Branding by Boy
13h ·
#คณะราษเปซ
เมื่อวานมีโอกาสเข้าไปฟังคณะราษสเปซ ทาง twitter ยอมรับว่าเปิดโลกมากๆทีเดียวครับ เลยแวะเอาข้อมูลมานำเสนอกันบางส่วนเท่าที่จับใจความตัวสาระได้ แต่ทั้งนี้แจ้งก่อนว่าเป็นเพียงข้อมูลที่มีการพูดคุยกัน อันประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง เรื่องเล่าขาน และทัศนคติของผู้เล่าเรื่อง (บอยขอไม่ระบุชื่อผู้เล่า เพื่อไม่เข้าถึงตัวบุคคลที่ให้ข้อมูลนะครับ)
หมายเหตุ : มิต้องด่าทอฉันแต่อย่างใด แค่รวบตึงใจความมาจาก "คณะราษเปซ" ที่ตัวเราเองชวนคนมาคุย และถกเถียงกันต่อไปเท่านั้น
:: เรื่องดวงเมือง / เสาหลักเมือง ::
1) ในช่วงของการตอกเสาหลักเมือง จะมีเรื่องดวงเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งการลงฤกษ์ของประเทศ เลือกให้ผู้นำเป็นผู้ชายและเป็นจอมทัพหรือเป็นทหาร เพื่อต้องการเอื้อให้ระบอบการปกครองแบบศูนย์รวมโดย
1. กษัตริย์เป็นใหญ่
2. ทหารเป็นอันดับสอง (ไม่มีสิ่งใดผูกพันเกี่ยวกับอำนาจของประชาชนทั้งสิ้น)
= ผู้ขึ้นมามีอำนาจต้องมียศ เชื้อสายและต้องมีความเกี่ยวข้องกับทหาร
2) ดวงเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อการรักษาเอกราช และไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร แต่มีสิ่งที่ trade off เช่นกันคือ
1. มีผลต่อการพัฒนาประเทศ และผู้นำที่ขาดศักยภาพ
2. เงินและงบประมาณตกอยู่ในมือทหารตลอด แม้แต่หุ้นธนาคารก็จะอยู่ในมือทหาร
3. ประชาชนจะชอบความง่าย สบาย สวยงาม ความรื่นรมย์ อาหาร ท่องเที่ยว ควรอยู่ติดน้ำ อาชีพค้าขาย การเดินทาง เมื่อถมแม่น้ำไปหมด ก็ทำให้ประชาชนดวงตก
ดวงเมืองที่วางไว้ไม่เอื้อต่อความสุจริต
1. คนที่ทำงานสุจริตจะทำงานหนัก แต่ไม่ได้รับความสำเร็จ เติบโตได้ไม่ดี
2. เป็นโจรทำงานสีเทา โดยเฉพาะคนที่ทำงานแบบต่อหน้าดีลับหลังชั่ว ทำงานได้รุ่งเรือง
ฉะนั้น ถ้าจะขึ้นมาเป็นใหญ่จึงต้องเป็นคนที่เบื้องหน้าดีแต่เบื้องหลังทำผิดศีลธรรม
*สำหรับเรื่องการแก้ดวงเมืองในรัชกาลที่ 4 หลังจากการวางเสาหลักเมืองในรัชกาลที่ 1 มีผลต่อการปรับดวงเมือง และรัชกาลที่ 4 นอกจากสนพระราชหฤทัยในเรื่องดาราศาสตร์แล้ว เรื่องเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับดวงดาว ก็เป็นศาสตร์ที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญไม่แพ้กัน มีผลต่อการตัดสินใจ และสร้างสรรค์หลายอย่างในสยาม ณ เวลานั้น
:: เรื่องพระสยามเทวาธิราช ::
1) จริงๆถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยประชาชนเข้าใจว่าสร้างขึ้นเพื่อปกปักษ์ประเทศชาติ หลังจากนั้นสร้างขึ้นอีกครั้งในรัชกาลที่ 5 โดยพระพักตร์เป็นใบหน้าของรัชกาลที่ 4 สรุปคือมี 2 versions
2) ลักษณะการบูชา ใช้เครื่องสังเวยที่เป็นของสด และเครื่องบูชาต่างๆ ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าคล้ายการบูชาบรรพบุรุษในตระกูล มิใช่เจตนาของการรักษาเมือง จึงอาจจะมีความหมิ่นเหม่ว่าไม่ได้มีศักดิ์เป็นเทพแต่อย่างใด รวมไปถึงการตั้งข้อสังเกตว่าอยู่ในที่มืดที่มีกำบัง และม่าน ไม่ใช่ที่แสงสว่างเข้าถึงแบบปกติ
3) มีพระป้ายอักษรจีนด้านหลัง พระป้ายหรือที่ชาวจีนเรียกว่า เกสิน หมายถึง ป้ายชื่อของบรรพบุรุษ บุพการีที่ตั้งไว้สำหรับบูชาประจำบ้าน เพราะธรรมเนียมจีนเคารพนับถือ กตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ จึงมีนัยยะเป็นเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
4) คติแบบจีน "ลัทธิเต๋าเชื่อว่าบรรพชนที่ตายไปเท่ากับเทวดา" หากเทียบเคียงจากผู้ตั้งข้อสังเกต อาจมองว่าคล้ายแนวคิดการบูชาบวงสรวงพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ซึ่งเป็นเรื่องที่ "คนไทย" ก็ร่วมบูชาบรรพบุรุษของวงศ์ตระกูลไปด้วยกันทั้งประเทศ
5) ในปี พ.ศ. 2525 นำเอาพระสยามเทวาธิราชออกมาให้ประชาชนได้บูชาสักการะ ในโอกาสครบรอบ 200 ปีกรุงเทพฯ เกิดเหตุการณ์บางอย่างที่แปลกประหลาด หาคำอธิบายไม่ได้ และปกติจะนำเอาออกมาศักการะไม่บ่อยครั้งนัก
:: เรื่องของสัญญะการกดทับประชาชน ::
1) หากสังเกต จะพบว่า การซ่อนนัยยะของสิ่งที่กดทับประชาชนมีอยู่ทั่วไป ยกตัวอย่าง กรมราชทัณฑ์
"ตราราชทัณฑ์เป็นพระยม" เป็นสัญญะแสดงการกดขี่ความเป็นมนุษย์ โดยการมองมนุษย์หรือนักโทษเป็น "สัตว์นรก"
การมองนักโทษ เป็นสัตว์นรก คือเขาไม่มีวันถูกมองเป็นคนดี คนปกติได้แล้ว และการที่มีอภัยโทษเป็นระลอกในแต่ละปี เปรียบเขาเหล่านั้นเหมือนสัตว์นรก ที่ปล่อยไป ราวกับการทำบุญเหมือนปล่อยนกปลา
2) เราควรใช้ไสยขาวบริสุทธิ์ที่จะสู้อำนาจมืด ไม่ใช่การสาปแช่งหรือไสยดำไปสู้ผู้มีอำนาจ/ ชนชั้นสูงในประเทศ เพราะรัฐใช้อำนาจดำที่ซับซ้อนกดทับประชาชนมาเสมอในสัญญะต่างๆที่ซ่อนไว้ในประเทศ
คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ การต่อสู้ที่จะเกิดขึ้นต่อไปควร "หยุดสาปแช่ง แนะนำให้ไม่สนใจ ไม่กราบไหว้ อะไรที่มันถูกลดความสำคัญ สักวันมันจะตกต่ำไปเอง"
3) ในวันที่น้องเพนกวิ้น ได้กล่าวบางถ้อยคำอัญเชิญดวงวิญญาณฝั่งตรงข้ามมาร่วมรับรู้ในการปักหมุดคณะราษฎร์หมุดที่ 2 กล่าวถึงการให้พลังงานผู้เป็นปรปักษ์กับอำนาจเดิม "คณะราษฎรไม่มีวันตาย" เป็นการท้าทายอำนาจ และผู้มีความเชื่อที่ฝังรากลึกในไสยเดิมที่ปกปักษ์แผ่นดินอยู่ ให้ต่อต้าน และมิอาจทนทนได้เป็นอย่างยิ่ง (มีคำบรรยายข้อความกล่าวสดุดีของการปักหมุดในภาพประกอบ) อันเป็นการต่อสู้ทางพลังจากฝั่งตรงข้ามที่มิควรทำนัก
4) ตามหลักพระพุทธศาสนา "รูปเคารพ ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ให้ยึดถือบูชา" พระพุทธเจ้าไม่เคยให้ยึดรูปเคารพเป็นสรณะอื่นใด นอกเหนือจากคำสอน "พระธรรม" เป็นสรณะ จริงๆแล้ว พระพุทธรูปไม่ได้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ ซึ่งอาจจะเป็นอย่างอื่น บางอย่างที่เราเคารพบูชาอาจจะไม่ใช่ไสยขาว เป็นพวกของดำ ภูติผีปีศาจ ที่เราไม่อาจทราบแหล่งที่มาของพลังงานที่อยู่ในรูปเคารพเหล่านั้นได้ ดังนั้นการไหว้หรือศรัทธาสิ่งใดควรมีปัญญา และไม่บูชาขอพรสิ่งใดเรื่อยเปื่อย เพราะมันอาจจะเป็นการกราบไหว้ผีก็เป็นได้
5) ถ้าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ แต่น่าแปลกพิธีกรรม หรือสิ่งที่เราบูชา กลับไม่สะท้อนความเป็นพุทธแท้ของเราเท่าไหร่ แม้กระทั่งในกลุ่มอภิสิทธิ์ชน การกราบไหว้บางสิ่งที่เป็นของสูง สิ่งบูชา กลับมีข้อสงสัย และเรื่องเร้นลับให้คนตามหาคำตอบมากมายทีเดียวนะครับ
((ใช้วิจารณญาณ ทุกข้อมูลที่มี ไปปะติดปะต่อจากเรื่องเล่าอีกทีเช่นกัน))
แลกเปลี่ยนกันได้ เราไม่ใช่กูรูสายมู เอามาชวนคุยกันแต่เพียงเท่านี้
IG & TW : BrandingbyBoy
#BrandingbyBoy
https://www.facebook.com/Brandingbyl3oy/posts/232401802109796
.....
ศาสดา
@IamSasdha
·15h
ผมมองว่าเยาวชนจำนวนหนึ่งไม่ได้พยายามกลับไปงมงายอะไรหรอก เพียงแต่เขารู้ว่าเขากำลังสู้กับอะไร และคนกลุ่มนั้นเชื่อในสิ่งไหน เขาเลยพยายามเรียนรู้/เข้าใจในไวยากรณ์ทางวัฒนธรรมที่คนกลุ่มนั้นเชื่อ และหาความเป็นไปได้ในการลงไปสู้ในสนามแบบนั้นด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่าความงมงายมัน drive สังคมนี้
ที่ตลกคือ เห็นหลายคนเหน็บแนม ยักไหล่ แสยะยิ้ม เพียงเพราะเห็นเด็กรุ่นใหม่ไปแห่ฟังเรื่องมูเตลู และจะลองท้าทายสู้ในเวย์นั้นบ้าง โดยลืมไปว่าตัวเองยังกลัวผี เปลี่ยนเบอร์มงคล ดูฤกษ์ถอยรถ ดูไพ่ ไหว้ศาลพระภูมิ ทำบุญแก้ปีชง ฯลฯ