Why ต้องแก้ กม พวกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกัน รปห
— ✊Sir Dogtor Common 🌹 #ปล่อยทุกคน #ปล่อยเพื่อนเรา (@WeAre99Percentt) December 3, 2024
รายละเอียดต่างกันไปแต่หลักการเดียวกันและสามารถนำเคสตัวอย่างมาเพิ่มเติมได้#เกาหลีใต้https://t.co/Xzeslx4gfd pic.twitter.com/pyXuLXxlyq
แก้ไขกฎหมายความมั่นคงพิเศษปัญหา
ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตลอด 90 ปีที่ผ่านมา หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ทหารและกองทัพได้เข้ามาแทรกแซงและทำลายพัฒนาการของประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งจากการแทรกแซงที่โจ่งแจ้งที่สุดของกองทัพอย่างการทำรัฐประหารและการสืบทอดอำนาจที่ตามมา
อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทหารและกองทัพยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ ทั้งในเชิงความความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตลอดจนในมิติของธุรกิจการเมือง หรือแม้กระทั่งความเป็นอำนาจนิยมของระบบทหารไทยซึ่งส่งผลลบต่อประเด็นว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ยิ่งไปกว่านั้นกองทัพถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณสูงเป็นลำดับต้น ๆ ของภาครัฐไทยในแต่ละปี โดยงบประมาณกองทัพที่ผ่านมาเคยขึ้นไปสูงที่สุดที่ 227,000 ล้านบาทใน ปี 2562 ดังนั้นการลดขนาดกองทัพ และปฏิรูปให้เกิดประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้งบประมาณที่สิ้นเปลืองดังกล่าวถูกเปลี่ยนถ่ายสู่สวัสดิการและประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอ
- ยกเครื่องกฎหมายความมั่นคงพิเศษให้สอดคล้องมาตรฐานสากล และเพื่อให้การบริหารราชการในวิกฤติ สามารถกระทำควบคู่กับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพได้ รวมถึงเสนอ กฎอัยการศึกฉบับใหม่ (แทนที่ พ.ร.บ. กฎอัยการศึก 2457) - เช่น ใช้เฉพาะสภาวะศึกสงคราม โดยที่อำนาจในการประกาศและการบริหารยังคงอยู่ที่รัฐบาลพลเรือน
- เสนอ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน ฉบับใหม่ (แทนที่ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน 2548) - เช่น ตัดอำนาจรัฐในการควบคุมการสื่อสารหรือคุมตัวได้เกิน 48 ชั่วใมง เปิดช่องให้ประชาชนฟ้องศาลปกครองได้หากรัฐกระทำผิด กำหนดให้การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินต้องผ่านการเห็นชอบของสภาฯ
- ยกเลิก พ.ร.บ. ความมั่นคง 2551
.....