วันพุธ, เมษายน 28, 2564

ความเห็นของ ดร.ระดับ "เกรด C" อานนท์ ไม่มีความสำคัญอะไรมาก แต่มันสะท้อนลักษณะร่วมกันบางอย่างของคนที่ออกมาเชลีย ร.10 เพื่อสร้าง "ตัวตน"


#เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร(พร้อมคู่สมรส ) เข้าเฝ้า
...
Rawee Siri-issaranant
3h ·

ผมว่าความเห็นของอีตา ดร.อานนท์ อะไรนี่ยังไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากนะ จะถือว่าเป็นความเห็นที่สะท้อนความคิดของมวลชนของสถาบันกษัตริย์โดยรวมก็ไม่ได้ แต่มันสะท้อนลักษณะร่วมกันบางอย่างของคนที่ออกมาเชลีย ร.10 ได้อย่างหนึ่ง คือเป็นพวกที่ความรู้ความสามารถอยู่ในระดับ "เกรด c" เสียเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับคนที่เป็นพวกนิยมในหลวงภูมิพล คนพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ สื่อ หรืออาชีพอื่น ก่อนหน้านี้แทบ "ไม่มีตัวตน" หรือเป็นที่ยอมรับในความสามารถ มีความโดดเด่นมาก่อน นึกถึงคนอย่างสนธิญาณอีกคนเป็นต้น ไม่ใช่คนประเภท "เกรด a" ในแวดวงของตน ความเห็นล่าสุดที่ดูเหมือนจะเรียกความสนใจได้นี่ ผมก็ว่าเป็นความเห็นตื้นๆ นะ มันดูเหมือนเปิดเผยจุดยืนชัดดีแต่จริงๆ แล้วออกจะฉาบฉวย
ตลอดการครองราชย์อันยาวนานของในหลวงภูมิพล ช่วงเวลาที่สถาบันกษัตริย์มีความมั่นคงที่สุดและมีพระราชอำนาจสูงที่สุดก็คือช่วงเวลาที่อยู่กับนักการเมืองจากการเลือกตั้งนี่แหละ พูดง่ายๆ ว่า อยู่กับ (หน้าฉาก) ระบอบประชาธิปไตยนี่แหละปลอดภัยและสบายที่สุดแล้ว ตอนอยู่กับสฤษดิ์ก็ยังไม่มีอำนาจอะไรมากเป็นจูเนียร์พาร์ทเนอร์ ยุคเปรมก็ต้องออกแรงเยอะกว่าจะเอาทหารอยู่ แต่หลังพฤษภา 35 มาจนถึงยุคทักษิณก่อนจะเกิดวิกฤตนี่แหละที่มั่นคงที่สุดแล้ว ต้องการอะไรเพียงเอ่ยปากก็มีคนสนองพระราชดำรัสทันที แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอะไร อยู่ในฐานะที่นอกเหนือการวิพากษ์วิจารณ์ มีอะไรคนก็ด่านักการเมืองไปสิ มาจากการเลือกตั้งนี่ สถานะในช่วงเวลาที่อยู่กับ ปชต. นี้ต่างหากที่พวกรอยัลลิสต์รุ่นเก่าพยายามจะฟรีซเอาไว้ คือเอา ปชต. ที่มีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแบบเดิม แต่นายกไม่ต้องเข้มแข็งมากขนาดทักษิณ ความพยายามของพวกรอยัลลิสต์ชนชั้นนำตลอดวิกฤตการเมืองมาจนถึงตอนนี้ก็มีแค่นี้เท่านั้นเอง ไม่ต้องการ รบ เลือกตั้งที่ strong เกินไป โดยเฉพาะเมื่อรัชกาลใหม่ weak ลงในแง่ของการมีอำนาจนำ
...

วิวาทะ V2
8h ·

"เมื่ออานนท์เขียนโต้มาแบบนี้ก็ทำให้รู้เลยว่าเขาไม่มีความรู้หรือความเข้าใจใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ แถมยังไม่คิดจะไปค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อตรวจทานความรู้ของตนเองอีกด้วย เป็นคนที่ใช้ความมั่นใจนำความรู้และสติปัญญาได้อย่างถึงที่สุดอย่างแท้จริง - กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นคนที่ล้มเหลวทางการศึกษา
ประการแรก ที่อานนท์อ้างว่า "ไปหาร่านฝรั่งเศสฯ มาอ้างอิง" แถมยังบอกอีกว่า "The King Can Do Nothing เป็นภาษาอังกฤษที่ไม่ผ่าน" นี่ ผมก็ไม่รู้ว่าเขาไปเรียนภาษาอังกฤษที่ไหนมา
ก่อนอื่นอานนท์ต้องทราบว่า Henry de Bracton เป็นนักทฤษฎีกฎหมายคนสำคัญของอังกฤษในศตวรรษที่ ๑๓ ไม่ใช่ "ร่านฝรั่งเศสล้มเจ้า" แต่อย่างใด เขาเคยเป็นผู้พิพากษาในศาลของพระมหากษัตริย์ (coram rege) เขียนตำราวางรากฐานแนวคิดเรื่องพระมหากษัตริย์ของอังกฤษที่ทรงอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นคนแรกๆ ที่อภิปรายว่าสำนวน "The King Can Do No Wrong" มีความหมายอย่างไร ซึ่งคำตอบของเขาก็คือ
"...For the king, since he is the minister and vicar of God on earth, can do nothing save what he can do de jure, [despite the statement that the will of the prince has the force of law, …nor is that anything rashly put forward of his own will, but what has been rightly decided with the counsel of his magnates, deliberation and consultation having been had thereon, the king giving it auctoritas.]..."
"...เนื่องเพราะพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสนาบดีและตัวแทนของพระเจ้าบนโลกมนุษย์ พระองค์จึงไม่สามารถกระทำสิ่งใดยกเว้นแต่สิ่งที่พระองค์สามารถกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย (แม้จะมีคำกล่าวว่าพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์คือพลังอำนาจแห่งกฎหมาย [...] แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถทำไปอย่างเร่งรีบโดยพระราชประสงค์ส่วนพระองค์ หากแต่ต้องผ่านการตัดสินใจอย่างถูกต้องด้วยการปรึกษากับเสนาบดีของพระองค์ เมื่อได้รับการพิจารณาไตร่ตรองและให้คำปรึกษาแล้ว พระมหากษัตริย์จึงค่อยมีพระบรมราชานุมัติ)..."
"The king can do nothing (save what he can do de jure)" จึงไม่ได้หมายความว่า พระมหากษัตริย์กระทำอะไรไม่ได้เลยแบบที่อานนท์เข้าใจ (เพราะอานนท์ไม่ยอมอ่านหนังสือ) แต่แปลว่าพระมหากษัตริย์ต้องใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายและต้องใช้พระราชอำนาจนั้นโดยผ่านการการปรึกษาและรับรองจากเสนาบดีของพระมหากษัตริย์
แน่นอนว่านั่นคือแนวคิดทางกฎหมายในศตวรรษที่ ๑๓ ภายหลังเมื่อระบบรัฐสภาเข้มแข็งขึ้น แนวคิดทางกฎหมายของอังกฤษก็คือการที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถใช้พระราชอำนาจทางการเมืองได้โดยไม่ผ่านการยินยอมของรัฐสภา ดังนั้น "The king can do nothing" จึงหมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่สามารถกระทำการเมืองตามลำพัง (The King does not act alone)
สำนวนทางกฎหมายเหล่านี้ มีที่มาทางประวัติศาสตร์เก่าแก่ (ยิ่งกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย) ไม่สามารถแปลตรงๆ ได้ แต่ต้องมีความรู้ แม้แต่ The King Can Do No Wrong ก็ไม่ได้แปลว่าพระมหากษัตริย์จะทำอะไรก็ได้โดยไม่ผิด แต่แปลว่า พระมหากษัตริย์ "กระทำผิด" ไม่ได้ ต่างหาก ในเมื่อต้องการให้พระมหากษัตริย์ "กระทำผิด" ไม่ได้ จะต้องทำยังไง ก็ตอบว่า ก็ต้องไม่ให้พระมหากษัตริย์กระทำสิ่งใดด้วยตนเอง
ดังที่ Charles-Guillaume Hello (ซึ่งเป็นฝรั่งเศส แต่ไม่ได้ล้มเจ้า เพราะเป็นอัยการสูงสุดในระบอบกษัตริย์) เขียนว่า "le Roi ne peut mal faire, puisqu'il n'agit pas" - "The King can do no wrong, because he does not act."
สรุป "Do Nothing" ในที่นี้หมายถึง การกระทำทางการเมืองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้กระทำด้วยตนเอง ถ้าพระมหากษัตริย์ทำอะไรทางการเมือง ต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
สองย่อหน้าสุดท้ายนายอานนท์ดูจะสับสน เอาแนวคิดทางกฎหมายของอังกฤษไปจับใส่ระบอบกษัตริย์ไทยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่ถ้านายอานนท์ชอบแนวคิดทางกฎหมายในบ้านเมืองสมัยนั้นมาก ก็ควรจะสนับสนุนให้มีการลดโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ว่าไหม?
ที่สำคัญ แนวคิดเรื่องความล่วงละเมิดมิได้ของพระมหากษัตริย์ ที่ไม่ให้คนฟ้องร้องคดี ก็ล้วนผูกอยู่กับแนวคิด The King can do no wrong /The King can do nothing นี่เอง ถ้านายอานนท์อยากจะให้พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันมีพระราชอำนาจทางการเมือง ทำอะไรเองได้ตามใจชอบ ก็หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะต้องไม่มีความล่วงละเมิดมิได้ตามไปด้วย ใครๆ ก็ควรจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ได้ เพราะเมื่อพระมหากษัตริย์สามารถใช้พระบรมราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ในทางการเมือง ก็ย่อมจะต้องมีผลกระทบทางการเมืองเสมอไป"
#มิตรสหายท่านหนึ่ง
.....

Atukkit Sawangsuk
5h ·

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เปลือยความคิดอุลตรารอแยลลิสต์ปัจจุบัน
ที่ตรงข้ามกับรอแยลลิสต์ในอดีต
ซึ่งมองว่าสถาบันกษัตริย์ต้องอยู่กับประชาธิปไตย (อยู่เหนือ-อย่างเนียนๆ)
แบบที่ อ.เกษียรใช้คำว่า "ประชาธิปไตยใต้อำนาจนำ"
ปูทางมาตั้งแต่ยุคเปรม จนรุ่งเรืองสุดหลังพฤษภา 35
โดยมีคำคมที่พวกรอแยลลิสต์เดิมเปรียบเทียบว่า
การมีอำนาจแต่ไม่ใช้พร่ำเพรื่อ ทำให้มีบารมี
แล้วเข้าไปคุมพ้นที่ทางความคิดวัฒนธรรม
:
ไม่ใช่แค่โพสต์ครั้งนี้ที่แสดงทัศนะโจ่งแจ้ง
"ประเทศไทยต้องปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) และไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตย (Democracy) แต่อย่างใดเลย"
:
ตอนเขียนด่าประชาธิปัตย์ในผู้จัดการ
"กึ่งเหลืองกึ่งร่านอาการพรรคสีฟ้า"
https://mgronline.com/daily/detail/9640000035898
อานนท์นิด้าก็บอกว่า พรรคแมลงสาบมี 2 อุดมการณ์คือสนับสนุนสถาบันกษัตริย์กับต่อต้านเผด็จการทหาร
แต่ตอนนี้ ปชป.ต้องเลือกแล้ว
"ตกลงพรรคประชาธิปัตย์จะต่อต้านเผด็จการทหารซึ่งสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจนในสายตาประชาชนอย่างนั้นหรือ ดังนั้นแปลได้ไหมว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่สนใจที่จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์"
ด่ามาร์คด่าชวนไปเรื่อยแล้วก็ย้ำว่าถ้าจะเป็นพรรคกษัตริย์นิยมซึ่งประชาชนต้องการก็ต้องลดบทบาทการต่อต้านเผด็จการหรือกองทัพลง
(อีกบทความที่อ้างถึงมันบอกด้วยว่า ตอนเลือกตั้งไม่ยอมเลือก ปขป.แต่เลือก พปชร.ทั้งที่รู้่ว่าเป็นคนเลว)
:
การแสดงทัศนะอย่างนี้ จึงพลิกจากอดีตหลายสิบปีว่า
(ในความคิดพวกอุลตรา) วันนี้ สถาบันกษัตริย์ไม่สามารถอยู่กับประชาธิปไตย
มีแต่เผด็จการทหารเท่านั้น ปกป้องค้ำจุนสถาบันได้
ต้องเปลี่ยนระบอบ แม้อ้างว่าไม่ใช่สมบูรณา
คิดไปถึงขั้นว่า ต้องทำลายประชาธิปไตยเพื่อปกป้องสถาบัน
:
ในด้านกลับชอบนะครับ ชัดเจนดี
ไม่ต้องแอบแฝงกันอีก
แต่ฝากบอกไอ้ด็อกฯ งี่ๆ ด้วยว่า ที่คิดว่า 6 ตุลาทำให้ฝ่ายซ้ายกระเจิงน่ะ
แม่-ไม่เคยศึกษาอะไรเลย ความรู้หางอึ่ง
หลัง 6 ตุลา พคท.ขยายเขตงาน-กองกำลังกว้างขวาง
แต่ชนชั้นปกครองกลับตัวทัน (อเมริกาเปลี่ยนนโยบาย)
ล้มรัฐบาลหอยกลับมาเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ นิรโทษกรรม รีบเลือกตั้ง
ขณะที่ พคท.ก็พังเองด้วย
ถ้าไม่งั้นนะ เป็นเวียดนามไปแล้ว