วันพุธ, ธันวาคม 15, 2564

ประชาธิปไตยจะหด เมื่อกษัตริย์ขยาย ปัญหาการเมืองไทย ผลพวงจาก คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีปฏิรูป=ล้มล้าง

 
ประชาไท Prachatai.com
13h ·

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ประชาธิปไตยจะหดแคบ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจะขยายพื้นที่

อ่านรายงานสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่ : https://prachatai.com/journal/2021/12/96391

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีปฏิรูป=ล้มล้าง มีปัญหาทั้งในแง่วิธีพิจารณาและเนื้อหาการให้เหตุผล มันเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และมีทีท่าว่าจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ สิ่งที่ชัดเจนที่สุดในคำวินิจฉัยคือการยืนยันระบอบการปกครองของไทยหลังรัฐประหาร 2557 ที่นำมาซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2560

-วัตถุแห่งคดีคือผู้ถูกร้องทั้ง 3 คนและเหตุการณ์ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับนำเหตุการณ์หลังจากนั้นมาประกอบข้อเท็จจริงในการพิจารณาทำให้วัตถุแห่งคดีไม่มีความชัดเจน
-แกนกลางของปัญหานี้คือศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้นิยามว่าองค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคืออะไร จึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าการกระทำใดเป็นการล้มล้างการปกครอง
-การเสนอให้ยกเลิกมาตรา 6 ในรัฐธรรมนูญยังไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง หากจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญต้องระบุว่ามาตรา 6 เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบการปกครอง ซึ่งศาลไม่ได้ทำ
-พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่ได้ดำเนินตามหลักการ The King Can Do No Wrong โดยตลอดทั้งรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยก็ในกรณีข้าราชการในพระองค์ที่ให้ใช้พระราชอำนาจได้ตามอัธยาศัยโดยไม่ต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ
-ในทัศนะของวรเจตน์ การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 ยังไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง
-คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะทำให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทำได้ยากขึ้นเพราะไม่รู้ว่าจะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่
-คำวินิจฉัยครั้งนี้เป็นการยืนยันความเปลี่ยนแปลงในเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์หลังการรัฐประหารปี 2557 ซึ่งทำให้มีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2560 ผลคือพื้นที่ประชาธิปไตยหดแคบลง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขขยายตัวมากขึ้น 

https://www.facebook.com/Prachatai/photos/a.376656526698/10158772453911699/
....
Thanapol Eawsakul
4h ·

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่นักการเมืองเดือนตุลาในปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน อุดมการณ์แบบใด
ถ้าไม่อวยไปเลย ก็จะไม่แตะปัญหาเรื่องสถาบันกษัตริย์
ในฐานะส่วนหนึ่งของปัญหาการเมืองไทย
จาตุรนต์ ฉายแสง
ภูมิธรรม เวชยชัย
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
สุธรรม แสงปทุม
ขำนิ ศักดิ์เศรษฐ
วิทยา แก้วภราดัย
สุทัศน์ เงินหมื่น
พินิจ จารุสมบัติ
ศุภชัย โพธิ์สุ
มาลีรัตน์ แก้วก่า
เอนก เหล่าธรรมทัศน์
คำนูณ สิทธิสมาน
ประสาร มฤคพิทักษ์
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
ประพันธ์ คูณมี
การุณ ใสงาม