วันอังคาร, ธันวาคม 21, 2564

ต้องฟ้องอธิบดีศาลอาญา กรณีคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน เบนจา อะปัญ ว่า "ละเมิดอำนาจศาล" โดยใช้ข้อกำหนดของอธิบดีศาลอาญา ว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลนั้น กระทำไม่ได้ ไม่อยู่บนฐานอำนาจศาลตาม ป.วิแพ่งมาตรา 30


Puangthong Pawakapan
14h ·

แบบนี้ต้องฟ้องอธิบดีศาลอาญาแล้ว
"ผมเห็นว่า อธิบดีศาลอาญาไม่สามารถอ้างอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี เอามาใช้เป็นฐานแห่งอำนาจในการออกกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไป และผู้ที่ฝ่าฝืนให้ถือว่าละเมิดอำนาจศาลเลย"
"คนในวงการกฎหมายลองไปอ่านมาตรา 30 ดูว่า มุ่งหมายให้ผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้บริหารศาลใช้อำนาจนี้ เพราะถ้ามุ่งหมายแบบนั้นก็ต้องเขียนว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจอธิบดีศาลอาญา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลฎีกา หรืออะไรพวกนี้ มีอำนาจในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับความรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณศาล ก็ต้องเขียนแยกออกไปต่างหาก และอาจกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไป"
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/ixtYXmWRc
#VoiceOnline

Voice TV
17h ·

ตั้งแต่กลางปีที่แล้วจนถึงปลายปี 2564 ศูนย์ทนายความฯ ระบุว่า มีเยาวชน-ประชาชนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองโดนคดี 'ละเมิดอำนาจศาล' แล้วอย่างน้อย 26 คน
ข้อหา 'ละเมิดอำนาจศาล' ไม่นับเป็นคดีอาญา ไม่เหมือนข้อหา 'หมิ่นศาล' ที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายอาญามาตรา 198 และมีโทษจำคุกสูง 1-7 ปี หรือปรับ 20,000-140,000 บาท ในที่นี้จะละไว้ไม่กล่าวถึง ขณะที่ข้อหาละเมิดอำนาจศาล เป็นการใช้กฎหมายที่อยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (วิ.แพ่ง) มาตรา 30-33 ใช้กับการประพฤติตัวไม่เรียบร้อย ไม่ฟังคำสั่งศาลผู้พิจารณาคดี ยื้อเวลาการพิจารณา ซึ่งหากฝ่าฝืนไม่ฟังคำสั่งศาล ศาลจะดำเนินการได้ 2 อย่างคือ 1. ไล่ออกจากบริเวณศาล 2.ลงโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่สั่นสะเทือนที่สุดในคดีละเมิดอำนาจศาล เห็นจะเป็นคดีของ เบนจา อะปัญ นักศึกษาปี 1 เพราะศาลลงโทษเธอเต็มเพดานกฎหมาย - จำคุก 6 เดือน จากกรณีที่เธอพร้อมประชาชนราว 300 คนชุมนุมตรงบันไดศาลอาญา ปราศรัย-โปรยใบปลิววิจารณ์ศาลที่ไม่ให้ประกันเพนกวินในวันที่เขาอดข้าวประท้วงในเรือนจำมานาน 44 วันจนร่างกายย่อยกระเพาะอาหารขับถ่ายมาเป็นชิ้นเนื้อ เหตุเกิดเมื่อวันที่ 29 เม.ย.2564
ที่ผ่านมาศาลแทบไม่เคยลงโทษหนักเช่นนี้ และหากลงโทษก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในห้องพิจารณา
ดังเช่นกรณีอันลือลั่น เพนกวินปฏิบัติการยืนอ่านแถลงการณ์ในห้องพิจารณาคดี ทั้งที่ศาลทักท้วง เหตุการณ์อลหม่านจนศาลต้องยุติการพิจารณา เมื่อ 15 มี.ค.2564 ครั้งนั้นศาลลงโทษเพนกวินฐานละเมิดอำนาจศาล จำคุก 10 วัน และเมื่อเห็นว่ายังเด็ก-ไม่เคยทำความผิดก็ให้ ‘กักขัง’ แทน ‘จำคุก’ ชั่วแต่ว่าเพนกวินถูกขังคุกอยู่ในคดีใหญ่กว่าอยู่แล้ว นั่นคือ 112
กรณีของเบนจา เหตุเกิดจากการแสดงออกที่บันไดศาลอาญา และปัญหาในทางกฎหมายก็คือ ศาลตัดสินลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลโดยอ้างอิง 'ข้อกำหนดว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณศาลอาญา' ที่ออกเป็นการทั่วไป โดยอธิบดีศาลอาญาได้หรือไม่
ในมุมมอง 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับ 'สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย' ไว้ว่า การลงโทษเบนจาจากข้อกำหนดเช่นว่านี้ "ทำไม่ได้" และอยากให้ผู้คนในแวดวงกฎหมายมาถกเถียงกัน
ประเด็นหลักของวรเจตน์ คือ ในคำพิพากษาลงโทษเบนจา ศาลอ้างถึง 'ข้อกำหนด' ของศาลอาญา ซึ่งออกโดยอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาในช่วงม็อบพีคๆ มี.ค.2564 มีอยู่ 6 ข้อ ซึ่งเป็น 'ข้อกำหนดทั่วไป' ออกโดยฝ่ายบริหารศาลว่าห้ามทำอะไรบ้างในบริเวณศาล หากใครฝ่าฝืนจะมีโทษอาญาด้วยโดยนำไปพ่วงกับ วิ.แพ่ง มาตรา 30 ละเมิดอำนาจศาล ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมาตรานี้ให้อำนาจกับผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนั้นๆ มีขอบเขตเฉพาะและเป็นคนละส่วนกัน
"ผมเห็นว่า อธิบดีศาลอาญาไม่สามารถอ้างอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี เอามาใช้เป็นฐานแห่งอำนาจในการออกกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไป และผู้ที่ฝ่าฝืนให้ถือว่าละเมิดอำนาจศาลเลย"
"คนในวงการกฎหมายลองไปอ่านมาตรา 30 ดูว่า มุ่งหมายให้ผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้บริหารศาลใช้อำนาจนี้ เพราะถ้ามุ่งหมายแบบนั้นก็ต้องเขียนว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจอธิบดีศาลอาญา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลฎีกา หรืออะไรพวกนี้ มีอำนาจในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับความรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณศาล ก็ต้องเขียนแยกออกไปต่างหาก และอาจกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไป"
"ผมกังวลว่า ถ้าไม่พูดอะไรเลย เดี๋ยวศาลอื่นก็จะอาศัยอำนาจนี้ออกข้อกำหนดของแต่ละศาลตามไปอีก แน่นอน อันนี้เป็นความเห็นผม ผมอ่านข้อกฎหมาย อ่านตำรามาพอสมควร เพราะเอะใจเมื่อเห็นคดีนี้ พออ่านกฎหมายแล้วพบว่าไม่ใช่ ... ถ้าต้องการอำนาจแบบที่ทำอยู่นี้ต้องแก้กฎหมายแล้วขออำนาจจากสภา"
"เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเราจะถือหลักนิติรัฐ เราละเลยลักษณะแบบนี้ไม่ได้ เป็นการท้วงติงกัน ถ้าความเห็นผมไม่ดี ผมก็เสียหายเอง แต่อย่างน้อยควรต้องมีคำอธิบายจากโฆษกศาลยุติธรรม หรืออธิบดีศาลอาญา" วรเจตน์กล่าวในตอนหนึ่ง
อ่านทั้งหมดได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/ixtYXmWRc
#VoiceOnline
https://www.facebook.com/baitongpost/posts/4743532825728509

Atukkit Sawangsuk
11h ·

คุก 6 เดือนเพราะข้อกำหนดดูแลอาคารสถานที่
...............................
สิ่งที่ อ.วรเจตน์ชี้ และศาลต้องตอบ คือ
คำพิพากษาจำคุก 6 เดือน เบนจา อะปัญ ว่า "ละเมิดอำนาจศาล"
โดยใช้ข้อกำหนดของอธิบดีศาลอาญา ว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลนั้น
กระทำไม่ได้ ไม่อยู่บนฐานอำนาจศาลตาม ป.วิแพ่งมาตรา 30
.............................
เพราะความผิดละเมิดอำนาจศาล ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 30
ให้อำนาจ "ศาล" (หมายถึงผู้พิพากษาในคดี)
"ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต่อบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณและให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปอย่างเที่ยงธรรมและรวดเร็ว"
............................
แต่การออกข้อกำหนดของอธิบดีศาลอาญา ออกในฐานะผู้บริหารศาล ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี
เป็นข้อกำหนดเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ศาลอาญา
ถือเป็นการออกกฎเกณฑ์โดยผู้บริหารอาคารสถานที่
ซึ่งจะเอามาใช้เอาผิด "ละเมิดอำนาจศาลไม่ได้"
เพราะกฎเกณฑ์แบบนี้ก็เหมือนหัวหน้าส่วนราชการทั่วไปออกมาบังคับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง
ไม่สามารถใช้เอาผิดอาญา
.............................
เทียบง่ายๆ ก็เหมือนอธิบดีกรมหม่อนไหมหรือกรมประมง ย่อมมีอำนาจออกข้อกำหนดรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในกรมตัวเอง
แต่ถ้่ามีม็อบบุกไปที่กรมหม่อนไหม กรมหม่อนไหมจะใช้ระเบียบอาคารสถานที่ลงโทษจำคุกฐาน “ละเมิดอำนาจอธิบดีกรมหม่อนไหม” ไม่ได้ อย่างเก่งก็ไปฟ้องบุกรุก
แต่พอเป็นศาล กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ข้อกำหนดของอธิบดีศาล กลับเอามาใช้ลงโทษจำคุกได้
.............................
"ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ ปัญหาเรื่องฐานแห่งอำนาจ อธิบดีผู้บริหารศาล อาจมีอำนาจในการรักษาความเรียบร้อยในเขตศาลซึ่งเป็นอาคารสถานที่ เหมือนสถานที่ราชการต่างๆ ที่ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ได้ แต่เรื่องนี้มันคนละเรื่องกับฐานเรื่องละเมิดอำนาจศาลตามวิ.แพ่งมาตรา 30 อธิบดีจะไปใช้อำนาจออกกฎเกณฑ์ใช้บังคับเป็นการทั่วไปแล้วบอกว่าคนที่ฝ่าฝืนเท่ากับละเมิดอำนาจศาลนั้นไม่ได้ ถ้าจะออกกฎเกณฑ์ทั่วไปแบบนี้และมีโทษอาญา สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องไปขออำนาจจากรัฐสภา ต้องขออำนาจจากผู้แทนปวงชนว่า ศาลต้องการอำนาจแบบนี้ แล้วให้ผู้แทนปวงชนพิจารณาว่าจะให้อำนาจแบบนี้หรือไม่"
"ถ้าเราดูคดีของคุณเบนจา จะเห็นได้ว่า ผู้พิพากษาสองท่านที่เป็นองค์คณะในการตัดสินคดีละเมิดอำนาจศาลจะพูดถึง วิ.แพ่งมาตรา 30 พูดถึงการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล แต่ฐานที่ใช้ในการลงโทษจริงๆ มาจากข้อกำหนดของอธิบดีศาลอาญาว่าฝ่าฝืนข้อ 1 และข้อ 6 แล้วใช้อันนี้ในการลงโทษ แล้วการลงโทษก็ลงโทษเต็มตามวิ.แพ่ง สูงสุด 6 เดือน เขาใช้การละเมิดข้อกำหนดของอธิบดีเป็นฐาน แทนที่จะเป็นการละเมิดคำสั่งของผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีเป็นฐานซึ่งเขามีอำนาจสั่งตามวิ.แพ่งมาตรา 30"
"คนในวงการกฎหมายลองไปอ่าน วิ.แพ่งมาตรา 30 ดูว่า มุ่งหมายให้ผู้พิพากษาในห้องพิจารณาคดีเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ ไม่ได้มุ่งหมายให้ผู้บริหารศาลใช้อำนาจนี้ เพราะถ้ามุ่งหมายแบบนั้นก็ต้องเขียนว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจอธิบดีศาลอาญา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลฎีกา หรืออะไรพวกนี้ มีอำนาจในการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับความรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณศาล ก็ต้องเขียนแยกออกไปต่างหาก และอาจกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทั่วไป"
"ผลของมันคืออะไร ผลก็คือ ข้อกำหนดของอธิบดีศาลอาญามันเป็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่ใช้เป็นการทั่วไป เป็นลักษณะการออกกฎหมายด้วยตัวของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเอง ซึ่งมาตรา 30 วิ.แพ่งไม่ได้ให้อำนาจเอาไว้"
"หลายคนสงสัยว่า ให้หรือไม่ให้อำนาจ แต่ใช้ไปแล้วในทางเป็นจริง ใช้ในการลงโทษไปแล้ว แม้จะใช้ไปแล้วในทางความเป็นจริง แต่ยังไม่มีใครทักท้วงเรื่องนี้ จึงอยากให้นักเรียนกฎหมาย ทนายความ ผู้พิพากษาตุลาการได้ทบทวน วิ.แพ่งมาตรา 30 ว่าเขากำหนดให้เป็นอำนาจของใคร เป็นของผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา"
..................................
https://voicetv.co.th/read/ixtYXmWRc
(Voice ถอดความจากที่สำนักพิมพ์อ่านกฎหมาย ไอดา อรุณวงศ์ สัมภาษณ์ อ.วรเจตน์)
https://www.facebook.com/readlaw2017/videos/1364366200656417/