วันเสาร์, มิถุนายน 05, 2564

หมดไปปีละเท่าไหร่กับกิจกรรม"วันเฉลิม"พระบรมราชินี?



Saiseema Phutikarn
10h ·

<หมดไปปีละเท่าไหร่กับกิจกรรม"วันเฉลิม"พระบรมราชินี?>
วันเฉลิมพระชนพรรษา"พระบรมราชินีฯ" 3 มิถุนายน ถือเป็นวันสำคัญใหม่ที่เพิ่งสร้างมาได้แค่ 3 ปี โดยเริ่มครั้งแรกในปี 2562 หลังมีพิธีราชาภิเษกสมรสอย่างสุดเซอร์ไพรส์ในวันที่ 1 พ.ค. 62 เพราะก่อนหน้านั้นคนไทยแทบจะไม่เคยมีใครรู้จัก"พระบรมราชินีสุทิดา"มาก่อนว่าเป็นใครมาจากไหน ยกเว้นบรรดาเหล่าแฟนพันธุ์แท้"รอยัลลิสต์"นอกกระแส ไม่มากนักที่พอคุ้นเคยกับชื่อนี้มาบ้าง ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมเนียมของรัฐไทยหลังสถาปนาตำแหน่งก็ต้องมีโครงการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิดของพระบรมวงศานุวงค์ทุกพระองค์
ปี 2562 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการจัดกิจกรรม "วันเฉลิม" พระบรมราชินีฯ 3 มิ.ย. ข้อมูลเท่าที่หาได้จากการสืบค้นจาก actai.co ฐานข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐขององค์การต่อต้านคอรัปชั่นพบว่า ระหว่าง 1 เม.ย.-30มิ.ย. มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างในโอกาสวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบรมราชินีสุทิดาฯทั้งหมด 1,049 โครงการ ใน 644 หน่วยงาน ใช้งบประมาณรวมทั้งหมด 35.88 ล้านบาท เกือบทั้งหมดจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานที่ใช้งบประมาณเพื่อการนี้มากที่สุดมี 5 โครงการ รวมเป็นงบประมาณ 9.9 ล้านบาท ส่วนโครงการของหน่วยงานอื่นๆนั้น ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กใช้งบประมาณไม่มาก โดยมีงบประมาณเฉลี่ยต่อโครงการ 3.4 หมื่นบาท ส่วนใหญ่จำเป็นการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อ ทำซุ้ม ทำป้าย ซื้อโฆษณา จุดพลุ จัดไฟประดับ ตกแต่งสถานที่ จัดพิธีทำบุญตักบาตร ตลอดจนไปถึงการปล่อยปลาเฉลิมพระเกียรติฯลฯ
ส่วนปี 2563 (1 เม.ย.-30มิ.ย.) เนื่องด้วยในเดือน เมษา-พฤษภา ประเทศอยู่ในวิกฤติการระบาดครั้งแรกของโควิด19 จากคลัสเตอร์สนามมวยกองทัพบก ทั้งประเทศถูกล็อคดาวน์ มีการประกาศเคอร์ฟิว จึงมีการ"ลดขนาด"กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันเฉลิมฯ ทำให้งบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่เกี่ยวกับกิจกรรมวันเฉลิมฯลดลงเป็น 31.24 ล้านบาท แต่มีจำนวนโครงการ และ หน่วยงานเพิ่มขึ้นเป็น 1,362 โครงการ ใน 750 หน่วยงาน ทั้งหมดเป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยกรุงเทพมหานครยังคงครองแชมป์หน่วยงานที่ใช้งบประมาณเพื่อกิจกรรม"วันเฉลิม"พระบรมราชินีฯ มากที่สุดมี 6 โครงการ รวมเป็นงบประมาณ 7.9 ล้านบาท ส่วนโครงการของหน่วยงานอื่นๆนั้น ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กใช้งบประมาณไม่มาก โดยมีงบประมาณเฉลี่ยต่อโครงการ 2.3 หมื่นบาท
อนึ่งในปี 2563 หลังการเฉลิมฉลองเนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบรมราชินีเพียง 1 วัน "วันเฉลิม"นักกิจกรรมชาวไทยก็ถูกอุ้มหายระหว่างลี้ภัยอยู่ที่กรุงพนมเปญ มีข้อมูลหลายอย่างชวนให้สงสัยว่าการอุ้มหาย"วันเฉลิม"ครั้งนี้ และการอุ้มหายนักกิจกรรมผู้ต่อต้านรัฐประหารจนต้องลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้านครั้งก่อนๆ จะเป็นปฏิบัติการที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มอำนาจเผด็จการไทย วันนี้ครบ 1 ปี ยังไม่ทราบชะตากรรมของ"วันเฉลิม"ถูกอุ้มหาย ส่วนคนร้ายก็ยังคงลอยนวล #saveวันเฉลิม #1ปีต้องมีความยุติธรรมให้วันเฉลิม
โอกาสครบรอบวันเกิดของพระบรมวงศานุวงศ์ เราเห็นบรรดาส่วนราชการ ทบวง กรม องค์การท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ต่างพาจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ทำซุ้ม ตั้งป้าย จัดให้ลงชื่อถวายพระพร จนเป็นเรื่องปกติ จนเราเคยชินไม่ทันนึกสงสัยว่างบที่หมดไปกับกิจกรรมเหล่านี้ปีๆหนึ่งมากมายแค่ไหน่? และมันเป็นการใช้เงินจากภาษีประชาชนที่เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนหรือไม่? แต่หลังจากวันก่อน สส. เบญจา แสงจันทร์ ได้สร้างประวัติศาสตร์อภิปรายพรบ.งบประมาณปี 2565 โดยมีการอภิปรายถึงงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ #งบสถาบัน มูลค่ารวมเกือบ 3.4 หมื่นล้าน ทำให้สังคมไทยเริ่มกลับมาให้ความสนใจเรื่องงบประมาณที่ถูกใช้ไปในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง
แต่อุปสรรคก็ยังเป็นเรื่องความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ตัวเลข 3.4 หมื่นล้านของ สส.เบญจา ได้มาจากการรวมข้อมูลงบของแต่ละหน่วยงาน โดยการไล่เปิดเอกสารประกอบงบประมาณประจำปี 65 ทีละหน้า (มีทั้งหมดเป็นหมื่นหน้า) บทความเรื่องงบสถาบันปีก่อนๆของ ประชาไท Prachatai.com ก็รวบรวมข้อมูลโดยวิธีงมเข็มในมหาสมุทรแบบนี้ นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอีกจำนวนมหาศาลที่ไม่ได้ถูกแจกแจงแสดงไว้ให้เห็นในเอกสารประกอบงบประมาณ ต้องใช้วิธีรวบรวมจากการไล่ค้นหาข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในแต่ละปีซึ่งก็ยากเข็ญไม่แพ้กัน และที่สำคัญที่สุดไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานที่อยู่ภายใต้ "ส่วนราชการในพระองค์"อีกต่อไป ภายหลังจากที่ รัฐบาลเผด็จการ คสช. ได้ออก พรบ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้ "ส่วนราชการในพระองค์" ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และ ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด และให้การบริหารจัดการทั้งหมดเป็นไปตาม "พระราชอัธยาศัย"
- ส.ส.ก้าวไกล อภิปรายงบเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ใน ร่าง พ.ร.บ.งบฯ 65 รวม 3.37 หมื่นล้าน
https://prachatai.com/journal/2021/06/93312
-งบ 2565 : ส.ส. ก้าวไกลเสนอแผนบูรณาการงบสถาบันกษัตริย์ สกัดพวกแอบอ้าง-ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ
https://www.bbc.com/thai/thailand-57328968
-4 ข้อเสนอปฏิรูป "งบประมาณสถาบันกษัตริย์"ของ"ปิยบุตร
https://www.facebook.com/.../a.22603897.../3024225337861329/
-1 ปี ‘วันเฉลิม’ หาย: สืบสวนไม่คืบหน้า ไม่รู้ชะตากรรม แต่พบร่องรอยชีวิตในกัมพูชาเพิ่ม
https://prachatai.com/journal/2021/06/93359
- 1 ปีที่หายไปของวันเฉลิม ในประเทศไม่ทราบชะตากรรม
https://www.thairath.co.th/news/politic/2107792
.....

Somsak Jeamteerasakul
10h ·

(บางส่วนของ) ค่าใช้จ่ายจัดงานวันเฉลิม พระราชินี
ปี 2562 ทั้งหมด 1,049 โครงการ 644 หน่วยงาน งบประมาณรวม 35.88 ล้านบาท (วันที่ประกาศโครงการ 1 เม.ย.-30 มิ.ย. 2562)
ปี 2563 ทั้งหมด 1,362 โครงการ 750 หน่วยงาน งบประมาณรวม 31.24 ล้านบาท (วันที่ประกาศโครงการ 1 เม.ย.-30 มิ.ย. 2563)
จาก https://www.facebook.com/saiseema.p/posts/2876122136036628
จำนวน 30 กว่าล้านบาท อาจดู "ไม่มาก" แต่เงินจำนวนนี้ เอาไปใช้อย่างอื่น ไม่เป็นผลดีกว่านี้หรือ?
.....

KTUK - คนไทยยูเค
20h ·

วันเกิดทั้งที คนไทยดันต้องจ่ายอีก!!! #ปรสิตจริงๆ งบครั้งนี้ผ่านกระทรวงวัฒนธรรม จัดงานฉลองวันเกิดสุทิดา ตลอดเดือน

หน่วยงานที่ได้งบไปมีทั้ง สำนักงานปลัดฯ กรมการศาสนา และกรมศิลปากร เป็นเงินทั้งหมด 130 ล้านบาท

กระทรวงวัฒนธรรมอ้างทันทีว่า ต้องจัดให้สมพระเกียรติวันเกิดของเจ้าทั้งที ทั้งหมดนี้เพื่อ "เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างค่านิยม อัตลักษณ์ไทย และความเป็นไทย รวมทั้งสืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย" 555555 แกทเชื่อมโยงเอาไปเลย ขอเบิกงบเก่ง

ที่มาข่าว https://prachatai.com/journal/2021/05/93247