วันศุกร์, ธันวาคม 10, 2564
"จากโต๊ะจีน พปชร. ถึงนิคมจะนะ"
Voice TV
11h ·
"จากโต๊ะจีนถึงนิคมจะนะ"
แม้ว่า 36 ชาวบ้าน ‘เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น’ จะได้รับการปล่อยตัวแล้ว แต่ภาพการใช้กำลังตำรวจควบคุมฝูงชน (คฝ.) นับร้อยนาย เข้าสลาย ‘หมู่บ้านลูกทะเล’ ท่ามกลางเสียงกรีดร้องของผู้ถูกกระทำ ที่มีเพียงมือเปล่าไร้อาวุธและอำนาจ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2564 ยิ่งเป็นการตอกย้ำความรุนแรงที่เกิดจากรัฐ
ด้วยกฎหมายและกระบอกปืน ปิดปากประชาชนที่ออกมาทวงสัญญาจากผู้มีอำนาจ เพื่อวอนให้รัฐยุติ "โครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต" ด้วยการยกหมู่บ้านเข้ากรุง เพื่อปกป้องบ้านเกิดจากกงจักรทุนในนามการพัฒนา
“คนจะนะมาทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดิน แต่คนที่ถืออำนาจทำหน้าที่ปกป้องกลุ่มทุน”
“หากประชาชนไม่ลุกขึ้นมาปกป้องแผ่นดิน หลายพื้นที่จะถูกอำนาจรัฐทำลาย” ข้อความบางส่วนของแถลงการณ์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
รู้กันทั่วไปว่า 'โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ' มีตัวละครสำคัญคือ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เจ้าสัวอาณาจักรปิโตรเคมี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และอดีตหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย หนึ่งในกลุ่มทุนที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการ มีเป้าหมายยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดนใต้ให้รองรับอุตสาหกรรมโลกยุคใหม่จากภาคเอกชน
จิ๊กซอว์สัมพันธ์อำนาจ
สำหรับ ‘ประชัย เลี่ยวไพรัตน์’ เป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจไทย เขาเคยเผชิญวิกฤตต้มยำกุ้ง ยังผลให้ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูธุรกิจ ก่อนเริ่มต้นเส้นทางการเมืองด้วยตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาราช
กระทั่งเมื่อปี 2550 นั่งหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ร่วมกับแกนนำจากกลุ่มวังน้ำยม สมศักดิ์ เทพสุทิน และอนุชา นาคาศัย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในพรรคพลังประชารัฐ และรัฐบาลประยุทธ์
อีกทั้งบัญชีรายชื่อผู้สนับสนุนการจัดระดมทุน หรือ ‘โต๊ะจีนพลังประชารัฐ’ อันลือเลื่องนั้น ยังปรากฏชื่อบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ล้านบาท, บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ล้านบาท
อ่านเพิ่มเติมบนเว็บไซต์
https://www.voicetv.co.th/read/TWWLw3sH3
#VoiceOnline