การเมืองดี เกิดจากระบบที่ดี: ถอดบทเรียนจากการเลือกตั้งเยอรมนี 2021
2 ตุลาคม 2021
พรรคก้าวไกล
การเมืองในฝันของเราเป็นอย่างไร? คำตอบของหลายคนคงเป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีนักการเมืองน้ำดี ส.ส. มีความแตกต่างหลากหลายสะท้อนเสียงของประชาชน การตั้งรัฐบาลต่อรองกันด้วยของนโยบาย ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือตำแหน่ง
สิ่งเหล่านี้เราอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ระบบที่สร้างการเมืองให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราอยากเห็นมากที่สุด คือประเทศเยอรมนี
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของโลกในปี 2021 คือการเลือกตั้งใหญ่ประเทศเยอรมนี ซึ่งน่าจับตามองเพราะเป็นการเลือกตั้งหลังจากที่อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กแห่งเยอรมนี ประกาศวางมือหลังจากดำรงตำแหน่งมานานกว่า 16 ปี
ทิศทางของเยอรมนี ในฐานะประเทศที่เป็นเสาหลักของสหภาพยุโรป จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็เป็นเรื่องน่าติดตามกันอย่างใกล้ชิด แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ของเยอรมนี มีหลายอย่างที่เป็นตัวแบบของประชาธิปไตยให้เราสามารถนำมาปรับใช้ได้
เรื่องที่น่าสนใจคือ ระบบเลือกตั้งที่สามารถสะท้อนสัดส่วนเสียงของประชาชน ไปสู่เสียงในสภาผู้แทนราษฎร โดยระบบเลือกตั้งแบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” (MMP) ของเยอรมนี เป็นระบบเลือกตั้งที่สร้างความสมดุลระว่าง ส.ส. เขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ โดยมีที่นั่งในสภาคำนวณตามสัดส่วนคะแนนเสียงของประชาชนที่ลงให้แต่ละพรรค ทำให้เราเห็นการเพิ่ม ส.ส. บัญชีรายชื่อ ให้แต่ละพรรคการเมืองได้ที่นั่งตามสัดส่วน
ยกตัวอย่างเช่น
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราเห็นความเติบโตของพรรค The Greens ที่ได้ ส.ส. ในสภามากขึ้นถึง 50 ที่นั่ง จากสัดส่วนคะแนนเสียงประชาชนที่เลือกพรรคเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 26% ขณะที่พรรค CDU ซึ่งเป็นรัฐบาลเดิมของได้ลดลงถึง 50 ที่นั่ง ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือกลดลง
ระบบเลือกตั้งแบบ MMP ของเยอรมนี ทำให้พรรคการเมืองที่เน้นนโยบายเป็นไปได้ ทำให้พรรคการเมืองสามารถนำเสนอแนวนโยบายที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างรวดเร็ว
ในกรณีที่พรรคการเมืองเก่าไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ระบบก็พร้อมจะเปิดให้ความแตกต่างหลากหลาย แต่ในกรณีที่มีพรรคการเมืองที่นำเสนอแนวทางและนโยบายที่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างท่วมท้น ก็สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยไม่จำเป็นประนีประนอมกับ “การเมืองแบบเดิม” เพื่อเอาชนะเลือกตั้ง
จากประสบการณ์ของเยอรมนี ถึงเราจะเห็นพรรคการเมืองหลายพรรค แต่การเมืองก็ยังมีเสถียรภาพ เพราะในการคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ กำหนดให้พรรคการเมืองต้องได้คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% ทำให้เราเห็นพรรคการเมืองเพียง 8 พรรคในรัฐสภาเยอรมัน ไม่ใช่ 21 พรรคเหมือนประเทศไทย
แล้วถามว่าทำไมในระบบการเมืองที่ไม่ใช่พรรคใหญ่กินรวบแบบเยอรมนีถึงไม่มีการต่อรองเก้าอี้จากพรรคขนาดกลางที่เป็น The King Maker? นั่นเป็นเพราะเยอรมนีมี “ข้อตกลงการร่วมรัฐบาล” (Koalitionsvertrag) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงการทำนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรค ก่อนการตั้งรัฐบาล ทำให้การเจรจาตั้งรัฐบาลยึดตามนโยบายเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรี
เราอยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศเราหรือไม่? “การเมืองดี” แบบที่เราเห็นในเยอรมนี ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการพร่ำสอนศีลธรรม หรือการบอกประชาชนในประเทศให้เป็นคนดี แต่สิ่งเหล่านี้เกิดจากการสร้าง “ระบบ” ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบเลือกตั้ง” ที่สะท้อนเสียงของประชาชนและดุลการเมืองทั้งระบบ
เหนือสิ่งอื่นใด ระบบที่ดีเหล่านี้จะเกิดได้ เราจำเป็นต้องรื้อโครงสร้างที่วางระบบทั้งหมด คือ “รัฐธรรมนูญ” ทำให้การแก้ไข หรือรื้อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นไปเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
.....
อ่านเพิ่มเติม
การเมืองในฝันของเราเป็นอย่างไร? คำตอบของหลายคนคงเป็นการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีนักการเมืองน้ำดี ส.ส. มีความแตกต่างหลากหลายสะท้อนเสียงของประชาชน การตั้งรัฐบาลต่อรองกันด้วยของนโยบาย ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือตำแหน่ง
สิ่งเหล่านี้เราอาจคิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ระบบที่สร้างการเมืองให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เราอยากเห็นมากที่สุด คือประเทศเยอรมนี
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของโลกในปี 2021 คือการเลือกตั้งใหญ่ประเทศเยอรมนี ซึ่งน่าจับตามองเพราะเป็นการเลือกตั้งหลังจากที่อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กแห่งเยอรมนี ประกาศวางมือหลังจากดำรงตำแหน่งมานานกว่า 16 ปี
ทิศทางของเยอรมนี ในฐานะประเทศที่เป็นเสาหลักของสหภาพยุโรป จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็เป็นเรื่องน่าติดตามกันอย่างใกล้ชิด แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้ของเยอรมนี มีหลายอย่างที่เป็นตัวแบบของประชาธิปไตยให้เราสามารถนำมาปรับใช้ได้
เรื่องที่น่าสนใจคือ ระบบเลือกตั้งที่สามารถสะท้อนสัดส่วนเสียงของประชาชน ไปสู่เสียงในสภาผู้แทนราษฎร โดยระบบเลือกตั้งแบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” (MMP) ของเยอรมนี เป็นระบบเลือกตั้งที่สร้างความสมดุลระว่าง ส.ส. เขต และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ โดยมีที่นั่งในสภาคำนวณตามสัดส่วนคะแนนเสียงของประชาชนที่ลงให้แต่ละพรรค ทำให้เราเห็นการเพิ่ม ส.ส. บัญชีรายชื่อ ให้แต่ละพรรคการเมืองได้ที่นั่งตามสัดส่วน
ยกตัวอย่างเช่น
- พรรค Christian Democratic Union (CDU) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเดิม มีนโยบายแบบกลางขวา ได้คะแนนเสียงจากประชาชนทั้งหมด 19% แต่ได้ ส.ส. เขต 98 ที่นั่ง (ซึ่งคิดเป็น 13% ของจำนวน ส.ส. พึงมีทั้งหมดในสภา 735 ที่นั่ง) จึงมีการเพิ่มจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาอีก 53 ที่นั่ง ทำให้มี ส.ส. ทั้งสิ้น 151 ที่นั่งใกล้เคียงกับสัดส่วนที่ประชาชนเลือก
- พรรค Social Democratic Party (SPD) อีกหนึ่งพรรคใหญ่ของเยอรมนี ซึ่งมีนโยบายแบบกลาง-ซ้าย ที่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 26% ได้ ส.ส. เขต 121 ที่นั่ง (คิดเป็น 16% จากจำนวน ส.ส.พึงมีทั้งสภา) จึงมีการเพิ่ม ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก 85 ที่นั่ง รวมเป็น 206 ที่นั่ง ตามสัดส่วนคะแนนเสียงของประชาชน
- ที่น่าสนใจคือ พรรค The Greens (GRÜNE) ที่นำเสนอนโยบายก้าวหน้าต่างๆ เช่น อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ ที่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้คะแนนเสียง 15% แต่ได้ ส.ส.เขตเพียง 16 ที่นั่ง จาก ส.ส.พึงมีทั้งสภา 735 ที่นั่ง ทำให้ระบบเลือกตั้งเพิ่ม ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออีก 102 ที่นั่ง ให้ได้ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือก
- พรรคทุนนิยม-เสรีนิยมสุดขั้ว Free Democratic Party (FDP) ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 92 ที่นั่ง ทั้งที่ไม่ชนะ ส.ส. เขตเลยแม้แต่เพียงเขตเดียว
- พรรคซ้ายจัด อดีตพรรคคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออก DIE LINKE มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 36 ที่นั่ง ทั้งที่ชนะ ส.ส. เขตเพียง 3 ที่นั่ง
- พรรคชาตินิยมขวาจัด Alternative for Germany (AfD) ก็ได้ ส.ส. เพิ่ม 67 ที่นั่ง ทั้งที่ ส.ส. เขตชนะเพียง 16 ที่นั่ง
- พรรค South Schleswig Voters’ Association (SSW) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองของคนเชื้อสายแดนิชและกลุ่มชาติพันธุ์ฟรีเซียนทางตอนเหนือ ไม่มี ส.ส. เขต แต่ได้บัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราเห็นความเติบโตของพรรค The Greens ที่ได้ ส.ส. ในสภามากขึ้นถึง 50 ที่นั่ง จากสัดส่วนคะแนนเสียงประชาชนที่เลือกพรรคเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 26% ขณะที่พรรค CDU ซึ่งเป็นรัฐบาลเดิมของได้ลดลงถึง 50 ที่นั่ง ตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่ประชาชนเลือกลดลง
ระบบเลือกตั้งแบบ MMP ของเยอรมนี ทำให้พรรคการเมืองที่เน้นนโยบายเป็นไปได้ ทำให้พรรคการเมืองสามารถนำเสนอแนวนโยบายที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้อย่างรวดเร็ว
ในกรณีที่พรรคการเมืองเก่าไม่สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ระบบก็พร้อมจะเปิดให้ความแตกต่างหลากหลาย แต่ในกรณีที่มีพรรคการเมืองที่นำเสนอแนวทางและนโยบายที่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างท่วมท้น ก็สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยไม่จำเป็นประนีประนอมกับ “การเมืองแบบเดิม” เพื่อเอาชนะเลือกตั้ง
จากประสบการณ์ของเยอรมนี ถึงเราจะเห็นพรรคการเมืองหลายพรรค แต่การเมืองก็ยังมีเสถียรภาพ เพราะในการคำนวณจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ กำหนดให้พรรคการเมืองต้องได้คะแนนเสียงขั้นต่ำ 5% ทำให้เราเห็นพรรคการเมืองเพียง 8 พรรคในรัฐสภาเยอรมัน ไม่ใช่ 21 พรรคเหมือนประเทศไทย
แล้วถามว่าทำไมในระบบการเมืองที่ไม่ใช่พรรคใหญ่กินรวบแบบเยอรมนีถึงไม่มีการต่อรองเก้าอี้จากพรรคขนาดกลางที่เป็น The King Maker? นั่นเป็นเพราะเยอรมนีมี “ข้อตกลงการร่วมรัฐบาล” (Koalitionsvertrag) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงการทำนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรค ก่อนการตั้งรัฐบาล ทำให้การเจรจาตั้งรัฐบาลยึดตามนโยบายเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ผลประโยชน์หรือตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรี
เราอยากเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศเราหรือไม่? “การเมืองดี” แบบที่เราเห็นในเยอรมนี ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการพร่ำสอนศีลธรรม หรือการบอกประชาชนในประเทศให้เป็นคนดี แต่สิ่งเหล่านี้เกิดจากการสร้าง “ระบบ” ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบเลือกตั้ง” ที่สะท้อนเสียงของประชาชนและดุลการเมืองทั้งระบบ
เหนือสิ่งอื่นใด ระบบที่ดีเหล่านี้จะเกิดได้ เราจำเป็นต้องรื้อโครงสร้างที่วางระบบทั้งหมด คือ “รัฐธรรมนูญ” ทำให้การแก้ไข หรือรื้อสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นไปเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
.....
อ่านเพิ่มเติม