อ่านเธรดนี้ที่ https://twitter.com/hibunnybun/status/1431467939429974018เป็นนิราศที่ตีพิมพ์ในสมัยร.5 แล้วก็ถูกสั่งเผา คนแต่งถูกลงโทษโบยจำคุกเพราะเนื้อหาแหกขนบ ‘นิราศ’ ที่ปกติเล่าเรื่องการเดินทาง ชมบ้านย่านตำบล รำพึงรำพันถึงนางอันเป็นที่รัก แต่ดันไปเล่าเรื่องการเดินทัพ เปิดโปงการฉ้อราษฎร์บังหลวง การกดขี่ข้าไพร่ของชนชั้นศักดินา พาดพิงเจ้านายรวมถึงคิง https://t.co/zcAWpzEmLE
— don't call me, IHY ☎️ (@hibunnybun) August 28, 2021
ปริศนา “นิราศหนองคาย” ทำไมต้องถูกสั่งเผา?
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2559
“ด้วยสมเดจเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษรับพระบรมราชโองการไส่เกล้าฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระยานครราชสีห์มา มีบอกลงมาว่ากองทัพห้อยกทัพล่วงลงมาตั้งอยู่เมืองเวียงจัน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหินธรศักดิ์ธำรงค์เปนทัพหน้า สมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ ยกขึ้นไปเมืองหนองคาย กำหนด ณ วันพุฒ เดือนสิบ แรมแปดค่ำ ปีกุน สัปตศก…”
ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ ฉบับวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน สัปตศก ๑๒๓๗ (พุทธศักราช ๒๔๑๘) ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย
(ซ้าย) นิราศหนองคาย” ฉบับที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนสันทัดวุฒิวิถี (สวน สันทัดวุฒิ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘, “นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา” โดย สิทธิ ศรีสยาม (จิตร ภูมิศักดิ์) สำนักพิมพ์พี่น้องสองธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๘ (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๘ โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ต่อมาถึงพุทธศักราช ๒๕๐๔ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้นำนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาศึกษาวิพากษ์ในหัวข้อ “นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา” โดยที่ยังไม่มีโอกาสอ่านสมุดไทยเรื่องนิราศหนองคายฉบับก่อนจะมีการตรวจ คัด ตัดตอน ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ให้เหตุผลว่า “…หอสมุดแห่งชาติสงวนต้นฉบับและเก็บไว้ในประเภทเอกสารลับ ไม่ให้ยืมและตรวจค้น ความหวังที่จะได้ตรวจสอบต้นฉบับสมบูรณ์ จึงยังมีอยู่ก็แต่เพียงยุคสมัยในอนาคตที่ได้มีการฟื้นฟูศิลปวรรณคดีที่รับใช้สังคมอันดีงามเท่านั้น”
ผู้ตรวจ คัด ตัดตอน นิราศหนองคายเพื่อจัดพิมพ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๘ นั้น นอกจาก อาจารย์หรีด เรืองฤทธิ์ แล้ว ยังมีผู้ร่วมดำเนินการอีก ๓ คน คือ อาจารย์ตรี อมาตยกุล อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ และอาจารย์พวงทอง สิริสาลี ผู้เขียนได้อ่านนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เปรียบเทียบกับฉบับเดิมซึ่งมีผู้คัดลอกจากสมุดไทยไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า ครูบาอาจารย์ทั้ง ๔ ท่านผู้ตรวจ คัด ตัดตอนนั้นนับเป็นผู้ปราดเปรื่องในเชิงอักษรศาสตร์ ได้ตัดทอนปรับแก้ตอนที่ผู้แต่งมุ่งให้เป็นเรื่องขำขัน ไม่มีสาระออกไปโดยไม่เสียใจความ เช่น ตอนต้นของนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เริ่มต้นคำกลอนแรกว่า
“จะเริ่มเรื่องเมืองหนองคายจดหมายเหตุ
ในแดนเฃตเขื่อนคุ้งกรุงสยาม”
แต่ฉบับที่ยังไม่ได้ตรวจ คัด ตัดตอน มีข้อความก่อนหน้านี้ ๑๒ คำกลอน กล่าวอ้างถึงความรู้สึกของเจ้าพระยามหินทรฯ และมูลเหตุที่นายทิมต้องแต่งนิราศหนองคาย ดังนี้
“ท่านเจ้าพระยามหินทรเคาซิลลอ
ออกหน้าหอขนพองสยองหัว
ในจิตคิดหนาวสั่นพรั่นพรึงกลัว
ด้วยว่าตัวจะต้องแน่เป็นแม่ทัพ
ให้คิดห่วงหวงนางสาวชาวละคร
นั่งสะท้อนถอนใจจนลมจับ
เหื่อแตกเต็มประดาเอาผ้าซับ
เคี้ยวหมากหยับหยับแสนเสียดาย
โอ้ว่าไข่ขวัญของพี่เอ๋ย
กระไรเลยห่วงอยู่ไม่รู้หาย
ตัวพี่นี้จะต้องไปหนองคาย
ด้วยเรื่องรายฮ่อหาญมาราญรอน
เลยบัญชาให้ข้าพเจ้านี้
ผู้เป็นที่เสมียนเขียนอักษร
จดหมายเหตุจำทำเป็นคำกลอน
จะถาวรอยู่ในคุกสนุกนิ์นาน
ประชาชนจะได้ยลระยะทาง
เป็นตัวอย่างทำเนียมคุกทุกสถาน
เหล่าฝูงคนที่อยู่ได้รู้การ
ผู้ใดอ่านเห็นความขลาดได้บาดใจ
ฉันคำนับรับบัญชาจดจาฤก
คิดตรองตรึกตามบัณฑิตลิขิตไข
ปัญญาน้อยหนุ่มคะนองไม่ว่องไว
พอทนได้ห้าสิบทีมีลายงาม ฯ”
ผู้เขียนเข้าใจว่าคำกลอนดังกล่าว น่าจะมีทั้งส่วนที่นายทิมแต่งไว้แต่เดิมและแต่งแทรกหลังจากที่ได้รับโทษแล้ว เพราะถ้าแต่งก่อนท่านจะทราบได้อย่างไรว่าจะต้องรับโทษติดคุกและถูกเฆี่ยน ๕๐ ที ส่วนคำว่า “ไข่ขวัญ” นั้นหมายถึง “หม่อมไข่” นางละครคนโปรดของเจ้าพระยามหินทรฯ ซึ่งมีกล่าวถึงในนิราศหนองคายหลายตอน
ก่อนเคลื่อนทัพเจ้าพระยามหินทรฯจัดเตรียมยุทธปัจจัยต่างๆรวมทั้งจัดทำแหวนเพชรสำหรับเป็นบำเหน็จศึกแก่ผู้มีความชอบดังฉบับพิมพ์พุทธศักราช๒๔๙๘ว่า
“และท่านทำแหวนเพชรสิบเอ็ดวง
หวังใจจงแจกจ่ายนายทหาร
ที่ไม่คิดย่อหย่อนเข้ารอนราญ
ใครทำการศึกสำเร็จบำเหน็จมือ
ทั้งเสื้อผ้าสารพัดท่านจัดครบ
ถ้าใครรบจริงจริงไม่วิ่งตื๋อ”
แต่เนื้อความในฉบับที่ยังไม่ผ่านการตรวจ คัด ตัดตอน มีรายละเอียดมากขึ้นไปอีก ๔ คำกลอน คือ
“แลท่านทำแหวนเพชรสิบเอ็ดวง
หวังใจจงแจกจ่ายนายทหาร
ที่ไม่คิดย่อหย่อนเข้ารอนราญ
ใครทำการศึกสำเร็จบำเหน็จมือ
แต่อย่างไรก็ไม่ได้ไปรบแน่
เพราะท้อแท้ไม่อยากไปหมีใช่หฤๅ
แต่ทำแหวนเพชรไปให้เขาฦๅ
พอเสร็จทัพกลับใส่มือนางละคร
ไม่ต้องเสียแหวนเพชรสักเม็ดเดียว
ทำกราวเกรียวพอให้ชื่อฦๅกระฉ่อน
แต่ขี้ขลาดยังอาจมาทำกลอน
หวังจะอวดราษฎรให้เลื่องฦๅ
ทั้งเสื้อผ้าสารพัดท่านจัดครบ
ถ้าใครรบจริงจริงไม่วิ่งตื๋อ”
กองทัพยกออกจากกรุงเทพฯ ด้วยกระบวนเรือ ทำพิธีตัดไม้ข่มนามและกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ท่าราชวรดิฐ แล้วทวนกระแสน้ำเจ้าพระยามาถึง “ตำหนักแพวังหน้า” ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“พระวังหน้านั้นก็เสร็จเสด็จรับ
ส่งกองทัพยืนร่าหน้าเฉลียง
พร้อมเสนาขวาซ้ายยืนรายเรียง
บ้างอยู่เคียงพระองค์ผู้ทรงนาม
ท่านเจ้าคุณแม่ทัพคำนับน้อม
รองพระจอมจุลจักรหลักสยาม
พระกายไทยใจทหารชาญสงคราม
พระพักตร์งามสง่าชูสุรพงศ์
พอกระบวนด่วนล่วงมาเลยลับ
เรือกองทัพเซ็งแซ่แลระหง
สังเกตลมพระพายพัดชายธง
นิมิตมงคลดีเลิศประเสริฐครัน”
ความตอนเดียวกันนี้ฉบับที่ยังไม่ผ่านการตรวจ คัด ตัดตอน บรรยายไว้อย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงว่า
“ท่านเจ้าพระคุณแม่ทัพคำนับน้อม
ปางพระปลอมมาเป็นไทยในสยาม
พระกายไทยใจฝรั่งช่างแสนงาม
พระพักตร์สามสี่หน่วยดูรวยครัน
แยกพระพักตร์ทรงพยักยิ้มเหี่ยเหี่ย
พระพักตร์เรี่ยเต็มประดาดูน่าขัน
เก้อเปล่าเปล่าไม่เข้าเรื่องเปลืองไม่บัน
ยิงพระฟันเขียวเขียวปรางเบี้ยวงาม”
เมื่อกระบวนทัพยกไปถึงเมืองปทุมธานี หยุดพักค้างแรมที่วัดประทุมทอง พระสงฆ์ในวัดประชุมสวดอำนวยพร เจ้าพระยามหินทรฯ มีจิตศรัทธาถวายเงินแก่พระสงฆ์ทั้งวัด รูปละ ๑ บาท ตามฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ มีว่า
“ถวายเงินแก่พระสงฆ์องค์ละบาท
ทั้งอาวาสด้วยศรัทธาท่านกล้าหาญ
น้อมจิตคิดตั้งปณิธาน
เจ้าอธิการคำรพจบสัพพี”
ความตอนเดียวกันนี้ในฉบับเดิมที่ยังไม่ได้ตัดตอน แต่งเติม บรรยายถึงคำอธิษฐานของเจ้าพระยามหินทรฯ ว่า
“ถวายเงินแก่พระสงฆ์องค์ละบาท
ทั้งอาวาสศรัทธาท่านกล้าหาญ
น้อมจิตคิดตั้งปณิธาน
แม้นถึงกาลจะอุบัติภพใดใด
ให้ได้เป็นสัสดีทั้งขี้นุ่ง
ให้เฟื่องฟุ้งวิปริตผิดวิสัย
เล่นละครเพรื่อพร่ำกระหน่ำไป
กดขี่ไพร่กว่าจะถึงซึ่งนิพพาน
ให้พบกับสุดใจพิชัยเสนา
รับสินบนคนมาให้แบ่งท่าน
บังเงินหลวงถ่วงไว้ได้นานนาน
เจ้าอธิการคำรบจบสัพพี”
สำเนา “นิราศหนองคาย” ฉบับคัดลอก พ.ศ. ๒๔๙๔
นิราศหนองคาย ฉบับตรวจ คัด ตัดตอน พิมพ์เผยแพร่พุทธศักราช ๒๔๙๘ นั้นเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยในวงวิชาการว่า ทำไมจึงถูกเผา ส่วนใดบ้างที่ถูกตัดและมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานาเพราะไม่เห็นต้นฉบับเดิม นับตั้งแต่วันที่นิราศหนองคายถูกเผาจนถึงปัจจุบันเวลาล่วงเลยไปแล้ว ๑๓๗ ปี นิราศหนองคายฉบับบริบูรณ์ สมควรแก่การจัดพิมพ์เผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์ได้หรือยัง
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 24 เมษายน พ.ศ.2562
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2559
“ด้วยสมเดจเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษรับพระบรมราชโองการไส่เกล้าฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระยานครราชสีห์มา มีบอกลงมาว่ากองทัพห้อยกทัพล่วงลงมาตั้งอยู่เมืองเวียงจัน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหินธรศักดิ์ธำรงค์เปนทัพหน้า สมเดจพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ ยกขึ้นไปเมืองหนองคาย กำหนด ณ วันพุฒ เดือนสิบ แรมแปดค่ำ ปีกุน สัปตศก…”
ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๕ ฉบับวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน สัปตศก ๑๒๓๗ (พุทธศักราช ๒๔๑๘) ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นแม่ทัพหน้ายกไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย
เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) แม่ทัพหน้ายกไปปราบฮ่อที่เมืองหนองคาย ผู้ให้นายทิมแต่ง “นิราศหนองคาย”
เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สอยมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ขวบ ครั้นเสวยราชสมบัติแล้วพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็ก ทรงยกย่องเป็นบุตรเลี้ยงของพระองค์ และได้เป็นอุปทูตจำทูลพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ยังกรุงลอนดอน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระยาบุรุษยรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระยาราชสุภาวดี กำกับกรมพระสุรัสวดีกลาง ทั้งยังรับตำแหน่งเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด ประธานที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และตำแหน่งปรีวีเคาน์ซิล ที่ปรึกษาราชการสำหรับพระองค์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง นอกจากหน้าที่ราชการแล้ว ท่านยังมีคณะละครที่มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ ๕ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ละครเจ้าพระยามหินทรฯ”
เจ้าพระยามหินทรฯ เป็นแม่ทัพยกไปเมืองหนองคายคราวนั้น ไปขึ้นบกที่เมืองสระบุรี หยุดทัพพักอยู่ที่หาดพระยาทด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเสาไห้) ตั้งแต่เดือน ๑๐ จนถึงเดือน ๑๒ ทางกรุงเทพฯ มีท้องตราเตือนให้เร่งยกทัพ แต่เจ้าพระยามหินทรฯ มีหนังสือตอบลงมาว่า ยังเป็นฤดูฝน น้ำท่วมทางเดินทัพในดงพระยาไฟ เกรงไพร่พลจะเป็นอันตรายจากไข้ป่า รอกระทั่งถึงฤดูหนาว จึงยกทัพไปถึงเมืองนครราชสีมาในเดือนอ้าย และพักทัพรอคำสั่งจากกรุงเทพฯ อยู่ที่นั่นจนถึงเดือน ๔ จึงออกจากเมืองนครราชสีมาไปยังพิมายและพุทไธสง
ระหว่างนั้นพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ซึ่งเป็นข้าหลวงออกไปตั้งกองสักเลขอยู่ในมณฑลร้อยเอ็ด คุมกองทัพเมืองนครราชสีมาล่วงหน้าไปรบฮ่อที่เมืองเวียงจันท์ ตีฮ่อแตกถอยร่นไปตั้งอยู่เมืองเชียงขวาง และกองทัพเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) สมุหนายก ซึ่งยกออกจากกรุงเทพฯ ในเดือน ๑๑ ไปขึ้นบกที่เมืองอุตรดิตถ์ แล้วตรงไปเมืองหลวงพระบาง ได้ยกกองทัพขึ้นไปปราบฮ่อที่เมืองเชียงขวางแล้ว ทางกรุงเทพฯ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้กองทัพถึง ๒ ทัพ จึงมีท้องตราให้กองทัพของเจ้าพระยามหินทรฯ ยกกลับ ถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๕ พุทธศักราช ๒๔๑๙ รวมเวลาเดินทัพไปกลับ ๘ เดือน
เจ้าพระยามหินทรฯ ยกทัพจะไปยังเมืองหนองคายคราวนั้นให้ “นายทิม” ทนายหน้าหอไปเป็นเสมียนผู้ใกล้ชิดติดตาม สันนิษฐานว่าขณะนั้นนายทิมคงจะมีบรรดาศักดิ์ที่ “ขุนพิพิธภักดี” ขุนหมื่นประทวน กรมพระสุรัสวดี ในสังกัดของเจ้าพระยามหินทรฯ นายทิมอายุได้ ๒๘ ปี มีความสันทัดในการแต่งบทกลอน เจ้าพระยามหินทรฯ จึงให้แต่งนิราศหนองคาย บรรยายเรื่องราวที่ได้ประสบพบเห็นในการยกทัพไปปราบฮ่อคราวนั้น
“ฉันผู้แต่งหนังสือชื่อนายทิม
ถูกเฆี่ยนริมหลังขาดด้วยอาจหาญ
เพราะในจิตคิดฟุ้งมุ่งเอาการ
หมายจะนุ่งรับประทานให้พอแรง
ประจบนายหมายจะให้ท่านเมตตา
ด้วยมีท่าขู่มนุษย์นั้นสุดแขง
ถึงเรานุ่งสักเท่าไรใครฟ้องแย้ง
ท่านเถียงแข่งรับเอาเป็นเจ้าการ”
ความเห็นของนายทิมที่คัดมานี้ ไม่ปรากฏในฉบับพิมพ์ของกรมศิลปากร นายทิมคงแต่งนิราศหนองคายระหว่างเดินทางไปกับกองทัพ เพราะมีเวลาพักทัพระหว่างทางนานมาก และคงแต่งเพิ่มเติมหลังจากที่กลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๕ พุทธศักราช ๒๔๑๙ กระทั่งถึงพุทธศักราช ๒๔๒๑ จึงมีการตีพิมพ์นิราศหนองคายออกเผยแพร่ หนังสือยังพิมพ์ไม่ทันเสร็จครบจำนวนก็เกิดคดีความอาญาร้ายแรง ดังประกาศราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ ๕ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก ๑๒๒๐ (พุทธศักราช ๒๔๒๑) ว่า
ประกาศ
เรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศ
“ด้วยพระศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมพระอาลักษณ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า อ้ายทิม ขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัศวดี คิดหนังสือนิราศว่าด้วยกองทัพ ซึ่งจะยกขึ้นไป ณ เมืองหนองคาย เพื่อจะป้องกันรักษาพระราชอาณาเฃตร ตามราชประเพณีมาแต่ก่อน อ้ายทิมบังอาจแต่งหนังสือออกพระนามพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ตัดทอนแทรกเปลี่ยนถ้อยคำเจือลงในกลอน แลกล่าวความกระทบกระเทียบถึงท่านผู้บัญชาราชการแผ่นดินแลผู้อื่นๆ โดยถ้อยคำอยาบคาย ยกย่องเหตุซึ่งได้ขัดฃวางราชการแผ่นดินขึ้นเชิดชูไปต่างๆ จึ่งทรงพระราชดำริพร้อมด้วยท่านเสนาบดีว่าราชประเพณีแต่ก่อนมีการทัพศึกมาเวลาไร พระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีก็ปฤกษาพร้อมกันจัดกองทัพไปรับรองป้องกันพระราชอาณาเฃตร หามีผู้ใดขัดฃวางแลติเตียนเหลือเกินดังนี้ได้ไม่ ถ้ามีผู้ใดพูดจาดังนี้ในเวลามีการทัพ ก็จะต้องมีโทษถึงประหารชีวิตรตามพระราชกำหนดกฎหมาย บัดนี้อ้ายทิมมาทำหนังสือว่ากล่าวเหลือเกิน เทจบ้าง จริงบ้าง เปนการหมิ่นประหมาทต่อราชการแลท่านผู้บัญชาการ จะเปนแบบอย่างต่อไปในภายน่า เมื่อมีราชการทัพศึกก็จะบังคับบัญชาได้โดยยาก จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนอ้ายทิม ๕๐ ที ส่งตัวไปจำไว้ ณ คุก อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง แลหนังสือฉบับนี้เปนหนังสือขัดฃวางต่อราชการแผ่นดิน เปนที่หมิ่นประหมาทในพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีผู้ซึ่งมีกตัญญูต่อแผ่นดิน แลยำเกรงนับถือในพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีซึ่งช่วยรักษาแผ่นดินอยู่ ก็หาควรจะอ่านจะเกบหนังสือนี้ไว้ไม่ ด้วยเปนที่ขัดฃวางต่อราชการแผ่นดิน แลเปนที่หม่นหมองต่อพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดี ต้นร่างหนังสือฉบับนี้ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกมาทำลายเสีย ฉบับที่ตีพิมพ์แล้วยังไม่ได้ฃายไปนั้น ให้ผู้ซึ่งส่งไปลงพิมพ์ ซื้อมาทำลายเสียทั้งสิ้น แต่หนังสือที่ได้ซื้อไปแต่ก่อนแล้วนั้น ถ้าผู้ใดยังมีหนังสือนั้น ก็ให้ฉีกทำลายเสีย อย่าให้ติดเปนแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป
ประกาศมา ณ วันอังคาร เดือนเก้า แรมเจดค่ำ ปีขาน สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๔๐ เปนวันที่ ๓๕๗๐ ในรัชกาลปัตยุบันนี้”
ประกาศเรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศ จาก “ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕-๖ จ.ศ. ๑๒๔๐-๑๒๔๑”
เป็นอันว่านิราศหนองคายของนายทิม หรือขุนพิพิธภักดี ถูกทำลายทั้งฉบับต้นร่าง ฉบับที่ยังพิมพ์ไม่เสร็จ ฉบับที่พิมพ์เสร็จแล้วจำหน่ายและยังไม่จำหน่ายถูกทำลายชนิดไม่ต้องการให้เหลือซาก ซึ่งในราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ออกมาก่อนหน้านั้นระบุว่า “เกบเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น อย่าให้มีเปนฉบับเหลืออยู่ได้” นายทิมต้องโทษเฆี่ยน ๕๐ ที และส่งตัวเข้าคุก ผู้ส่งหนังสือไปตีพิมพ์ ซึ่งคงได้แก่เจ้าพระยามหินทรฯ ต้องจ่ายเงินค่าจ้างพิมพ์และนำหนังสือทั้งหมดไปทำลาย ส่วนนายทิมน่าจะถูกถอดจากบรรดาศักดิ์ขุนพิพิธภักดีในคราวนั้นด้วย
นายทิมติดคุกอยู่ ๘ เดือน ก็ออกไปอยู่กับเจ้าพระยามหินทรฯ จนต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนจบพลรักษ์ เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯ ถึงแก่อสัญกรรมแล้วจึงออกจากกรมพระสุรัสวดีไปรับราชการในกรมพระคลังข้างที่ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ “หลวงพัฒนพงศ์ภักดี” เป็นต้นสกุล “สุขยางค์”
หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ผู้แต่งนิราศหนองคาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติหลวงพัฒนพงศ์ภักดี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ นั้น ได้ทรงขอต้นฉบับนิราศหนองคายของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม) มาคัดลอกเก็บไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาอยู่ในความดูแลของหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ประกอบด้วยสมุดไทยดำ ๔ เล่ม ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ ทายาทได้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือนิราศหนองคายในงานปลงศพ พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) ผู้เป็นบุตรของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี แต่กรมศิลปากรไม่อนุญาตให้จัดพิมพ์
อาจารย์ตรี อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ทำบันทึกชี้แจงเสนอหลวงรณสิทธิพิชัย อธิบดีกรมศิลปากร ว่า “…ข้าพเจ้าเอาต้นฉบับมาดู เห็นว่ามีถ้อยคำรุนแรงอยู่หลายตอน จึงไม่ยอมให้พิมพ์ แต่เมื่อได้อ่านตรวจดูโดยละเอียดเห็นว่าผู้แต่งเก็บเรื่องราวได้ดีมาก จึงให้นายหรีด เรืองฤทธิ์ ตรวจคัดตัดตอนที่อาจกระทบกระเทือนผู้อื่นออกเสีย แล้วแต่งเชื่อมหัวต่อใหม่ให้เข้ากัน…”
นิราศหนองคายฉบับที่กรมศิลปากร “ตรวจ คัด ตัดตอน” พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนสันทัดวุฒิวิถี (สวน สันทัดวุฒิ) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ ฉบับที่พิมพ์เผยแพร่ต่อๆ มาพิมพ์ตามฉบับนี้ทั้งสิ้น
เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สอยมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ขวบ ครั้นเสวยราชสมบัติแล้วพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นสรรเพธภักดี หัวหมื่นมหาดเล็ก ทรงยกย่องเป็นบุตรเลี้ยงของพระองค์ และได้เป็นอุปทูตจำทูลพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ยังกรุงลอนดอน ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระยาบุรุษยรัตนราชพัลลภ จางวางมหาดเล็ก ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระยาราชสุภาวดี กำกับกรมพระสุรัสวดีกลาง ทั้งยังรับตำแหน่งเคาน์ซิลลอร์ออฟสเตด ประธานที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และตำแหน่งปรีวีเคาน์ซิล ที่ปรึกษาราชการสำหรับพระองค์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง นอกจากหน้าที่ราชการแล้ว ท่านยังมีคณะละครที่มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ ๕ รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ละครเจ้าพระยามหินทรฯ”
เจ้าพระยามหินทรฯ เป็นแม่ทัพยกไปเมืองหนองคายคราวนั้น ไปขึ้นบกที่เมืองสระบุรี หยุดทัพพักอยู่ที่หาดพระยาทด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเสาไห้) ตั้งแต่เดือน ๑๐ จนถึงเดือน ๑๒ ทางกรุงเทพฯ มีท้องตราเตือนให้เร่งยกทัพ แต่เจ้าพระยามหินทรฯ มีหนังสือตอบลงมาว่า ยังเป็นฤดูฝน น้ำท่วมทางเดินทัพในดงพระยาไฟ เกรงไพร่พลจะเป็นอันตรายจากไข้ป่า รอกระทั่งถึงฤดูหนาว จึงยกทัพไปถึงเมืองนครราชสีมาในเดือนอ้าย และพักทัพรอคำสั่งจากกรุงเทพฯ อยู่ที่นั่นจนถึงเดือน ๔ จึงออกจากเมืองนครราชสีมาไปยังพิมายและพุทไธสง
ระหว่างนั้นพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ซึ่งเป็นข้าหลวงออกไปตั้งกองสักเลขอยู่ในมณฑลร้อยเอ็ด คุมกองทัพเมืองนครราชสีมาล่วงหน้าไปรบฮ่อที่เมืองเวียงจันท์ ตีฮ่อแตกถอยร่นไปตั้งอยู่เมืองเชียงขวาง และกองทัพเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) สมุหนายก ซึ่งยกออกจากกรุงเทพฯ ในเดือน ๑๑ ไปขึ้นบกที่เมืองอุตรดิตถ์ แล้วตรงไปเมืองหลวงพระบาง ได้ยกกองทัพขึ้นไปปราบฮ่อที่เมืองเชียงขวางแล้ว ทางกรุงเทพฯ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้กองทัพถึง ๒ ทัพ จึงมีท้องตราให้กองทัพของเจ้าพระยามหินทรฯ ยกกลับ ถึงกรุงเทพฯ ในเดือน ๕ พุทธศักราช ๒๔๑๙ รวมเวลาเดินทัพไปกลับ ๘ เดือน
เจ้าพระยามหินทรฯ ยกทัพจะไปยังเมืองหนองคายคราวนั้นให้ “นายทิม” ทนายหน้าหอไปเป็นเสมียนผู้ใกล้ชิดติดตาม สันนิษฐานว่าขณะนั้นนายทิมคงจะมีบรรดาศักดิ์ที่ “ขุนพิพิธภักดี” ขุนหมื่นประทวน กรมพระสุรัสวดี ในสังกัดของเจ้าพระยามหินทรฯ นายทิมอายุได้ ๒๘ ปี มีความสันทัดในการแต่งบทกลอน เจ้าพระยามหินทรฯ จึงให้แต่งนิราศหนองคาย บรรยายเรื่องราวที่ได้ประสบพบเห็นในการยกทัพไปปราบฮ่อคราวนั้น
“ฉันผู้แต่งหนังสือชื่อนายทิม
ถูกเฆี่ยนริมหลังขาดด้วยอาจหาญ
เพราะในจิตคิดฟุ้งมุ่งเอาการ
หมายจะนุ่งรับประทานให้พอแรง
ประจบนายหมายจะให้ท่านเมตตา
ด้วยมีท่าขู่มนุษย์นั้นสุดแขง
ถึงเรานุ่งสักเท่าไรใครฟ้องแย้ง
ท่านเถียงแข่งรับเอาเป็นเจ้าการ”
ความเห็นของนายทิมที่คัดมานี้ ไม่ปรากฏในฉบับพิมพ์ของกรมศิลปากร นายทิมคงแต่งนิราศหนองคายระหว่างเดินทางไปกับกองทัพ เพราะมีเวลาพักทัพระหว่างทางนานมาก และคงแต่งเพิ่มเติมหลังจากที่กลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๕ พุทธศักราช ๒๔๑๙ กระทั่งถึงพุทธศักราช ๒๔๒๑ จึงมีการตีพิมพ์นิราศหนองคายออกเผยแพร่ หนังสือยังพิมพ์ไม่ทันเสร็จครบจำนวนก็เกิดคดีความอาญาร้ายแรง ดังประกาศราชกิจจานุเบกษา ในรัชกาลที่ ๕ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก ๑๒๒๐ (พุทธศักราช ๒๔๒๑) ว่า
ประกาศ
เรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศ
“ด้วยพระศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมพระอาลักษณ รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า อ้ายทิม ขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัศวดี คิดหนังสือนิราศว่าด้วยกองทัพ ซึ่งจะยกขึ้นไป ณ เมืองหนองคาย เพื่อจะป้องกันรักษาพระราชอาณาเฃตร ตามราชประเพณีมาแต่ก่อน อ้ายทิมบังอาจแต่งหนังสือออกพระนามพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดิน ตัดทอนแทรกเปลี่ยนถ้อยคำเจือลงในกลอน แลกล่าวความกระทบกระเทียบถึงท่านผู้บัญชาราชการแผ่นดินแลผู้อื่นๆ โดยถ้อยคำอยาบคาย ยกย่องเหตุซึ่งได้ขัดฃวางราชการแผ่นดินขึ้นเชิดชูไปต่างๆ จึ่งทรงพระราชดำริพร้อมด้วยท่านเสนาบดีว่าราชประเพณีแต่ก่อนมีการทัพศึกมาเวลาไร พระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีก็ปฤกษาพร้อมกันจัดกองทัพไปรับรองป้องกันพระราชอาณาเฃตร หามีผู้ใดขัดฃวางแลติเตียนเหลือเกินดังนี้ได้ไม่ ถ้ามีผู้ใดพูดจาดังนี้ในเวลามีการทัพ ก็จะต้องมีโทษถึงประหารชีวิตรตามพระราชกำหนดกฎหมาย บัดนี้อ้ายทิมมาทำหนังสือว่ากล่าวเหลือเกิน เทจบ้าง จริงบ้าง เปนการหมิ่นประหมาทต่อราชการแลท่านผู้บัญชาการ จะเปนแบบอย่างต่อไปในภายน่า เมื่อมีราชการทัพศึกก็จะบังคับบัญชาได้โดยยาก จึ่งให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนอ้ายทิม ๕๐ ที ส่งตัวไปจำไว้ ณ คุก อย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง แลหนังสือฉบับนี้เปนหนังสือขัดฃวางต่อราชการแผ่นดิน เปนที่หมิ่นประหมาทในพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีผู้ซึ่งมีกตัญญูต่อแผ่นดิน แลยำเกรงนับถือในพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดีซึ่งช่วยรักษาแผ่นดินอยู่ ก็หาควรจะอ่านจะเกบหนังสือนี้ไว้ไม่ ด้วยเปนที่ขัดฃวางต่อราชการแผ่นดิน แลเปนที่หม่นหมองต่อพระบาทสมเดจพระเจ้าแผ่นดินแลท่านเสนาบดี ต้นร่างหนังสือฉบับนี้ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกมาทำลายเสีย ฉบับที่ตีพิมพ์แล้วยังไม่ได้ฃายไปนั้น ให้ผู้ซึ่งส่งไปลงพิมพ์ ซื้อมาทำลายเสียทั้งสิ้น แต่หนังสือที่ได้ซื้อไปแต่ก่อนแล้วนั้น ถ้าผู้ใดยังมีหนังสือนั้น ก็ให้ฉีกทำลายเสีย อย่าให้ติดเปนแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป
ประกาศมา ณ วันอังคาร เดือนเก้า แรมเจดค่ำ ปีขาน สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๔๐ เปนวันที่ ๓๕๗๐ ในรัชกาลปัตยุบันนี้”
ประกาศเรื่องอ้ายทิมแต่งนิราศ จาก “ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕-๖ จ.ศ. ๑๒๔๐-๑๒๔๑”
เป็นอันว่านิราศหนองคายของนายทิม หรือขุนพิพิธภักดี ถูกทำลายทั้งฉบับต้นร่าง ฉบับที่ยังพิมพ์ไม่เสร็จ ฉบับที่พิมพ์เสร็จแล้วจำหน่ายและยังไม่จำหน่ายถูกทำลายชนิดไม่ต้องการให้เหลือซาก ซึ่งในราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ออกมาก่อนหน้านั้นระบุว่า “เกบเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น อย่าให้มีเปนฉบับเหลืออยู่ได้” นายทิมต้องโทษเฆี่ยน ๕๐ ที และส่งตัวเข้าคุก ผู้ส่งหนังสือไปตีพิมพ์ ซึ่งคงได้แก่เจ้าพระยามหินทรฯ ต้องจ่ายเงินค่าจ้างพิมพ์และนำหนังสือทั้งหมดไปทำลาย ส่วนนายทิมน่าจะถูกถอดจากบรรดาศักดิ์ขุนพิพิธภักดีในคราวนั้นด้วย
นายทิมติดคุกอยู่ ๘ เดือน ก็ออกไปอยู่กับเจ้าพระยามหินทรฯ จนต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนจบพลรักษ์ เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯ ถึงแก่อสัญกรรมแล้วจึงออกจากกรมพระสุรัสวดีไปรับราชการในกรมพระคลังข้างที่ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ “หลวงพัฒนพงศ์ภักดี” เป็นต้นสกุล “สุขยางค์”
หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ผู้แต่งนิราศหนองคาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงประวัติหลวงพัฒนพงศ์ภักดี เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ นั้น ได้ทรงขอต้นฉบับนิราศหนองคายของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม) มาคัดลอกเก็บไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาอยู่ในความดูแลของหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ประกอบด้วยสมุดไทยดำ ๔ เล่ม ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ ทายาทได้ขออนุญาตพิมพ์หนังสือนิราศหนองคายในงานปลงศพ พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์ (สรรเสริญ สุขยางค์) ผู้เป็นบุตรของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี แต่กรมศิลปากรไม่อนุญาตให้จัดพิมพ์
อาจารย์ตรี อมาตยกุล หัวหน้ากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ ทำบันทึกชี้แจงเสนอหลวงรณสิทธิพิชัย อธิบดีกรมศิลปากร ว่า “…ข้าพเจ้าเอาต้นฉบับมาดู เห็นว่ามีถ้อยคำรุนแรงอยู่หลายตอน จึงไม่ยอมให้พิมพ์ แต่เมื่อได้อ่านตรวจดูโดยละเอียดเห็นว่าผู้แต่งเก็บเรื่องราวได้ดีมาก จึงให้นายหรีด เรืองฤทธิ์ ตรวจคัดตัดตอนที่อาจกระทบกระเทือนผู้อื่นออกเสีย แล้วแต่งเชื่อมหัวต่อใหม่ให้เข้ากัน…”
นิราศหนองคายฉบับที่กรมศิลปากร “ตรวจ คัด ตัดตอน” พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนสันทัดวุฒิวิถี (สวน สันทัดวุฒิ) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๘ ฉบับที่พิมพ์เผยแพร่ต่อๆ มาพิมพ์ตามฉบับนี้ทั้งสิ้น
(ซ้าย) นิราศหนองคาย” ฉบับที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โท ขุนสันทัดวุฒิวิถี (สวน สันทัดวุฒิ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘, “นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา” โดย สิทธิ ศรีสยาม (จิตร ภูมิศักดิ์) สำนักพิมพ์พี่น้องสองธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๘ (พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๑๘ โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ต่อมาถึงพุทธศักราช ๒๕๐๔ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้นำนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ มาศึกษาวิพากษ์ในหัวข้อ “นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา” โดยที่ยังไม่มีโอกาสอ่านสมุดไทยเรื่องนิราศหนองคายฉบับก่อนจะมีการตรวจ คัด ตัดตอน ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ให้เหตุผลว่า “…หอสมุดแห่งชาติสงวนต้นฉบับและเก็บไว้ในประเภทเอกสารลับ ไม่ให้ยืมและตรวจค้น ความหวังที่จะได้ตรวจสอบต้นฉบับสมบูรณ์ จึงยังมีอยู่ก็แต่เพียงยุคสมัยในอนาคตที่ได้มีการฟื้นฟูศิลปวรรณคดีที่รับใช้สังคมอันดีงามเท่านั้น”
ผู้ตรวจ คัด ตัดตอน นิราศหนองคายเพื่อจัดพิมพ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๘ นั้น นอกจาก อาจารย์หรีด เรืองฤทธิ์ แล้ว ยังมีผู้ร่วมดำเนินการอีก ๓ คน คือ อาจารย์ตรี อมาตยกุล อาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ และอาจารย์พวงทอง สิริสาลี ผู้เขียนได้อ่านนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เปรียบเทียบกับฉบับเดิมซึ่งมีผู้คัดลอกจากสมุดไทยไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๔ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า ครูบาอาจารย์ทั้ง ๔ ท่านผู้ตรวจ คัด ตัดตอนนั้นนับเป็นผู้ปราดเปรื่องในเชิงอักษรศาสตร์ ได้ตัดทอนปรับแก้ตอนที่ผู้แต่งมุ่งให้เป็นเรื่องขำขัน ไม่มีสาระออกไปโดยไม่เสียใจความ เช่น ตอนต้นของนิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เริ่มต้นคำกลอนแรกว่า
“จะเริ่มเรื่องเมืองหนองคายจดหมายเหตุ
ในแดนเฃตเขื่อนคุ้งกรุงสยาม”
แต่ฉบับที่ยังไม่ได้ตรวจ คัด ตัดตอน มีข้อความก่อนหน้านี้ ๑๒ คำกลอน กล่าวอ้างถึงความรู้สึกของเจ้าพระยามหินทรฯ และมูลเหตุที่นายทิมต้องแต่งนิราศหนองคาย ดังนี้
“ท่านเจ้าพระยามหินทรเคาซิลลอ
ออกหน้าหอขนพองสยองหัว
ในจิตคิดหนาวสั่นพรั่นพรึงกลัว
ด้วยว่าตัวจะต้องแน่เป็นแม่ทัพ
ให้คิดห่วงหวงนางสาวชาวละคร
นั่งสะท้อนถอนใจจนลมจับ
เหื่อแตกเต็มประดาเอาผ้าซับ
เคี้ยวหมากหยับหยับแสนเสียดาย
โอ้ว่าไข่ขวัญของพี่เอ๋ย
กระไรเลยห่วงอยู่ไม่รู้หาย
ตัวพี่นี้จะต้องไปหนองคาย
ด้วยเรื่องรายฮ่อหาญมาราญรอน
เลยบัญชาให้ข้าพเจ้านี้
ผู้เป็นที่เสมียนเขียนอักษร
จดหมายเหตุจำทำเป็นคำกลอน
จะถาวรอยู่ในคุกสนุกนิ์นาน
ประชาชนจะได้ยลระยะทาง
เป็นตัวอย่างทำเนียมคุกทุกสถาน
เหล่าฝูงคนที่อยู่ได้รู้การ
ผู้ใดอ่านเห็นความขลาดได้บาดใจ
ฉันคำนับรับบัญชาจดจาฤก
คิดตรองตรึกตามบัณฑิตลิขิตไข
ปัญญาน้อยหนุ่มคะนองไม่ว่องไว
พอทนได้ห้าสิบทีมีลายงาม ฯ”
ผู้เขียนเข้าใจว่าคำกลอนดังกล่าว น่าจะมีทั้งส่วนที่นายทิมแต่งไว้แต่เดิมและแต่งแทรกหลังจากที่ได้รับโทษแล้ว เพราะถ้าแต่งก่อนท่านจะทราบได้อย่างไรว่าจะต้องรับโทษติดคุกและถูกเฆี่ยน ๕๐ ที ส่วนคำว่า “ไข่ขวัญ” นั้นหมายถึง “หม่อมไข่” นางละครคนโปรดของเจ้าพระยามหินทรฯ ซึ่งมีกล่าวถึงในนิราศหนองคายหลายตอน
ก่อนเคลื่อนทัพเจ้าพระยามหินทรฯจัดเตรียมยุทธปัจจัยต่างๆรวมทั้งจัดทำแหวนเพชรสำหรับเป็นบำเหน็จศึกแก่ผู้มีความชอบดังฉบับพิมพ์พุทธศักราช๒๔๙๘ว่า
“และท่านทำแหวนเพชรสิบเอ็ดวง
หวังใจจงแจกจ่ายนายทหาร
ที่ไม่คิดย่อหย่อนเข้ารอนราญ
ใครทำการศึกสำเร็จบำเหน็จมือ
ทั้งเสื้อผ้าสารพัดท่านจัดครบ
ถ้าใครรบจริงจริงไม่วิ่งตื๋อ”
แต่เนื้อความในฉบับที่ยังไม่ผ่านการตรวจ คัด ตัดตอน มีรายละเอียดมากขึ้นไปอีก ๔ คำกลอน คือ
“แลท่านทำแหวนเพชรสิบเอ็ดวง
หวังใจจงแจกจ่ายนายทหาร
ที่ไม่คิดย่อหย่อนเข้ารอนราญ
ใครทำการศึกสำเร็จบำเหน็จมือ
แต่อย่างไรก็ไม่ได้ไปรบแน่
เพราะท้อแท้ไม่อยากไปหมีใช่หฤๅ
แต่ทำแหวนเพชรไปให้เขาฦๅ
พอเสร็จทัพกลับใส่มือนางละคร
ไม่ต้องเสียแหวนเพชรสักเม็ดเดียว
ทำกราวเกรียวพอให้ชื่อฦๅกระฉ่อน
แต่ขี้ขลาดยังอาจมาทำกลอน
หวังจะอวดราษฎรให้เลื่องฦๅ
ทั้งเสื้อผ้าสารพัดท่านจัดครบ
ถ้าใครรบจริงจริงไม่วิ่งตื๋อ”
กองทัพยกออกจากกรุงเทพฯ ด้วยกระบวนเรือ ทำพิธีตัดไม้ข่มนามและกราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ท่าราชวรดิฐ แล้วทวนกระแสน้ำเจ้าพระยามาถึง “ตำหนักแพวังหน้า” ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“พระวังหน้านั้นก็เสร็จเสด็จรับ
ส่งกองทัพยืนร่าหน้าเฉลียง
พร้อมเสนาขวาซ้ายยืนรายเรียง
บ้างอยู่เคียงพระองค์ผู้ทรงนาม
ท่านเจ้าคุณแม่ทัพคำนับน้อม
รองพระจอมจุลจักรหลักสยาม
พระกายไทยใจทหารชาญสงคราม
พระพักตร์งามสง่าชูสุรพงศ์
พอกระบวนด่วนล่วงมาเลยลับ
เรือกองทัพเซ็งแซ่แลระหง
สังเกตลมพระพายพัดชายธง
นิมิตมงคลดีเลิศประเสริฐครัน”
ความตอนเดียวกันนี้ฉบับที่ยังไม่ผ่านการตรวจ คัด ตัดตอน บรรยายไว้อย่างน่าประหวั่นพรั่นพรึงว่า
“ท่านเจ้าพระคุณแม่ทัพคำนับน้อม
ปางพระปลอมมาเป็นไทยในสยาม
พระกายไทยใจฝรั่งช่างแสนงาม
พระพักตร์สามสี่หน่วยดูรวยครัน
แยกพระพักตร์ทรงพยักยิ้มเหี่ยเหี่ย
พระพักตร์เรี่ยเต็มประดาดูน่าขัน
เก้อเปล่าเปล่าไม่เข้าเรื่องเปลืองไม่บัน
ยิงพระฟันเขียวเขียวปรางเบี้ยวงาม”
เมื่อกระบวนทัพยกไปถึงเมืองปทุมธานี หยุดพักค้างแรมที่วัดประทุมทอง พระสงฆ์ในวัดประชุมสวดอำนวยพร เจ้าพระยามหินทรฯ มีจิตศรัทธาถวายเงินแก่พระสงฆ์ทั้งวัด รูปละ ๑ บาท ตามฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ มีว่า
“ถวายเงินแก่พระสงฆ์องค์ละบาท
ทั้งอาวาสด้วยศรัทธาท่านกล้าหาญ
น้อมจิตคิดตั้งปณิธาน
เจ้าอธิการคำรพจบสัพพี”
ความตอนเดียวกันนี้ในฉบับเดิมที่ยังไม่ได้ตัดตอน แต่งเติม บรรยายถึงคำอธิษฐานของเจ้าพระยามหินทรฯ ว่า
“ถวายเงินแก่พระสงฆ์องค์ละบาท
ทั้งอาวาสศรัทธาท่านกล้าหาญ
น้อมจิตคิดตั้งปณิธาน
แม้นถึงกาลจะอุบัติภพใดใด
ให้ได้เป็นสัสดีทั้งขี้นุ่ง
ให้เฟื่องฟุ้งวิปริตผิดวิสัย
เล่นละครเพรื่อพร่ำกระหน่ำไป
กดขี่ไพร่กว่าจะถึงซึ่งนิพพาน
ให้พบกับสุดใจพิชัยเสนา
รับสินบนคนมาให้แบ่งท่าน
บังเงินหลวงถ่วงไว้ได้นานนาน
เจ้าอธิการคำรบจบสัพพี”
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้บัญชาราชการแผ่นดิน
เมื่อกองทัพปราบฮ่อของเจ้าพระยามหินทรฯ หยุดพักอยู่ที่หาดพระยาทด รอเวลาให้สิ้นฤดูฝนก่อนจึงจะยกทัพต่อไป ระหว่างนั้นทางกรุงเทพฯ มีท้องตราเร่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เคลื่อนทัพไปโดยเร็ว แต่เจ้าพระยามหินทรฯ มีหนังสือโต้ตอบมายังกรุงเทพฯ อ้างเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถยกทัพไปได้หลายครั้ง กระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้บัญชาราชการแผ่นดิน นั่งเรือกลไฟจากกรุงเทพฯ ไปเร่งรัดเจ้าพระยามหินทรฯ ด้วยตนเอง ก่อนหน้านี้เมื่อกองทัพจะยกออกจากกรุงเทพฯ นิราศหนองคายกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่า “สมเด็จท่านชาญฉลาดขลาดมาเก่า ชื่อท่านเน่าครั้งทัพญวนกระบวนหนี” เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปถึงหาดพระยาทดนั้นฝนกำลังตกหนัก เจ้าพระยามหินทรฯ ลงไปรับถึงท่าเทียบเรือ นิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“บังเอิญเทวดาวลาหก
ก็เร่งตกลงมาให้ปรากฏ
ฝนก็ไม่หายเหือดไม่เงือดงด
ไม่หยาดหยดซู่ซ่าลงมาพอ
ท่านเจ้าคุณไปคำนับรับสมเด็จ
ฝนสาดไม่ขาดเม็ดลงสอสอ
ต้องกางกั้นร่มไปหมีได้รอ
ลงนั่งย่อเรือพายม้ารีบคลาไคล”
ความเดิมในนิราศหนองคายก่อนที่จะตรวจ คัด ตัดตอน บรรยายรายละเอียดเชิงวิพากษ์เปรียบเทียบเชื่อมโยงกับใบบอกที่เจ้าพระยามหินทรฯ ตอบไปยังกรุงเทพฯ ว่า
“ฝนก็ไม่หายเหือดไม่เงือดงด
ไม่หยาดหยดซู่ซ่าลงมาพอ
ท่านเจ้าคุณดีใจเห็นได้ท่า
ฝนตกมาถูกใจกระไรหนอ
สมกับที่ปดไว้ได้โก่งคอ
ได้หลอกล่อให้สนุกนิ์ไม่ทุกข์ใจ
ถ้าแม้นว่าได้พูดจาปรับทุกข์ร้อน
จะยอกย้อนขู่เล่นให้อย่างใหญ่
ที่ไก่เห็นตีนงูครูว่าไว้
งูก็เห็นนมไก่อยู่ใต้คอ
ท่านเจ้าคุณไปคำนับรับสมเด็จ
ฝนสาดไม่ขาดเม็ดลงสอสอ”
เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯ จัดกระบวนทัพบกได้วางตัวข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ไว้ในตำแหน่งต่างๆ ในกองทัพ เช่น พระพิบูลไอศวรรย์ เป็นปีกขวาทัพใหญ่ ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“พระพิบูลไอศวรรย์ตัวกลั่นกล้า
เป็นปีกขวาทัพใหญ่ใจทหาร
ท่วงทีกลศึกฝึกชำนาญ
ย่อมรู้การแม่นยำทำอุบาย”
นิราศหนองคายฉบับที่ยังไม่ได้ตรวจ คัด ตัดตอน ความตอนเดียวกันนี้ผู้แต่งสอดแทรกอารมณ์ขันไว้อย่างได้อรรถรส ดังนี้
“พระพิบูลไอศวรรย์ตัวกลั่นกล้า
เป็นปีกขวาทัพใหญ่ใจทหาร
ท่วงทีกลศึกฝึกชำนาญ
แสนเชี่ยวชาญเต็มดีคัมภีร์เจ๊ก
สามก๊กเลียดก๊กอ่านตกสิ้น
ทั้งฮ่องสินเรื่องตลกโกหกเด็ก
โง่วโฮ้วเพ็งไซทั้งไคเภ็ก
หนังสือเจ๊กจำแม่นแสนชำนาญ
ท่านแสนรู้ท่วงทีกิริยา
ท่านทำท่าคล้ายกวนอูดูอาจหาญ
ทั้งความคิดขงเบ้งเก่งชำนาญ
ย่อมรู้การแม่นยำทำอุบาย”
ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น หนังสือนิราศหนองคายที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้คัดเก็บไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนครความยาว ๔ เล่มสมุดไทย เท่าที่พบเนื้อความในสมุดไทยเล่ม ๑ ถึงเล่ม ๓ มีรายละเอียด ข้อมูลและความเห็นส่วนตัวของผู้แต่งแทรกอยู่แตกต่างจากฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เป็นอันมาก หลายตอนกระทบกระเทือนผู้อื่น โดยเฉพาะ “เจ้าคุณแม่ทัพ” ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงและขุนนางหลายท่านที่ร่วมไปในกองทัพ จนเป็นเหตุให้ต้อง “ทำลายเสีย อย่าให้ติดเปนแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป” นายทิมเป็นทหาร สังกัดกรมพระสุรัสวดีกลาง แต่คดีนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาตัดสินด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องขึ้นศาลทหาร คดีอาญาอุกฉกรรจ์เช่นนี้ หากนายทิมไม่มี “ท่านเถียงแข่งรับเอาเป็นเจ้าการ” นายทิมอาจจะต้องตายในคุกก็เป็นได้
เมื่อกองทัพปราบฮ่อของเจ้าพระยามหินทรฯ หยุดพักอยู่ที่หาดพระยาทด รอเวลาให้สิ้นฤดูฝนก่อนจึงจะยกทัพต่อไป ระหว่างนั้นทางกรุงเทพฯ มีท้องตราเร่งให้เจ้าพระยามหินทรฯ เคลื่อนทัพไปโดยเร็ว แต่เจ้าพระยามหินทรฯ มีหนังสือโต้ตอบมายังกรุงเทพฯ อ้างเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถยกทัพไปได้หลายครั้ง กระทั่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้บัญชาราชการแผ่นดิน นั่งเรือกลไฟจากกรุงเทพฯ ไปเร่งรัดเจ้าพระยามหินทรฯ ด้วยตนเอง ก่อนหน้านี้เมื่อกองทัพจะยกออกจากกรุงเทพฯ นิราศหนองคายกล่าวพาดพิงถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่า “สมเด็จท่านชาญฉลาดขลาดมาเก่า ชื่อท่านเน่าครั้งทัพญวนกระบวนหนี” เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปถึงหาดพระยาทดนั้นฝนกำลังตกหนัก เจ้าพระยามหินทรฯ ลงไปรับถึงท่าเทียบเรือ นิราศหนองคาย ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“บังเอิญเทวดาวลาหก
ก็เร่งตกลงมาให้ปรากฏ
ฝนก็ไม่หายเหือดไม่เงือดงด
ไม่หยาดหยดซู่ซ่าลงมาพอ
ท่านเจ้าคุณไปคำนับรับสมเด็จ
ฝนสาดไม่ขาดเม็ดลงสอสอ
ต้องกางกั้นร่มไปหมีได้รอ
ลงนั่งย่อเรือพายม้ารีบคลาไคล”
ความเดิมในนิราศหนองคายก่อนที่จะตรวจ คัด ตัดตอน บรรยายรายละเอียดเชิงวิพากษ์เปรียบเทียบเชื่อมโยงกับใบบอกที่เจ้าพระยามหินทรฯ ตอบไปยังกรุงเทพฯ ว่า
“ฝนก็ไม่หายเหือดไม่เงือดงด
ไม่หยาดหยดซู่ซ่าลงมาพอ
ท่านเจ้าคุณดีใจเห็นได้ท่า
ฝนตกมาถูกใจกระไรหนอ
สมกับที่ปดไว้ได้โก่งคอ
ได้หลอกล่อให้สนุกนิ์ไม่ทุกข์ใจ
ถ้าแม้นว่าได้พูดจาปรับทุกข์ร้อน
จะยอกย้อนขู่เล่นให้อย่างใหญ่
ที่ไก่เห็นตีนงูครูว่าไว้
งูก็เห็นนมไก่อยู่ใต้คอ
ท่านเจ้าคุณไปคำนับรับสมเด็จ
ฝนสาดไม่ขาดเม็ดลงสอสอ”
เมื่อเจ้าพระยามหินทรฯ จัดกระบวนทัพบกได้วางตัวข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ไว้ในตำแหน่งต่างๆ ในกองทัพ เช่น พระพิบูลไอศวรรย์ เป็นปีกขวาทัพใหญ่ ฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ ว่า
“พระพิบูลไอศวรรย์ตัวกลั่นกล้า
เป็นปีกขวาทัพใหญ่ใจทหาร
ท่วงทีกลศึกฝึกชำนาญ
ย่อมรู้การแม่นยำทำอุบาย”
นิราศหนองคายฉบับที่ยังไม่ได้ตรวจ คัด ตัดตอน ความตอนเดียวกันนี้ผู้แต่งสอดแทรกอารมณ์ขันไว้อย่างได้อรรถรส ดังนี้
“พระพิบูลไอศวรรย์ตัวกลั่นกล้า
เป็นปีกขวาทัพใหญ่ใจทหาร
ท่วงทีกลศึกฝึกชำนาญ
แสนเชี่ยวชาญเต็มดีคัมภีร์เจ๊ก
สามก๊กเลียดก๊กอ่านตกสิ้น
ทั้งฮ่องสินเรื่องตลกโกหกเด็ก
โง่วโฮ้วเพ็งไซทั้งไคเภ็ก
หนังสือเจ๊กจำแม่นแสนชำนาญ
ท่านแสนรู้ท่วงทีกิริยา
ท่านทำท่าคล้ายกวนอูดูอาจหาญ
ทั้งความคิดขงเบ้งเก่งชำนาญ
ย่อมรู้การแม่นยำทำอุบาย”
ที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น หนังสือนิราศหนองคายที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้คัดเก็บไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนครความยาว ๔ เล่มสมุดไทย เท่าที่พบเนื้อความในสมุดไทยเล่ม ๑ ถึงเล่ม ๓ มีรายละเอียด ข้อมูลและความเห็นส่วนตัวของผู้แต่งแทรกอยู่แตกต่างจากฉบับพิมพ์พุทธศักราช ๒๔๙๘ เป็นอันมาก หลายตอนกระทบกระเทือนผู้อื่น โดยเฉพาะ “เจ้าคุณแม่ทัพ” ซึ่งได้แก่ เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงและขุนนางหลายท่านที่ร่วมไปในกองทัพ จนเป็นเหตุให้ต้อง “ทำลายเสีย อย่าให้ติดเปนแบบอย่างอยู่ในแผ่นดินสืบไป” นายทิมเป็นทหาร สังกัดกรมพระสุรัสวดีกลาง แต่คดีนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาตัดสินด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องขึ้นศาลทหาร คดีอาญาอุกฉกรรจ์เช่นนี้ หากนายทิมไม่มี “ท่านเถียงแข่งรับเอาเป็นเจ้าการ” นายทิมอาจจะต้องตายในคุกก็เป็นได้
สำเนา “นิราศหนองคาย” ฉบับคัดลอก พ.ศ. ๒๔๙๔
นิราศหนองคาย ฉบับตรวจ คัด ตัดตอน พิมพ์เผยแพร่พุทธศักราช ๒๔๙๘ นั้นเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยในวงวิชาการว่า ทำไมจึงถูกเผา ส่วนใดบ้างที่ถูกตัดและมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานาเพราะไม่เห็นต้นฉบับเดิม นับตั้งแต่วันที่นิราศหนองคายถูกเผาจนถึงปัจจุบันเวลาล่วงเลยไปแล้ว ๑๓๗ ปี นิราศหนองคายฉบับบริบูรณ์ สมควรแก่การจัดพิมพ์เผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์ได้หรือยัง
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 24 เมษายน พ.ศ.2562