วันจันทร์, ธันวาคม 23, 2567
22 ธันวาคม 2553 : จุดเริ่มต้นหายนะ มหันตภัย ‘ปลาหมอคางดำ’ ทำลายล้างระบบนิเวศ วันโอวัน ชวนย้อนอ่านงานศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการรุกรานของเอเลียนสปีชีส์ โดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ เพื่อเตือนให้เราไม่ลืมว่าวิกฤตจากพันธุ์ต่างถิ่นที่รุนแรงที่สุดที่ไทยเคยเผชิญ ยังคงรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในขณะนี้
The101.world
20 hours ago
·
● 22 ธันวาคม: จุดเริ่มต้นหายนะ มหันตภัย ‘ปลาหมอคางดำ’ ทำลายล้างระบบนิเวศ
———
การแพร่ระบาดของ ‘ปลาหมอคางดำ’ ได้กลายเป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ย้อนกลับไปในวันที่ 22 ธันวาคม 2553 นับเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งนี้ เมื่อบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุญาตจากกรมประมงให้นำเข้าปลาหมอคางดำจำนวน 2,000 ตัว โดยมีศูนย์ทดลองตั้งอยู่ที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
หลังการนำเข้า ปลาเหล่านี้ทยอยตายเกือบทั้งหมดภายในเวลาเพียง 3 สัปดาห์ บริษัทอ้างว่าได้ทำลายซากปลาด้วยการฝังกลบและโรยปูนขาว พร้อมแจ้งกรมประมงด้วยวาจา แต่ไม่ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการ และไม่ได้ส่งซากปลาให้ตรวจสอบตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2555 เมื่อเกษตรกรในพื้นที่ตำบลยี่สาร พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นครั้งแรก แต่กลับไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจอย่างจริงจัง และไม่มีบริษัทใดออกมาแสดงความรับผิดชอบ
นับจากวันแรก ล่วงเลยมา 14 ปี ปลาหมอคางดำได้แพร่กระจายไปแล้วใน 19 จังหวัด กัดกินสัตว์น้ำพื้นถิ่นจนแทบสูญพันธุ์ ส่งผลให้ชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์น้ำจำนวนมากประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก บางรายถึงขั้นล้มละลาย
วันโอวัน ชวนย้อนอ่านงานศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการรุกรานของเอเลียนสปีชีส์ โดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ เพื่อเตือนให้เราไม่ลืมว่าวิกฤตจากพันธุ์ต่างถิ่นที่รุนแรงที่สุดที่ไทยเคยเผชิญ ยังคงรอการแก้ไขอย่างเร่งด่วนในขณะนี้
อ่านได้ที่: https://www.the101.world/economic-cost-of-biological.../