วันอังคาร, สิงหาคม 24, 2564

ทำไมถึงทำกับเด็กได้ ! : สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเเละเยาวชน ที่ออกมาร่วมชุมนุมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา




ในม็อบมีเด็ก Child in Mob
12h ·

ทำไมถึงทำกับเด็กได้ !
: สรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กเเละเยาวชน ที่ออกมาร่วมชุมนุมในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรากฏภาพการปะทะ การสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เห็นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งคำถามจากสังคมมากมาย ทั้งการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ การไม่ปฏิบัติตามหลักสากลในการทำหน้าที่ รวมทั้งยังคงกระทำการละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิเด็กโดยไม่มีการไตร่ตรอง
และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ยังมีอายุไม่ถึง 18 ปี จากการติดตามของอาสาสมัครและทีมงาน Child in Mob ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
• มีเด็กและเยาวชนถูกจับระหว่างการชุมนุมอย่างน้อย 38 คน ซึ่งจากสภาพร่างกาย และการบอกเล่าของเด็กที่ถูกจับกุม มีบางส่วนพบร่องรอยการถูกทำร้ายจากเจ้าหน้าที่
• เด็กอย่างน้อย 4 คน ถูกยิงด้วยกระสุนยางได้รับบาดเจ็บสาหัส
• เด็ก 3 คนถูกยิงด้วยกระสุนจริง โดยหนึ่งในนั้นยังมีอาการโคม่าและไม่รู้สึกตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
อย่าทำให้ตัวเลขที่เห็น เป็นเพียงแค่จำนวนนับ มาร่วมกันสื่อสารและแสดงออก เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “ยุติการกระทำความรุนแรง และการดำเนินคดีที่เกินกว่าเหตุแก่เด็กและเยาวชน” เพราเด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง และสามารถใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้
#ในม็อบมีเด็ก #childinprotest
ภาพประกอบโดย @Sarawut Tinwattanakul

ในม็อบมีเด็ก Child in Mob
August 14 at 11:36 PM ·

ไม่ควรมีเด็กในแนวปะทะ ในทุกการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุม
ภาพการใช้ความรุนแรงทั้งปืนลูกซองกระสุนยาง รถฉีดน้ำ หรือการใช้ตำรวจควบคุมฝูงชนจำนวนมากโบยตีทั้งที่ตัวผู้ชุมนุมและยานพาหนะ เพื่อต้องการสลายการชุมนุม ซึ่งเป็นตามเสรีภาพตามกฎหมาย สะท้อนให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ที่แข็งขันและเอาจริงเอาจังกับการจัดการ “ควบคุม” ผู้คนที่มีความเห็นต่างทางการเมือง แต่เชื่องช้าและไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และการควบคุมสถานการณ์
หากย้อนมองตัวเลขต่าง ๆ จะพบว่า ทุกการออกมาใช้สอยสิทธิเสรีภาพทางการเมืองล้วนมีความสูญเสีย
- 38 ราย คือจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตา และการถูกยิง ตามที่ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร รายงานหลังสิ้นการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563
- ขณะที่ 1 มีนาคม 64 มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่มากกว่า 33 ราย
- และ 3 วันที่ผ่านมา มีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 40 ราย และถูกจับกุมมากกว่า 42 คน ซึ่งเป็นเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า18 ปีถึง 14 คน
ไม่ว่าเด็กและเยาวชน จะมาร่วมชุมนุมด้วยเหตุผลใดก็ตาม พวกเขาไม่สมควรต้องถูกดำเนินคดี หรือได้รับการบาดเจ็บล้มตาย เพราะตามหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธ โดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้กำหนดหลักในการควบคุมสถานการณ์ หรือการเข้าสลายการชุมนุมเอาไว้อย่างชัดเจน
ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ พบว่าผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งฝ่ายปฏิบัติการ และผู้บังคับสั่งการของรัฐไทย ได้กระทำเพียงสิ่งเดียว และสิ่งนั้นคือ “การฝ่าฝืนทุกหลักการและกติกาสากล”
เมื่อผู้บังคับใช้กฎหมายเลือกใช้ “ความรุนแรง” ท่าทีและการแสดงออกของผู้ชุมนุมจึงค่อย ๆ ปรับตัวไปเพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือ นั่นจึงทำให้เลี่ยงไม่ได้ที่จะมี “แนวปะทะ” และเมื่อกระสุนยาง หรือแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ไม่มีตา ก็อาจเกิดความเสี่ยงตามมาไม่ว่าในกลุ่มผู้ชุมนุมจะเป็นเด็ก สตรี ผู้สูงอายุหรือใครก็ตาม
หากการห้ามปรามด้วยวิธีออกแถลงการณ์จากหลายองค์กรนั้นต้องใช้กระดาษ ประเทศชาติคงหมดต้นไม้นับร้อยเพื่อร้องขอให้เจ้าหน้าที่ควบคุมสติ อารมณ์ โดยไม่ใช้ความรุนแรง
เพราะการ “ควบคุม คุกคาม สร้างความหวาดกลัว” มีแต่แนวโน้มจะเพิ่ม “แนวปะทะ” และเมื่อเราได้เห็นแล้วว่าปัจจุบัน เด็กเยาวชนมากหน้าหลายตา ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการชุมนุมทางการเมือง การใช้ความรุนแรงจึงหมายถึงการเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตของเด็กเยาวชนด้วย
โพสต์นี้ ไม่มีคำขอร้องใด นอกจากอยากสื่อสารออกไปให้ชัดว่า หากเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายที่ได้ผ่านหลักสูตรการฝึกฝนมามากมาย ได้จดจำชื่อของหลักการสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในการควบคุมสถานการณ์ ฯ เสียบ้าง ก็ “ไม่ควรมีแนวปะทะ ในทุกการใช้สิทธิเสรีภาพโดยการชุมนุม”
#คาร์ม็อบ8สิงหาคม
#Childinmob


ในม็อบมีเด็ก Child in Mob
August 15 at 7:38 AM ·

อาสาสมัครในม็อบมีเด็กลงพื้นที่ในการชุมนุมแบบคาร์ม็อบหรือคาร์ปาร์ค เพื่อเเสดงให้เห็นความสำคัญของเด็กกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และเน้นย้ำกับทุกฝ่ายในหลักการเรื่องสิทธิเด็ก #ม็อบ15สิงหา
การปฏิบัติงานครั้งนี้มีความท้าทายตรงที่อาสาสมัครเราไม่ได้มีรถในการขับตามขบวน จึงทำให้การระบุตัวตนเด็กยากขึ้น ซึ่งอาสาสมัครในม็อบมีเด็กแบ่งออกเป็น 2 ทีม คือ ทีมสี่แยกราชประสงค์ และทีมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
.
อาสาสมัครได้เริ่มต้นการทำงานด้วยการแจกแท๊กหรือสายรัดข้อมือให้กับเด็ก ซึ่งสายรัดสีส้มสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และสายสีชมพูสำหรับเด็กอายุมากกว่า 15 ปี จนถึง 18 ปี โดยวันนี้ได้มีการแจกสายรัดข้อมือทั้งสองพื้นที่ชุมนุมจำนวนทั้งสิ้น 107 เส้น
.
ขณะที่ภาพรวมของการลงพื้นที่สังเกตการณ์โดยอาสาสมัครในม็อบมีเด็ก พบว่า
.
#บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ก่อนการเคลื่อขบวนพบว่ากลุ่มเด็กที่ออกมาร่วมส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มากับผู้ปกครองโดยอาสาสมัครได้ขออนุญาติเขียนเบอร์โทรศัพท์ผู้ปกครองไว้ที่ข้อมือ ส่วนเด็กอายุมากกว่า 15 ปีส่วนมากขับรถจักรยานยนต์มาเอง
.
#บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พบกลุ่มเด็กที่ออกมาร่วมกิจกรรมแบ่งเป็นเด็กในพื้นที่ชุมชนะเเวกใกล้เคียงและเด็กที่มากับผู้ปกครอง ส่วนมากเป็นเด็กเล็กอายุไม่เกิน 15 ปี รวมทั้งกลุ่มอาชีวะที่เป็นเด็ก 15 ปีขึ้นไป
โดยอาสาสมัครได้เน้นย้ำ และอธิบายถึงความสำคัญในเรื่องสิทธิเด็กว่า เด็กมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมกลไกระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
.
การปฏิบัติงานของอาสาสมัครมุ่งเน้นเสมอว่า การแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ นั้นเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่สามารถกระทำได้ เช่นเดียวกันกับ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันและคำมั่นว่าจะดำเนินการนั้น ได้รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็ก เสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงการชุมนุมอย่างสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวปฏิบัติของคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก และความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เน้นถึงสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิที่จะได้แสดงความเห็น โดยเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมในการชุมนุม
ปล.วันนี้มีคนมาส่งกำลังใจให้อาสาสมัครด้วยดอกไม้และตุ๊กตาหมี
ขอบคุณสำหรับกำลังใจในการทำงานสนใจร่วมเป็นอาสาสมัครอาสาในม็อบมีเด็กสมัครได้ที่ shorturl.at/wBKX5
สนับสนุนการทำงานอาสาสมัครในม็อบมีเด็กได้ที่ เลขที่บัญชี 129-5-62892-7 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ
#คาร์ม็อบ15สิงหา
#ในม็อบมีเด็ก
#Childrenrightsarehumanrights
#Childinmob
#Childinprotest
.....

Atukkit Sawangsuk
9h ·
“สิ่งที่เผด็จการทำมันทำให้เด็กคิดได้”
...
Voice TV
9h ·
แค้น คลั่ง ทะลุแก๊ซ
ปรากฏการณ์วัยรุ่นรวมตัวกันที่แยกดินแดงเพื่อตั้งใจบุกไปบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนปะทะกับชุดควบคุมฝูงชนนานต่อเนื่อง-บานปลาย มีคนเจ็บและถูกจับจำนวนมาก อาจไม่ใช่จริตผู้สมาทานความสงบ ทั้งหมดขับเคลื่อนไปอย่างวุ่นวาย ยั่วยุ โกลาหล
คำถามคือเงื่อนไขอะไรทำให้พวกเขาเลือกออกมาเสี่ยงเจ็บตัว ข้อเรียกร้องท่ามกลางดงแก๊สน้ำตาคืออะไร
'วอยซ์' ชวนเดินเข้าไปใน ‘สมรภูมิดินแดง’ เพื่อทำความเข้าใจสามัญชนนิรนาม ที่มักถูกตัดสิน-ตีตรา แต่ลึกเข้าไปในเสียงประทัด พลุไฟ ลึกเข้าไปในหนังสติ๊กมีอะไรซ่อนอยู่
"อยากให้นายกฯ มาเจอกระสุนยาง มาเจอแก๊สน้ำตา อยากให้เขารู้ว่าความเจ็บปวดมันเป็นยังไง" หญิงผมแดงบอกก่อนเราจะถามต่อว่าทำไมถึงออกเป็นแนวหน้า
"ไม่รู้เหมือนกัน เราโกรธและเกลียด" เธอสบถอย่างเกรี้ยวกราด
"เราอยากได้อนาคตตัวเองคืน เราออกมาตั้งแต่ม็อบปีที่แล้ว สุดท้ายพวกมันไม่เคยมองเห็นสิ่งที่เราทำเลย"
ไม่ต่างไปจากคำตอบของเด็กหนุ่มวัย 15 ปีที่ในมือกำลังกำหนังสติ๊ก "ผมเกลียดพวกขี้ข้าทรราช"
เขาง้างยิงกระสุนเม็ดกลมๆ ที่ไม่แน่ว่าอาจเป็นลูกแก้ว หัวน็อต หรือก้อนหินไปยังเป้าหมายในชุดเครื่องแบบสีดำ ก่อนสบถอีกครั้ง "ผมเกลียดแม่ง"
“เราเลือกพลุเพราะความแรงมันน้อย แต่ระยะยิงใช้ได้ การเล็งเป้าโอเค ถ้าเป็นพวกระเบิดไทยประดิษฐ์ ปืนไทยประดิษฐ์ ระเบิดขวด ระเบิดไฟ มันหาได้ไม่ยาก แต่เพราะเราไม่เอากันถึงตายไง ลึกๆ เรามองเห็นเขาเป็นคนเหมือนกัน” หนุ่ม วัย 21 อธิบายเพิ่ม
ทำไมต้องดินแดง เขาบอกว่า จุดเริ่มต้นของแยกดินแดงเกิดขึ้นในวันที่ 28 ก.พ. ที่มีม็อบเดินไปหน้ากรมทหารราบที่ 1 เมื่อไปถึงก็มีการปะทะทันที วันนั้นเป็นม็อบของ Redem ไม่มีใครเป็นแกนนำ
ตัวหนุ่มเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ คฝ. เพื่อขอให้ปล่อยคนเจ็บออกมาทั้งหมด 3 คน แต่ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุทำให้มวลชนเข้ามาเติมมากขึ้นเรื่อยๆ
"ภาพที่ คฝ. เตะคนจนตัวลอยทำให้เรื่องบานปลาย พอมีการสลายก็ทำให้มวลชนถอยร่นกันไปรวมที่แยกดินแดง"
อย่างไรก็ตาม หนุ่มมองว่าเมื่อเด็กๆ มาแล้วถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย จากเดิมที่อาจจะไม่ได้เข้าใจความเลวร้ายของเผด็จการ เขาจะเริ่มเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตัวเอง
“เวลาเห็นเด็กรุ่น 13-15 มาเดินอยู่ในแนวปะทะ สิ่งที่ผมคิดคือ สิ่งที่เผด็จการทำมันทำให้เด็กคิดได้ จากเดิมที่อาจจะมาตามเพื่อน เอามัน พอโดนเข้าจริงๆ มันจะคิดได้ว่าเผด็จการเป็นยังไง กูเป็นเยาวชนแต่มึงเลือกใช้ปืนยิงใส่”
หนุ่มเชื่อว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีโอกาสยกระดับการป่วนระบบของรัฐได้ มากกว่าที่จะพุ่งเป้าไปที่ คฝ. เพียงอย่างเดียว
“เราเริ่มกันจากศูนย์ แต่เราเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก้าวข้ามไปทีละขั้น” แววตาของหนุ่มมุ่งมั่น ทระนง
โลกของหนุ่มและผองเพื่อนกำลังเติบโตไปบนถนนคลุ้งแก๊สน้ำตา ส่วนสังคมไทยกำลังเรียนรู้อะไรจากแยกดินแดง
อ่านต่อที่ www.voicetv.co.th/read/uTjQc3QIk
เรื่องโดย ทวีศักดิ์ เกิดโภคา, พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ
ติดตาม Exclusive Voice : เปิดใจแนวหน้าในเครื่องแบบนาม คฝ. ต่อในวันพรุ่งนี้ (24 ส.ค.)
#VoiceOnline
#ดินแดง
#ทะลุแก๊ซ ทะลุแก๊ซ - Thalugaz