วันศุกร์, ธันวาคม 20, 2567

ฟังเสียงอีกมุม! จากกรณีดราม่า รพ.ไทย รักษาคนต่างด้าวฟรี จนเราขาดทุน ล่าสุด นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก เปิดใจถึงเหตุผลที่เกิดจริงในพื้นที่ เพราะอะไรต้องช่วยรักษาต่างด้าวเหล่านี้


ฟังหมออีกมุม ก่อน comment หลังดราม่า รพ. รักษาต่างด้าวฟรีจนขาดทุน | StoryTeller

TNN Original

Dec 18, 2024 

ฟังเสียงอีกมุม! จากกรณีดราม่า รพ.ไทย รักษาคนต่างด้าวฟรี จนเราขาดทุน ล่าสุด นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก เปิดใจถึงเหตุผลที่เกิดจริงในพื้นที่ เพราะอะไรต้องช่วยรักษาต่างด้าวเหล่านี้

https://www.youtube.com/watch?v=tLLvr4kDw8w
.....


TNN
20 hours ago
·
จากกรณีดราม่า รพ.ไทย รักษาคนต่างด้าวฟรี จนขาดทุน แต่ในมุมของ นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก เปิดใจถึงเหตุผลที่เกิดจริงในพื้นที่ เพราะอะไรต้องช่วยรักษาต่างด้าวเหล่านี้
“คนมาคลอดลูกอะครับ มาคลอดลูกหน้าห้องฉุกเฉิน ผมเป็นหมอประจำห้องฉุกเฉิน จะให้ผมไปดูบัตรประชาชนไหมล่ะครับ ว่าคนนี้มีบัตรไม่มีบัตร”
“ไปคลอดหน้าโรงพยาบาล แล้วตายตรงนั้นเลย มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ การแพทย์การสาธารณสุข มันเป็นมนุษยธรรม เราต้องช่วยคนในภาวะฉุกเฉิน”
นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์
ผู้อำนวยการ รพ.อุ้มผาง จ.ตาก ให้สัมภาษณ์ TNN Online วันที่ 17 ธ.ค.
สรุปประเด็นข่าวนี้ ในทุกมุมมอง
ทางนี้ https://www.youtube.com/watch?v=tLLvr4kDw8w
.....

Pod Nathaphob
17 hours ago
·
ในขณะที่คอนเท้นดราม่าสามารถสร้างขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน ยกตัวอย่างเช่น กรณีของเพจ drama addict แชร์คอนเท้นดราม่า รพ.ไทย รักษาคนต่างด้าวฟรีโดยที่ไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมแต่คนแชร์กันเป็นหมื่น คนที่ได้รับผลกระทบเป็นทั้งกลุ่มแรงงานข้ามชาติ และบุคลากรทางสาธารณสุขที่เป็นคนด่านหน้าทำงานหนัก
.
คงเพราะคอนเท้นต์พวกนี้ทำง่าย ทำแล้วสร้างอารมณ์ร่วมกับคนอ่านได้ดี ในขณะที่คนทำคอนเท้นต์ที่พยายามนำข้อเท็จจริงมานำเสนอ กว่าจะได้ข้อมูลออกมาผ่านการตรวจสอบและพูดคุยกับหลายๆ ภาคส่วน สังคมกลับไม่ได้ให้ค่าให้ความหมายนัก เพราะงานแบบนี้มันยืดยาวและน่าเบื่อ ไม่น่าตื่นเต้นเหมือนดราม่าที่สร้างง่ายแค่ปลายนิ้วคลิก
.....


Cofact โคแฟค
December 17
·
เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict โพสต์ข้อความที่อ้างข้อมูลจาก "ลูกเพจที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์แถวชายแดน" แสดงความกังวลว่าระบบสาธารณสุขไทยจะล่มสลายจากการใช้บริการของคนต่างด้าวโดยใช้สิทธิ "กองทุนด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ" หรือ "กองทุนสิทธิ ท.99"

โคแฟคสอบถามกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่คนต่างด้าว ได้คำตอบดังนี้

ถาม: ชาวเมียนมาเข้ามาคลอดบุตรในไทยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ?
ตอบ: เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิในกองทุนใดหรือไม่ หากมีสิทธิในกองทุนใดก็สามารถใช้สิทธิได้ตามที่แต่ละกองทุนกำหนด แต่หากไม่มีเอกสารหลักฐานใด ๆ และไม่มีสิทธิในกองทุนใด ก็ต้องชำระค่าใช้จ่ายตามที่ได้รับบริการด้านสาธารณสุข

ถาม: บุตรของชาวเมียนมาที่คลอดในไทย มารดาสามารถนำไปขอใบรับรองการเกิดเพื่อรับสิทธิรักษาพยาบาลฟรีในประเทศไทยได้ จริงหรือไม่
ตอบ: เด็กที่เกิดในโรงพยาบาลในไทย สามารถขอหนังสือรับรองการเกิดได้ แต่สิทธิด้านการรักษาพยาบาลต้องเป็นไปตามสิทธิของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกองทุนที่บุคคลนั้นขึ้นทะเบียน

ถาม: คนต่างด้าวสามารถใช้สิทธิจากกองทุนให้บริการด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ (กองทุนสิทธิ ท.99) ในการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาได้จริงหรือไม่
ตอบ: ผู้ที่จะใช้สิทธิรักษาพยาบาลของกองทุนนี้ได้จะต้องเป็น “ผู้ขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ” เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะขึ้นทะเบียนได้ต้องเป็นบุคคลที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก และมีคุณสมบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ เมื่อได้เลขประจำตัว 13 หลักจากกระทรวงมหาดไทยแล้ว จะต้องนำเอกสารไปยื่นที่หน่วยบริการรับลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ หน่วยบริการที่รับลงทะเบียนจะดำเนินการยื่นคำร้องมายังกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพเพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานและพิจารณาการให้สิทธิด้านการรักษาพยาบาล

เปิดตัวเลขคนเมียนมาฝากครรภ์-คลอดบุตรในไทย

โคแฟคตรวจสอบฐานข้อมูลการใช้บริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566-กันยายน 2567) ในพื้นที่ทั้ง 13 เขตบริการสุขภาพ ได้ข้อมูลดังนี้

● ประชากรต่างด้าว (รวมทุกสัญชาติ) เข้ารับบริการฝากครรภ์ 237,976 ครั้ง
● ประชากรต่างด้าว (สัญชาติเมียนมา) รับบริการฝากครรภ์ 148,391 ครั้ง
● ประชากรต่างด้าว (รวมทุกสัญชาติ) รับบริการหลังคลอด 16,702 ครั้ง
● ประชากรต่างด้าว (สัญชาติเมียนมา) รับบริการหลังคลอด 9,933 ครั้ง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://blog.cofact.org/stateless-health-fund/