้ประชาชนทั้งสองข้างทางปิดหน้าต่างและประตู แต่มีหลังหนึ่งแง้มหน้าต่างออกดู ทหารก็ยิงธนูสวนขึ้นไปจนตาบอด เรื่องที่ปรากฏในพงศาวดารแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์แบบรัฐจารีตกับประชาชนว่าเป็นรูปแบบไม่เคยเจอหน้ากัน เรารู้ว่ามีกษัตริย์อยู่ แต่ไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไรหรือมีพระราชกรณียกิจอย่างไรที่ชัดเจน
แต่รัชกาลที่ 5 มีเป้าประสงค์ค่อนข้างชัดว่าต้องการเปลี่ยนหรือพัฒนาชุดความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นผ่านนโยบายหลายๆ อย่าง พระบรมรูปทรงม้าเป็นหนึ่งในวัตถุสัญลักษณ์ที่พยายามนำเสนอสารนี้ออกมา เห็นได้จากการเรี่ยไรเงินจากประชาชนโดยสมัครใจ นำมาสู่การประกาศว่าอนุสาวรีย์นี้ สร้างด้วยเงินส่วนหนึ่งที่มาจากความรักของประชาชนต่อกษัตริย์ นำมาสู่ภายหลังการสวรรคตที่มีการถวายสมัญญานามใหม่ว่า ‘พระปิยมหาราช’ หรือกษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน รวมถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็จัดให้มีพิธีวางพวงมาลาที่พระบรมรูปทรงม้าจากหน่วยงานราชการและประชาชนทั้งหลายในวันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคต การจัดพระราชพิธีแบบนี้เป็นการสร้างพิธีกรรมให้ประชาชนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับกษัตริย์มากขึ้น และแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ใกล้ชิดแน่นแฟ้นกับประชาชน
บริบทสังคมไทยในสมัยนั้นเป็นอย่างไร ทำไมรัชกาลที่ 5 จึงต้องการเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์และประชาชนใหม่
สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนรูปแบบรัฐจากรัฐจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ในแบบเดิมคือสมมติเทพ ในรัฐจารีตที่กษัตริย์มุ่งเน้นประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ เพื่อให้รัฐคงอยู่ได้เป็นปกติสุขโดยอิงกับหลักการทางศาสนา สถานภาพของกษัตริย์แบบนี้ไม่ได้เรียกร้องความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชน มีแค่ความสัมพันธ์กับกลุ่มชนชั้นนำที่ใกล้ชิดแวดล้อมก็เพียงพอแล้ว แต่กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นต่างออกไป กษัตริย์ไม่ได้ดำรงสถานะเป็นกษัตริย์ในเชิงพิธีกรรมมากเท่าในอดีตอีกต่อไป แต่ต้องเปลี่ยนมาทำหน้าที่บริหารประเทศแบบสมัยใหม่โดยตรง ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำฝ่ายบริหาร เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายตุลาการ และเป็นผู้นำในส่วนของนิติบัญญัติไปพร้อมกัน
ภาระหน้าที่ของกษัตริย์สมัยใหม่แบบนี้เรียกร้องความสัมพันธ์แบบใหม่ที่ลงไปถึงประชาชน นโยบายต่างๆ ที่กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ทำจะกระทำในนามของกษัตริย์โดยตรงเหมือนผู้นำรัฐบาล ด้วยระบบของรัฐหรือความสัมพันธ์แบบนี้ไม่สามารถทำให้กษัตริย์อยู่เงียบๆ นิ่งๆ หลังม่าน ไม่มีใครพบเห็นได้ (นอกจากขุนนางชั้นผู้ใหญ่) อีกต่อไป แต่ต้องมาแสดงตัวเปรียบเสมือนเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้นำศาลฎีกา ประธานรัฐสภา ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องเริ่มเปลี่ยนบทบาทใหม่
เหตุผลข้อที่สองคือในระบอบแบบจารีต กษัตริย์จะมีตัวกลางคือข้าราชการ ขุนนาง เจ้านาย เชื่อมระหว่างประชาชนและกษัตริย์ ระบบแบบนี้ทำให้ขุนนางมีอำนาจมาก ตามประวัติศาสตร์เราจะเห็นว่าขุนนางในรัชกาลที่ 2, 3, 4 มีอำนาจขนาดเลือกได้ว่าใครจะเป็นกษัตริย์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ที่โตมาในระบอบความสัมพันธ์แบบนั้นรู้สึกไม่พอพระทัยอย่างมาก ฉะนั้นการที่รัชกาลที่ 5 พยายามลงมาสัมพันธ์กับประชาชนมากขึ้นก็เพื่อสร้างความชอบธรรมในการตัดตัวกลางอย่างขุนนางออกไป ลดอำนาจของขุนนางลง และเพิ่มอำนาจเข้าสู่กษัตริย์โดยตรง
ถ้ามองว่าพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คือตัวแทนของพระราชอำนาจที่ยิ่งใหญ่และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สืบต่อมาจากสมัยรัชกาลที่ 5 กษัตริย์แต่ละรัชกาลถัดมามีการใช้พื้นที่นี้สนับสนุนพระราชอำนาจตนเองอย่างไร
ภายหลังสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้ว รัชกาลที่ 6 และ 7 ใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในทางการเมืองและกิจกรรมของรัฐเพื่อสนับสนุนอุดมการณ์และพระราชอำนาจของพระองค์ ตัวอย่างเช่น รัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งกองเสือป่าและจัดกิจกรรมของเสือป่าที่ลานพระบรมรูปทรงม้าและสนามเสือป่าเป็นประจำ กองเสือป่านี้พูดกันอย่างง่ายๆ คือเป็นกองกำลังส่วนพระองค์ ลานบริเวณนี้จึงเหมือนลานแสดงแสนยานุภาพทางทหารของรัชกาลที่ 6 นั่นเอง
อีกกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นในบริเวณนี้คือ งาน expo แบบไทยๆ คล้ายๆ งานกาชาดในปัจจุบัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และขยายตัวขึ้นในรัชกาลที่ 6 ในนาม ‘งานฤดูหนาว’ หรือ ‘งานรื่นเริงฤดูหนาว’ เป็นงานที่ใช้พื้นที่สนามเสือป่าหรือลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นสถานที่จัดงานหลัก งานดังกล่าวจะมีการออกร้านต่างๆ มากมาย และยังจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้แสดงนโยบายของรัชกาลที่ 6 ให้สาธารณชนเห็น เช่น ในงานรื่นเริงฤดูหนาวปี 2458 ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดแสดงเรือรบจำลองชื่อเรือหลวงสุโขทัย ที่รัชกาลที่ 6 พยายามผลักดันให้มีการซื้อเรือรบลำนี้ ก็ถือว่าเป็นการใช้พื้นที่สนามเสือป่าและลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นเครื่องมือในการประกาศและหาแรงสนับสนุนนโยบายทางการเมืองของพระองค์
พอมาถึงรัชกาลที่ 7 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์คาดว่ามีการใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าจัดพระราชพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ มอบธงชัยเฉลิมพลเป็นครั้งแรกในปี 2470 พิธีดังกล่าวเป็นการถวายสัตย์ปฏิญาณของทหารเหล่าทัพต่างๆ ต่อสถาบันกษัตริย์ จะว่าไปก็เทียบเคียงได้กับพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแบบโบราณ ซึ่งถ้าเป็นรัฐจารีตคงทำในอุโบสถวัดพระแก้ว แต่นี่เป็นรัฐสมัยใหม่ ก็แสดงผ่านการสวนสนาม มอบธง ให้ทหารแสดงความจงรักภักดีในที่สาธารณะต่อสถาบันกษัตริย์ เป็นแนวคิดแบบเดิมแต่ใช้รูปแบบสมัยใหม่บนพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
นอกจากนี้ พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ายังใช้จัดสวนสนามอื่นๆ พระราชพิธีอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นเราอาจพูดได้ว่าตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เรื่อยมาถึงรัชกาลที่ 6 และ 7 มีการใช้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นฉากของรัฐพิธีและพระราชพิธีเพื่อประกาศสถานภาพและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ให้ปรากฏแก่สาธารณะผ่านกิจกรรมต่างๆ มาโดยตลอด
เราสามารถกล่าวได้ไหมว่ารัชกาลที่ 6 และ 7 เลือกพื้นที่นี้จัดกิจกรรมและพระราชพิธีต่างๆ เพราะต้องการพึ่งพิงหรือเชื่อมโยงพระราชอำนาจของพระองค์เองเข้ากับพระราชอำนาจของรัชกาลที่ 5
ใช่ครับ แน่นอนเลย เพราะรัชกาลที่ 6 และ 7 รวมถึงชนชั้นนำทั้งหมดมีรัชกาลที่ 5 เป็นต้นแบบเลยก็ว่าได้ 42 ปีแห่งการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 แม้ว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย แต่ชนชั้นนำในสยามแทบทุกคนในสมัยนั้นก็มองว่ารัชกาลที่ 5 คือต้นแบบที่กษัตริย์ทุกพระองค์ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เพราะฉะนั้นกิจกรรมทั้งหลายจึงไม่แปลกที่จะย้อนกลับไปอ้างอิงกับรัชกาลที่ 5 ด้วย
แล้วการที่มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เดินสวนสนามของทหาร สามารถมองได้ไหมว่ากองทัพก็ใช้พื้นที่นี้ยึดโยงอำนาจตนเองเข้ากับสถาบันกษัตริย์ด้วย
ไม่เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว เพราะก่อน 2475 พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในทัศนะของผม ตามที่บอกไปตอนแรกคือเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แต่ยังมีเจ้าของคือสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นกิจกรรมบนพื้นที่นั้นเจ้าของต้องอนุญาตเสียก่อน ก่อน 2475 กิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงล้วนแล้วแต่มุ่งแสดงพระราชอำนาจ บารมีของสถาบันกษัตริย์เป็นหลัก โดยมีทหารรวมถึงประชาชนเข้ามาเป็นองค์ประกอบของฉาก พูดแบบสรุปก็คือ กองทัพสมัยนั้นไม่ได้เป็นผู้เลือกใช้พื้นที่นี้เพื่อยึดโยงอำนาจตนเข้ากับสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นสถาบันกษัตริย์ที่เลือกใช้พื้นที่นี้ในการให้ทหารมาแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่างหาก
ภายหลังการปฏิวัติ 2475 การใช้สอยพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
หลัง 2475 ลานพระบรมรูปทรงม้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในทัศนะผม แม้ว่าทางกายภาพจะเหมือนเดิม แต่ความหมายเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ในแง่นิยามของพื้นที่ ลานพระบรมรูปทรงม้าเปลี่ยนจากพื้นที่กึ่งสาธารณะมาสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง กลายเป็นพื้นที่ multi-functional space ที่สามารถจัดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของคนหลากหลายกลุ่มในพื้นที่เดียวกันได้
ก่อนหน้านี้กิจกรรมทั้งหมดจะเป็นไปเพื่อสนองเป้าประสงค์ของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น แต่พอหลัง 2475 มีการแชร์กันหลายความต้องการ พระราชพิธียังดำรงอยู่เช่นเดิม เช่นพิธีวางพวงมาลา 23 ตุลาฯ ก็เหมือนเดิม แต่สิ่งที่เริ่มเกิดขึ้นคือมีรัฐพิธีที่แสดงแสนยานุภาพของรัฐ ของหน่วยงานราชการอย่างทหาร หรือคณะราษฎรก็ใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าจัดกิจกรรมฉลองรัฐธรรมนูญต่อเนื่องกันหลายปีเพื่อประกาศอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรทำขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้ามาใช้จัดกิจกรรมของตนเองได้ จะเป็นอีเวนต์ใหญ่หรือเข้าไปพักผ่อนทางใจโดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีหรือรัฐพิธีโดยตรงก็ได้ นี่คือความหลากหลายของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในลานพระบรมรูปทรงม้าหลัง 2475
จุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าคืออะไร
จุดเปลี่ยนคือเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หรือวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พื้นที่นี้ถูกเลือกใช้เป็นสถานที่รวมพลของทหารและพลเรือนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันนั้นจึงเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่พื้นที่นี้ถูกใช้ด้วยเป้าหมายและความหมายอื่นนอกเหนือจากพระราชดำริของกษัตริย์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา พื้นที่แห่งนี้ก็ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอีกต่อไป ไม่ใช่พื้นที่กึ่งสาธารณะอีกต่อไป แต่คือพื้นที่สาธารณะของประชาชน เงื่อนไขการใช้งานบนพื้นที่แห่งนี้ก็เปลี่ยนไป ไม่ได้ผูกโยงอยู่กับพระราชพิธีหรือกิจกรรมของสถาบันกษัตริย์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ถูกเปิดให้กับรัฐพิธีและประชาพิธีด้วย
หากมองการเลือกใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าในการประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองและปักหมุดของคณะราษฎรในแง่การช่วงชิงพื้นที่อำนาจ สามารถตีความได้แบบไหน
มันชัดเจนมากนะว่าพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจทั้งหมดในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ลองคิดดูว่าบริเวณที่แวดล้อมตรงนั้นไม่ได้มีแค่ลานกว้างและพระบรมรูปทรงม้า แต่ด้านหลังคือท้องพระโรงของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีถนนราชดำเนินพุ่งตรงเข้ามาซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ เป็นบูเลอวาร์ดขนาดใหญ่ตามอย่างในยุโรป เหมือนเดอะมอลล์หน้าบักกิงแฮม เหมือนช็องเซลิเซของฝรั่งเศส
ถนนเส้นนี้ยังรายล้อมด้วยวัง ตำหนักเจ้านายพระองค์สำคัญหรือหน่วยราชการที่สำคัญ บริเวณถนนราชดำเนินนอกใกล้กับพระบรมรูปทรงม้าก็เป็นที่ตั้งของโรงเรียนทหาร เราจะเห็นได้ชัดว่าบริเวณตอนเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์หรือบริเวณที่มีพระราชวังสวนดุสิตเป็นศูนย์กลาง คือศูนย์กลางของอำนาจรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเคลื่อนย้ายมาจากพระบรมมหาราชวังและสนามหลวง
ดังนั้น เมื่อคณะราษฎรเลือกที่จะทำการปฏิวัติ แน่นอนว่าต้องเลือกกระทำการบนพื้นที่ศูนย์กลางอำนาจที่สำคัญที่สุด คงไม่มีใครปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ทุ่งรังสิตหรอก ไม่มีประโยชน์ กิจกรรมใดๆ ที่ต้องการให้อิมแพ็ก เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ต้องพุ่งตรงมาที่พื้นที่ศูนย์กลางอำนาจเสมอ จึงไม่เป็นเรื่องประหลาดเลยที่คณะราษฎรจะต้องมาใช้พื้นที่บริเวณนี้ประกาศปฏิวัติในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน
การที่ภายหลังปฏิวัติ 2475 ถึงปัจจุบันมีชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามากมาย สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ผมคิดว่า message ชัดเจนมากว่าพื้นที่ตรงนี้ถูกผ่องถ่ายความเป็นเจ้าของหรือแบ่งปันความเป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสถาบันกษัตริย์ รัฐ และประชาชน ประชาชนมีสิทธิเข้าไปใช้ในฐานะพื้นที่แสดงออกทางการเมือง นี่คือหัวใจสำคัญของการนิยามพื้นที่สาธารณะด้วย
พื้นที่สาธารณะไม่ใช่แค่การเป็นสวนสาธารณะหรือพื้นที่โล่งๆ ที่เพียงแค่อนุญาตให้คนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปได้นะครับ แม้คนส่วนใหญ่มักคิดแบบนั้น แต่มันผิด เพราะหัวใจสำคัญของการเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงคือ การเป็นพื้นที่ที่มีเสรีภาพมากพอให้คนที่เข้าไปใช้สามารถแสดงออกถึงความคิดของตัวเองได้อย่างอิสระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดทางการเมือง แต่ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ผิดกติกาทางสังคมบางอย่าง เช่น การไม่เปลือยกายก็เป็นเงื่อนไขที่สังคมตกลงร่วมกันไว้
ใครที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะควรได้รับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ฉะนั้น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่ประชาชนสามารถเข้าไปชุมนุมทางการเมืองได้ คือหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง
ปัจจุบันเรายังสามารถเรียกพื้นที่นี้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะได้มากน้อยแค่ไหน ในเมื่อยังมีคนกลุ่มหนึ่งนิยามว่าเป็นเขตพระราชฐานอยู่
สิ่งที่ถามมาถือเป็นปรากฏการณ์สมัยใหม่ เท่าที่ผมตามศึกษาและสังเกตมา มันเพิ่งเกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 2557 เท่านั้น ก่อนการรัฐประหาร 2557 พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ายังมีลักษณะเป็นพื้นที่สาธารณะค่อนข้างสูงมาก เราจะเห็นว่ามีการจัดงานรำลึกทุกวันที่ 24 มิถุนายน บริเวณหมุดคณะราษฎรเป็นประจำ มีการชุมนุมทางการเมืองของคนแทบทุกกลุ่ม มีการจัดอีเวนต์ต่างๆ มากมาย ถนนบริเวณนั้นรถก็วิ่งผ่านได้ตลอด ไม่มีการปิดกั้น แต่หลังรัฐประหาร 2557 เริ่มมีการจำกัดการใช้งานลานพระบรมรูปทรงม้า เช่น ตอนดึกๆ เข้าไปไม่ได้แล้ว ห้ามจัดกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมที่ถูกตีความว่าเป็นการเมืองทั้งหมด
หลังรัฐประหาร 2557 ลานพระบรมรูปทรงม้ากำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากพื้นที่สาธารณะกลับไปเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะอีกครั้ง โดยทุกคนยังสามารถเข้าออกพื้นที่ได้ แต่มีเงื่อนไขที่จำกัดมากขึ้น และกิจกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่มีข้อจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยต้องสอดคล้องกับความต้องการของรัฐและอุดมการณ์ของรัฐ กิจกรรมที่ท้าทายอำนาจรัฐไม่สามารถจัดได้อีกต่อไป ซึ่งลักษณะดังกล่าวที่จำกัดการใช้งาน ควบคุมเวลาเปิดปิด คือคุณลักษณะพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าพื้นที่กึ่งสาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ
น่าสนใจว่าหลังการปิดกั้นพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ห้ามไม่ให้จัดชุมนุมทางการเมืองแล้ว เรายังเห็นกลุ่มคนบางกลุ่มสามารถใช้พื้นที่นี้จัดกิจกรรมแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเองได้อยู่
ถ้ามองอย่างคนทั่วไปคือสองมาตรฐาน แต่ถ้ามองว่าพื้นที่นี้กำลังจะกลายเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะตามที่กล่าวไปก็อาจเข้าใจมันได้ พื้นที่นี้โดยความเป็นจริงมันไม่ได้ห้ามคนเข้าไปใช้ แต่การอนุญาตให้ใครเข้าไปใช้ต้องขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมนั้นท้าทายอำนาจและอุดมการณ์แห่งรัฐหรือไม่ต่างหาก เพราะฉะนั้นบางกิจกรรมที่สนับสนุนอาจรัฐ และไม่เข้าไปท้าทายอำนาจรัฐ หรือเป็นกิจกรรมที่รัฐมองว่าไม่เป็นการเมืองจึงทำได้
ต้องเข้าใจร่วมกันก่อนด้วยนะครับว่า นิยามคำว่า ‘การเมือง’ สำหรับรัฐไทยนั้นแคบและผิดอย่างมหันต์ กิจกรรมที่ถูกมองว่าเป็นการเมืองสำหรับรัฐไทยมีนิยามเดียวคือหมายถึงกิจกรรมที่ต่อต้านอำนาจรัฐเท่านั้น ส่วนกิจกรรมที่สนับสนุนอำนาจรัฐไม่เคยถูกนับว่าเป็นการเมือง แต่จะมีคำเรียกที่หลบเลี่ยงเป็นอย่างอื่นแทน เช่น กิจกรรมรักชาติ กิจกรรมเพื่อสังคม เป็นต้น ด้วยการนิยามแบบผิดๆ ดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบางกลุ่มจึงเข้าไปใช้พื้นที่นี้ได้ แต่บางกลุ่มทำไม่ได้
ตอนนี้เริ่มมีการสร้างรั้วบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า บ้างให้เหตุผลว่าเพื่อถวายความปลอดภัยแด่องค์พระประมุข อาจารย์มองว่าการล้อมรั้วหรือปิดกั้นการเข้าถึงด้วยเหตุผลดังกล่าว สัมพันธ์เชื่อมโยงต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องข้อเสนอปฏิรูปสถาบันฯ หรือไม่
จากหลักฐานที่มีและข่าวที่ปรากฏมาโดยตลอด ผมคิดว่าแนวคิดเรื่องจำกัดการใช้งานลานพระบรมรูปทรงม้ารวมถึงการสร้างรั้ว เป็นไอเดียที่มีมาก่อนการชุมนุมเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ ในปี 2563 เพียงแต่ว่าเมื่อมีกระแสการปฏิรูปสถาบันเกิดขึ้น ยิ่งทำให้โครงการนี้ ในสายตาภาครัฐและผู้มีอำนาจยิ่งมองว่าสมเหตุสมผลเข้าไปใหญ่และเป็นสิ่งที่ยิ่งต้องรีบทำ
ผมเชื่อว่า ต่อให้ในปี 2563 ไม่มีม็อบเยาวชนเกิดขึ้น โครงการนี้ก็ยังเป็นโครงการที่มีอยู่
ภาครัฐหรือเจ้าของพื้นที่จะได้ประโยชน์อะไรจากการทำให้ลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ
เป็นที่ยอมรับทั่วไปในโลกนะครับว่า ปริมาณของพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนทั่วไปมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี เป็นมาตรวัดระดับความเป็นประชาธิปไตยที่สำคัญของสังคมอย่างหนึ่ง เพราะการดำรงอยู่ของพื้นที่ดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงอำนาจของประชาชนในการควบคุมและถ่วงดุลอำนาจของรัฐ ด้วยเหตุนี้ รัฐเผด็จการหรือรัฐที่เป็นประชาธิปไตยน้อยจึงมักมีธรรมชาติร่วมกันอย่างหนึ่งคือ รังเกียจการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะ และต้องการทำลายพื้นที่ดังกล่าวลงเพื่อปิดปากประชาชน
เมื่อนำธรรมชาติดังกล่าวย้อนมาพิจารณาในสังคมไทย คงมองเห็นชัดว่าหลังรัฐประหาร 2557 เราไม่อาจพูดได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังนั้นรัฐไทยที่เดินถอยห่างออกจากประชาธิปไตยมากขึ้น ย่อมไม่มีวันชื่นชอบการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะเช่นกัน ดังนั้นถ้าถามว่ารัฐไทยหรือผู้มีอำนาจได้ประโยชน์อะไรจากการจำกัดการใช้งานลานพระบรมรูปทรงม้า รวมถึงสนามหลวง และพื้นที่สาธารณะในโลกออนไลน์ทั้งหลาย ประโยชน์ง่ายๆ ที่ชัดเจนเลยก็คือการลดพื้นที่ในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนลงได้สำเร็จ และนั่นเท่ากับว่าเป็นการเปิดให้รัฐสามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้ง่ายมากขึ้น เพราะพื้นที่ในการแสดงพลังของประชาชนในการควบคุมหรือถ่วงดุลอำนาจรัฐเริ่มทยอยถูกทำลายลงมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเทียบกับกรณียึดคืนพื้นที่สนามหลวง การปิดกั้นพื้นที่พระบรมรูปทรงม้ามีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไรบ้าง
ตอนนี้ยังตอบลำบากเพราะพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ายังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบสมบูรณ์อย่างที่ผู้มีอำนาจต้องการ แต่จากหลักฐานที่มีอยู่ ผมคิดว่าพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีโมเดลกระบวนการเปลี่ยนผ่านแบบเดียวกันกับการเปลี่ยนพื้นที่สนามหลวงจากพื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โมเดลนี้มีขั้นตอนร่วมกันคือ เริ่มต้นด้วยการประกาศการบูรณะปรับปรุงพื้นที่ ตามมาด้วยการจัดทำประกาศเงื่อนไขการทำกิจกรรมในพื้นที่ตลอดจนระยะเวลาที่สามารถใช้งานได้การใช้งานได้ และขั้นตอนสุดท้ายคือการทำรั้วกั้น อย่างสนามหลวงก็ทำรั้ว ลานพระบรมรูปทรงม้าก็เริ่มทำซุ้มประตูและรั้ว ทั้งหมดเป็นการแยกพื้นที่ลานจากพื้นที่ด้านนอกเพื่อความสะดวกในการควบคุมพื้นที่ เป็นโมเดลแบบเดียวกัน
เราสามารถมองว่าการปิดกั้นพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าตอนนี้เป็นกระบวนการทำลายประวัติศาสตร์คณะราษฎรต่อเนื่องจากการถอนหมุดได้ไหม
ผมคิดว่าการถอนหมุดคณะราษฎรกับการเข้มงวดเรื่องการใช้พื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีความเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะไม่เป็นเหตุเป็นผลโดยตรง แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกกันไม่ได้ ตั้งแต่รัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา มีกระบวนการและความพยายามที่จะลบทำลายความทรงจำและประวัติศาสตร์คณะราษฎรมาโดยตลอด เพราะประวัติศาสตร์และความทรงจำชุดนี้ถูกประชาชนฝ่ายที่นิยามตนเองว่าต่อต้านรัฐประหารใช้เป็นเครื่องมือหรือสัญลักษณ์ในการต่อสู้และการต่อต้านรัฐประหารอย่างเข้มข้น ดังนั้นภาครัฐจึงมองประวัติศาสตร์และความทรงจำคณะราษฎรในลักษณะเป็นปฏิปักษ์และท้าทายอำนาจรัฐ ความพยายามลบความทรงจำชุดนี้จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่รัฐประหาร 2557
การถอนหมุดคณะราษฎรก็เป็นหนึ่งในกระบวนการนั้น ห้ามไม่ให้คนมาชุมนุมทุกเช้าวันที่ 24 มิถุนายนอีกต่อไป ซึ่งสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนพื้นที่ลานพระบรมรูปทรงม้าให้เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะด้วย เป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กัน แชร์ไอเดียร่วมกัน
ถ้าพื้นที่นี้ถูกปิดกั้นไปเรื่อยๆ จะส่งผลต่อความเป็นประชาธิปไตยของเราอย่างไร
ส่งผลแน่นอนครับ การปิดกั้นพื้นที่นี้ในอนาคตจะส่งผลต่อประชาธิปไตยในสังคมไทยหรือการแสดงออกของคนในสังคม เพราะดังที่กล่าวไปแล้วว่า หนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงว่าเราเป็นสังคมประชาธิปไตยหรือเปล่า คือการดำรงอยู่ของพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง การปิดกั้นสนามหลวงและการลดทอนการใช้งานของลานพระบรมรูปทรงม้าแสดงให้เห็นว่าปริมาณของพื้นที่สาธารณะในสังคมไทยได้ลดลงอีกหนึ่งแห่ง นั่นสัมพันธ์โดยตรงกับระดับความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย
หากมองในแง่คุณค่าทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางจิตใจของคนในสังคม ปัจจุบันพระบรมรูปทรงม้าและพื้นที่ลานบริเวณนั้นมีคุณค่าอะไรบ้าง
พระบรมรูปทรงม้ามีคุณค่าซ้อนกันหลายชั้น ในมุมสถาปนิก เราเห็นว่าตัวอนุสาวรีย์มีคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรมสูงมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ เพราะนี่คืออนุสาวรีย์สมัยใหม่แห่งแรกๆ ที่ตั้งในที่สาธารณะ
ส่วนคุณค่าทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจคือ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายให้ทำการระลึกถึงในแบบสมัยใหม่เหมือนอนุสาวรีย์กษัตริย์ในยุโรปที่อาจจะมีการวางพวงมาลาเคารพ รัฐพิธีแบบรัฐสมัยใหม่ แต่เมื่ออนุสาวรีย์นี้อยู่ในสังคมวัฒนธรรมไทย มันก็ปรากฏคุณลักษณะเฉพาะของสังคมไทยเอง คือคนในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับอนุสาวรีย์ไม่ใช่แค่การเคารพในแบบสมัยใหม่ แต่เรายังเคารพในแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มาขอพรอะไรก็ว่าไป ซึ่งเป็นรากความคิดเดิมส่งต่อมาจากในอดีตที่เรานับถือผีบรรพบุรุษ เราเอาไอเดียนั้นมาสวมทับอนุสาวรีย์สมัยใหม่ด้วย ตัวอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าของไทยจึงมีลักษณะเป็น ‘ลูกผสม’ (hybrid) มีอะไรซับซ้อนที่อาจจะไม่ปรากฏในยุโรป เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาในมิติทางวัฒนธรรม
คุณคิดว่าความรู้สึกนึกคิด วิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับพระบรมรูปทรงม้านี้จะเปลี่ยนไปไหมเมื่อพื้นที่ถูกปิดกั้นต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับวิถีชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับพระบรมรูปทรงม้าในแง่ของการเข้าไปขอพรหรือในแง่ของรัฐพิธี ผมคิดว่ามีบ้าง แต่ไม่เยอะ เพราะการเข้าไปทำกิจกรรมวางพวงมาลา ถวายดอกไม้ หรือขอพรต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้มีอันตรายต่อรัฐ ไม่ได้ท้าทายอำนาจรัฐ ฉะนั้นจากข่าวต่างๆ จะเห็นได้ว่ารัฐและผู้มีอำนาจจะย้ำเสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้จะไม่มีการปิดกั้น เพียงแต่กำหนดช่วงเวลาไม่ให้ดึกเกินไป ดังนั้นสำหรับกลุ่มคนที่เป้าหมายเฉพาะแบบนนี้ ไม่ว่าจะขอพรหรือเคารพบูชาเสด็จพ่อ ร.5 เขาคงจะไม่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้เท่าใดนัก แต่กลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจริงๆ คือประชาชนที่ต้องการใช้พื้นที่สาธารณะแสดงออกถึงความคิดทางการเมืองมากกว่า
จำเป็นแค่ไหนกับการทวงคืนพื้นที่นี้ให้กลับมาเปิดกว้าง เข้าถึงง่ายดังเดิม
พื้นที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้านับตั้งแต่ 2475 คือพื้นที่สาธารณะที่ทุกกลุ่มในสังคมใช้งานได้ ตั้งแต่พระราชพิธี รัฐพิธี และประชาชน นี่เป็นอุดมคติที่ผมคิดว่าดีงามมาตลอด 70-80 ปีที่ผ่านมา คุณค่านี้เป็นสิ่งที่เราควรต้องสืบทอดต่อไป และคุณค่านี้สัมพันธ์กับระดับความเป็นประชาธิปไตยในสังคม การปิดกั้นหรือการจำกัดการใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการลดพื้นที่สาธารณะลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับความเป็นประชาธิปไตยในสังคมก็ลดลงตามไปด้วย การเรียกร้องให้พื้นที่นี้กลับมาเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงอีกครั้งจึงเป็นภารกิจสำคัญ เพื่อยืนยันให้เห็นว่าระดับความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยยังไม่ถดถอยมากจนเกินไป
สิ่งที่น่าจับตามองต่อจากกรณีการปิดกั้นพื้นที่พระบรมรูปทรงม้าคืออะไร
สิ่งที่น่าจับตามองต่อคือพื้นที่ต่อเนื่อง เราควรระแวดระวังและเพ่งเล็งพื้นที่ถนนราชดำเนินกลางและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในฐานะพื้นที่สาธารณะที่สำคัญที่สุดแห่งต่อไปที่อาจได้รับผลกระทบ ตอนนี้พื้นที่สาธารณะ 3 แห่งในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ คือสนามหลวง ลานพระบรมรูปทรงม้า และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 2 ใน 3 สูญหายไปแล้ว อย่างสนามหลวงเปลี่ยนเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนลานพระบรมรูปทรงม้าก็กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะเช่นกัน เหลือเพียงพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและถนนราชดำเนินกลางเท่านั้นที่ยังธำรงสถานะพื้นที่สาธารณะอยู่ แม้ว่าจะลำบากยากเข็ญก็ตาม
ไม่เชิงว่าเราจะไม่เห็นสัญญาณเลย นับตั้งแต่การรัฐประหาร 2557 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกล้อมรั้วมาโดยตลอด นี่เป็นโมเดลเดียวกันกับสนามหลวงและลานพระบรมรูปทรงม้า คือจำกัดการเข้าถึง เพียงแต่ว่าเรายังอาจพูดได้ว่ามันมีลักษณะชั่วคราว ยังไม่ปรากฏโครงสร้างถาวรที่ปิดกั้นพื้นที่ และยังไม่มีการออกกฎระเบียบที่จริงจัง ดังนั้นผมคิดว่าพื้นที่ตรงนี้กำลังอยู่ในช่วงของการต่อสู้ประลองกำลังกันอยู่ว่าสุดท้ายแล้วพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและถนนราชดำเนินกลางจะสามารถธำรงการเป็นพื้นที่สาธารณะได้หรือเปล่า ในปี 2563 ที่มีม็อบหลากหลายกลุ่มเข้ามาใช้พื้นที่นี้ตลอดก็เหมือนจะกระชากความเป็นสาธารณะกลับมาได้บ้าง แต่ก็โดนรัฐกระชากกลับไปอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้พื้นที่นี้จึงเหมือนเล่นชักเย่อ รอว่าฝ่ายไหนจะเพลี่ยงพล้ำ
ติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับลานพระบรมรูปทรงม้าได้ในสารคดี Public | Space ไพร่ ฟ้า ม้า ลาน
(คลิปข้างบน)