บีบีซีไทย - BBC Thai
6h ·
“การปกครองแบบเผด็จการ คือหัวใจของสงครามนี้” เกือบ 14 ปีผ่านไป สงครามซีเรียยังคงไม่สิ้นสุดเพราะเหตุใด อ่านต่อที่นี่: https://bbc.in/4f7z4Io
เปิด 5 เหตุผลทำไมสงครามซีเรียยากจะยุติ
ผู้สังเกตการณ์สงครามในซีเรียกล่าวว่า นักรบที่ต่อต้านประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ยึดครองเมืองอเลปโปโดยไม่เกิดการต่อต้านมากนัก
หลุยส์ บาร์รูโช
บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส
เมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว
กองกำลังกลุ่มกบฏได้เปิดการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดต่อรัฐบาลซีเรียในรอบหลายปี สวนทางกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีการประเมินว่าความขัดแย้งได้จบลงไปแล้ว
การโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดโดยกลุ่มติดอาวุธอิสลามที่เรียกตัวเองว่า ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (Hayat Tahrir al-Sham-HTS) หรือ เอชทีเอส ทำให้กลุ่มกบฏสามารถยึดครองเมืองอเลปโป ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของซีเรีย และบังคับให้กองทัพของรัฐบาลถอยร่น
การโจมตีนี้ยังจุดชนวนให้เกิดการโจมตีทางอากาศของรัสเซียในเมืองอเลปโปครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 อีกด้วย
การสู้รบที่เกิดขึ้นอีกครั้งทำให้จุดความกังวลว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะยังคงยืดเยื้อออกไป หลังจากสงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 14 ปีที่แล้ว
นับตั้งแต่ปี 2018 ประเทศซีเรียได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกปกครองโดยรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด, กองกำลังเคิร์ด และกลุ่มกบฏนำโดยกองกำลังอิสลามหลายกลุ่มต่างควบคุมพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ
นี่คือ สาเหตุ 5 ประการ ที่ทำให้การยุติสงครามในซีเรียเป็นเรื่องยาก
ผลประโยชน์ของต่างชาติ
บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส
เมื่อ 8 ชั่วโมงที่แล้ว
กองกำลังกลุ่มกบฏได้เปิดการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดต่อรัฐบาลซีเรียในรอบหลายปี สวนทางกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่มีการประเมินว่าความขัดแย้งได้จบลงไปแล้ว
การโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดโดยกลุ่มติดอาวุธอิสลามที่เรียกตัวเองว่า ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (Hayat Tahrir al-Sham-HTS) หรือ เอชทีเอส ทำให้กลุ่มกบฏสามารถยึดครองเมืองอเลปโป ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของซีเรีย และบังคับให้กองทัพของรัฐบาลถอยร่น
การโจมตีนี้ยังจุดชนวนให้เกิดการโจมตีทางอากาศของรัสเซียในเมืองอเลปโปครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 อีกด้วย
การสู้รบที่เกิดขึ้นอีกครั้งทำให้จุดความกังวลว่า ความขัดแย้งดังกล่าวจะยังคงยืดเยื้อออกไป หลังจากสงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 14 ปีที่แล้ว
นับตั้งแต่ปี 2018 ประเทศซีเรียได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกปกครองโดยรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด, กองกำลังเคิร์ด และกลุ่มกบฏนำโดยกองกำลังอิสลามหลายกลุ่มต่างควบคุมพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ
นี่คือ สาเหตุ 5 ประการ ที่ทำให้การยุติสงครามในซีเรียเป็นเรื่องยาก
ผลประโยชน์ของต่างชาติ
มีรายงานว่ากลุ่มกบฏได้ควบคุมสนามบินในเมืองอเลปโปและเมืองต่าง ๆ ใกล้เคียง
ซีเรียได้กลายเป็นกระดานหมากรุกระดับโลกที่คู่แข่งมหาอำนาจ ต่างพยายามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ภายใต้ข้ออ้างในการช่วยเหลือชาติพันธมิตร
กองกำลังติดอาวุธฝ่ายตรงข้ามที่กระจัดกระจายที่ได้รับการหนุนหลังจากจากตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐฯ ได้ก่อตัวขึ้นเพื่อท้าทายอำนาจของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของอัสซาดยังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนที่สำคัญจากรัฐบาลอิหร่านและรัสเซีย
เมื่อความขัดแย้งหยั่งรากลงลึกขึ้น องค์กรจีฮัดหัวรุนแรง เช่น กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัลกออิดะห์ (Al Qaeda) ได้เข้ามาร่วมวงการสู้รบด้วย ขณะเดียวกันชาวเคิร์ดในซีเรียซึ่งต้องการปกครองตนเองและได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ก็เพิ่มความซับซ้อนเข้าไปอีก ทางด้านรัสเซียและอิหร่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาอำนาจของประธานาธิบดีอัสซาด ส่วนทางด้านตุรกีได้สนับสนุนกลุ่มกบฏเพื่อปกป้องชายแดนทางตอนเหนือของตัวเอง
ในปี 2020 รัสเซียและตุรกีได้เป็นตัวกลางในการจัดทำข้อตกลงหยุดยิงในจังหวัดอิดลิบ โดยมีการจัดตั้งระเบียงความมั่นคงร่วมกับการลาดตระเวนร่วมกัน แม้ว่าจะยังมีการปะทะเกิดขึ้นบ้าง ขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวได้ลดการปะทะครั้งใหญ่ ๆ ลงไปได้ รัฐบาลซีเรียกลับไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้อย่างเด็ดขาด
ปัจจุบัน กลุ่มกบฏกำลังใช้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลอ่อนแอลง หลังจากที่พันธมิตรสำคัญของรัฐบาลซีเรียถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่ความขัดแย้งอื่น ๆ
“ระบอบของอัสซาดพึ่งพาการสนับสนุนจากต่างประเทศอย่างหนัก และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การล่มสลายครั้งใหญ่ของฮิซบอลเลาะห์จากการโจมตีที่รุนแรงของอิสราเอล และการที่ทรัพยากรของรัสเซียถูกเบี่ยงเบนออกไป เนื่องจากสงครามในยูเครน ทำให้รัฐบาลอัสซาดยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยว นั่นเป็นจังหวะที่ทำให้ขบวนการฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) สามารถเปิดการโจมตีที่ไม่คาดคิดและเริ่มยึดพื้นที่กลับคืนมา” ดร.ไซมอน แฟรนเคิล แพรตต์ อาจารย์อาวุโสจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าว
“สงครามที่ปะทุกลับขึ้นมาอีกครั้งเป็นผลจากสองปัจจัยรวมกัน ทั้งเรื่องความไม่มั่นคงภายในพื้นที่ตอนเหนือของซีเรียที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข และการเสื่อมถอยหรือการล่มสลายของการสนับสนุนจากต่างชาติที่ประธานาธิบดีอัสซาดพึ่งพา” เขากล่าวเพิ่มเติม
ซีเรียได้กลายเป็นกระดานหมากรุกระดับโลกที่คู่แข่งมหาอำนาจ ต่างพยายามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ภายใต้ข้ออ้างในการช่วยเหลือชาติพันธมิตร
กองกำลังติดอาวุธฝ่ายตรงข้ามที่กระจัดกระจายที่ได้รับการหนุนหลังจากจากตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐฯ ได้ก่อตัวขึ้นเพื่อท้าทายอำนาจของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของอัสซาดยังคงยืนหยัดอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนที่สำคัญจากรัฐบาลอิหร่านและรัสเซีย
เมื่อความขัดแย้งหยั่งรากลงลึกขึ้น องค์กรจีฮัดหัวรุนแรง เช่น กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และกลุ่มอัลกออิดะห์ (Al Qaeda) ได้เข้ามาร่วมวงการสู้รบด้วย ขณะเดียวกันชาวเคิร์ดในซีเรียซึ่งต้องการปกครองตนเองและได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ก็เพิ่มความซับซ้อนเข้าไปอีก ทางด้านรัสเซียและอิหร่านได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการรักษาอำนาจของประธานาธิบดีอัสซาด ส่วนทางด้านตุรกีได้สนับสนุนกลุ่มกบฏเพื่อปกป้องชายแดนทางตอนเหนือของตัวเอง
ในปี 2020 รัสเซียและตุรกีได้เป็นตัวกลางในการจัดทำข้อตกลงหยุดยิงในจังหวัดอิดลิบ โดยมีการจัดตั้งระเบียงความมั่นคงร่วมกับการลาดตระเวนร่วมกัน แม้ว่าจะยังมีการปะทะเกิดขึ้นบ้าง ขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวได้ลดการปะทะครั้งใหญ่ ๆ ลงไปได้ รัฐบาลซีเรียกลับไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้อย่างเด็ดขาด
ปัจจุบัน กลุ่มกบฏกำลังใช้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลอ่อนแอลง หลังจากที่พันธมิตรสำคัญของรัฐบาลซีเรียถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่ความขัดแย้งอื่น ๆ
“ระบอบของอัสซาดพึ่งพาการสนับสนุนจากต่างประเทศอย่างหนัก และประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การล่มสลายครั้งใหญ่ของฮิซบอลเลาะห์จากการโจมตีที่รุนแรงของอิสราเอล และการที่ทรัพยากรของรัสเซียถูกเบี่ยงเบนออกไป เนื่องจากสงครามในยูเครน ทำให้รัฐบาลอัสซาดยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยว นั่นเป็นจังหวะที่ทำให้ขบวนการฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) สามารถเปิดการโจมตีที่ไม่คาดคิดและเริ่มยึดพื้นที่กลับคืนมา” ดร.ไซมอน แฟรนเคิล แพรตต์ อาจารย์อาวุโสจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าว
“สงครามที่ปะทุกลับขึ้นมาอีกครั้งเป็นผลจากสองปัจจัยรวมกัน ทั้งเรื่องความไม่มั่นคงภายในพื้นที่ตอนเหนือของซีเรียที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข และการเสื่อมถอยหรือการล่มสลายของการสนับสนุนจากต่างชาติที่ประธานาธิบดีอัสซาดพึ่งพา” เขากล่าวเพิ่มเติม
การโจมตีทางอากาศได้พุ่งเป้าไปที่กลุ่มกบฏในจังหวัดอิดลิบ ฐานที่มั่นของกลุ่ม HTS ในช่วงไม่กี่วันมานี้ ทำให้พลเรือนได้รับการบาดเจ็บ
สงครามที่ยาวนานหลายปีได้สร้างความเสียหายให้กับซีเรียอย่างหนัก ทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้ประชาชนหลายล้านคนต้องเผชิญกับชีวิตที่ยากลำบาก สิ่งเหล่านี้นำไปสู่วิกฤตทางด้านมนุษยธรรมที่ไม่มีแผนการฟื้นฟูที่ชัดเจน
ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรชาวซีเรียที่มีอยู่ก่อนเกิดสงครามจำนวนจาก 22 ล้านคน ต้องพลัดถิ่นฐาน ในจำนวนนี้เป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ 6.8 ล้านคน และกว่า 2 คน ต้องอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นที่แออัดยัดเยียดและเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ได้อย่างจำกัด นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีราว 6 ล้านคนที่หนีภัยออกจากประเทศ โดยส่วนใหญ่หนีไปยังเลบานอน จอร์แดน และตุรกี โดยประเทศเหล่านี้ได้รับผู้อพยพหนีภัยรวมกันจำนวน 5.3 ล้านคน
“สถานการณ์ยังคงไม่แน่นอนและพลิกไปมาได้ตลอดเวลา” เอ็มมานูเอล อิช ผู้อำนวยการฝ่ายตอบสนองของขององค์กรเวิลด์ วิชัน ซีเรีย (World Vision Syria) กล่าว “มีการต่อสู้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งทำให้จำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเพิ่มขึ้น”
“พวกเขา (ชาวซีเรียที่อพยพ) โยกย้ายไปตามที่ต่าง ๆ และหนึ่งในความกังวลของเราคือ ตอนนี้มีคนมากถึง 2 ล้านคน ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียที่พักอยู่ในค่ายแล้ว แต่มีผู้พลัดถิ่นอีกบางส่วนกำลังจะย้ายไปยังพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือ ทว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ค่ายพวกนี้ไม่สามารถจะรองรับผู้พลัดถิ่นได้เพิ่มอีกแล้ว”
จนถึงปี 2023 ก่อนที่การสู้รบครั้งล่าสุดจะเกิดขึ้น มีผู้คนในซีเรียจำนวน 15.3 ล้านคน ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดในประวัติศาสตร์ และมีคนอีก 12 ล้านคน ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดในเดือน ก.พ. 2023 ใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ประเทศตุรกี ทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก เพราะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวมากกว่า 5,900 คนในซีเรีย และส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 8.8 ล้านคน
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น การควบคุมแหล่งน้ำมันและเส้นทางการค้าสำคัญ ยังคงเป็นสาเหตุที่กระตุ้นความตึงเครียด และเมื่อรวมกับวิกฤตทางด้านมนุษยธรรม ก็ทำให้เกิดความไม่พอใจและการต่อสู้ภายในประเทศ
“ระบอบการปกครองของอัสซาดไม่เต็มใจที่จะสละอำนาจหรือประนีประนอม ในขณะที่กลุ่มกบฏต่าง ๆ ยังคงต่อสู้รบเพื่อขับไล่เขาออกไป และยังรักษาตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาเองในประเทศเอาไว้” ผู้เชี่ยวชาญระบุ
ระบอบของอัสซาดซึ่งพึ่งพาการใช้ความรุนแรงและการปราบปรามกดขี่เพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ ได้กระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจและความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน
รายงานของสหประชาชาติในปี 2021 ได้บันทึกการกระทำอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยสารเคมี การทิ้งระเบิดทางอากาศในเขตที่มีประชากรหนาแน่น การล้อมโจมตีที่ทำให้พลเรือนอดอาหาร และการจำกัดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างรุนแรง ทั้งหมดนี้ดำเนินการโดยรัฐบาลทั้งสิ้น
“การปกครองแบบเผด็จการ คือหัวใจของสงครามนี้” จูเลียน บาร์นส์-เดซีย์ ผู้อำนวยการกิจการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนงานตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของคณะมนตรียุโรป (European Council) กล่าว “ระบอบอัสซาดปฏิเสธที่จะประนีประนอมหรือแบ่งปันอำนาจอย่างต่อเนื่อง”
จนถึงปี 2022 สหประชาชาติประมาณการว่ามีพลเรือน 306,887 คน เสียชีวิตจากปฏิบัติการทางทหาร และยังมีผู้เสียชีวิตอีกนับหมื่นคนจากความอดอยาก โรคภัย และสภาวะขาดการดูแลสุขภาพ
บูร์ซู โอซเชลิก นักวิจัยอาวุโสด้านความมั่นคงในตะวันออกกลาง จากสถาบันการวิจัยทางการทหารแห่งสหราชอาณาจักร (Royal United Services Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ กล่าวเสริมว่า “ระบอบการปกครอง (ของอัสซาด) มุ่งเน้นไปที่การอยู่รอดมากกว่าการปกครองที่มีธรรมาภิบาลที่ดี”
สังคมที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
ระบอบของอัสซาดซึ่งพึ่งพาการใช้ความรุนแรงและการปราบปรามกดขี่เพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ ได้กระตุ้นให้เกิดความไม่พอใจและความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน
รายงานของสหประชาชาติในปี 2021 ได้บันทึกการกระทำอันโหดร้ายที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยสารเคมี การทิ้งระเบิดทางอากาศในเขตที่มีประชากรหนาแน่น การล้อมโจมตีที่ทำให้พลเรือนอดอาหาร และการจำกัดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างรุนแรง ทั้งหมดนี้ดำเนินการโดยรัฐบาลทั้งสิ้น
“การปกครองแบบเผด็จการ คือหัวใจของสงครามนี้” จูเลียน บาร์นส์-เดซีย์ ผู้อำนวยการกิจการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนงานตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของคณะมนตรียุโรป (European Council) กล่าว “ระบอบอัสซาดปฏิเสธที่จะประนีประนอมหรือแบ่งปันอำนาจอย่างต่อเนื่อง”
จนถึงปี 2022 สหประชาชาติประมาณการว่ามีพลเรือน 306,887 คน เสียชีวิตจากปฏิบัติการทางทหาร และยังมีผู้เสียชีวิตอีกนับหมื่นคนจากความอดอยาก โรคภัย และสภาวะขาดการดูแลสุขภาพ
บูร์ซู โอซเชลิก นักวิจัยอาวุโสด้านความมั่นคงในตะวันออกกลาง จากสถาบันการวิจัยทางการทหารแห่งสหราชอาณาจักร (Royal United Services Institute) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ กล่าวเสริมว่า “ระบอบการปกครอง (ของอัสซาด) มุ่งเน้นไปที่การอยู่รอดมากกว่าการปกครองที่มีธรรมาภิบาลที่ดี”
สังคมที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
กลุ่มกบฏโจมตีเมืองอเลปโปเมื่อไม่กี่วันก่อน และเข้าควบคุมเมืองทั้งเมืองเอาไว้
“แม้ว่าการแบ่งแยกทางการเมืองจะเป็นเรื่องที่เด่นชัดที่สุดในความขัดแย้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสคลื่นใต้น้ำที่รุนแรงระหว่างนิกายนั้นมีบทบาทสำคัญมาเป็นเวลานาน” จูเลียน บาร์นส์-เดซีย์ จากคณะมนตรียุโรป ให้ความเห็น
ในพื้นที่ทางตะวันออก ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ด ยังคงอยู่นอกการควบคุมของรัฐบาลซีเรียนับตั้งแต่ปีแรก ๆ ของสงคราม ขณะเดียวกันกลุ่มต่าง ๆ ของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ยังคงอยู่ในทะเลทรายซีเรียอันกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลล่าเห็ดทรัฟเฟิล ซึ่งชาวบ้านจะออกหาเห็ดที่มีมูลค่าสูงชนิดนี้
ส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดอิลิบได้กลายมาเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏที่ถูกผลักดันไปยังพื้นที่ดังกล่าวในช่วงที่สงครามถึงจุดรุนแรงที่สุด และกลุ่มกบฏที่ผู้นำของกองกำลังเหล่านี้ คือฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) ซึ่งถือเป็นผู้ปกครองในทางพฤตินัยของจังหวัดดังกล่าว
สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนขึ้นจากการปะทะกันภายในระหว่างกลุ่มกบฏบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่ได้รับการหนุนหลังจากตุรกีที่ปะทะกับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ประกอบด้วยนักรบชาวเคิร์ดจากหน่วยป้องกันประชาชน (People’s Protection Units-YPG) โดยกลุ่มหลังนี้ตุรกีถือว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย
ไม่นานหลังจากที่ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) เริ่มการโจมตี กองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syria Army)ที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรกลุ่มกบฏที่ยึดอเลปโปมาได้ อ้างว่าพวกเขาได้ยึดพื้นที่และหมู่บ้านในชนบทโดยรอบเมืองเหล่านั้น
ดินแดนเหล่านี้ไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาลของบาชาร์ อัล-อัสซาด แต่เป็นของกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ซึ่งยิ่งสะท้อนถึงลักษณะของความขัดแย้งที่ซับซ้อนหลายแง่มุมและแตกแยกออกเป็นส่วน ๆ
การทูตระหว่างประเทศล้มเหลว
“แม้ว่าการแบ่งแยกทางการเมืองจะเป็นเรื่องที่เด่นชัดที่สุดในความขัดแย้งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสคลื่นใต้น้ำที่รุนแรงระหว่างนิกายนั้นมีบทบาทสำคัญมาเป็นเวลานาน” จูเลียน บาร์นส์-เดซีย์ จากคณะมนตรียุโรป ให้ความเห็น
ในพื้นที่ทางตะวันออก ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ด ยังคงอยู่นอกการควบคุมของรัฐบาลซีเรียนับตั้งแต่ปีแรก ๆ ของสงคราม ขณะเดียวกันกลุ่มต่าง ๆ ของกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ยังคงอยู่ในทะเลทรายซีเรียอันกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลล่าเห็ดทรัฟเฟิล ซึ่งชาวบ้านจะออกหาเห็ดที่มีมูลค่าสูงชนิดนี้
ส่วนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ จังหวัดอิลิบได้กลายมาเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มกบฏที่ถูกผลักดันไปยังพื้นที่ดังกล่าวในช่วงที่สงครามถึงจุดรุนแรงที่สุด และกลุ่มกบฏที่ผู้นำของกองกำลังเหล่านี้ คือฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) ซึ่งถือเป็นผู้ปกครองในทางพฤตินัยของจังหวัดดังกล่าว
สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนขึ้นจากการปะทะกันภายในระหว่างกลุ่มกบฏบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่ได้รับการหนุนหลังจากตุรกีที่ปะทะกับกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ซึ่งเป็นพันธมิตรที่ประกอบด้วยนักรบชาวเคิร์ดจากหน่วยป้องกันประชาชน (People’s Protection Units-YPG) โดยกลุ่มหลังนี้ตุรกีถือว่าเป็นองค์กรก่อการร้าย
ไม่นานหลังจากที่ฮายัต ทาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) เริ่มการโจมตี กองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syria Army)ที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรกลุ่มกบฏที่ยึดอเลปโปมาได้ อ้างว่าพวกเขาได้ยึดพื้นที่และหมู่บ้านในชนบทโดยรอบเมืองเหล่านั้น
ดินแดนเหล่านี้ไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐบาลของบาชาร์ อัล-อัสซาด แต่เป็นของกองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (SDF) ซึ่งยิ่งสะท้อนถึงลักษณะของความขัดแย้งที่ซับซ้อนหลายแง่มุมและแตกแยกออกเป็นส่วน ๆ
การทูตระหว่างประเทศล้มเหลว
เครือข่ายจิตอาสาภาคพื้นดินในซีเรียกลุ่มหมวกกันน็อคขาว เข้าช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีใน จ.อิดลิบ
ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่าความพยายามในการเจรจาสันติภาพ ซึ่งรวมถึงการเจรจาที่นำโดยสหประชาชาติ ประสบกับความล้มเหลวเสียส่วนใหญ่ เนื่องจากวาระที่ขัดแย้งกันระหว่างคู่ขัดแย้ง ฝักฝ่ายหลัก ๆ มักจะให้ความสำคัญแก่เป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ของตัวเองมากกว่าการประนีประนอม ทำให้หนทางของทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืนหดแคบลง
“พลวัตที่สำคัญและซ่อนอยู่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ระบอบการปกครองของอัสซาดไม่เต็มใจที่จะสละอำนาจหรือประนีประนอม ในขณะที่กลุ่มกบฏต่าง ๆ ยังคงต่อสู้รบเพื่อขับไล่เขาออกไป และยังรักษาตำแหน่งแห่งที่ของพวกเขาเองในประเทศเอาไว้” บาร์นส์-เดซีย์ จากคณะมนตรีแห่งยุโรป กล่าว
ทางด้าน ดร.ไซมอน แฟรนเคิล แพรตต์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวเสริมว่า ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคค่อนข้างจะกังวลใจจากการไม่รู้ว่าสงครามดังกล่าวจะมีทางออกอย่างไร
“ประเทศที่กังวลใจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะวางตัวแบบจารีต ยกตัวอย่างเช่น เราอาจเห็นข้อตกลงชั่วคราวระหว่างอิหร่านและกลุ่มประเทศรอบอ่าว (Gulf states) ที่จะรักษาสิ่งต่าง ๆ ให้คงที่ และนโยบายด้านการต่างประเทศแบบอนุรักษนิยมที่เกิดจากสหรัฐฯ และยุโรป เพื่อป้องกันการยกระดับของสงครามครั้งใหญ่ ๆ”
ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังเน้นย้ำถึงความคาดเดาไม่ได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลของนายโดนัลด์ ทรัมป์ เช่น มีรายงานว่าตุรกีสนับสนุนการโจมตีของกบฏเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถานะของตน ก่อนการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ โดยแสวงหาการเจรจาที่เป็นประโยชน์กับสหรัฐฯ และรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม ตามการให้ความเห็นของบาร์นส์-เดซีย์ เขามองว่ายุทธศาสตร์เกี่ยวกับตะวันออกกลางภายใต้การบริหารของทรัมป์ยังคงไม่ชัดเจน
“มันมีฝ่ายที่อยู่ภายใต้ทรัมป์ ซึ่งต้องการนโยบายในตะวันออกกลางที่แข็งกร้าว ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนอิสราเอล และต่อต้านอิหร่าน และมีอีกฝ่ายหนึ่งที่สนับสนุนแนวทางการโดดเดี่ยวตัวเองและถอนตัวออกไป ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าทรัมป์จะยิ่งดำดิ่งไปในทางที่สหรัฐฯ จะเข้าไปแทรกแซงมากขึ้นโดยเล็งเป้าไปที่อิหร่าน หรือจะยิ่งเร่งให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกมาและปล่อยให้ตัวแสดงในระดับภูมิภาคแก้ไขความขัดแย้งของพวกเขาเองอย่างอิสระ” เขาสรุป
https://www.bbc.com/thai/articles/c7ve65p41njo