วันอาทิตย์, สิงหาคม 15, 2564

"เราต้องเหนื่อยเป็นสองเท่า เพราะสถาบันกษัตริย์แยกไม่ออกจากทุน"



Atukkit Sawangsuk
11h ·

"เราต้องเหนื่อยเป็นสองเท่า เพราะสถาบันกษัตริย์แยกไม่ออกจากทุน"
...
The101.world
August 12 at 10:00 PM ·

“การละเลยความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่าง ‘ทุน’ และ’ สถาบันกษัตริย์’ ทำให้เรามองไม่เห็นคำถามสำคัญเหล่านี้
“คำถามแรกคือ เวลาเราต่อสู้กับทุน ต่อต้านนายทุน ประท้วง และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทุนนิยม เราต้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ด้วยหรือไม่
“คำถามที่สอง เวลาที่เราเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ การปฏิรูปที่ว่านี้จะประสบความสำเร็จโดยไม่ปฏิรูประบบทุนนิยมได้หรือไม่”
.
https://www.the101.world/puangchon-unchanam-interview
.
ในวาระครบรอบ 1 ปีการประกาศข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 101 สนทนากับ ปวงชน อุนจะนำ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เขียนหนังสือ Royal Capitalism: Wealth, Class, and Monarchy in Thailand ว่าด้วย บทบาท-สถานะ-อำนาจของ ‘สถาบันกษัตริย์กระฎุมพี’ ในทุนนิยมและประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางกระแสคลื่นลมแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ถูกกดทับทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจมานาน
.
“เรามักจะละเลยไปว่าสถาบันกษัตริย์คือสถาบันที่นายทุนเข้าหาและโคจรรอบ วังไม่ได้เป็นเพียงแค่สถาบันที่แสดงบทบาทเชิงประเพณีหรือวัฒนธรรมตามบทบาทที่ควรจะเป็นของสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติ สถาบันกษัตริย์แสดงบทบาทที่สำคัญและทรงอิทธิพลมากในตลาด เป็นผู้ลงทุนและผู้ผลิตในตลาด เป็นคู่ค้ากับนายทุน เชื่อมนายทุนเข้าหากัน และเป็นแหล่งความชอบธรรมเชิงอุดมการณ์ของชนชั้นนายทุนด้วย ดังนั้นผมมองว่าระหว่างเจ้าฟ้ากับเจ้าสัว วังกับบริษัท พระราชทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์มีอะไรเกี่ยวข้องกัน”
.
“ตราบเท่าที่ทุนยังเข้มแข็ง นายทุนมีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองที่เข้มแข็ง สถาบันกษัตริย์ยังสนิทกับทุนอย่างแนบแน่น แถมสถาบันกษัตริย์ยังเล่นบทนายทุนเอง การต่อสู้ครั้งนี้ไม่ง่าย ต่อให้ลดทอนอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในเชิงการเมืองหรือวัฒนธรรมได้ แต่โจทย์ที่รออยู่คือจะทำอย่างไรกับอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในตลาด”
.
"เราต้องเหนื่อยเป็นสองเท่า เพราะสถาบันกษัตริย์แยกไม่ออกจากทุน และสถาบันกษัตริย์เองก็เป็นนายทุนด้วย ชนชั้นแรงงานก็ต้องเผชิญกับทั้งเจ้าของบริษัทที่พร้อมจะปราบแรงงานที่ประท้วงค่าแรงอยู่และกษัตริย์กระฎุมพี
"ดังนั้นตัวแบบหนึ่งที่ไทยน่าจะเอามาใช้ก็คือ การให้กษัตริย์รับเงินเดือนจากรัฐในฐานะแหล่งรายได้เดียว ให้พระราชวังเป็นทรัพย์สินของรัฐ ตัดพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการสาธารณะและให้รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ตัดโครงการหลวงเพราะทับซ้อนกับส่วนราชการ นี่คือปรับให้กษัตริย์กลับไปอยู่เหนือการเมืองและเศรษฐกิจ นี่คือโจทย์ที่ท้าทายอย่างมากในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในห้วงเวลาเช่นนี้"

อ่านบทสัมภาษณ์เต็มที่
https://www.the101.world/puangchon-unchanam-interview/