วันอาทิตย์, สิงหาคม 29, 2564

บทเรียนจากเอสโตเนีย เพียงแค่ 20 ปี หลัง หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เอสโตเนียสามารถกลายเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว #แล้วไทยล่ะ ??



มุมคิด
August 25, 2018 ·

เอสโตเนียพึ่งจะได้รับอิสรภาพเมื่อปี 1991 หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งในเวลานั้น ประชาชนกว่าครึ่งของเอสโตเนียยังไม่มีโทรศัพท์บ้านด้วยซ้ำ

แต่เพียงแค่ 20 ปีต่อมา เอสโตเนียกลายเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และยังเป็นประเทศที่เจริญที่สุดในแง่นวัตกรรมและเทคโนโลยี (เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแค่ 1.3 ล้านคน)

Skype หรือ Kazaa (P2P อันแรกๆของโลก) ก็ถูกพัฒนาขึ้นที่นี่ อีกทั้งยังเป็นประเทศแรกของโลกที่มีระบบบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (e-id card) พร้อมกันเชื่อมต่อระบบทั้งหมดไว้ด้วยกัน

ประชาชนจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จะทำธุรกรรมโอนเงิน จะบินเข้าออกประเทศ จะซื้อบ้าน ซื้อรถ จะจ่ายภาษี จะเปิดบริษัท จะทำอะไรก็ได้ ทั้งหมดจะทำบนธุรกรรมออนไลน์

3 ปีที่แล้วผมได้มีโอกาสไปเที่ยวเอสโตเนีย วันนั้นผมตื่นเต้นมากที่ระบบ เช็คอินของโรงแรมที่ผมพัก "ไม่มีพนักงานต้อนรับ" เขาตั้งตู้ Kiosk ไว้เครื่องเดียวให้ผมกรอกเอกสารการจองแล้วบัตรคีย์การ์ดก็หล่นลงมาพร้อมส่งรายละเอียดการเข้าพักให้ในอีเมล์

แต่เพราะอะไรล่ะที่ทำให้ประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยต้องอยู่ภายใต้โซเวียต ประชาชนไม่มีกิน กลายเป็นประเทศมหาอำนาจด้านเทคโนโลยีภายในระยะเวลาอันสั้น

1. #ปฏิรูปประเทศด้วยคนรุ่นใหม่อายุน้อย
ในปี 1992 หลังจากที่เอสโตเนียได้รับเอกราช Matt Laar ก็ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีพร้อมกับชุดรัฐมนตรีที่เด็กที่สุดในประวัติศาสตร์ (อายุเฉลี่ยรวม 35 ปี) ได้ปฏิรูประบบประเทศอย่างรวดเร็วโดยเน้นการพัฒนาประเทศโดย"เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เขาเริ่มจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อะไรที่ชักช้าเอามาทำให้ไวขึ้น การเปลี่ยนกฎหมายให้เปิดบริษัทใหม่ง่ายขึ้น รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งอันแรกที่สร้างคืออินเตอร์เน็ต

2. #ความรู้ต้องเข้าถึงทุกคน
ต่อมาเขาบังคับให้ทุกโรงเรียนต้องมีคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนตั้งแต่ระดับประถม และในปี 1998 ทุกโรงเรียนในเอสโตเนียมี Internet ใช้ฟรีอีกทั้งระบบยังเชื่อมโรงเรียนเข้าด้วยกัน ทำให้โรงเรียนสามารถแชร์ความรู้กันได้

ในปี 2000 รัฐบาลประกาศว่า ประชาชนทุกคนต้องเข้าถึง Internet ฟรี ทำให้ตอนนี้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถหา free-wifi ได้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องไปร้านกาแฟเพื่อต่อ wifi เลย

3. #มองไปข้างหน้าเน้นไปที่การสร้างนวัตกรรม

ในปีเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลยังยกเลิกระบบกระดาษก็อปปี้ กระดาษคาร์บอน รวมถึงการใช้ตราประทับ และการเซ็นสำเนาถูกต้อง โดยให้ทุกคนใช้การยืนยันผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด

และยังเป็นปีที่ประชาชน Estonia ขาย "Skype" Start Up ตัวแรกของพวกเขาได้เงินมา 2.6 พันล้านเหรียญ โดยเงินจำนวนนี้ ก็ถูกนำมาลงทุนใน Start Up ตัวใหม่ๆต่อ

4. #ยังไม่หยุดแค่นั้น
ในปี 2008 เอสโตเนียกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว พร้อมกับเปิดให้ประชาชนทุกคนเรียนฟรี และรักษาสุขภาพฟรี
ในปี 2015 เอสโตเนียได้คะแนน PISA Score ลำดับที่ 3 ของโลกตามหลังเพียงสิงคโปร์ และญี่ปุ่น (ไทยละดับที่ 56 จาก 70)

ในปี 2016 กว่า 30%ของประชาชนทั้งหมดทำงานในด้านเทคโนโลยี และมีบริษัท start up เกิดใหม่ถึงปีละ 14,000 บริษัท

วันนี้เอสโตเนียได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการเติบโตด้านนวัตกรรม สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ และด้านการเติบโตของเศรษฐกิจสูงลำดับต้นๆของโลก .... ทั้งๆที่เขาพึ่งจะเป็นประเทศได้เพียง 20 กว่าปีเท่านั้น

.... #แล้วไทยล่ะ เราเป็นเสือตัวที่ 5 มากี่ปีแล้ว ? เราเอาแนวทางอะไรของเอสโตเนียมาปรับใช้ได้บ้างเพื่อพัฒนาประเทศ อาจจะไม่ใช่ให้รัฐบาลคิดคนเดียว พวกเราเองก็ต้องช่วยกันคิดด้วยครับ #มุมคิด