วันเสาร์, ธันวาคม 11, 2564

10 ธันวา เป็นทั้งวันรัฐธรรมนูญ และวันสิทธิมนษยชน แต่วันนี้ไม่เหลือค่าแล้วในประเทศเฮงซวยนี้


Atukkit Sawangsuk
4h ·

10 ธันวา เป็นทั้งวันรัฐธรรมนูญ และวันสิทธิมนษยชน
แต่วันนี้ไม่เหลือค่าแล้วในประเทศที่มีโบสถ์อยู่บนสภา
รัฐธรรมนูญถูกตีความใหม่ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"
ลดประชาธิปไตยลงกว่าเดิม เพิ่มเติมคือสมบูรณา
สิทธิมนษยชนก็เหลือแค่เครื่องหมายการค้า
กรมคุ้มครองสิทธิเอามาทำรางวัลแจกซีพี ปตท.ฯลฯ ไว้ทำ PR
ซ้ำร้าย ตำรวจสลายม็อบจะนะฉลอง 10 ธันวา
.......................
การสลาย "ม็อบจะนะ" เป็นการกระทำที่เหี้ยมาก
เพราะเรียกม็อบก็ไม่เต๋็มปาก เป็นผู้หญิงคนแก่มาร้องทุกข์มากกว่า
ไม่มีเหตุอะไรต้องใช้กำลังกับประชาชนที่มาทวงคำมั่นสัญญา
อ้างว่ากีดขวางจราจร ขวางประตูเข้าทำเนียบ
แม่-เป็นอัครมหาเสนาบดี เจ้าพระยาประยุทธ์โอชาหรือไงวะ
เห็นชาวบ้านขัดหูขัดตาต้องกวาดทิ้งเหมือนกวาดขยะ
ไปต่างจังหวัดมีม็อบด่าก็ไม่ได้ มีคนบอกให้เกษียณ ตำรวจก็ไล่ล่า
.........................
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในขณะนี้มันกลายเป็นความเคยชิน เป็นสันดานของอาชีพส้นตีน ที่รัฐให้ท้าย
ใช้กำลังสลายม็อบได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ใช้ความรุนแรงยิ่งได้ความดีความชอบ
กระบวนการยุติธรรม อัยการ ศาล เป็นเครื่องมือ รู้กันมีใบสั่ง
การใช้อำนาจ การตั้งข้อหา เกินเลยอำนาจตามกฎหมาย แต่ไม่มีใครทำอะไรได้
อย่างการไปคุกคามถึงบ้านนักเคลื่อนไหว แม่-ใช้อำนาจมิชอบชัดๆ
แต่ย่ามใจเพราะทำได้ตั้งแต่ยุครัฐประหาร
ปัญหาคือคนไทยทั่วไปไม่ตระหนักว่าสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของม็อบของ LGBTQ เท่านั้น
เมื่อตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ มีอำนาจมาก มันก็คุกคามคนด้อยโอกาสคนตัวเล็กตัวน้อยเป็นเหยื่อ
..........................
10 ธันวา บางคนอาจเห็นว่าไม่ใช่วันรัฐธรรมนูญ ควรจะเป็น 27 มิถุนา ต่างหาก
แต่ความหมายของ 10 ธันวา คือเป็นรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรอุตส่าห์ประนีประนอมกับ "พวกเจ้า"
วางระบอบ "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเป็นประมุข"
ซึี่งก็ไม่สำเร็จ พระยามโนทำรัฐประหารเงียบ พระยาพหลต้องยึดอำนาจคืน เกิดกบฎบวรเดช ร.7 สละตำแหน่ง
หลังจากนั้นก็เกิดรัฐประหาร 2490 ฟื้น "พระราชอำนาจ" ร่างรัฐธรรมนูญที่ทำให้ระบอบถอยหลัง
..........................
หลัง 2490 ประเทศอาจไม่เป็นประชาธิปไตย เกิดเผด็จการฉีกรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ
แต่ในสาระสำคัญเชิงระบอบ ยังไม่ถอยหลังมากเท่ากับรัฐธรรมนูญ 2560
ซึ่งตอกย้ำด้วยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ยกคำขวัญปฏิวัติฝรั่งเศส "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" (และกิโยติน)
มาชี้หน้าม็อบเรียกร้องปฏิรูปสถาบันว่า "ล้มล้าง"
ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เก่งภาษาจริงๆ นะ
กระทั่งมาตรา 1 รัฐธรรมนูญคณะราษฎร "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย"
ก็ยังเอามาอ้างรองรับอำนาจปกครองของกษัตริย์
............................
แต่ความเสื่อมเห็นกันชัดๆ กับความพยายามอธิบายให้ถอยหลัง
ยกตัวอย่างนะ ข้อเรียกร้องว่า ให้ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
ศาลบอกว่าทำให้สถานะของสถาบันไม่เป็นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
โคตรตลกเลย เพราะในรัชสมัย ร.9 ที่ "ประชาธิปไตยใต้อำนาจนำ" รุ่งเรือง
ปัญญาชนฝ่ายอนุรักษ์เขาพยายามอธิบายว่า ในหลวงอยู่เหนือการเมือง ในหลวงไม่ได้แสดงความเห็นทางการเมือง
(ที่พูดทุกปี 4 ธันวา ก็สื่อไปตีความกันเอง ไม่ได้เข้าข้างใครทางการเมืองนะ)
แม้แต่กรณี 14 ตุลา พฤษภา 35 ก็อธิบายได้ว่า มันเป็นยามบ้านเมืองวิกฤติ สุญญากาศอำนาจ เป็นสถานการณ์ไม่ปกติ
คนที่พูดได้เคลียร์ได้คือคนที่ประชาชนเคารพนับถือ คนที่มีบารมี ซึ่งก็คือ ร.9
คำอธิบายแบบศาลรัฐธรรมนูญ จึงหัวร่อก๊ากเลย ไปไกลยิ่งกว่าอดีต
กลายเป็นศาลบอกว่ากษัตริย์อยากแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร อยากตำหนิรัฐบาล-ฝ่ายค้าน ก็พูดได้ เป็นพระราชอำนาจตามประเพณีประชาธิปไตย
ทั้งที่เขายืนยันว่าไม่เคยทำ

https://www.facebook.com/baitongpost/posts/4704405732974552