วันพฤหัสบดี, เมษายน 29, 2564

“ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” ไม่มีในสารบบ ป.วิอาญา มาตรา ๑๐๗ และ ๑๐๘/๑


จากการอดอาหารอย่างต่อเนื่องมาเป็นวันที่ ๔๕ พริษฐ์ ชีวารักษ์ มีอาการเสื่อมโทรมอย่างหนัก ถึงขั้นถ่ายเป็นลิ่มเลือดปนกับชิ้นส่วนเนื้อเยื่อสีดำ เนื่องจากร่างกายทำการย่อยเนื้อเยื่อในกระเพาะแทนอาหาร เป็นสภาพที่ต้องได้รับการรักษาทันที

นางสุรีรัตน์ มารดาของเพ็นกวิ้นกล่าวว่า “ไม่ต้องการให้ลูกเข้ารักษาตัวที่รพ.ราชทัณฑ์ เนื่องจากในเรือนจำตอนนี้เต็มไปด้วยผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในคุกอย่างหนัก” ดังนั้นในวันนี้ (๒๙ เมษา) จะพยายามยื่นประกันขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง

แต่ในความรู้สึกของ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายของพริษฐ์และบรรดาแกนนำราษฎรซึ่งถูกกล่าวหาทำผิด ม.๑๑๒ แล้วศาลยืนยันไม่ยอมให้ประกันตัวตลอดมา “เชื่อแน่ว่าศาลอาญาไม่ยอมให้เด็กๆ พวกนี้ได้รับการประกันตัวเพื่อออกไปต่อสู้คดี”

เหตุที่ทำให้เขาคิดเช่นนั้น น่าจะอยู่ที่คำปรารภปิดท้ายโพสต์ของเขาที่ว่า “ผมสิ้นหวังในระบบกฎหมาย ที่ให้อำนาจการตัดสินใจกับคนโง่ ไร้การตรวจสอบ หยิ่งยะโสโอหัง” เขายังเปรยด้วยว่า วันนี้หลังจากยื่นประกันแล้ว “จะกลับบ้านไปทำสิ่งที่มีความหมาย...กว่าการรอ”

จะเป็นอะไรไม่ช้าคงรู้กัน แต่ระหว่างนี้สิ่งที่วิญญูชนผู้ไม่ต้องการเห็น วีรบุรุษวีรสตรีประชาธิปไตยสูญเสียชีวิตไปกับการสังเวย เพื่อปลุกจิตสำนึกเหล่าอสุรกายที่เหี้ยมโหด หรือแม้แต่บรรดาไทยเฉย ไม่อินังขังขอบกับสิ่งซึ่งยังไม่เกิดกับตนเอง ยังทำได้ไปพลางๆ

กลุ่ม Association for Thai Democracy, USA เปิดการรณรงค์ให้ “ร่วมลงชื่อรับหลักการ กับการยื่นเจตจำนงต่อศาล เพื่อให้สิทธิในการประกันตัวเป็นไปอย่างเป็นธรรม” (คลิกตามลิ้งค์นี้ shorturl.at/nxBO9) โดยมีจดหมายเปิดผนึกถึงศาล

“พวกท่านต้องกลับมาตัดสินอย่างเที่ยงธรรม คืนสิทธิ์ที่ประชาชนควรจะได้รับ คืนสิทธิ์การให้ประกันตัวแก่นักโทษทางการเมือง” พร้อมด้วยร้อยกรองทำนองเสนาะ “เถิดตุลาการ จงคิดอย่างอิสระ รับภาระอันหนักหนา ทำหน้าที่ หากรับใช้ใบสั่ง ดั่งกาลี ตุลาการเช่นนี้ อย่ามีเลย”


เพราะการยะโสโอหังดึงดันไม่ยอมให้ประกันตัวแกนนำราษฎรไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ด้วยข้ออ้างเขียนง่าย “ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” แต่เข้าใจยากยิ่งนักว่ามันจะเป็นความยุติธรรมได้อย่างไร ตลก.ควรจะเงี่ยฟังผู้รู้กฎหมายที่มีจิตสำนึกมนุษยธรรมเสียบ้าง

Prinya Thaewanarumitkul นักวิชาการและผู้บริหาร ม.ธรรมศาสตร์ ยกเอาตัวบทต่างๆ อันเกี่ยวกับ “การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย” ไว้จะแจ้งตรงประเด็นว่า “ในคดีอาญา #ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด

นั่นคือรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙ วรรคสองระบุไว้ “เพื่อให้ไม่ติดคุกก่อนศาลพิพากษาและสามารถสู้คดีนอกคุกได้” ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด อันสอดคล้อง ป.วิอาญา มาตรา ๑๐๗ กำหนด “ผู้ต้องหาหรือจำเลย #ทุกคน พึงได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว”

ในการปฏิเสธประกันต่อแกนนำราษฎร ตุลาการไม่ค่อยได้อ้างข้อยกเว้นไม่ปล่อยตัวตามมาตรา ๑๐๘/๑ ใน ป.วิอาญาตรงตามบทบัญญัติ กลับมักใช้สำนวนว่า “คดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง” ปล่อยไปแล้วจะทำผิดเช่นเดียวกันอีก

อจ.ปริญญา ชี้ว่า “น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง” ตลก.มักเลี่ยงไม่ใช้ตัวบท ม.๑๐๗ และ ๑๐๘/๑ อีกทั้งเขียนคำพิพากษาด้วยลายมือลงบนสำนวน แทนที่จะทำเป็นหนังสือแจ้งเหตุให้สมบูรณ์ ฤๅ เพราะว่า ตลก.ในคดีเช่นนี้ มีอำนาจล้นพ้นเหนือกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

แม้จะอ้างความเป็นอิสระหรือ เงื่อนไขอื่นใดตามมาตรา ๑๐๘ วรรคสาม “ซึ่งเพิ่งแก้ไขในปี พ.ศ.๒๕๕๘” กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับการปล่อยตัว หรือ “จะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจํากัดการเดินทาง” ได้

ณ เวลานี้ “สุขภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมได้แล้ว” หรือแม้แต่ “พบว่า #คำสั่งเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ก็เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งได้” ซึ่งชัดเจนอยู่ว่าที่ผ่านมาศาลละเลย ม.๑๐๗ และ ๑๐๘/๑

อย่างไรก็ดีในวันนี้มีผู้คนไปเฝ้ารอฟังผลการขอประกันของบรรดาแม่ๆ แกนนำราษฎรผู้ถูกคุมขังอีกครั้ง กันอย่างเนืองแน่น แม้นทางกรมราชทัณฑ์แถลงว่า อาการของเพ็นกวิ้นยังไม่ทรุดหนัก แค่อ่อนเพลียเล็กน้อย ทำเอาเกิดเสียงครหาเริ่มแพร่หลาย

#จะปล่อยให้เพ็นกวิ้นตายคาเรือนจำ เหมือน อากง หรือไรนี่

(https://www.facebook.com/prinya.thaewanarumitkul/posts/4133446440032596, https://www.facebook.com/krisadangpawadee.nutcharus/posts/4233194976711183 และ https://www.facebook.com/ThammasatUFTD/posts/285354293272698)