วันศุกร์, ตุลาคม 29, 2564

8เดือนหลังรัฐประหาร-พม่า มาถึงจุดที่เรียกกันว่า tit-for-tat killing คือมึงฆ่ากู-กูฆ่ามึง ประชาชนเล่นเกมส์เสี่ยง เสี่ยงชีวิต เสี่ยงต่อการถูกตราหน้าว่าใช้ความรุนแรง ทั้งที่เป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียวมาตลอด


 
Kannikar Petchkaew
10h ·

8เดือนหลังรัฐประหาร-พม่ามาถึงจุดที่เรียกกันว่า tit-for-tat killing คือมึงฆ่ากู-กูฆ่ามึง ประชาชนจำนวนมากจับอาวุธสู้ มีเป้าหมายเป็นตำรวจทหารและฝ่ายเชียร์กองทัพ ฆ่าได้ฆ่าเลย ค่ายทหาร ป้อมตำรวจ ถูกเผาทุบทิ้งทำลาย ลอบวางระเบิด ลอบยิง ประชาชนตายแตะพันล่วงหน้าหลายเดือน ตอนนี้ตัวเลขเจ้าหน้าที่ตายใกล้พันแล้วเหมือนกัน
เสียงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายจับเข่าคุยกันถูกปฏิเสธ กองทัพบอกว่าจะไม่คุยกับไอ้พวกก่อการร้าย ฝ่ายประชาชนบอกตอนถูกฆ่าตายเป็นเบือ ร้องไห้น้ำตาเป็นสายเลือด ไม่มีแมวไหนยื่นมือ ทำไมพอเราลุกขึ้นป้องกันตนเอง ดันมีเวลามาวิเคราะห์ว่าใช้ความรุนแรง มาสั่งให้เจรจา
อย่าลืมว่ากว่าจะจับอาวุธขึ้นสู้คือหลายเดือนที่ถูกกระทำฝ่ายเดียว ตายเกินพัน ติดคุกเกือบหมื่น หนีตายหลายหมื่น สู้หรือไม่สู้ความรุนแรงกัดกินทุกเมื่อเชื่อวัน
โลกมีเรื่องโควิด อัฟกานิสถาน เกาหลีเหนือ จะไปดาวอังคาร ให้วุ่นวาย พม่านี่ทะเลาะกันมาหลายสิบปีละ ตายรอบละหลายร้อยมาหลายรอบ จะตายแตะหลักพันบ้างโลกไม่ตกใจ-เอาไว้ก่อน
7 กันยายน NUG รัฐบาลเงาฝ่ายประชาธิปไตยประกาศ “สงครามป้องกันตัวเอง” เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศจับอาวุธขึ้นสู้ ทูตตะวันตกในย่างกุ้งเอามือทาบอกกรีดร้องทวีตรัวๆ ร้องหาสันติภาพและการเจรจา เจอคนพม่าย้อนถามทำไมตอนนี้ขยัน ก่อนนี้ทวีตเตอร์ติดโควิดรึไงถึงเงียบฉี่? คนตายกลางถนน มองไม่เห็นนิ?
บางคนคนด่าNUGว่าโง่ ทำเช่นนี้ทำให้ภาพgood kidหายไปทันที การยอมรับในสังคมโลกจะลดวูบ ที่นั่งในยูเอ็นที่หวังว่าเขาจะเอ็นดูให้เข้าไปนั่ง หลุดลอยตลอดไป
แต่คนด่าก็รู้เต็มอกว่ายังไงโลกก็ไม่ให้เครดิตNUGเท่ารัฐบาลเผด็จการ เพราะแรงสนับสนุนจากนานาประเทศไม่มากพอ การสนับสนุนจากประชาชนในประเทศถูกคนนอกตีค่าเป็นศูนย์ ประชุมอาเซียนเขายังไม่เชิญ คุยกับผู้นำประเทศไหนๆ(ผ่านZoom)ก็ให้กำลังใจแต่ไม่action ขณะที่ก็เจอประชาชนทวงทุกวันให้ “ทำอะไรมั่งเว้ยเฮ้ย มัวแต่เล่นซูมอยู่นั่น”
เก้าอี้ทูตในยูเอ็น แม้องค์กรโลกบาลนี้จะพยายามช่วยยื้อมาให้พักนึง แต่ที่สุดเมื่อต้องตัดสินใจ ยูเอ็น.ก็จะตีกรรเชียงผ่านสนธิสัญญาเจนีวา ว่าอำนาจในการแต่งตั้งเป็นของ Sovereign ซึ่งในทีนี้คือเผด็จการพม่า ไม่ใช่NUG ไม่ใช่ประชาชน มิไยว่า Sovereign นั้นจะย่ำซากศพมาแค่ไหน
มันเลยมาถึงวันนี้จนได้ สงครามกลางเมือง ไร้ขื่อแป tit-for-tat killing เงินรูดจาก 1200 จั๊ตต่อดอล มาเป็น2400จั๊ต และถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้น เขาประเมินว่าจะรูดไปจนถึง3200ในปีหน้า เศรษฐกิจจะหดตัวลงหนึ่งในสาม กำลังซื้อของทั้งประเทศพังพาบ ระบบราชการพังทลาย
มาถึงจุดสุดdesperateที่ประชาชนเล่นเกมส์เสี่ยง เสี่ยงชีวิต เสี่ยงต่อการถูกตราหน้าว่าใช้ความรุนแรง เสี่ยงต่อการถูกมองเป็นผู้ร้ายร่วมก่ออาชญากรรม ทั้งที่เป็นผู้ถูกกระทำฝ่ายเดียวมาตลอด
ทางเลือกของประชาชนที่อ่อนล้า แต่ไม่ยอมแพ้
และคงจะไม่แคร์หน้าไหนอีกแล้ว
picture credit: AFP,AP,Myanmar Now.
คลิปสำหรับย้อนความจำว่ากว่าจะมาถึงวันนี้
https://www.youtube.com/watch?v=qooWPOaXS

https://www.facebook.com/kannikar.pechkaew/posts/5040186832665314
...
Jom Petchpradab
สันติวิธี อหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง มักเป็นคำพูดที่สร้างภาพของคนที่ไม่เคยถูกกดหัว ไม่เคยถูกกระทำ ไม่เคยถูกไล่ล่า ยิ่งการพึ่งพาชาวโลกในภาวะที่ผู้นำโลกที่คิดเพียงแต่จะปกป้องรักษาผลประโยชน์ของพลเมืองตัวเอง ดังนั้นพลเมืองที่อ่อนแอกว่า เมื่อเป็นฝ่ายถูกฆ่าถูกกำจัดเพียงเพราะต้องการจะอยู่ในบ้านเกิดของตัวเองอย่างมีความสงบสุข จึงไม่เหลือทางเลือกใด นอกจากการ"มึงฆ่ากู กูฆ่ามึง" ชอบข้อเขียนชิ้นนี้ของคุณ Kannikar Petchkaew ครับ

TaNa KaMol
รักความเป็นนักสู้ของคนพม่า
.....

The101.world
21h ·

"ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส" อาจเป็นวลีที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนคนพม่าได้ดีที่สุด ณ ขณะนี้ ท่ามกลางบทใหม่แห่งการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับทหารที่เปิดฉากอีกครั้งหลังการรัฐประหารเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2021 แม้จะต้องแลกด้วยอนาคต หน้าที่การงาน หรือกระทั่งชีวิต แต่คนพม่าก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้ ด้วยรู้ดีว่าการกลับไปถูกผูกมัดด้วยโซ่ตรวนแห่งเผด็จการทหารนั้นน่าเจ็บปวดกว่าเป็นทวีคูณ
.
101 สนทนาเปิดใจประชาชนพม่าจากหลากพื้นเพ หลากอาชีพ ทั้งกลุ่มคนที่เลือกจับปืนสู้ทหาร นักวิชาการ สื่อมวลชน ดารา กระทั่งทหารของกองทัพพม่า เจาะลึกความคิดและเส้นทางการต่อสู้ในห้วงแห่งการรัฐประหาร ที่แม้จะแตกต่างหลากหลาย หากแต่ล้วนมุ่งหน้าสู่จุดหมายเดียวกันคือการโค่นล้มเผด็จการ
.
อ่านบทความได้ที่ https://www.the101.world/fights-of-burmeses/
.
“วันนี้เราเห็นแล้วว่าซูจี คนที่ถูกเรียกว่าเป็นแม่ คนที่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ คนที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ไม่สามารถช่วยลูกๆ ของเธอได้อีกแล้ว เธอยังปกป้องตัวเธอเองไม่ได้เลย แล้วเธอจะมาปกป้องประชาชนได้อย่างไร ตอนนี้ไม่มีใครที่จะขี่ม้าขาวมาช่วยพวกเขาแล้ว ถึงเวลาแล้วที่ลูกๆ ของเธอจะต้องเลิกหลบอยู่ใต้กระโปรงซูจี พวกเขาจะต้องเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมออกมายืนหยัดต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยด้วยตัวเอง” - หม่อง ซาร์นี (Maung Zarni) นักวิชาการชาวพม่า ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร Forces of Renewal for Southeast Asia (FORSEA)
.
“เราต้องเดินหน้าทำงานเราต่อไปทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะถูกคุกคามหนักขนาดไหน เพราะถ้าเราไม่มีนักข่าวหรือช่างภาพทำงานในพื้นที่เลย กองทัพก็จะทำร้ายประชาชนได้ง่ายๆ โดยปราศจากหลักฐาน เราไม่สามารถละทิ้งหน้าที่ของเราได้...สื่อมีหน้าที่ต้องยืนหยัดรายงานความจริง อยู่ข้างความถูกต้อง และอยู่ข้างประชาชนเท่านั้น ถึงสำนักข่าวจะต้องถูกปิด เราก็ไม่ยอมทรยศหน้าที่ตัวเอง จะโดนปิดก็ปิดไปเลย” - ส่วย วิน (Swe Win) เจ้าของสำนักข่าว Myanmar Now
.
“ที่ผมทำอย่างนี้เพราะผมมีความเชื่อมั่นว่าเสียงของผมไปถึงทุกคนได้ และผมก็สามารถเป็นตัวแทนที่ส่งเสียงให้กับคนพม่าได้ด้วย และยิ่งตอนนี้เกิดรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้ง ผมก็รู้สึกว่ายิ่งต้องออกมาพูด เพื่อที่ผมจะได้ส่งเสียงให้ทุกคนรู้ว่า ผมก็ต่อสู้อยู่เคียงข้างทุกคน...การที่ดารานักแสดงพม่าหลายคนกล้าออกมาคอลเอาต์ก็เป็นเพราะพวกเขามีจิตสำนึกเหล่านี้อยู่แล้ว มันออกมาจากใจข้างใน มันไม่ใช่ว่าคอลเอาต์เพราะเป็นหน้าที่ที่ดาราต้องทำ แต่เป็นเพราะมีสามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่ต้องทำเพื่อความถูกต้อง” - ดาง์ว (Daung) นักแสดงพม่า
.
กองทัพเริ่มใช้กระสุนจริงกับประชาชน มีการฆ่าทำร้ายผู้คนเกิดขึ้นมากมาย จนผมคิดว่าแบบนี้มันเกินไปแล้ว ผมทนไม่ได้ที่กองทัพทำร้ายประชาชนแบบนี้ ...ในกองทัพเองก็มีคนคิดแบบผมเยอะมาก เรามีศัพท์เรียกทหารกลุ่มนี้ว่า ‘ทหารแตงโม’... และหลายคนก็กล้าตัดสินใจออกมาจากกองทัพ ไม่ใช่แค่ผมคนเดียว" - ตุน มยัต ออง (Tun Myat Aung) ทหารพม่าผู้แปรพักตร์มาอยู่ข้างประชาชน
.
“ผมคงไม่สามารถไปเปรียบเทียบศักยภาพของกองกำลังเรากับตัดมาดอว์ได้ แต่บอกได้อย่างหนึ่งว่า สิ่งที่เรามีต่างกันคืออุดมการณ์ ฝั่งนั้นคอยแต่ทำงานใต้คำสั่งเผด็จการ ทำเพียงเพื่อรักษาอำนาจให้พวกเผด็จการเท่านั้น แต่เราไม่ใช่อย่างนั้น เราสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชนกว่า 50 ล้านคน ผมเลยไม่อยากให้มองการต่อสู้ครั้งนี้เพียงในมุมของการวัดกำลังทหาร แต่อยากให้มองว่านี่คือการต่อสู้ด้านพลังศรัทธา” - ฉ่วย อู (Shwe Oo) หัวหน้าฝ่ายสื่อและข้อมูลข่าวสารของกองกำลังป้องกันประชาชน (People’s Defense Force – PDF)
.
“เรายืนอยู่บนศรัทธาอย่างแรงกล้าว่าเราต้องชนะ เรามีจุดแข็งสำคัญคือการได้รับศรัทธาและแรงสนับสนุนจากประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัดมาดอว์ไม่มี” - ตัวแทนกลุ่มรักษาความปลอดภัยแห่งเมืองตามู (Tamu Security Group – TSG)