วันอาทิตย์, เมษายน 25, 2564

2 อาจารย์หมอ บอกโควิดรอบนี้ “แย่” และ “แย่มาก” "เอาไม่อยู่"

บีบีซีไทย

24 เมษายน 2021

23 เม.ย. 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศบค.) แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 ประจำวัน ชี้ว่ายอดผู้ติดเชื้อทำสถิติ "นิวไฮ" อีกครั้ง

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ให้ข้อมูลว่าตอนนี้ต้องจัดเตรียมแผน "เบ่งเตียง" เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีแต่เพิ่มขึ้นทุกวัน

"มีผลกระทบแน่นอน เรายังไม่รู้ว่าจุดที่เป็นปลายทางจะเป็นอย่างไร นี่คือการประเมินสถานการณ์ในภาวะที่มีวิกฤตรุนแรงมาก ๆ ต้องทำอย่างไร" โฆษก ศบค.กล่าว ในช่วงสาย

ทว่าในช่วงค่ำ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวทางโทรทัศน์ราวกับได้รับข้อมูลคนละชุด โดยยืนยันว่า "รัฐบาลและ ศบค.มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้อย่างเต็มที่" และมอบหน้าที่ให้คนไทยต้อง "การ์ดไม่ตก" เพื่อจะช่วยลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และสามารถพลิกสถานการณ์ให้กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมอีกครั้งในเร็ววัน

หญิงวัย 24 ปีคือผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยสุดของไทย ด้าน ศบค. เผยค่ามัธยฐานเสียชีวิตใน 6 วันหลังพบเชื้อ
ประยุทธ์ ประกาศเตรียมฉีดวัคซีนให้ได้ 50 ล้านคน สิ้นปีนี้ ขณะ ยอดผู้ติดเชื้อพุ่ง
ผู้ป่วยหน้าใหม่ทะลุ 2 พันคนในวันเดียว กว่า 1.4 พันรายยังรอเตียง

หากรับมือได้ เหตุใดถึงต้องพลิกสถานการณ์ให้กลับมาอยู่ใต้การควบคุม และหากคุมได้ ทำไมผู้ติดเชื้อถึงทำสถิติ "นิวไฮ" มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,070 รายในวันเดียว และยอดผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 50,000 ราย ในสัปดาห์นี้

จริง ๆ แล้วยอดผู้ป่วยโควิด-19 ของไทยทำ "นิวไฮ" มาตั้งแต่ช่วง 11-17 เม.ย.ที่ผ่านมา ตามการประเมินของ น.พ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทรวงอก จากการที่มียอดผู้ป่วยรายใหม่รวมกว่า 12,000 คน และยังชี้ด้วยว่าในอีกเจ็ดวันถัดจากนั้น ควรจะต้องมีผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 คน เพื่อให้โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลเฉพาะกิจ หรือฮอสปิเทล และโรงพยาบาลสนาม ทำงานได้มีประสิทธิภาพ โดยที่ควรจะมีเตียงรองรับราว 25,000 เตียง ซึ่งนับถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเตียงได้ถูกใช้ไปแล้วอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง


นิธิพัฒน์ เจียรกุล

น.พ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทรวงอกบอกว่าสถานการณ์ในขณะนี้ "แย่" ตามที่คาด และถึงขั้น "เอาไม่อยู่"

ในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยเมื่อ 23 เม.ย. น.พ.นิธิพัฒน์ บอกว่าสถานการณ์ในขณะนี้ "แย่" ตามที่คาด และถึงขั้น "เอาไม่อยู่" เพราะพบผู้ป่วยในหลายจุด

เขาให้ข้อมูลสนับสนุนคำว่า "เอาไม่อยู่" ว่า คือการที่คนในครอบครัวนำเชื้อจากภายนอกเข้ามาแพร่ในบ้าน ทำให้คนในครอบครัวติดเชื้อพร้อมกันหลายคน ขณะที่โรงพยาบาลต่าง ๆ อยู่ในสภาพ "ล้นทะลัก" จากจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

"ตอนนี้เราต้องระดมบุคลากรในส่วนต่าง ๆ มาดูแลคนไข้โควิด ซึ่งถ้าเราต้านตรงนี้ไม่อยู่ ก็จะแตก การต้องแบ่งกำลังบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลคนไข้โรคอื่นมาดูคนไข้โควิด ทำให้ขาดคุณภาพ การควบคุมดูแลรักษาไม่ได้ดี ทั้งผู้ป่วยโควิดและผู้ป่วยโรคอื่น…และอาจได้เห็นผู้เสียชีวิตจากโรคอื่นที่ไม่ใช่โควิด อย่างที่เกิดในต่างประเทศ"

"ชะล่าใจกันทุกส่วน"

แล้วไทยซึ่งเคยได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นประเทศตัวอย่างของการคุมการระบาดได้ดี มาอยู่ ณ จุดนี้ ได้อย่างไร นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทรวงอกบอกอย่างไม่ลังเลว่า "ชะล่าใจกันทุกส่วน" โดยเฉพาะส่วนที่คุมกลไกหลัก นำเสนอข้อมูลที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงไปยังฝ่ายตัดสินใจ และ "ฝ่ายบริหารตัดสินใจผิดพลาดจริง ๆ เพราะได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง จากฝ่ายที่รับผิดชอบทางการแพทย์ให้ข้อมูลไม่ตรงความจริง ความจริงคือว่าสถานการณ์นั้นเอาไม่อยู่"


ANUTRA CHITTINANDANA/FB

พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ออกมายืนยันผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ขณะนี้ "แย่มาก"

แผนสร้าง “ภูมิคุ้มกันหมู่” กับ “ความกังวลหมู่” ที่เกิดขึ้นในรอบ 53 วันหลังกระจายวัคซีนต้านโควิดในไทย
รู้จักไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดีย เชื้อที่ต้องสงสัยว่าก่อเหตุระบาดระลอกสองในแดนภารตะ
อินเดียเผชิญ “คลื่นสึนามิ” ผู้ป่วย ศพล้นสุสาน-เตาเผา

พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมายืนยันผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ขณะนี้ "แย่มาก" นอกจากจะมีผู้ป่วยล้นจำนวนเตียงที่มีแล้ว อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤตซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว ก็มีงานล้นมือจนต้องให้อายุรแพทย์ทั่วไปและอายุรแพทย์ด้านอื่น ๆ มาดูแลผู้ป่วยโควิต-19 ด้วย

เขายังเป็นห่วงด้วยว่าการขยายเตียง เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม โดยที่จำนวนบุคลากรไม่เพิ่มขึ้น และหากต้องรับผู้ป่วยเพิ่มวันละ 1,000-2,000 ราย อีกไม่นานโรงพยาบาลสนามก็จะเต็ม

ความเป็นห่วงเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่ส่งถึงกันเองในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานด่านหน้ามานานแล้ว บุคลากรเหล่านี้ต้องทำงานท่ามกลางความกังวลว่าจะติดเชื้อโรคโควิด-19 จากผู้ป่วยที่ปกปิดไทม์ไลน์และยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเพียงพอเพราะเพิ่งได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว

"ต้องเลือกรักษา"

เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นแบบนี้ นพ.นิธิพัฒน์ บอกว่า "ก็ต้องเลือกรักษา ต้องดูกันวันต่อวัน อย่างที่ศิริราชเตียงรับผู้ป่วยวิกฤตเต็มหมดแล้ว หากมีหนึ่งเตียงเราก็ต้องเลือกคนอายุน้อย มีโรคร่วมน้อย โอกาสรอดเยอะ แต่ตอนไม่มีโควิดเราก็เลือกกลาย ๆ อยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติในทางการแพทย์" เขาเตือนด้วยว่าเมื่อใดที่ยอดผู้เสียชีวิตแตะสองหลักนั้นคือ "สัญญาณอันตราย"



แพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านนี้เห็นว่านโยบาย "เบ่งเตียง" ที่ ศบค.ระบุนั้น คงทำได้ไม่เกิน 10-20% ขณะที่ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่ปอดอักเสบชัดเจน คือ ฟาวิพิราเวียร์ และชุด PPE รวมไปถึงเตียงไอซียูโควิด ในประเทศขณะนี้น่าจะมีเพียงพอรับมือผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ได้อีกอย่างน้อย 20,000 คน

แม้จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตในไทย จะเทียบไม่ได้กับในอเมริกา หรือหลายชาติในยุโรป แต่รูปแบบการตัดสินใจของฝ่ายบริหารในการจำกัดการระบาดของโรคดูจะไม่ต่างกัน ยกตัวอย่างสหราชอาณาจักร ตัดสินใจล็อกดาวน์การระบาดระลอกสองล่าช้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มจำนวนมาก หรือฝรั่งเศสใช้นโยบาย "เคอร์ฟิว" แทนล็อกดาวน์ ก็ทำให้สถานการณ์แย่ลงจนท้ายที่สุดก็ต้องล็อกดาวน์อยู่ในขณะนี้

"ต้องเวิร์คฟอร์มโฮมร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องล็อกดาวน์อย่างเต็มที่ แค่ปิดสถานบันเทิงนั้นไม่มีประโยชน์ เพราะเชื้อได้แพร่กระจายไปแล้ว จะต้องปิดอย่างอื่นที่จำเป็นร่วมด้วย…ต้องคิดเอาว่าหากไม่ลงมือทำอะไรตอนนี้ เศรษฐกิจอาจจะเสียมากกว่า การยอมเสียเศรษฐกิจช่วงหนึ่งเพื่อปกป้องระบบสาธารณสุขไว้ไม่ให้ล่มสลาย จะคุ้มกว่าไหม" น.พ.นิธิพัฒน์ เห็นว่าคือสิ่งที่ไทยควรทำ ณ ตอนนี้

เขาประเมินด้วยว่าการระบาดระลอกสามนี้จะต้องใช้เวลาราวสองเดือนจึงจะคลี่คลายลง แต่นั่นอยู่บนเงื่อนไขที่ว่ามีการล็อกดาวน์เต็มที่ แต่หากปล่อยไว้จนเกิดภาวะล่มสลาย การระบาดในไทยก็จะไม่มีจุดจบ


สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

แถลงของนายกฯ

คำแถลงทางโทรทัศน์ของ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อค่ำวานนี้ไม่ได้แตะเรื่องการล็อกดาวน์ แต่ชูเรื่องวัคซีนที่กว่าจะเข้ามาในไทยก็ต้องใช้เวลาอีกสองเดือน และกว่าคนไทยจะได้ฉีดวัคซีนครบก็ราวสิ้นปี ซึ่งในมุมมองของแพทย์แล้ววัคซีนที่จะได้ใช้ในอนาคตนั้นไม่อาจแก้ปัญหาการระบาดที่เกิดในปัจจุบันได้

นายกรัฐมนตรีให้คำมั่นสัญญาอย่างเคยว่าจะทำทุกทางให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ด้วยคาถาสะกดโควิดซึ่งก็คือเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 3.8 แสนล้านบาท ที่ต้องไปกู้มา

ในวันนี้ (24 เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา prayut Chan-o-Cha ชี้แจงถึงมาตรการ รับมือวิกฤตโควิด-19 มีเนื้อหาว่า "พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน ผมในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ ศบค. ได้รับทราบปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้เรียกประชุมกับหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน และผมได้สั่งการให้แก้ปัญหาทั้งหมด และได้ข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้ครับ"

1. เรื่องการดูแลผู้ป่วย ได้มีการสั่งการหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1.1 ให้จัดเตรียมเตียงเพิ่มเติมที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทุกคน เร่งแก้ปัญหาเตียงเต็มของโรงพยาบาลในกรุงเทพ ด้วยการบูรณาการระบบส่งตัวผู้ป่วยกับหน่วยงานขนส่งต่าง ๆ เพื่อนำส่งไปยังโรงพยาบาลในปริมณฑล

1.2 โดยในวันนี้ผู้ป่วยที่ตกค้างอยู่นอก รพ. จำนวน 1,423 คน จะเริ่มได้รับการติดต่อนัดหมายเพื่อนำส่งโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตามความเร่งด่วนของอาการ และทั้งหมดจะต้องใช้เวลาไม่เกิน 2-3 วันนับจากวันนี้

1.3 แก้ปัญหาการเชื่อมโยงเครือข่าย ด้วยการเพิ่มเติมคู่สายผู้รับโทรศัพท์ให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น

1.4 แก้ปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ตรวจของเอกชนกับระบบของรัฐให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยให้ปรับรูปแบบการคัดกรอง ให้ไปคัดกรองที่โรงพยาบาลสนามแทนโรงพยาบาลทั่วไปเพื่อลดการแออัด จากนั้นทางรัฐจะติดต่อเพื่อสอบถามอาการ ความรุนแรง และนัดเวลาไปรับมารักษา

1.5 เพิ่มบุคลากรอาสาทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน รวมถึงภาคธุรกิจเอกชน มาช่วยงานในภารกิจต่าง ๆ

1.6 หากสถานการณ์ระบาดรุนแรงขึ้น อาจพิจารณาลดเวลาในการกักตัวในโรงพยาบาลสำหรับผู้ไม่มีอาการหรืออาการน้อย จาก 14 วันลงเหลือ 10 วัน และให้กักตัวที่บ้านอย่างเคร่งครัดและมีระบบติดตามดูแล ซึ่งจะช่วยทำให้มีเตียงเพิ่มขึ้น จะช่วยลดภารกิจของบุคลากรทางการแพทย์

2. เรื่องการควบคุมสถานการณ์

2.1 สั่งการให้ทุกจังหวัด เพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมสถานการณ์ ตามกลุ่มที่ได้แบ่งไว้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการพิจารณายกระดับมาตรการการป้องกันโรค ปิดสถานที่ต่าง ๆ ได้เพิ่มเติมที่จำเป็น

2.2 พิจารณาความจำเป็นในการออกประกาศปิดสถานที่ หรือกำหนดเคอร์ฟิวในบางพื้นที่อย่างละเอียดรอบคอบถึงผลกระทบต่าง ๆ โดยผมในฐานะผู้อำนวยการ