วันศุกร์, เมษายน 30, 2564

'ชนาธิป' และพวกเขาจะสำนึกบ้างไหมว่า "ทำให้องค์กรที่ตนสังกัด ได้รับความมัวหมองและสถานะตกต่ำ"

“เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เหม่อลอย” คืออาการของเพ็นกวิ้นวันที่ ๒๙ เมษา จากปากมารดาของเขาหลังจากได้เยี่ยมลูกชายสุดที่รักในตอนบ่าย ต่างกับถ้อยแถลงรองอธิบดีราชทัณฑ์ในตอนเช้า ๗.๓๐ น.ที่ว่า “เจ้าตัวยังรู้สึกตัวดี พูดคุยรู้เรื่อง...

ไม่มีอาการเวียนศีรษะและวูบ สามารถลุกเดินและทำกิจวัตรประจำวันได้” ธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดี ย้ำว่าถ้ามีอาการอ่อนเพลียรุนแรง หรือมีภาวะไม่พึงประสงค์ ก็พร้อมส่งตัวเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง”

หมดห่วงไปเปราะหนึ่งสำหรับผู้เป็นแม่กับน้องของ พริษฐ์ ชีวารักษ์ และบรรดากัลยาณมิตรของเหล่าผู้ต้องขังซึ่งถูกศาลปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวอีกครั้ง “เหตุผลคือเคยไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว และแสดงเหตุผลชัดแจ้งแล้ว”

พริษฐ์ซึ่งถูกคุมขังนานที่สุดในกลุ่มพร้อมกับ อานนท์ นำภา คือ ๘๐ วัน ยื่นขอปล่อยตัวเป็นครั้งที่ ๙ มากกว่าทุกคน และทำการอดอาหารประท้วงกระบวนการไม่ยุติธรรมของศาลมาแล้ว ๔๕ วัน โดยมี รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ร่วมอดอาหารมาได้ ๓๐ วัน

การดึงดันกระทำการละเมิดจริยธรรมและคุณธรรมแห่งผู้พิพากษา ด้วยการไม่ปฏิบัติในครรลองแห่งการบังคับใช้กฎหมายโดยถูกต้อง ไม่มีการทักท้วงติติงจากบุคคลากรในองค์กร ทั้งที่เสียงรอบข้างสนั่นอึงมี่ชี้ว่า เป็นวิธีการที่ผิดอย่างเห็นๆ

และจะลดทอนเกียรติคุณ/ศักดิ์ศรีของผู้ประกอบอาชีพ ที่ได้ชื่อว่าปกปักรักษากระบวนยุติธรรม ขนาดมีข้อกล่าวหาต่อบรรดาผู้พิพากษาคดี ๑๑๒ เหล่านี้ว่า เป็นกลไกระบายผายลมผ่านทางทวารของผู้สั่งการ ไม่ให้ประกันแก่กลุ่มนักกิจกรรมคณะราษฎร

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง อาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวไว้ในการเสวนาหน้าศาลเมื่อค่ำวันที่ ๒๘ เมษาว่าผู้พิพากษาเหล่านี้ ขาดคุณสมบัติสำคัญคือ “ความกล้าที่จะยืนยันว่าสิ่งใดไม่ถูกต้อง และก็พูดในสิ่งที่ตัวเองคิดออกมาต่อหน้าอำนาจ”

เขา “ไม่เชื่อว่าศาลไม่ได้ปิดหูปิดตาจนไม่รู้ว่าเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่...เพราะเกิดเรื่องใหญ่ขนาดนี้ขึ้น แต่ข้างในศาลกลับไม่มีใครโต้แย้ง หรือยกประเด็นนี้ขึ้นมาโต้เถียงกันอย่างเปิดเผย” ทำให้ ความน่าเชื่อถือ อันพึงมีของศาล กำลังอันตรธานหายไป

“ถึงแม้ศาลจะอ้างถึงสิทธิประกันตัวว่าใช้มาตรฐานเดียวกับศาลอังกฤษ หรือมีสถิติเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ให้ประกันตัว แต่ทว่า ต่อให้มีเพียงกรณีเดียวหรือเปอร์เซ็นเดียวที่แสดงให้เห็นว่า มันเป็นความ อยุติธรรมมันก็เพียงพอ” ทำให้ความเชื่อถือในตุลาการพังทลายลง

ผู้พิพากษาในคดี ม.๑๑๒ ของแกนนำราษฎร ไม่ว่าจะเป็น พิศิษฐ์ วิริยะพาณิชย์ ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ เทวัญ รอดเจริญ หรือ สันติ บุตรดี กำลังถูกเพ่งเล็งจากประชากรที่มีวิญญวิสัยว่า ด้วยความภักดีและยอมสูญซึ่งศักดิ์ศรี พวกเขาคือ ซอมบี้ ที่ขายจิตวิญญานแก่ปีศาจ

ในช่วงสายวันที่ ๒๙ ระหว่างประชาชนจำนวนมากชุมนุมหน้าศาลรอฟังการยื่นประกันตัว ๗ แกนนำ มีคนเห็น ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ เตร็ดเตร่ออกมาที่ระเบียงศาล เพื่อสังเกตุการณ์ปฏิกิริยาของประชาชน ต่อเมื่อโดนเสียงโห่ประณาม เขาจึงเดินเลี่ยงหลบไป

เขาจะสำนึกบ้างไหม ว่าการประพฤติขัดต่อหลักการและจิตสำนึกแห่งความยุติธรรมของเขา ไม่เพียงทำให้ตนเองเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ในหมู่ประชากรจำนวนไม่น้อย เขายังทำให้องค์กรที่ตนสังกัด ได้รับความมัวหมองและสถานะตกต่ำ

ความรู้สึกนอกกรอบไทยๆ เช่น “เมื่ออีกฝ่ายเป็นฝุ่นใต้เท้า สูญสิ้นความเป็นคน ทำตามคำสั่งโดยไร้หัวใจ ต่อให้เราอ้อนวอนจนตายก็ไม่เกิดประโยชน์” โพสต์ของ เยาวชนปลดแอก Free YOUTH เริ่มสลัดทิ้งความอดทนอดกลั้น แล้วเริ่มตั้งคำถาม

“อะไรคือความสูญเสียที่ทำให้ฝ่ายผู้กดขี่เริ่มชั่งใจ หันมาตระหนักว่า พวกเขาไม่สามารถทำตามใจชอบได้อย่างไร้ขอบเขตอีกต่อไป...Fire is catching! And if we burn, You burn with us!#REDEM กระตุกจิตสำนึกในความ สุดทนลุกโชน

(https://www.matichon.co.th/politics/news_2697155, https://www.facebook.com/FreeYOUTHth/posts/502376054544790 และ https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10165358318105551)