วันอาทิตย์, ตุลาคม 27, 2562

อนาคต = ฝุ่น ? - กลุ่มนักศึกษารวมตัว เรียกร้องปัญหาด้านสิ่งเเวดล้อม เเละอนาคตประเทศ




กลุ่มนักศึกษารวมตัว เรียกร้องปัญหาด้านสิ่งเเวดล้อม เเละอนาคตประเทศ
.
วันนี้ (25 ตุลาคม 2562) เวลา 14.00 น. ที่บริเวณลานหน้าหอศิลป์ กรุงเทพฯ กลุ่มนักศึกษาราว 30 คน ในนาม สมัชชาสิงห์ดำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา เเสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อเรียกร้องการเเก้ปัญหาด้านสิ่งเเวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ เเละมีผลกระทบเป็นวงกว้างอยู่ขณะนี้อย่าง ปัญหา PM 2.5
.
โดยกลุ่มนักศึกษา เรียกร้องปัญหาดังกล่าว ผ่านการเเสดงสัญลักษณ์ การยืนชูป้ายข้อความเเละป้ายค่าคุณภาพอากาศที่เป็นมลพิษ ที่ด้านหน้าหอศิลป์ ราว 30 นาที
.
เพิ่มเติม อ.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เคยให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวไว้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา เกี่ยวกับงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม ว่า งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมถูกจัดสรรไว้ 12,867.7 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 0.4% ของงบประมาณทั้งหมด (3.2 ล้านล้านบาท) หากเปรียบเทียบกับเงินจำนวน 1,000 บาท ก็จะมีเงินที่ถูกนำไปใช้จัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพียง 4 บาท จึงกำลังสะท้อนถึงกระบวนการจัดทำงบประมาณ ที่ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง... (https://news.thaipbs.or.th/content/285313…)


Innocent Men's Photo




.

นักวิชาการชี้ งบประมาณ 2563 เมินสิ่งแวดล้อม




ที่มา ThaiPBS

นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสังเกต งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมไม่ถูกให้ความสำคัญจากรัฐบาลชุดนี้ เมื่อเทียบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยต้องเผชิญอย่างปัญหาฝุ่น PM 2.5 กับงบประมาณที่จัดสรรเพื่อรับมือกับปัญหานี้

วันนี้ (18 ต.ค.2562) นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า งบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมถูกจัดสรรไว้น้อยมาก เพราะมีเพียง 12,867.7 ล้านบาท คิดเป็นเพียง 0.4% ของงบประมาณทั้งหมด (3.2 ล้านล้านบาท) หากเทียบกับเงิน 1,000 บาท ก็เป็นเงินที่ถูกนำไปใช้จัดการสิ่งแวดล้อมเพียง 4 บาท ซึ่งหากเทียบกับสหภาพยุโรป พบว่า สัดส่วนงบประมาณที่ถูกจัดสรรด้านสิ่งแวดล้อม 1.6% ขณะที่ประเทศจีนจัดสรรงบด้านนี้ไว้มากถึง 2.52%

“ถ้าดูตัวเลขสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 12,867 ล้านบาท จะพบว่าใกล้เคียงกับเงินที่เอาไปใช้นโยบาย ชิม ช้อป ใช้ งบประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ก็ใช้หมดภายใน 2 สัปดาห์ แต่อันนี้คืองบที่เอามาจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งปี ”

ขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวอย่างปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบวงกว้าง เมื่อประเมินมูลค่าความเสียหายสูงกว่า 8 แสนล้านบาท แต่ในงบประมาณปี 2563 กลับได้รับจัดสรรงบเพื่อป้องกันปัญหานี้เพียง 241 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของมูลค่าความเสียหายเท่านั้น นี่จึงกำลังสะท้อนถึงกระบวนการจัดทำงบประมาณ ที่ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม



นายเดชรัต ยังตั้งข้อสังเกตว่า งบที่ถูกจัดสรรไว้ยังเน้นไปที่การแก้ปัญหาปลายเหตุ โดยจัดสรรไปให้กับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่กระทรวงที่กำกับดูแลต้นทางปัญหา อย่างกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม หรือ กระทรวงพลังงาน กลับไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อวางมาตรการรับมือกับปัญหานี้