วันศุกร์, เมษายน 23, 2564

จดหมายถึงประชาชนเรื่อง ถึงเวลาปฏิรูปศาล ประกาศจองกฐินศาลแต่เนิ่นๆ โดยไม่มีการร้องขอ ไม่มีการถวายฎีกา



Atukkit Sawangsuk
7h ·

จดหมายถึงประชาชนเรื่อง ถึงเวลาปฏิรูปศาล
......................
(ฉบับร่าง นึกอะไรได้ก็เพิ่มกันเข้าไป)
คือไม่รู้จะเขียนจดหมายอ้อนวอนประธานศาลฎีกาไปทำไม
มาช่วยกันนำเสนอวิพากษ์วิจารณ์ปฏิรูปศาลกันดีกว่า
ให้เห็นว่าถ้าเปลี่ยนประเทศได้ ผู้พิพากษาที่ไร้ความยุติธรรมต้องถูกเอาคืน
....................
หนึง ต้องมีกฎหมายเอาผิดผู้มีอำนาจหน้าที่บิดเบือนความยุติธรรม ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ไม่ใช่แค่ 157 เท่านั้น
โดยตั้งองค์กรตรวจสอบตำรวจ อัยการ ศาล ขึ้นต่างหาก รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน (อังกฤษมีองค์กรตรวจสอบศาลโดยตรง)
ไม่ใช่ให้ ก.ต. ก.อ. หรือจเรตำรวจ ตรวจสอบลงโทษกันเอง
....................
สอง มีองค์กรคัดเลือกคนเข้าเป็นผู้พิพากษา (นี่ก็แบบอังกฤษ) ไม่ใช่จัดสอบเองเป็นข้าราชการ เพราะเป็นถึง 1 ใน 3 อำนาจ (สอบผู้ช่วยอายุ 25 แล้วเอาไปอบรมให้มีความคิดตามกันต้อยๆ) การคัดเลือกต้องเน้นคนมีประสบการณ์ มีสัดส่วนที่เป็นทนายชาวบ้านทนายสิทธิ เข้าใจความเหลื่อมล้ำ คนด้อยโอกาสเมื่อตกเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้ต้องหาในกระบวนการยุติธรรม
การจัดอบรมเนติบัณฑิิตก็ไม่ควรผูกขาดสถาบันเดียว ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน อัยการสูงสุดเป็นรอง ครอบงำความคิดตั้งแต่ต้น
.....................
สาม แก้รัฐธรรมนูญให้กลับไปเหมือน 40 แก้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตราคณากร "คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา" ห้ามแทรกแซง หากอธิบดีประธานศาลมีความเห็นแย้งก็ทำบันทึกประกบ แต่ห้ามสั่งแก้
........................
สี่ รื้อโครงสร้างยึดโยงประชาชน ประธานศาลฎีกาต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ผ่านการอภิปรายอย่างเปิดเผยในเนื้อหาสาระ ดูทัศนะย้อนหลังในคำพิพากษา การอธิบายให้เหตุผล ให้ความยุติธรรมกับประชาชน ไม่ใช่มักง่าย
รวมไปถึงการดำรงตนยึดมั่นประชาธิปไตย ไม่ใช่เคยไปม็อบนกหวีด
ก.ต.องค์กรสูงสุดมี 17 คน รวมประธานศาลฎีกา 4 คนเป็นคนนอกมาจากการเลือกของรัฐสภา 12 คนมาจากผู้พิพากษาเลืือกกันเอง ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ศาลละ 4 คน
(ปัจจุบันศาลชั้นต้นได้ 2 คน ศาลฎีกา 6 คน ผู้พิพากษาร่วมสองพันเคยเข้าชื่อขอแก้กฎหมายไม่สำเร็จ ส่วน ก.ต.อีก 2 คนรัฐธรรมนูญ 40 เคยให้มาจากรัฐสภา ปัจจุบันเป็นคนนอกที่ผู้พิพากษาเลือกเอง)
............................
ห้า แช่แข็งเงินเดือนศาล-อัยการ ลดนั่นแหละแต่การไปลดเงินเดือนมันยาก แช่แข็งสิบปีขึ้นไปให้ระบบเงินเดือนราชการตามทัน
แต่ขั้นต้น ตัดเบี้ยประชุมก่อน เงินเดือนก็รับ ทำไมประชุมยังต้องได้เงิน
ดั้งเดิมมาผู้พิพากษาเงินเดือนมากกว่าข้าราชการเพราะเขาห้ามรับจ็อบรับงานนอกที่อาจกระทบความเป็นกลาง ทำได้แค่แต่งตำรากฎหมายกับสอนหนังสือ (แต่เดี๋ยวนี้หลักสูตรพิเศษก็ใช่ย่อย)
พรบ.ศาลปี 43 บัญชีแนบท้ายเงินเดือน (รัฐบาลชวน) ทำเงินเดือนผู้พิพากษาสูงปรี๊ด แล้วสร้างความฉิบหายกับระบบ สูงไม่พอ ยังทำให้เกิดความลักลั่น อัยการ กฤษฎีกา นิติกร หน่วยงานทางกฎหมายของรัฐของเงินเพิ่มล้นหลาม อ้างว่าจะทำให้สมองไหลหนีไปสอบผู้พิพากษากันหมด นิติกร อบต.หนองอีแหนบยังได้เงินเพิ่ม 3 พัน 5 พัน กลายเป็นข้าราชการฝ่ายกฎหมายได้เงินเดือนมากกว่าข้าราชการทั่วไปที่ทำงานง่กๆ
เงินเดือนศาลมาจากการอ้างว่าประธานศาลฎีกาต้องได้เท่านายกฯ ประธานสภา รองประธานเท่ารัฐมนตรี แต่ศาลทำบัญชีเงินเดือนตัวเองติดกันพืดไปหมด มีเงินเดือน 5 ชั้น ป.ฎีกาชั้น 5 คนเดียว ที่เหลือตั้งแต่รองประธาน ผู้พิพากษาศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ฯลฯ ไม่รู้กี่ร้อยคน เป็นชั้น 4 เงินเดือนเท่ารัฐมนตรีหมด (1.3 แสน) รถประจำตำแหน่งก็ได้เท่าปลัดกระทรวง (แต่เบิกเป็นเงินเหมาจ่ายเดือนละ 41,000)
..................................
หก อื่นๆ ละเมิดอำนาจศาลใช้ในห้องพิจารณาเท่านั้น
ดูหมิ่นศาลต้องมีข้อยกเว้นการวิจารณ์เพื่อประโยชน์ยุติธรรม
ผู้พิพากษาต้องเคารพสิทธิของทนายของผู้ถูกกล่าวหา
องค์กรตรวจสอบศาลมีอำนาจตรวจวีดิโอในห้องพิจารณาคดีเมื่อมีการร้องเรียนว่าผู้พิพากษากร่าง ทำตัวไม่เหมาะสม แล้วเผยแพร่ให้ประชาชนตัดสิน
...................
ฉบับร่าง ยังไม่สมบูรณ์ คิดอะไรได้ก็เติมเข้ามา
อย่าปล่อยให้พวกอยุติธรรมลอยนวล
ประกาศจองกฐิน ไม่ใช่ร้องขอ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=4004415606306905&set=a.117209745027530
.....
Baramee Chaiyarat
13h ·

วันที่ประกาศยืนหยุดขัง 112นาที มีผู้ปรารถนาดีมากระแนะกระแหนว่าน่าจะยืนได้แค่ 2-3วันมั่ง ยืนไปทำไมกดดันตัวเองเปล่าๆมั่ง หรือว่ากดดันเขาไม่ได้มั่ง
แต่เราก็ไม่ย่อท้อ เริ่มยืนจาก 9คนและจำนวนคนก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่มีวันไหนที่น้อยกว่า 9คนแม้แต่วันเดียว มีแต่จะเพิ่มขึ้น เคยเพิ่มสูงถึงห้าร้อยกว่าคน จนเจอพิษโควิดที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลแก้ปัญหาได้เลยต้องกระจายกันยืน
จนถึงวันนี้วันที่ 30ของการยืนหยุดขังหน้าศาลฎีกา ยังมีคนมาร่วมยืนไม่น้อย แต่มีคนกระจายไปยืนที่ต่างๆม่กขึ้นเรื่อยๆ เชียงใหม่ เขียงราย ลำปาง พิษณุโลก นครปฐม นนทบุรี สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี สมุทรปราการ ล้วนแล้วแต่เคยจัดยืนมาทั้งนั้น บางที่จัดยืนทุกวัน บางที่จัดยืนบางวัน บางที่จัดยืนตามสะดวก
มีคนเสนอให้อดอาหาร มีหลายคนอดอาหาร ซึ่งเป็นที่น่าชืนชมและให้กำลังใจ แต่สำหรับผมการอดอาหารเป็นภาระ เพราะต้องหาที่อดจะอดที่บ้านก็จะมีข้อครหา ต้องมาอดกลางแจ้งในที่สาธารณะ ค้องหาที่นั่งที่นอน ต้องหาห้องน้ำ ต้องมีคนดูแล กลายเป็นเรืองใหญ่เกินไป
มีคนเสนอให้ถวายฎีกา เรื่องนี้ผมไม่เห็นด้วยเลยแต่ก็ไม่อยากขัดคอใครอยากจะทำก็ทำ ไม่ต้องมาชวนผมทำ
มีคนเสนอให้ไปพบประธานศาลฎีกา นี่ก็น่าสนใจแต่ผมคงไม่ลดตัวลงไปพบเขา
ผมจึงตัดสินใจยืนต่อไปและเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนก็คงตัดสินใจเช่นนั้น
#ปล่อยเพื่อนเรา
#ยืนหยุดขัง
#พลเมืองโต้กลับ