วันศุกร์, มิถุนายน 11, 2564

ฟังคลิป อ.ธงชัยบรรยาย สยามไม่เคยเสียเอกราช หรือ กึ่งอาณานิคม?

#คณะก้าวหน้า #CommonSchool #ประวัติศาสตร์นอกขนบ
บันทึกการถ่ายทอดสด 'ประวัติศาสตร์นอกขนบ' สยามไม่เคยเสียเอกราช หรือกึ่งอาณานิคม?

Jun 9, 2021

Common School

ประวัติศาสตร์นอกขนบ รายวิชาย่อย สยามยุคกึ่งจักรวรรดิกึ่งอาณานิคม

ในการบรรยายครั้งที่ 1 นี้ ธงชัย วินิจจะกูล ได้ชวนตั้งคำถามที่เป็นความภาคภูมิใจของ “คนไทย” มาช้านาน นั่นคือ สยามไม่เคยเสียเอกราช คำกล่าวนี้เป็นจริงหรือ? และประวัติศาสตร์การรักษาเอกราชในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นได้กลายมาเป็นรากฐานอุดมการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเข้าใจเกี่ยวกับชาติของเราได้อย่างไร ?

ได้เวลาออกนอกขนบประวัติศาสตร์ กับการบรรยายครั้งที่ 1 'สยามไม่เคยเสียเอกราช หรือกึ่งอาณานิคม?'
.....


Chetawan Thuaprakhon
16h ·

ใจกว้างให้วิจารณ์ หรือ เอาผิดหนังสือพิมพ์ไม่ได้ ?
——
เหมือนใครยื่นยาเม็ดในหนัง “The Matrix” มาให้
การบรรยายของ “ธงชัย วินิจจะกูล” ในหัวข้อ “สยามไม่เคยเสียเอกราช หรือ กึ่งอาณานิคม?” เมื่อค่ำวานนี้
เปิดกะโหลกฟังเพลิน
กระทั่งสู่ช่วงถามตอบ และเหมือนธงชัยจะเสริมให้อีกประเด็นเรื่อง “สิทธิภาพนอกอาณาเขต”
ตกลงแล้ว ชนชั้นนำสยามมีท่าทีอย่างไรต่อเรื่องนี้ หลังการเซ็นสัญญา “สนธิสัญญาเบาริ่ง”
เพราะประวัติศาสตร์กระแสหลักบอกว่าเราถูก “บังคับ” ให้ “ยินยอม”
แต่ข้อเท็จจริงที่ตีความในมุมนี้คือ ในขณะนั้น สยามเป็นรัฐศักดินา การตัดสินคดีความ ศาล ขึ้นต่อเจ้าองค์ต่างๆ เต็มไปหมด
ไม่เป็นเอกภาพ แตกกระจาย ลดหลั่นกันไปเป็นชั้นๆ เจ้านายแต่ละองค์มีอำนาจของตัวเองเสียจนมั่ว ไม่มีมาตรฐาน
ดังนั้น รูปแบบการปกครองที่อนุญาตให้ต่างชาติดูแลจัดการความขัดแย้ง ตัดสินคดีความกันเองตามสนธิสัญญาเบาริ่ง
ถ้าอังกฤษอยากได้ก็เอาไปเลย ทำได้เลย ไม่เป็นปัญหา
เพราะสยามก็ไม่เคยมีมาตรฐานมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
เรื่อง สิทธิภาพนอกอาณาเขต ได้กลายเป็นปัญหาเมื่อต้องยอมให้คนท้องถิ่นจดทะเบียนเป็นบังคับของต่างชาติ มากขึ้นๆ
ทำให้สยามเริ่มรู้สึกว่ากำลังจะเสียเอกราช เสียการบังคับคนไป
เช่นกรณีฝรั่งเศส ที่ให้ใครก็ได้มาจดทะเบียน เพราะต้องการแรงงาน
อีกกรณีสำคัญ ซึ่งเริ่มแล้วและเกิดหนักในสมัย ร.6 คือพวกนักหนังสือพิมพ์
นักหนังสือพิมพ์ต่างสมัครไปเป็นคนบังคับต่างชาติ
ธงชัย ใช้คำว่า “พวกนี้แสวงหาเสรีภาพจากรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทย”
อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้มโนทัศน์ขยายความ ว่า ร.6 แฟร์มาก ที่ให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ เขียนคอลัมน์วิพากษ์วิจารณ์ได้
และพระองค์ก็มาเขียนด้วย ดังที่เราเรียนมา
แต่ข้อเท็จริงนั้น
พระองค์สั่งปิดหนังสือพิมพ์ไม่ได้ สั่งลงโทษบรรณาธิการเหล่านั้นไม่ได้ เพราะพวกเขาเป็นคนในบังคับของต่างชาติ ไม่ใช่คนในบังคับสยาม
จึงไม่มีทางอื่น นอกจากต้องมาเขียนโต้
ไม่ใช่เรื่องของความ “ใจกว้าง” หรือ “เปิดใจ” อะไรเลย
โอย.... แค่เริ่มก็สนุกแล้วครับ หลักสูตร “ประวัติศาสตร์นอกขนบ” ของคณะก้าวหน้า
ก็มาลุ้นกันว่าจะอยู่ไปจนจบ “หลักสูตรไหม”
รัฐไทยจะยอมปล่อยให้ “ความคิด” แบบนี้เติบโต งอกงาม หรือไม่
ซึ่งผมคิดว่ารัฐไทยทุกวันนี้ไม่ใจกว้าง...
คอยดูนะ ผิดก็แต่ซื้อหวย “กระทรวงดิจิตอล” คงส่งคนส่องและอาจมีแอคชั่นใดๆ
�———
cr ภาพ : ปกหนังสือพระราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นสมัยรัชกาลที่ 6 ) ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล
ฟังบรรยาย ธงชัย : https://youtu.be/xfxMssD_sOc


Chetawan Thuaprakhon
13h ·

ในการบรรยายของ อ.ธงชัย พูดถึงบุคคลในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง
นั่นคือ “พระยอดเมืองขวาง”
พูดไป ขำไป แล้ว อ.ธงชัย ก็สรุปว่า “พระยอดเมืองขวางเป็นทั้งวีรบุรุษประวัติศาสตร์ตามขนบ และเป็นวีรบุรุษประวัติศาสตร์แบบคอมมิวนิสต์ด้วย”
เพราะประวัติศาสตร์ตามขนบยกย่องวีรกรรมต้านฝรั่งเศสของเขา
อีกด้าน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก็ยกย่องพระยอดเมืองขวางว่าเป็นวีรบุรุษรักชาติ และไม่เคยตั้งถามหรือตรวจสอบเรื่องนี้
ผมเช็คข้อมูลจากหนังสือมา ได้ว่า “พระยอดเมืองขวาง” เดิมชื่อ สมบุญ เป็นชาวบรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เป็นลูกข้าราชการแต่ดั้งแต่เดิม โตขึ้นก็รับราชการ
สมัย ร.5 เป็นตัวแทนรัฐสยามไปเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง (สปป.ลาว) บรรดาศักดิ์ “คุณพระ” คนนิยมเรียก “พระยอดเมืองขวาง”
ต่อมาเป็นเจ้าเมืองคำม่วน ดูแลรับผิดชอบ นาป่า คำเกิด คำม่วน นากาย ปากพิบูลย์ และแก่งเจ๊ก
ฝรั่งเศส ขยายอิทธิพลมาปะทะ ทำคนในสังกัดฝรั่งเศสตาย จนเขาเรียกร้องให้จับกุมเล่นงานพระยอดเมืองขวางมาลงโทษ
ขึ้นศาลสารพัด ฝรั่งเศสไม่ยอม สุดท้ายยกกองเรือมาปะทะกันปากน้ำ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ยึดปากน้ำ ยึดเมืองจันทบุรี จนมีเรื่องเล่า “เงินถุงแดงไถ่เมือง”
แล้วก็มีเรื่องเลาสารพัดเกี่ยวกับเรื่องเงินนี้ ชวนขยายความโดยฝ่ายเจ้า และฝ่ายอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่
เรื่องเล่าที่ว่าเงินจากการค้ากำไรงาม สมัย ร.3 ตั้งใจเก็บไว้ไถ่บ้านเมือง และมาได้ใช้จริงๆ สมัย ร.5
อ.ธงชัย ชวนคิดวิเคราะห์ถึง “พระยอดเมืองขวาง” ว่า หมอนี่เก่ง
เป็นทั้งวีรบุรุษฝ่ายเจ้าและฝ่ายคอมมิวนิสต์
พรรคคอมมิวนิสต์ยังไม่ตั้งคำถามเลย ทั้งที่ความคิดพรรคคอมมิวนิสต์เองท้าทายเรื่องความคิดกึ่งอาณานิคม เป็นกลุ่มแรกๆ
แต่เรื่องเหล่านี้ไม่เฉลียวใจ ต่อเรื่องพระยอดเมืองขวาง
เพราะนี่ก็คือ “คน” ที่ “รัฐสยาม” ส่งไปแข่งล่าดินแดนไม่ใช่เหรอ?
อ้อ... ค่ายทหารใน จ.นครพนม ที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ค่ายพระยอดเมืองขวาง” ในปี 2521 ก่อน นโยบาย 66/23 ไม่น่าจะเป็นการเปลี่ยนมาเอาใจ พคท.อย่างแน่นอน
—-
Cr : หนังสือ “ประวัติศาสตร์เจ็บปวด พระยอดเมืองขวาง ผู้ปลุกสยาม สู้ เจ้าอาณานิคม”
ชมคลิปบรรยาย : https://youtu.be/xfxMssD_sOc