iLaw
17h ·
นอกจากประเด็นเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ “กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” (lèse-majesté law) จะเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยแล้ว สังคมระหว่างประเทศก็ให้ความสนใจกับกฎหมายมาตรานี้อย่างมากด้วยเช่นกัน ในรอบหนึ่งทศวรรษหรือตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา องค์กรระหว่างประเทศ หรือผู้แทนต่างชาติ วิพากษ์วิจารณ์ผ่านทั้งกลไกหรือเวทีระหว่างประเทศ การส่งจดหมายซักถาม ไปจนถึงการออกมาให้ความเห็นของเอกราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย อย่างน้อย 22 ครั้ง
.
ตั้งแต่ที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะใช้กฎหมาย “ทุกฉบับทุกมาตรา” ดำเนินคดีกับประชาชนในเดือนพฤจิกายน 2563 จำนวนคดีตามมาตรา 112 ก็พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์นี้ตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์โดยเฉพาะจากต่างชาติอีกครั้ง
.
ชวนย้อนดูว่าต่างชาติเคยกล่าวถึงมาตรา 112 ไว้อย่างไรบ้างในรอบทศวรรษที่ผ่านมา
.
ดูการวิพากษ์วิจารณ์มาตรา 112 จากต่างชาติทั้ง 22 ครั้งได้ที่ https://freedom.ilaw.or.th/node/980
ผู้แทนนอร์เวย์กล่าวในกระบวนทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน Universal Periodic Review หรือ UPR ครั้งแรกของไทยในปี 2554 ซึ่งมีทั้งหมด 11 ประเทศที่มีข้อเสนอแนะโดยตรงให้ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ (lèse-majesté law) ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นอร์เวย์ บราซิล เยอรมนี สหราชอาณาจักร สโลวีเนีย สเปน แคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ และฮังการี
.
ทั้งนี้ ผู้แทนไทยก็ได้ปฏิเสธข้อแนะนำการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคง การคงอยู่ของมาตรา 112 นั้นมีความสำคัญต่อการปกป้องสถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ
.
ที่มา https://documents-dds-ny.un.org/.../64/PDF/G1117264.pdf...
วันที่ 23 มกราคม 2556 คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Delegation of the European Union to Thailand) ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลจากกรณีที่ศาลมีคำคัดสินจำคุกสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเวลา 10 ปี จากคดีตามประมวลกฎหมายมาตรา 112
.
ที่มา https://prachatai.com/english/node/3488
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยในขณะนั้น เกล็น เดวีส์ (Glyn Davies) กล่าวในงานที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างชาติประจำประเทศไทย (The Foreign Correspondents’ Club of Thailand – FCCT) ว่าสหรัฐเป็นห่วงคำตัดสินของศาลทหารในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ลงโทษจำคุกพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง อายุ 48 ปี เป็นเวลา 60 ปี จากการโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กจำนวนหกข้อความที่เข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ลดโทษลงเหลือ 30 ปี หลังรับสารภาพ รวมถึงตัดสินจำคุก ศศิวิมล อีก 56 ปี แต่เนื่องจากสารภาพจึงลดลงเหลือ 28 ปี
.
คำพูดของเอกอัครราชทูตได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากทั้งมวลชนฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐไทยในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 สนธิญา สวัสดี ได้ไปยื่นหนังสือให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกร้องให้มีการสืบสวนการกระทำของเดวีส์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน ก็ยอมรับว่ามีการสืบสวนว่า สิ่งที่เดวีส์พูดนั้นเข้าข่ายการกระทำผิดหรือไม่จริง และได้มีการขอความร่วมมือจาก FCCT ด้วย อย่างไรก็ดี รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ยอมรับว่าเอกอัครราชทูตสหรัฐได้รับความคุ้มครองทางการทูต ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีได้
.
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=C22bCpRf7KQ&feature=youtu.be
วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 พรรคกรีน (Bündnis 90/Die Grünen) แห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ได้เผยแพร่แถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนกับผู้ชุมนุมทั้ง 13 ที่ถูกยื่นฟ้องในคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563
.
ที่มา https://prachatai.com/journal/2021/07/94091
วันที่ 10 กรกฎาคม 2554 ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยสอบถามกรณีการดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 112 กับประชาชนและผู้ชุมนุมอย่างน้อย 40 คน เช่น อานนท์ นำภา ภาณุพงศ์ จาดนอก และพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
จดหมายระบุถึงเหตุการณ์การชุมนุมในไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 โดยเฉพาะการชุมนุมและการปะทะเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ที่บริเวณรัฐสภาท่ามกลางการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ ซึ่งหลังจากนั้นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศจะใช้กฎหมายทุกฉบับในการจัดการกับผู้ชุมนุม ส่งผลให้มีการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีอย่างกว้างขวาง
.
ที่มา https://spcommreports.ohchr.org/.../DownLoadPublicCommuni...
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (UN human rights experts) ออกแถลงการณ์ร่วมกันแสดงความกังวลต่อการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยเฉพาะกรณีที่ศาลอาญาตัดสินจำคุก อัญชัญ ปรีเลิศ ข้าราชการ ทั้งหมด 87 ปี โดยลดโทษให้เหลือ 29 ปี 174 เดือน จากการแชร์คลิปยูทูปที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
.
ที่มา https://www.ohchr.org/.../NewsE.../Pages/DisplayNews.aspx...
.
ทั้งนี้ ผู้แทนไทยก็ได้ปฏิเสธข้อแนะนำการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคง การคงอยู่ของมาตรา 112 นั้นมีความสำคัญต่อการปกป้องสถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ
.
ที่มา https://documents-dds-ny.un.org/.../64/PDF/G1117264.pdf...
วันที่ 23 มกราคม 2556 คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (Delegation of the European Union to Thailand) ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลจากกรณีที่ศาลมีคำคัดสินจำคุกสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเวลา 10 ปี จากคดีตามประมวลกฎหมายมาตรา 112
.
ที่มา https://prachatai.com/english/node/3488
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยในขณะนั้น เกล็น เดวีส์ (Glyn Davies) กล่าวในงานที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต่างชาติประจำประเทศไทย (The Foreign Correspondents’ Club of Thailand – FCCT) ว่าสหรัฐเป็นห่วงคำตัดสินของศาลทหารในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ลงโทษจำคุกพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง อายุ 48 ปี เป็นเวลา 60 ปี จากการโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กจำนวนหกข้อความที่เข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ลดโทษลงเหลือ 30 ปี หลังรับสารภาพ รวมถึงตัดสินจำคุก ศศิวิมล อีก 56 ปี แต่เนื่องจากสารภาพจึงลดลงเหลือ 28 ปี
.
คำพูดของเอกอัครราชทูตได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากทั้งมวลชนฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐไทยในวันที่ 3 ธันวาคม 2558 สนธิญา สวัสดี ได้ไปยื่นหนังสือให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกร้องให้มีการสืบสวนการกระทำของเดวีส์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน ก็ยอมรับว่ามีการสืบสวนว่า สิ่งที่เดวีส์พูดนั้นเข้าข่ายการกระทำผิดหรือไม่จริง และได้มีการขอความร่วมมือจาก FCCT ด้วย อย่างไรก็ดี รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ยอมรับว่าเอกอัครราชทูตสหรัฐได้รับความคุ้มครองทางการทูต ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีได้
.
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=C22bCpRf7KQ&feature=youtu.be
วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 พรรคกรีน (Bündnis 90/Die Grünen) แห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ได้เผยแพร่แถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนกับผู้ชุมนุมทั้ง 13 ที่ถูกยื่นฟ้องในคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563
.
ที่มา https://prachatai.com/journal/2021/07/94091
วันที่ 10 กรกฎาคม 2554 ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยสอบถามกรณีการดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 112 กับประชาชนและผู้ชุมนุมอย่างน้อย 40 คน เช่น อานนท์ นำภา ภาณุพงศ์ จาดนอก และพริษฐ์ ชิวารักษ์
.
จดหมายระบุถึงเหตุการณ์การชุมนุมในไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 โดยเฉพาะการชุมนุมและการปะทะเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ที่บริเวณรัฐสภาท่ามกลางการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 13 ฉบับ ซึ่งหลังจากนั้นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศจะใช้กฎหมายทุกฉบับในการจัดการกับผู้ชุมนุม ส่งผลให้มีการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีอย่างกว้างขวาง
.
ที่มา https://spcommreports.ohchr.org/.../DownLoadPublicCommuni...
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (UN human rights experts) ออกแถลงการณ์ร่วมกันแสดงความกังวลต่อการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยเฉพาะกรณีที่ศาลอาญาตัดสินจำคุก อัญชัญ ปรีเลิศ ข้าราชการ ทั้งหมด 87 ปี โดยลดโทษให้เหลือ 29 ปี 174 เดือน จากการแชร์คลิปยูทูปที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
.
ที่มา https://www.ohchr.org/.../NewsE.../Pages/DisplayNews.aspx...