วันอาทิตย์, ธันวาคม 05, 2564

เมื่อภาษาถูกนำมาใช้เป็นเครื่องปั่นเพื่อเป้าหมายทางการเมือง


สมชาย ลัคนาพันธ์
December 2 at 10:56 PM ·

เวลาต้องการจะปั่นเรื่องธรรมดาให้มันดูรุนแรงและน่ากลัวอย่างเกินจริง
• "แบนลูกสลิ่ม" = "ศาลเตี้ย, ไร้อารยธรรม"
• "ปฏิรูป(สถาบันกษัตริย์)" = "ล้มล้าง, ทำลาย"
• "เรียกร้องสิทธิผู้ต้องหา" = "หนุนผู้กระทำผิด"
• "ไม่ยอมให้สิทธิการประกันตัวแกนนำฯ" = "ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง"
• "ยกเลิก๑๑๒" = "เพื่อที่จะล้มเจ้า"
• "วิจารณ์เศรษฐกิจพอเพียง" = "กระทบความรู้สึกประชาชน, ผิดพ.ร.บ.คอม"
• "วิจารณ์รัฐบาล" = "ชังชาติ, เกลียดประเทศตัวเอง" (ฯลฯ)
--- • ---
แต่เวลาต้องการจะทำเรื่องเลวร้ายและรุนแรง ให้มันดูบางเบาหรือกลายเป็นเรื่องดี ๆ
• "รัฐประหาร, ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย" = "คืนความสุข"
• "เถลิงอำนาจความเป็นเผด็จการ" = "ปฏิรูปประเทศไทย, ขอเวลาอีกไม่นาน"
• "หัวหน้าคณะรัฐประหารแต่งตั้ง ๒๕๐ มาเลือกตัวเองเป็นนายกฯ" = "รัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ๑๖ ล้านเสียง"
• "ล้อมปราบประชาชน" = "กระชับพื้นที่, ขอคืนพื้นที่"
• "ไล่ฆ่าคนกลางเมืองหลวง/ซุ่มยิงประชาชนในวัด" = "เขตกระสุนจริง"
• "ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง" = "ไม่ได้โกงแต่แค่ค่าส่วนต่างมากไปหน่อย"
• "น้ำท่วม" = "น้ำมาก, น้ำรอระบาย" (ฯลฯ)
...
Paul Adithep
December 2 at 7:01 AM ·

พระพุทธเจ้า บิดาแห่ง Cancel Culture
วันก่อนครับ เห็นคนที่อ้างว่าอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยออกมาด้อยค่า “cancel culture” ว่า เป็นวิธีการที่ “ป่าเถื่อน” บ้าง “ศาลเตี้ย” บ้าง ทั้งที่มาตรการตัดขาดการติดต่อสังฆกรรมกับคู่ขัดแย้ง เคยถูกมองว่า เป็นการต่อต้านอย่างสันติวิธี และมีใช้มาตั้งแต่ในยุคพุทธกาล และชาวไทยพุทธย่อมคุ้นเคยดีกับคำว่า “คว่ำบาตร”
ไม่ใช่แต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ใช้มาตรการแบบนี้จัดการกับคู่ขัดแย้ง โป๊ปเองก็มีเหมือนกันชาวคาทอลิกย่อมรู้จักดีกับคำว่า “excommunication” ซึ่งโป๊ปคนปัจจุบันก็ยังคงใช้มาตรการนี้ให้เห็นอยู่
หรือคานธีก็เคยออกมาเรียกร้องให้ชาวอินเดียบอยคอตต์สินค้าอังกฤษเช่นกัน
อย่างไรก็ดี พระพุทธเจ้า โป๊ป หรือคานธี กลับไม่ถูก “ตัดสิน” ว่า “ป่าเถื่อน” หรือ “ศาลเตี้ย” แต่อย่างใด
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ การคว่ำบาตรในอดีตถูกจัดตั้งโดยชนชั้นนำที่มีสถานะสูงในสังคม และคู่ขัดแย้งมักเป็น “คนนอก” ทำให้การรณรงค์ได้รับการสนับสนุนจากคนท้องถิ่นที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
แต่ปัจจุบัน การคว่ำบาตรกลายเป็นเครื่องมือที่คนธรรมดาทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับคนหมู่มาก ไม่ได้ถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำเหมือนแต่ก่อน และกลายเป็นอาวุธที่กลับมาทิ่มแทงชนชั้นนำเสียเอง
เมื่อถูกทิ่มแทงบ่อยๆ ก็ทนไม่ไหวต้องออกมาด้อยค่า ทำลายความชอบธรรมของการ “คว่ำบาตร” ที่เกิดจากการผลักดันของคนธรรมดาทั่วไป
แต่ทั้งนี้ เมื่อพูดถึงการ “คว่ำบาตร” สำหรับผมมันคือการไม่คบค้าสมาคม ไม่ให้การสนับสนุน ซึ่งมันคนละเรื่องกับการไปเกะกะระราน ทำลายความเป็นส่วนตัวของคนอื่น
การคว่ำบาตรจึงอยู่ในกรอบของกฎหมาย เป็น “สิทธิ” ที่ทุกคนมีเหมือนๆ กัน แต่มันกำลังถูกทำให้กลายเป็นสิ่งชั่วร้าย
เช่นเดียวกับความผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ถูกขยายความให้เป็นเรื่องใหญ่โต เช่น การด่าทอ ดูหมิ่น ที่ถูกวาดภาพว่า เลวร้ายไม่แพ้ หรือยิ่งกว่าการทำร้ายร่างกาย
ผมไม่ได้เห็นด้วยกับการใช้ถ้อยคำหยาบคายเพื่อทำร้ายความรู้สึกกัน (ผมเองไม่เคยใช้) แต่ถ้าใครจะใช้ก็เป็นทางเลือกที่เค้าเลือก ถ้าเค้าจะต้องรับโทษก็ควรเป็นโทษที่ได้สัดส่วน
แต่ทุกวันนี้ มันมีความพยายามที่จะตัดทอนเครื่องมือในการต่อต้านผู้มีอำนาจ หรือการเรียกร้องให้ผู้มีสถานะทางสังคมสูงต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตน เรื่องที่ไม่เป็นความผิดก็พยายามทำให้เป็นความผิด ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้เป็นเรื่องใหญ่
เป้าหมายคงต้องการให้การประท้วงเหลือแต่การพับเพียบขอความกรุณาให้ผู้มีอำนาจเห็นใจผู้ได้รับผลกระทบกันอย่างเดียวกระมัง



สมชาย ลัคนาพันธ์
Yesterday at 4:43 AM ·
หน้าสั่น..??? #บอยคอยคือวัฒนธรรมศาลเตี้ย_พูดเว่อเกินข้อเท็จจริง