วันอาทิตย์, เมษายน 11, 2564

คดี 112 ในศาลยุคเผด็จการ ชี้ถึงความจำเป็นต้องรื้ออำนาจศาล ปฏิรูปศาลขนานใหญ่

.
.....
Atukkit Sawangsuk
5h ·

112 คุ้มครองอำนาจและผลประโยชน์ของสถาบันตุลาการด้วยเช่นกัน
+การเรียกร้องให้คนเท่ากัน ให้ทุกอำนาจวิจารณ์ได้ ก็กระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ต่อสถานะของผู้พิพากษาตุลาการที่วางตัวสูงส่ง สังคมต้องยกย่อง แตะต้องไม่ได้ ตัดสินอะไรห้ามวิจารณ์
กระทั่งเพิ่มเบี้ยประชุมให้ตัวเองก็ยังได้
ม็อบคนรุ่นใหม่ จึงเป็นคู่ขัดแย้ง หรือกระทั่งเป็น "ศัตรู" ของสถาบันศาลไทยในเชิงความคิดอุดมการณ์
:
ในแง่ตัวบทกฎหมาย 112 อยู่ในชุดกฎหมายหมิ่น
ที่หากแก้ไข ก็ต้องรื้อหมดทั้งกฎหมายหมิ่นศาล การตีความ "ละเมิดอำนาจศาล" ที่ข้ามมาถึงริมกำแพง (แถมตัดสินเอง)
หมิ่นเจ้าพนักงาน (รัฐเจ้านาย) รวมไปถึงหมิ่นบุคคลธรรมดาที่ต้องยกเลิกโทษอาญา เหลือแต่เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง (ไม่มีใครมีเกียรติศักดิ์ศรีถึงขนาดหมิ่นแล้วต้องติดคุก)
112 กับอำนาจศาล จึงผูกโยงด้วยกันแยกไม่ออก
:
ในแง่การใช้อำนาจของศาล
ศาลบอกว่าตัดสินในพระปรมาภิไธย
แล้วก็วางตัวสูงส่ง เจ้ายศเจ้าอย่าง วางอำนาจ เป็นขุนนางจารีต
ตัวเองมาสายได้ แต่ชอบขู่ทนาย จะเอาผิดละเมิดอำนาจศาล
ใช้ถ้อยคำก็ต้องเคารพๆๆ นบนอบเป็นท่าน ทั้งที่ความจริงคือ I You ต่างคนต่างทำหน้าที่ ลงมาข้างล่างบางทีทนายเป็นเพื่อนหรือเป็นรุ่นพี่ด้วยซ้ำ แต่เป็นศาลแล้วกลับไม่ใช่คนธรรมดา
:
ศาลทั่วโลกเหมือนกันที่ต้องมีอำนาจเด็ดขาดเมื่อนั่งบัลลังก์
แต่ศาลไทยเป็น "ศักดินา" ลงจากบัลลังก์ก็ยังต้องยกย่องกราบไหว้
ทั้งที่เป็นมนุษย์ขี้เหม็นเหมือนกัน ชอบอ้างมีจริยธรรม
กินเหล้าเที่ยวผับก็เยอะ เล่นหุ้นก็เพียบ
เป็น LGBTQ ก็มาก แต่ไม่กล้าเผยตัว
:
ศาลกินสินบนมีไหม อาจจะน้อยกว่าตำรวจอัยการ
เพราะบิดคดีตั้งแต่ต้นทางง่ายกว่า
แต่ไม่ใช่ไม่มี ก็เห็นไล่ออกเยอะไป แต่ไม่กล้าเปิดเผยในคำสั่ง
กลัวชาวบ้านไปขอรื้อคดีมั้ง จะยุ่งไปใหญ่
สมัยวิกฤตตุลาการปี 34 สาวไส้กันเอง มีผู้พิพากษาจะตัดสินคดี
ยกที่ป่าช้าสีลมให้คนที่อ้างครอบครองปรปักษ์ ที่ดินเป็นพันล้านเลยครับ
สมัยอดีตประธานศาลฎีกาคนหนึ่งก็รู้กันทั่วว่าแย่ขนาดไหน
แต่ผ่านมาแล้วก็แกล้งทำเป็นลืมๆ ไป
เพื่อสร้างภาพผู้พิพากษาคนดีมีศีลธรรม
แล้วก็มีอภิสิทธิ์ขึ้นเบี้ยประชุมให้ตัวเองได้ สร้างบ้านพักหรูได้
:
กระแสประชาธิปไตยของคนรุ่นใหม่จะมุ่งไปสู่การรื้ออำนาจศาล
ปฏิรูปศาลตรั้งใหญ่ ให้ตรวจสอบได้วิจารณ์ได้ ยึดโยงประชาชน เช่น ประธานศาลฎีกา กต. ต้องผ่านความเห็นชอบรัฐสภา
ทำลายความสูงส่งเจ้ายศเจ้าอย่าง "คนเท่ากัน" แค่ต่างคนต่างทำหน้าที่
ทำลายความกลัวของประชาชนที่เห็นศาลเป็นศาลเจ้ากลัวโดนหักคอ
บีบให้การใช้อำนาจต้องมีเหตุผล
มีองค์กรตรวจสอบศาล มีองค์กรคัดเลือกผู้พิพากษา ไม่ใช่ให้สอบกันเองคุมเนติบัณฑิตสภาเอง ตั้งทนายสิทธิทนายชาวบ้านทนายที่มีประสบการณ์เข้าไปเป็นผู้พิพากษา (อังกฤษทำอย่างนี้)
:
ฝ่ายประชาธิปไตยจึงเป็นคู่ขัดแย้งกับศาล
เป็นศัตรูกันทางความคิดอุดมการณ์
ทัศนะตรงข้ามกันสิ้นเชิง
โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่หาญกล้าท้าทายอย่างเพนกวินอย่างอานนท์
ซึ่งศาลไม่เคยเจอใครท้าทายอำนาจศาลอย่างนี้มาก่อน
มันจึงไม่ใช่แค่ "คนนอกสั่ง" หรอก