ตรงเป้าที่สุด
"คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน"
อ่านคำแถลงของผู้พิพากษาคุณากรให้ละเอียด จะบอกชัดว่า ตอนเข้ามาเป็นผู้พิพากษาตามรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่เคยต้องส่งให้อธิบดีตรวจ เพราะยุคนั้นต้องการให้ผู้พิพากษามีอิสระ
รัฐประหาร 2549 รัฐธรรมนูญ 2550 ตลอดจนพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (่จรัญ ภักดีธนากุล มีบทบาทสำคัญในการยกร่าง) ได้แก้ไขสาระสำคัญเรื่องศาลหลายข้อคือ
1.แก้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมให้อธิบดีตรวจคำพิพากษา (แม้ตามกฎหมายอ้างว่าสั่งไม่ได้ แค่ให้ทำความเห็นแย้ง)
2.เปลี่ยนอธิบดีศาลชั้นต้น จากเดิมที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นมาเป็นตามลำดับอาวุโส ให้ผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือหัวหน้าคณะศาลฎีกาลงไปเป็น
3.ยืดอายุเกษียณ จาก 60 เป็น 70 (ตอนหลัง 65) จากเดิมที่เป็นประธานศาลฎีกาคนละปี ช่วงที่ผ่านมาก็ได้นั่งคนละ 2 ปี พวกรุ่นหลังๆ ก็รอไป
4.เดิม กต. (กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม) มาจากการเลือกตั้งชั้นศาลละ 4 คน แก้เป็นศาลชั้นต้นได้แค่ 2 คน อุทธรณ์ 4 ฎีกา 6
ทั้งหมดนี้มันคือการแก้ไขเพื่อควบคุมความเป็นอิสระของผู้พิพากษาศาลชั้นต้น กลัวคนรุ่นหลัง กลัวความคิดใหม่ รวบอำนาจไปไว้ในมือคนเก่าๆแก่ๆ
2 ปีที่แล้ว ศิริชัย วัฒนโยธิน ไม่ได้เป็นประธานศาลฎีกา เพราะถูกร้องเรียนว่าแทรกแซงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จากการเข้าไปตรวจสำนวนก่อนอ่าน
ชีพ จุลมนต์ ได้เป็นประธานศาลฎีกาแทน แต่ความเป็นอิสระของผู้พิพากษากลับถูกแทรกแซงมากขึ้น?
อ้อๆ ในยุคชีพ จุลมนต์ ก็ยังออกเบี้ยประชุมให้ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ขณะที่ผู้พิพากษาชั้นต้นอย่างคุณากรบ่นว่างานหนัก ไม่ยักให้ค่าเขียนคำพิพากษามั่ง
Atukkit Sawangsuk
..
.