ภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 12 พ.ย. เพื่อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 10 พ.ย. ให้การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นชี้รัฐไทยใช้ ม. 112 และมาตรการโควิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม
วัชชิรานนท์ ทองเทพ
บีบีซีไทย
30 พฤศจิกายน 2021
นับตั้งแต่การรัฐประหารสองครั้งที่ผ่านมา เสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติของคนไทยถูกลดทอนลงอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลทหารได้ออกกฎระเบียบข้อบังคับเพิ่มเติมที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบันก็ยังคงน่ากังวลมากขึ้น เมื่อมีการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งมาตรการเข้มงวดภายใต้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เข้ามาจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยสันติ และกำลังจะนำสู่การปิดช่องทางและพื้นที่การแลกเปลี่ยนความเห็นต่างในสังคม
นี่คือส่วนหนึ่งของความกังวลของ เคลมองต์ วูเล ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN special rapporteur ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมและรวมกลุ่มโดยสันติ ที่ให้สัมภาษณ์พิเศษผ่านอีเมลกับบีบีซีไทย
นอกจากความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมแล้ว นายวูเลยังได้ให้ความเห็นถึงพัฒนาทางการเมืองของไทยที่ยูเอ็นกำลังเฝ้าจับตาและสังเกตการณ์ บีบีซีไทยเรียบเรียงเป็นบทถาม-ตอบดังนี้
บทบาทและหน้าที่ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นเป็นอย่างไร และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและนานาชาติอย่างไร
หน้าที่หลัก ๆ ของตำแหน่งนี้ คือการติดตามเฝ้าสังเกตว่าแต่ละชาติส่งเสริมและปกป้องสิทธิในการชุมนุมและการรวมตัวกันโดยสันติอย่างไร ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ พวกเราจะทำหน้าที่ติดตามแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น ตามมาด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง สำหรับการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2020 จนถึงวันนี้ยังคงพบเห็นภาคประชาสังคมและกลุ่มเคลื่อนไหวที่เรียกร้องเรื่องนี้ถูกระงับสิทธิอันชอบธรรม โดยปราศจากการตอบสนองที่เหมาะสมจากรัฐบาล
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นคือใคร มีหน้าที่อะไร ทำไมต้องพูดเรื่องประเทศไทย
เยอรมนี "ยังคงติดตามสถานการณ์การเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด"
บ่อยครั้งที่ผมและผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นคนอื่น ๆ ได้ติดต่อสื่อสารกับรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความกังวลเรื่องนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่าคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) รับรู้เรื่องนี้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วผมทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เพื่อให้สาธารณะรับทราบเกี่ยวกับประเด็นนี้ด้วย และยังให้ความคิดเห็นในเชิงความร่วมมือทางเทคนิคต่าง ๆ กันประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและองค์กรนานาชาติ
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นชี้รัฐไทยใช้ ม. 112 และมาตรการโควิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุม
วัชชิรานนท์ ทองเทพ
บีบีซีไทย
30 พฤศจิกายน 2021
นับตั้งแต่การรัฐประหารสองครั้งที่ผ่านมา เสรีภาพในการชุมนุมโดยสันติของคนไทยถูกลดทอนลงอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลทหารได้ออกกฎระเบียบข้อบังคับเพิ่มเติมที่มีความรุนแรงมากขึ้น
ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบันก็ยังคงน่ากังวลมากขึ้น เมื่อมีการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งมาตรการเข้มงวดภายใต้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เข้ามาจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุมโดยสันติ และกำลังจะนำสู่การปิดช่องทางและพื้นที่การแลกเปลี่ยนความเห็นต่างในสังคม
นี่คือส่วนหนึ่งของความกังวลของ เคลมองต์ วูเล ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN special rapporteur ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการชุมนุมและรวมกลุ่มโดยสันติ ที่ให้สัมภาษณ์พิเศษผ่านอีเมลกับบีบีซีไทย
นอกจากความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมแล้ว นายวูเลยังได้ให้ความเห็นถึงพัฒนาทางการเมืองของไทยที่ยูเอ็นกำลังเฝ้าจับตาและสังเกตการณ์ บีบีซีไทยเรียบเรียงเป็นบทถาม-ตอบดังนี้
บทบาทและหน้าที่ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นเป็นอย่างไร และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและนานาชาติอย่างไร
หน้าที่หลัก ๆ ของตำแหน่งนี้ คือการติดตามเฝ้าสังเกตว่าแต่ละชาติส่งเสริมและปกป้องสิทธิในการชุมนุมและการรวมตัวกันโดยสันติอย่างไร ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ พวกเราจะทำหน้าที่ติดตามแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น ตามมาด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลแต่ละประเทศดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง สำหรับการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในไทยที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2020 จนถึงวันนี้ยังคงพบเห็นภาคประชาสังคมและกลุ่มเคลื่อนไหวที่เรียกร้องเรื่องนี้ถูกระงับสิทธิอันชอบธรรม โดยปราศจากการตอบสนองที่เหมาะสมจากรัฐบาล
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นคือใคร มีหน้าที่อะไร ทำไมต้องพูดเรื่องประเทศไทย
เยอรมนี "ยังคงติดตามสถานการณ์การเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด"
บ่อยครั้งที่ผมและผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นคนอื่น ๆ ได้ติดต่อสื่อสารกับรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความกังวลเรื่องนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่าคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council) รับรู้เรื่องนี้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วผมทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เพื่อให้สาธารณะรับทราบเกี่ยวกับประเด็นนี้ด้วย และยังให้ความคิดเห็นในเชิงความร่วมมือทางเทคนิคต่าง ๆ กันประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและองค์กรนานาชาติ
เคลมองต์ วูเล ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ
หน้าที่อีกประการคือ การส่งเสริมให้แต่ละประเทศยังคงรักษาความน่าเชื่อถือ การปรับมาตรการต่าง ๆ กฎระเบียบ และการปฏิบัติให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานและมาตรฐานสากล
ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องเปิดบทสนทนากับผู้ชุมนุม และถกเถียงประเด็นที่ห่วงกังวลด้านกฎหมายประชาชน
จากที่คุณเฝ้าสังเกตการณ์สถานการณ์เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนในไทย ประเด็นใดบ้างที่คุณกำลังให้ความสำคัญ
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายแง่มุม ตั้งแต่การเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล มาจนถึงโรคระบาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม แทนที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการรับฟังเสียงของประชาชนและตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาไปพร้อมกับการเพิ่มขีดความสามารถให้กับภาคประชาชนและการเคลื่อนไหวเชิงสังคมในการจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ แต่กลับเลือกที่จะใช้วิกฤตเหล่านั้นในการปิดปากประชาชนและขยายอำนาจของตัวเอง
กระสุนยางถูกนำมาใช้ในการควบคุมฝูงชนเมื่อวันที่ 20 มี.ค.
ประเทศไทยก็มีความเป็นไปในทิศทางที่น่ากังวลนี้เช่นกัน แม้ว่าไทยเป็นชาติแรก ๆ ที่ได้ลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ Universal Declaration of Human Rights (UDHR) ในปี 1948 รวมทั้งพันธกรณีเบื้องต้นในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปแล้ว แต่ในทางปฏิบัติการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับการออกกฎข้อบังคับเข้มงวดเพื่อควบคุมการจัดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม
จากการรัฐประหาร 2 ครั้งเมื่อปี 2549 และ 2557 เราได้พบเห็นว่ามีกฎระเบียบที่เข้มงวดต่อเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมตัวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รัฐบาลทหารก็ได้ออกคำสั่งห้ามการจัดกิจกรรมทางการเมืองหลายรูปแบบ โดยรัฐบาลได้ออกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เป็นเงื่อนไขสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุม เช่น หากประสงค์ที่จะจัดการชุมนุม ผู้จัดงานจำเป็นต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีตำรวจล่วงหน้า 24 ชั่วโมง และการกำหนดให้ผู้จัดงานและผู้ร่วมชุมนุมต้องรับผิดชอบ หากมีการกระทำผิดกฎหมาย นี่เท่ากับว่าเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิพื้นฐานอย่างเสรี และกฎหมายนี้ยังทำให้ทางการใช้เป็นเหตุผลที่จะปราบปรามการชุมนุมโดยสันติและชอบธรรมได้อีกด้วย
ในฐานะผู้รายงานพิเศษของยูเอ็น คุณได้สื่อสารหรือสะท้อนข้อกังวลต่าง ๆ มายังรัฐบาลไทยหรือไม่
ผมติดตามสถานการณ์ในเมืองไทยอย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรก นำโดยกลุ่มเยาวชนในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งถูกจุดชนวนโดยเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่
ปฏิกิริยาของสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ หลังฟังคำวินิจฉัยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี
ผมได้ติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความกังวลในการดำเนินมาตรการต่อพรรคการเมืองพรรคนี้ว่า อาจจะเป็นการคุกคามและขัดขวางบุคคลอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งนักการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในการพูดถึงบทบาทของกองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองหรือประเด็นอื่น ๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะของประชาชนทั่วไป ภายใต้บริบทดังกล่าว ผมจึงมีความกังวลอย่างมากว่า คดีความต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประท้วงที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้าที่ฟ้องต่อสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ ดูเหมือนว่าเกี่ยวพันกับความเห็นของพวกเขาที่มองถึงอิทธิพลของกองทัพในทางการเมือง
ในขณะนี้ สิ่งที่เราเห็นก็คือ การจับกุมผู้นำการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่น ชุมนุมโดยมีเจตนาสร้างสถานการณ์ความรุนแรง ฝ่าฝืนข้อห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ ร่วมด้วยข้อหาคดีอาญาอื่น ๆ รวมถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ผมได้รับมอบหมายให้เฝ้าติดตามพัฒนาการเหล่านี้ด้วยความกังวล
ตั้งแต่รับตำแหน่งผู้รายงานพิเศษของยูเอ็น คุณคิดว่าเหตุการณ์ไหนที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบมากที่สุด
การชุมนุมประท้วงหลายครั้งที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่า คนจำนวนมากในสังคมไทยไม่พึงพอใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและสถาบันกษัตริย์
รัฐบาลไทยควรจะให้ความสำคัญต่อผู้ประท้วงเหล่านี้อย่างจริงจัง พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างจริงใจ พร้อมกับตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญ
นานาชาติเป็นห่วงเรื่องที่ทางการใช้มาตรการรุนแรงจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของพลเมือง
ผมเฝ้าติดตามเรื่องนี้ด้วยความกังวลอย่างยิ่งที่เห็นการใช้กำลังของตำรวจและฝ่ายความมั่นคงมากขึ้นต่อกลุ่มผู้ชุมนุมบางครั้ง ทั้ง ๆ ที่การใช้กำลังของตำรวจเป็นสิ่งที่ควรทำให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เท่าที่จำเป็นตามหลักเกณฑ์ สมควรแก่เหตุ และตามกฎหมาย
สิ่งที่ผมเป็นกังวลมากที่สุดคือ ฝ่ายรัฐได้นำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ มาตรา 112 กลับมาใช้อีกครั้งต่อกลุ่มผู้ชุมนุมโดยสันติ ซึ่งไม่เคยใช้มาตั้งแต่ปี 2561 เป็นที่ปรากฏชัดว่าทางการต้องการใช้การดำเนินคดีดังกล่าวเพื่อขัดขวางกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและผู้ชุมนุม และผู้เห็นต่างทางการเมือง
หากยังมีการใช้กำลังเกินความจำเป็น รวมทั้งการใช้ข้อหามาตรา 112 และข้อหายุยงปลุกปั่นต่อกลุ่มผู้ชุมนุมแล้ว ยิ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ทางการมีความพยายามที่จะคุกคามผู้ชุมนุมรวมทั้งปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาสังคมและพื้นที่ในการสนทนา ซึ่งนี่คือการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนไทยโดยตรง
ไทยปกป้อง ม.112 ในเวทีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น
ยูเอ็น-องค์กรสิทธินานาชาติเป็นห่วงการละเมิดสิทธิผู้ชุมนุมในไทย
สำรวจกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ในยุโรปและเอเชีย
ที่ผ่านมาผมและผู้ถืออาณัติของวิธีพิจารณาวิสามัญ (Special Procedures mandate holders) ของสหประชาชาติจำนวนหนึ่งได้ยกประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับมาตรา 112 และการบังคับใช้ในไทยอยู่หลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา พวกเราได้พิจารณาว่ากฎหมายดังกล่าวขัดกับเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน รวมไปจนถึงสิทธิการชุมนุมการรวมตัวกัน และการแสดงออกทางความคิด
นางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ แม่ของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ "เพนกวิน" ออกมาร่วมเรียกร้องสิทธิให้ลูกชาย ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหลายคดี
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้หยิบยกประเด็นนี้ในประชุมทบทวนการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ของประเทศไทยด้วย
ผู้ปกครองให้กำลังใจบุตรชายวัย 16 ปี ก่อนเข้ารับทราบข้อหาคดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สน.ยานนาวา
สิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งในขณะนี้ก็คือ การพบว่ามีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและผู้เยาว์ถูกดำเนินคดีข้อหามาตรา 112 และข้อหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น ข้อหายุยงปลุกปั่นด้วย
ผมขอย้ำว่าไม่ควรมีผู้ใดถูกตั้งข้อหาและดำเนินคดีอาญา เพียงเพราะพวกเขาใช้สิทธิในการชุมนุมโดยสันติหรือจัดกิจกรรมใด ๆ
การออกมาตรการคุมเข้มเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นหนึ่งในข้อกังวลต่อสิทธิการชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง คุณประเมินสถานการณ์นี้ในประเทศไทยอย่างไร
ระหว่างการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 หลายประเทศรวมทั้งไทยได้ประกาศใช้ระเบียบข้อบังคับเพิ่มเติมผ่านมาตรการฉุกเฉินต่าง ๆ และข้อห้ามการชุมนุมโดยสันติอย่างกว้างขวาง ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่นำไปสู่การควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จและการปราบปรามการชุมนุม แม้ว่าจะเป็นไปโดยสันติ
นักศึกษาและนักกิจกรรมจำนวนมากถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินจากการชุมนุมทางการเมืองในปี 2563-2564 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มีการระบาดของโควิด-19
นั่นจึงเป็นที่มาที่ผมได้เผยแพร่ 10 หลักการสำหรับประเทศต่าง ๆ เพื่อการเคารพสิทธิในการชุมนุมในระหว่างการบริหารจัดการวิกฤตโควิด โดยเนื้อหาหลัก ๆ จะเน้นย้ำว่า แต่ละประเทศไม่ควรใช้วิกฤตทางสุขภาพเป็นข้ออ้างในการใช้กำลังเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม เพื่อปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม หรือการประกาศลงโทษผู้ชุมนุมอย่างไม่เหมาะสม
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่แต่ละประเทศจะต้องมีมาตรการตอบสนองต่อวิกฤตดังกล่าวนี้ด้วยการพิจารณาความต้องการของประชาชน และบังคับใช้มาตรการส่งเสริมให้เกิดโครงสร้างการปกครองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และพัฒนาการป้องกันและปฏิบัติตามสิทธิ
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นรายนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้ติดตามสถานการณ์การเมืองในไทยหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังจากที่เขาโพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมาแสดง "ความผิดหวังอย่างยิ่ง" ต่อคำวินิจัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยที่มีคำสั่งในวันที่ 10 พ.ย. ว่าการชุมนุมเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เข้าข่ายพฤติกรรมการล้มล้างการปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญชี้ ชุมนุม 10 สิงหา 63 "ล้มล้างการปกครอง"
ฉากทัศน์การเมืองไทยหลังคำวินิจฉัยศาล รธน. กรณี ชุมนุม 10 ส.ค. 63
นอกจากเคลมองต์ วูเลแล้ว ผู้แทนนานาชาติเคยเรียกร้องให้ไทยดำเนินการแก้ไขหรือทบทวนประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยชี้ว่ากฎหมายมาตรานี้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
อย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา ในการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามระยะ (Universal Periodic Review หรือ UPR) ครั้งที่ 3 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนชาติประชาธิปไตยตะวันตก ได้แก่ เบลเยียม แคนาดา ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียกร้องในที่ประชุมให้ไทยดำเนินการแก้ไขหรือทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือ ม. 112 ขณะที่สหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อ "การขยายขอบเขต" การใช้กฎหมายนี้ และผลกระทบที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออก#Thailand I'm deeply disappointed by the Constitutional Court ruling to label calls to reform the monarchy as an attempt to overthrow the institution, in trial against 3 prodemocracy protest leaders. I remind Thailand of its obligation to protect protestors right to voice dissent
— UN Special Rapporteur Freedom of Association (@cvoule) November 19, 2021
อย่างไรก็ตาม นายณัฐวัฒน์ กฤษณามระ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ในฐานะผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 "สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งสถาบันกษัตริย์เป็นหนึ่งในเสาหลักของชาติ ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงจากคนไทยส่วนใหญ่"
ในการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม "ราษฎร" เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ได้ชูข้อเสนอยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112
"การดำรงอยู่ของมัน (กฎหมายนี้) มีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการพิทักษ์สถาบันสำคัญต่าง ๆ ของชาติ และความมั่นคงของชาติ" เขากล่าว
รายงานของรัฐบาลไทยที่นำเสนอต่อที่ประชุม UPR ครั้งนี้ระบุว่า ไทยให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ไทยเป็นประเทศที่พระมหากษัตริย์ได้รับความเคารพเป็นอย่างสูง โดยมาตรา 112 มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ ไม่ใช่เพื่อขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ ส่วนในคดีมาตรา 112 ที่มีความกังวลจากหลายฝ่ายนั้น ก็มีการดำเนินคดีถูกต้องตามกระบวนการอันสมควรแก่กฎหมาย (due process of law) และมีการใช้กลไกหลาย ๆ อย่างเพื่อกลั่นกรองคดีรวมถึงยังมีช่องทางในการขอพระราชทางอภัยโทษอีกด้วย
ในการแถลงด้วยวาจาโดยนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองว่า รัฐบาลไทยให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แต่การใช้เสรีภาพต้องเป็นการใช้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามแก้กฎหมายต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างเสรีภาพในการแสดงออก รัฐบาลไทยยังตระหนักถึงความสำคัญของคนรุ่นใหม่ และได้มีความพยายามสร้างเวทีพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ระหว่างวัย