วันอาทิตย์, มิถุนายน 20, 2564

เหตุผลที่ประเทศไทย ไม่ควรพึ่งพา วัคซีน Sinovac เป็นหลัก มากมาย แบบนี้



Rungsrit Kanjanavanit
Yesterday at 4:02 AM ·

ถ้าติดตามผมมาตลอด
จะเห็นว่า ผมไม่ต่อว่า ด้อยค่า ดูแคลน วัคซีนเชื้อตาย
เพราะเห็นว่า ในสถานการณ์คับขัน
เราจัดหาอะไรมาได้ก่อนก็ต้องเอาก่อน
ทางเลือกมีไม่มาก
อย่างน้อย ก็กันหนัก กันตายได้

อีกทั้งโอกาสที่เราจะต้องฉีดเข็มสาม เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันมีอยู่มาก
ตอนนั้น รัฐอาจให้โอกาสเราเลือกมากขึ้น
แต่ตอนนี้ ปัจเจก ควรได้รับการป้องกันโดยระดับหนึ่งก่อน

ผมจึงเชียร์ให้ทุกคนที่มีโอกาส
ให้พิจารณารับวัคซีนที่มีอยู่โดยไม่รีรอ

อย่างไรก็ตาม

มาถึงเวลานี้
ผมไม่เห็นด้วยที่ ประเทศไทย จะพึ่งพา วัคซีน Sinovac เป็นหลัก มากมาย แบบนี้


เพราะ หลักฐานเชิงประจักษ์จากหลายประเทศ ส่งสัญญาณที่น่ากังวลว่า

ประสิทธิภาพมันไม่เพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
ไม่สามารถหยุดการระบาดได้ดีนัก
แม้จะปกป้องระดับบุคคลไม่ให้อาการหนัก หรือตายได้ ก็ตาม
(ประเทศจีนดูจะเป็นข้อยกเว้น)

อีกประเด็นที่จะกังวลคือ
Sinovac จะไม่ใช่วัคซีนที่พึ่งพาได้ดีนัก
หากเกิดการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์

เหตุผลที่ต้องสั่ง Sinovac เข้ามามากมายเช่นนี้ คืออะไร

ส่วนหนึ่งคงเพื่อทนแทน กำลังผลิตที่ไม่ได้ตามเป้าของ AZ vaccine จาก รง.ในประเทศ

แต่ผมเองไม่ทราบข้อมูลลึกว่า
เหตุใด การหาวัคซีนทดแทน จึงต้องเป็น Sinovac อีก
รัฐไม่สามารถจัดหาชนิดอื่นได้ด้วยเหตุสมควรอันใดหรือไม่

เข้าใจว่า Sinovac สามารถสั่งซื้อได้ทันที มีของส่ง

แต่หากเอามาขัดตาทัพ ก็ไม่น่า เอามามากมายจนกลายเป็นวัคซีนหลักไปเช่นนี้


Bandarn Suetrong
14h ·

mRNA vaccines are preferred to viral vector vaccines according to scientific evidences.
นักวิชาการสายวิทยาศาสตร์ควรที่จะต้องซื่อสัตย์ต่อหลักวิชาการ และต้องยึดข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วนเท่านั้น ไม่ควรเลือกใช้ข้อเท็จจริงบางส่วนเพื่อเอามาใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนนโยบายของภาครัฐเพื่อความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานส่วนตัว แต่ควรจะต้องนำเสนอข้อมูลทางวิชาการที่ครบถ้วนเป็นไปตามความเป็นจริงให้กับสังคมเพื่อประโยชน์กับประชาชนส่วนรวมของประเทศมากกว่า
เมื่อวานซืน (17 มิย.64) คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติของประเทศแคนาดา ที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อ ไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา ได้ทำการทบทวนข้อมูลจากการศึกษาวิจัยเรื่องวัคซีนโควิดที่ผ่านมา โดยใช้หลักการของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ (Evidence Based Medicine:EBM) โดยใช้เอกสารอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยมากถึง 130 ชิ้น ได้ทำการปรับปรุงคำแนะนำการใช้วัคซีนโควิด ซึ่งในแคนาดามีวัคซีนโควิดให้เลือกใช้ในปัจจุบัน 4 ชนิดคือ Pfizer, Moderna, AstraZeneca(Covidshield) และ Janssen(J&J)ให้กับประชาชนในแคนาดาออกมา โดยมีรายละเอียดถึง 117 หน้า เลยทีเดียว โดยมีคำแนะนำที่สำคัญและเหตุผลประกอบคำแนะนำที่น่าสนใจดังนี้คือ
1. วัคซีนชนิด mRNA เป็นวัคซีนที่แนะนำให้ใช้มากกว่าวัคซีนชนิด viral vector ด้วยเหตุผลดังนี้
1.1 วัคซีนmRNA มีประสิทธิภาพ(vaccine efficacy)จากการศึกษา Phase 3 ดีกว่าวัคซีนชนิด virus vector อย่างชัดเจน
1.2 วัคซีนmRNA มีข้อมูลในการใช้ในชีวิตจริง (real world effectiveness) พบว่ามีประสิทธิภาพที่ดีมากๆอย่างชัดเจน ทำให้สามารถลดการเสียชีวิต การเจ็บป่วย การติดเชื้อ และทำให้ควบคุมการระบาดของโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติได้
1.3 วัคซีนmRNA มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าวัคซีนชนิด virus vector ต่อไวรัสโควิดที่กลายพันธุ์(variant of concern) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์อินเดียและแอฟริกาใต้
1.4 วัคซีนชนิดmRNA มีความปลอดภัยกว่าวัคซีนชนิด virus vector เนื่องจากไม่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งแม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยในวัคซีนชนิด virus vector ก็ตาม แต่มีความรุนแรงสูงและอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. วัคซีนชนิด virus vector แนะนำให้ใช้ในกรณีที่มีข้อห้าม (contraindication) ในการใช้วัคซีนชนิด mRNA เท่านั้น ซึ่งข้อห้ามเพียงอย่างเดียวในปัจจุบันก็คือการแพ้ต่อองค์ประกอบของวัคซีนชนิด mRNA เท่านั้น โรคประจำตัวอื่นๆ การเป็นโรคภูมิแพ้ แพ้ยา แพ้อาหาร ภูมิต้านทานต่ำ โรคมะเร็ง การได้รับเคมีบำบัดและฉายแสงไม่ถือว่าเป็นข้อห้ามในการรับวัคซีนชนิด mRNA หรืออาจจะให้ใช้วัคซีนชนิด virus vector ในกรณีที่จำเป็นจริงๆที่ไม่สามารถหาวัคซีน mRNA ให้ได้(ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยการบริหารวัคซีนที่ดีและมีประสิทธิภาพ วัคซีนชนิด mRNA มีให้ใช้อย่างเพียงพอในแคนาดาแล้วในปัจจุบัน)
3. ในประชากรบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตัวเอง(Autoimmune diseases) มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เด็กและวัยรุ่น คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ทบทวนข้อมูลจากการศึกษาวิจัยจนถึงปัจจุบัน และได้ให้คำแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA ในประชากรกลุ่มดังกล่าวแทนที่จะใช้วัคซีนชนิด virus vector เช่นเดียวกัน โดยจะให้ใช้วัคซีนชนิด virus vector ในกรณีที่มีข้อห้ามในการใช้วัคซีน mRNA หรือไม่สามารถหาวัคซีน mRNA มาให้ได้เท่านั้น
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ราชวิทยาลัยและสมาคมวิชาชีพแพทย์สาขาที่เกี่ยวข้องควรจะต้องลุกขึ้นมาทำหน้าที่ของการเป็นสถาบันทางวิชาการเพื่อให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาให้กับประชาชนกันเสียที บางครั้งตอนนี้ฟังข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญบางท่านในบางครั้งนึกว่าผู้พูดเป็นโฆษกรัฐบาล หรือผู้แทนบริษัทวัคซีน Sinovac หรือ AstraZeneca ด้วยซ้ำไป
สามารถอ่านรายละเอียดของ Update recommendation แบบ EBM ได้ตาม Link ด้านล่างนะครับ
https://www.canada.ca/.../recommendations-use-covid-19...
สามารถเข้าไปรับฟังการบรรยายเรื่องวัคซีนโควิดโดยใช้หลักการ Evidence based medicine ได้ตาม Link ด้านล่างนะครับ (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษๆ แต่หนึ่งเดือนที่ผ่านมามีคนเข้าไปฟังมากกว่า 4 พันหนึ่งร้อยครั้งแล้วนะครับ น่าจะเป็นการบรรยายที่มีผู้เข้าฟังมากที่สุดในชีวิตของผู้บรรยายแล้วนะครับ)
https://youtu.be/GR6-cAqZcLo