วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 24, 2562

ช่างแตกต่าง “ชาวนาญี่ปุ่น” ยิ่งทำยิ่งรวย “ชาวนาไทย” ยิ่งทำยิ่งจน มาดูข้อแตกต่างทั้งด้านความคิดและวิธีการปฏิบัติ





ข้อแตกต่าง “ชาวนาญี่ปุ่น” ยิ่งทำยิ่งรวย “ชาวนาไทย” มีแต่หนี้ ยิ่งทำยิ่งจน


Closeeyes.net
October 11, 2019


ขึ้นชื่อว่า “ชาวนา” ผู้เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นกลุ่มอาชีพที่เรียกว่ายากจนที่สุด แต่เมื่อมาเปรียบเทียบกับชาวนาในประเทศญี่ปุ่นแล้ว เรียกว่าดัชนีความสุขมากกว่าชาวนาไทยมากมายนัก นั่นเพราะเหตุใด ข้อแตกต่างระหว่างชาวนาไทยกับชาวนาญี่ปุ่น เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาเกษตรไทยให้ดีขึ้น





โดยเฉพาะการให้การศึกษาด้านการเกษตรยุคใหม่ส่งต่อไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคุ้นเคยกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปฏิวัติชาวนาไทยให้เป็นอาชีพที่ทรงคุณค่าและสร้างรายได้กลับไปสู่เกษตรกรไทยในอนาคต จากจำนวนตัวเลขชาวนาที่ประเทศญี่ปุ่นที่มีราว 23 ล้านคน คิดเป็น 22 % ของจำนวนประชากรญี่ปุ่นทั้งหมด เทียบได้กับมนุษย์เงินเดือนระดับกลางที่ทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำนาปีละครั้ง แต่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวมากถึงปีละ 8 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 3 ล้านบาทเลยทีเดียว





เรามาดูข้อแตกต่างทั้งด้านความคิดและวิธีการปฏิบัติของชาวนาญี่ปุ่นว่ามีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1.สาเหตุที่ทำให้ชาวนาญี่ปุ่นมีรายได้มากมายขนาดนี้ก็เพราะ พวกเขามองการทำนาเป็นการทำธุรกิจ มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้น พวกเขาเหล่านี้จึงมีการคิดพัฒนาบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน รวมถึงการพัฒนาผลผลิตไปสู่การต่อยอด การลดต้นทุนถือเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย





แตกต่างจากชาวนาไทย ที่ทำนาแบบไม่มีการวางแผน เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้ดีไปกว่าการทำนา อีกทั้งรูปแบบการผลิตก็ยังอาศัยฤดูกาล และยังใช้วิธีการปลูกในรูปแบบเดิม ดังนั้น การให้ความรู้แก่ชาวนาไทยจึงนับเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการขาดการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นนำไปยังปลายน้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดชาวนาไทยจึงยากจน และมีหนี้สินล้นพ้นตัวขนาดนี้





2.ชาวนาญี่ปุ่นจะมองถึงต้นทุนและการเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก เช่น การเก็บรักษาฟางข้าวเพื่อสร้างไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญให้กับดิน จะเห็นว่าชาวนาญี่ปุ่นนิยมฝังกลบฟางข้าว ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดินคิดเป็นอย่างน้อยราว 20 % ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้อีกทางหนึ่งด้วย





ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยที่นิยมเผาฟางข้าวมากกว่าไถกลบ เพราะมีความเชื่อที่ว่าความร้อนจะสามารถฆ่าวัชพืชหรือศตรูพืชโดยตรงได้ หรือมีความเชื่อว่าเผาฟางแล้วข้าวจะงามดี ซึ่งวิธีการเผาฟางข้าวนี้แน่นอนว่าในช่วงแรกผลผลิตข้าวจะงดงามดี แต่ก็เป็นแค่ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น





3.ชาวนาญี่ปุ่นเน้นการให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน จะมีเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์บ้างในช่วงที่มีความจำเป็นจริงๆ ที่สำคัญชาวนาญี่ปุ่นมีกระบวนการบริหารจัดการน้ำได้ดีมาก มีการระบายน้ำเข้าออกในช่วงเวลาที่เหมาะ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยแล้วยังมีความเชื่อว่าต้นข้าวต้องการน้ำในปริมาณมาก





หัวใจสำคัญของการทำนาของชาวนาญี่ปุ่น คือ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรียกว่าแทบจะทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต และยังมีหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญและส่งเสริมการทำนา ไม่ว่าจะเป็น มีการวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวในระดับดีเอ็นเอ เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้





จะเห็นว่าสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญและตระหนักอย่างมากก็คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจ การให้ความสำคัญของการศึกษา และการให้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้กับกลุ่มเกษตรกรไทย การเรียนรู้แนวทางของประเทศอื่นสามารถนำมาใช้ในบ้านเราได้ โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่หากมีการให้ความรู้และให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ไทยจะสามารถสร้าง Smart Farmer และดึงคนรุ่นใหม่มาช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้เฟื่องฟูได้ในอนาคต





กฎเกณฑ์สำคัญ ที่ทำให้ชาวนา เป็นอาชีพที่มั่นคง และร่ำรวยในปัจจุบัน
ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะทำนาก็เข้าไปทำได้ คนจะเป็นชาวนาได้ ต้องใช้วิธีสืบทอด เท่านั้น หมายถึงพ่อเป็นชาวนา เมื่อพ่อทำไม่ไหว คนที่จะทำต่อได้ต้องเป็นลูกหรือผู้เข้ารับมรดก แทนที่เท่านั้น หากประชาชนทั่วไป อยากมาทำนา ต้องเข้าระบบสหกรณ์ รัฐจะจัดสรรที่ดินให้ทำ โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว





กฎเกณฑ์สำคัญ ที่ทำให้ชาวนา เป็นอาชีพที่มั่นคง และร่ำรวยในปัจจุบัน
ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ใครอยากจะทำนาก็เข้าไปทำได้ คนจะเป็นชาวนาได้ ต้องใช้วิธีสืบทอด เท่านั้น หมายถึงพ่อเป็นชาวนา เมื่อพ่อทำไม่ไหว คนที่จะทำต่อได้ต้องเป็นลูกหรือผู้เข้ารับมรดก แทนที่เท่านั้น หากประชาชนทั่วไป อยากมาทำนา ต้องเข้าระบบสหกรณ์ รัฐจะจัดสรรที่ดินให้ทำ โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมาถึงตรงนี้ พอเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า การทำนาในประเทศญี่ปุ่น ถูกควบคุมด้วยปริมาณ ทำให้รัฐบาลรับรู้ถึงผลผลิตที่จะออกมาว่า เกินการบริโภคภายในจำนวนเท่าไร ส่วนที่เกินจะเอาไปขายที่ใหน ต่อมา เป็นยุคของการพัฒนา ในปี 2005 เกิดการปฏิวัติเขียว คือการเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่เข้ามาใช้ในวงการเกษตร (ผมเคยเขียนไปแล้วเรื่องการปฏิวัติเขียว) ญี่ปุ่นก็ขึ้นขบวนรถไฟขบวนนี้ด้วย(แต่ไทย ไม่รู้แม้กระทั่ง มีรถไฟขบวนนี้ ฮา)




ญี่ปุ่นได้ทำการวิจัย เพื่อสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ขึ้นมาด้วยวิธีการตัดต่อยีน โดยตั้งโจทย์ของงานวิจัยไว้ว่า
1.ทนทานโรคและแมลง, 2.ทนอากาศหนาว, 3.ต้นเตี้ย, 4.แตกกอดี, 5.ผลผลิตสูง, 6.ปริมาณสารอาหารสูง, 7.รสชาติดี, 8.ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น, 9.ตอบสนองการเจริญเติบโต ด้วยสารอาหารจากอินทรีย์ (ศูนย์วิจัยข้าวไทย กระตุ้นด้วยเคมีล้วนๆ มูลนิธิข้าวขวัญทำข้าวอินทรีย์ต้องใช้วิธีค่อยๆเก็บพันธุ์ด้วยตนเอง)





10.เมื่อนำไปสี ได้ปริมาณข้าวสารเมล็ดเต็มสูง(ข้าวญี่ปุ่นได้ข้าวเมล็ดเต็ม 60% นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม จึงวิจัยออกมาให้ ข้าวญี่ปุ่นจึงเมล็ดสั้น ส่วนข้าวไทย ได้ข้าวต้น (ข้าวเต็มเมล็ด) 40-45% ข้าวหักใหญ่(ยี่จ้อ) 5% ข้าวหักกลาง(ซาห่อ) 5-10% ข้าวหักเล็ก(ก๊วย) 10-15% ที่เหลือเป็นรำ เป็นแกลบ)





ด้วยการวางมาตรการที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณผลผลิตของข้าวญี่ปุ่น ควบคุมได้ ไม่เกิดการล้นตลาดเป็นพันธุ์เฉพาะตัว เพราะวิจัยสายพันธุ์ใหม่ มีสารอาหารสูง แปลงสภาพจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ได้ปริมาณสูง ถึง 60% จึงทำให้ราคาข้าวของญี่ปุ่นมีราคาสูงและนิ่ง ระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ทนสภาพอากาศ ทนต่อโรคและแมลง จึงเป็นผลให้มีต้นทุนการปลูกต่ำ เมื่อต้นทุนต่ำ ราคาขายสูง ชาวนาญี่ปุ่น จึงร่ำรวยอย่างที่เราเห็นกัน





ลองเปรียบเทียบเอาเองครับว่า แต่ละช่วงเวลาของการพัฒนาการ ชาวนาไทย กับ ชาวนาญี่ปุ่น ต่างกันมากมายขนาดใหน วิสัยทัศน์รัฐบาลเรา กับรัฐบาลเขา จากอดีต จนถึงปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร ชาวนาเรากับชาวนาเขามีวินัย แตกต่างกันอย่างไร ทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไปทั้งสิ้น นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงสวัสดิการ โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนนคอนกรีต ที่รัฐบาลทำไปจนถึงที่นาให้ขนปัจจัยและผลผลิต ระบบไฟฟ้า ที่ทำไปถึงที่นาให้สูบน้ำ เลยนะครับ





ขอบคุณข้อมูลจาก : Smart SME, นายเกษตรดี