วันอาทิตย์, ธันวาคม 01, 2567

“คนไทย ๓๐ ล้านคน กำลังเป็น ‘หนี้’ และมีระดับหนี้ครัวเรือนในไตรมาส ๓ ที่สูงถึง ๑๖.๓ ล้านล้านบาท” และ “คนที่ก่อหนี้เก่งที่สุดคือวัยเริ่มทำงาน”

ใกล้เวลาสิ้นปีเข้ามาทุกที ประชาชนไทยยังไม่ถึงสิ้นใจ แม้ภาวะน้ำท่วมยัง อ่วม ภาคใต้ รัฐบาลอิ๊งและเหล่าพี่เลี้ยงยังเกาะสถานการณ์ไม่ปล่อยเหมือนกัน ทว่า ถ้าดูตัวเลขและภาพรวม ที่นักเขียน-นักข่าวคนนี้นำมาเสนอ ก็ อั่ม อยู่

จากรายงานของ Manassawee Boonploysombut ข่าวเวิร์คพ้อยต์ ชวนให้เป็นกังวลไม่น้อย ล่าสุด Nov. 28 “เครดิตบูโร เปิดเผยข้อมูลว่า คนไทย ๓๐ ล้านคน กำลังเป็น หนี้และมีระดับหนี้ครัวเรือนในไตรมาส ๓ ที่สูงถึง ๑๖.๓ ล้านล้านบาท”

ข้อที่ต้องห่วงก็คือ “คนที่ก่อหนี้เก่งที่สุดคือวัยเริ่มทำงาน” และ “หนี้อันดับ ๑ ที่คนไทยเป็นมากที่สุดคือหนี้บัตรเครดิต สูงถึง ๖๐.%” เนื่องจาก “หนี้ครัวเรือนในระบบ เครดิตบูโร​อยู่ที่​ ๑๓.๖ ล้านล้านบาท” ตัวเลขย้อนแย้งกับหนี้รวม

จึงต้องไปดูต้นตอ ในส่วนของระดับหนี้เสีย​ (NPLs) “ประมาณ​ ๑.๒ ล้านล้านบาท...​เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่​ ๑๔.% และเติบโตขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ ๓.%” หนี้เสียเหล่านั้นมาจากสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และเครดิตคาร์ด

“แต่ที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ​ SME ที่เติบโต​ขึ้นมากว่า ๒๐% จากช่วงเดียวกันปีก่อน​ หรือ ๕.% จากไตรมาสก่อนหน้า” นี่ ‘Best’ บอกว่าเอาตัวเลขมาจาก ‘Surapol Opasatien’ ผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

เราทราบกันว่าเศรษฐกิจย่ำแย่เมื่อปี ๖๖ มาขยับขึ้นอย่างเชื่องช้าในปี ๖๗ หากเปิดกระเป๋าสตางค์คนไทยดูกัน ตอนปี ๖๖ รายได้ครัวเรือนต่อเดือนอยู่ที่ ๒ หมื่น ๙ พันบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายรายเดือนปาเข้าไป ๒๓,๖๙๕ บาทแล้ว

ทำให้ “ภาพของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก​ ๗.% สู่ระดับ ๘.%” ไม่ยอมลดราวาศอก สาเหตุก็คงเซมๆ เดิมๆ “เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพสูงจนเงินเดือนไม่พอใช้ เป็นต้น” ที่ร้ายไปกว่านี้อยู่ที่ “คนไทยยังเป็นหนี้นาน”

แม้วัยเกษียณแล้ว จำนวนกว่า ๒๐% ยังต้องใช้หนี้กันอยู่ ขออภัยเอาเรื่องเศร้าหมองมาเล่าแต่เนิ่นๆ เพื่อว่าอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า จะได้ทำลืมๆ เสียชั่วคราว ได้รื่นเริงเถลิงศกกันให้ชื่นฉ่ำสักสามสี่วัน

(https://workpointtoday.com/dept-746463-2/ และ https://workpointtoday.com/debt-9/=T0tfvPmOHbLSVAXns2gaQ)