วันเสาร์, สิงหาคม 21, 2564

ศิลปินแห่งชาติ กับ ศิลปินแห่งชาติหมา มีไว้ทำไม



Siripoj Laomanacharoen
12h ·

“ศิลปินแห่งชาติ” หมายความว่า ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าและแสดงศักดิ์ศรีของชาติ
.
ข้อความข้างต้นผมคัดมาจาก 'คู่มือหลักเกณฑ์การคัดเลือก และรับสมัครบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564' ดังนั้นอะไรที่ปรากฏอยู่ในข้อความข้างต้นก็คือเหตุผล (ฉบับทางการ) ที่รัฐท่านจัดตั้งให้มีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการสถาปนาให้เป็น ‘ศิลปินแห่งชาติ’ นั่นแหละนะ
.
นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในสังกัดของกระทรวงวัฒนธรรม (เดิมก็คือ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาตินั่นแหละ) ยังอธิบายเอาไว้ด้วยว่า ‘ศิลปินแห่งชาติ’ คือ “ทรัพยากรบุคคลทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะ ของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบันเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า”
.
ดังนั้น อะไรที่เรียกว่า ‘ศิลปินแห่งชาติ’ จึงเป็นหนึ่งในความพยายามจัดตั้ง ‘ความเป็นไทย’ ของรัฐ ที่จะระบุว่า อะไรที่เป็นไทย อะไรไม่ใช่ไทย และอะไรคือไทยที่สูงส่งกว่าไทยอื่น จนคู่ควรที่จะยกย่อง และเชิดชูเกียรติกัน
.
เห็นได้ชัดๆ ก็จากคุณสมบัติของใครก็ตามที่จะเป็นแคนดิเดตช่วงชิงตำแหน่ง ‘ศิลปินแห่งชาติ’ ได้นั้น ก็จะต้องมี ‘สัญชาติไทย’ มาก่อนเป็นคุณสมบัติข้อแรก ซึ่งแม่งก็แรกซะจนคุณสมบัติตามหลังอีก 5 ข้อ ค่อยว่ากันถึงเรื่องของผลงาน และความสามารถของคนๆ นั้นเลยก็แล้วกัน (ข้ออื่นๆ ที่เหลือ ข้อ 2-5 ว่าด้วยเรื่องการทำงานศิลปะ ส่วนข้อ 6 คือข้อสุดท้ายนั้น ว่าด้วยเรื่องการทำประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ)
.
(ผมเข้าใจดีว่า ในการทำงานจริง การพิจารณาสรรหาว่าจะให้ใครได้รับตำแหน่งอันทรงคุณค่า และเพียบไปด้วยรายรับนี้ อาจจะไม่ได้คำนึงว่าในต้องเริ่มพิจารณาจากคุณสมบัติเรียงตามลำดับข้อ 1 ไปจนถึงข้อ 6 อย่างทื่อๆ แต่การที่คณะกรรมการเลือกที่จะนำเอาการที่ต้องมีสัญชาติไทยแปะเป็นยี่ห้อไว้ ตั้งแต่ในคุณสมบัตข้อแรกก็สะท้อนให้เห็นถึงอะไรอยู่มากเลยเหอะ)
.
เอาเข้าจริงแล้ว ‘สัญชาติ’ เป็นอะไรที่สะท้อนความเป็นชาติ ในแง่ง่ามของการเมืองการปกครอง มากกว่าในแง่มุมทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะแขนงต่างๆ มากกว่ากันอยู่เห็นๆ
.
แต่ก็ไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศไทยที่มีตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ เท่าที่สืบค้นดูได้ก็มีประเทศอื่นๆ ที่มีตำแหน่งทำนองนี้ก็มีอยู่อีกอย่างน้อย 3 ประเทศคือ ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอาเซอร์ไบจาน โดยแต่ละประเทศที่ว่ามานี้ก็ล้วนแล้วแต่มีอะไรที่คลับคล้ายกันอยู่ ก็คือการกระสันจะให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติเสียเหลือเกิ้นน
.
ในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้ ประเทศอาเซอร์ไบจาน (ซึ่งว่ากันว่าบรรพชนเป็นพวกเปอร์เซียผสมกับเติร์ก) เต็มไปด้วยความวุ่นวายในการเรียกร้องเอกราชจากสหภาพโซเวียต จนได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2534 เมื่ออาณาจักรของยักษ์ใหญ่หลังม่านเหล็กได้ล่มสลายลง จนไม่น่าแปลกอะไรที่พวกเขาจะโหยหาความเป็นชาติ และพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตนเองขึ้นมาใหม่
.
ส่วนมาเลเซียก็เป็นชาติที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งก็ทำให้รัฐโหยหาความเป็นชาติ และอะไรที่ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเสียเหลือเกิน (ไม่เชื่อก็ลองดูตอนประเทศพี่แกเชียร์กีฬาดูเส่ะ)
.
แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ประเทศฟิลิปปินส์ เพราะตำแหน่ง ‘Pambansang Alagad ng Sining ng Pilipinas’ หรือศิลปินแห่งชาติของพวกเขานั้น ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2515 เรียกได้ว่ามีมาก่อนประเทศไทยเสียอี๊กกก ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือตำแหน่งที่ว่านี้ถือกำเนิดขึ้นในรัฐบาลของนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำเผด็จการ คนดังของประเทศฟิลิปปินส์ ที่ปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึกอย่างยาวนานเฉียดๆ 21 ปี
.
รัฐบาลภายใต้ชะเงื้อมของรองเท้าบู๊ต และลัทธิท่านผู้นำมักจะมีการลงมาจัดการกับวัฒนธรรม และศิลปะอยู่บ่อยๆ เลยนะครับ ในกรณีของไทยเราก็มีมาก่อนหน้าตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ ของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส เสียอีก
.
อดีตอธิบดีคนสำคัญที่สุดของกรมศิลปากรอย่าง ธนิต อยู่โพธิ์ (พ.ศ. 2450-2547) ได้เขียนเล่าไว้ว่า ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในพระนครและธนบุรีต่างนิยมเล่นรำโทน (ซึ่งก็คือการฟ้อนรำประกอบเครื่องดนตรีให้จังหวะที่เรียกว่า โทน) กันโดยทั่วไป พอมาถึง พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลจอมพล ป. ที่ครองตำแหน่งนายกฯ ในรอบแรก (จอมพล ป. ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบที่สอง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายระหว่าง พ.ศ. 2491-2500) รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการละเล่นรำโทนขึ้นใหม่
.
การปรับปรุงที่ว่านอกจากจะได้มีการสร้างบทร้องขึ้นใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มเติมเครื่องดนตรีในการทำเพลงทั้งเครื่องไทย และเครื่องสากลจนหรูหรา แล้วยังได้มีการจัดทำท่ารำให้ ‘งดงาม’ ตามแบบฉบับของ ‘นาฏศิลป์ไทย’ อย่างการนำเอาท่า สอดสร้อยมาลา ชักแป้งผัดหน้า ฯลฯ มากำหนดเป็นแม่ท่าอีกด้วย
.
ที่สำคัญคือกรมศิลปากรได้เปลี่ยนชื่อจาก ‘รำโทน’ เป็น ‘รำวง’ เพราะเห็นว่า ผู้เล่นย่อมรวมวงกันเล่น และรำเคลื่อนย้ายเวียนเป็นวง
.
ผมไม่แน่ใจว่า สมัยยังเป็น ‘รำโทน’ ที่รัฐไม่ลงมายุ่มย่ามจัดระเบียบ ผู้เล่นจะเคลื่อนย้ายเวียนเป็นวงหรือเปล่า? แต่แน่ใจได้ว่าก่อนจะเป็น ‘รำวง’ ใครใคร่ทำเพลงอันใดก็ทำ ใครใคร่จะรำอย่างไรก็รำ ไม่อย่างนั้นรัฐบาลของจอมพล ป. ท่านจะมาปรับทัศนคติให้ได้ ‘มาตรฐานความเป็นไทย’ ของท่านทำไมให้เสียเวลา?
.
แถมคำว่า ‘มาตรฐาน’ ที่ถูกใช้เป็นสร้อยท้ายคำเรียก ‘รำวง’ ว่า ‘รำวงมาตรฐาน’ ตามที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้นมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. เอง ยิ่งเป็นพยานปากเอกอยู่แล้วว่า มีรำวง หรือรำโทน ที่ไม่ได้มาตรฐานของรัฐไทย คือไม่นับว่าเป็น ‘ไทย’ อยู่ด้วย
.
การปรับเปลี่ยน ‘รำโทน’ ให้มาเป็น ‘รำวง’ แถมยังไม่ใช่รำวงเฉยๆ เพราะเป็น ‘รำวงมาตรฐาน’ ซึ่งก็คือมาตรฐานของความเป็นไทยนั้น จึงเป็นการปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า คณะราษฎรไม่มีความนิยมในดนตรีไทยได้เป็นอย่างดี เพราะที่จริงแล้วไม่ได้ไม่ชอบ เพียงแต่ต้องการที่จะสร้าง ‘มาตรฐาน’ ให้ต้องตรงกับจริตความเป็นไทยในแบบของอำนาจในประเทศนี้มันอยากให้เป็นต่างหาก
.
ศิลปินแห่งชาติก็คือ อะไรในทำนองเดียวกันนี่แหละ เพราะพูดง่ายๆ ว่ามันก็คือการตีตราว่าอะไรเป็นไทย และอะไรไม่เป็นไทย แต่ศิลปะมันเคยผูกโยงกับชาติ โดยเฉพาะรัฐชาติแบบสมัยใหม่มันเสียเมื่อไหร่กันวะ? ปั๊ดโธ่ววว
.
คิดดูง่ายๆ ก็ได้ว่า การนิยาม ‘ศิลปะ’ ในยุโรป เกิดขึ้นก่อนรัฐชาติแบบที่เราเข้าใจกันอยู่ในทุกวันนี้ ในอิตาลี ฝรั่งเศส หรือจะประเทศอะไรก็ตาม จึงมีศิลปะแบบโรมันเนสก์, โกธิค, เรอเนสซองค์ และก็อะไรอีกให้เพียบเหมือนๆ กัน ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของมนุษย์ในยุโรป ที่ไม่ถูกตัดขาดจากกันด้วยรัฐชาติ
.
ในขณะที่ก็เป็นเพราะพวกฝรั่งเองเหมือนกัน ที่เข้าไปยังดินแดนต่างๆ ของโลก พร้อมกับลัทธิล่าอาณานิคม แล้วก็พยายามแบ่งเค้กดินแดนเหล่านั้น ทั้งระหว่างชาติเจ้าอาณานิคมด้วยกันเอง และชาติเจ้าถิ่นที่เป็นอาณานิคมภายใน การผลิตประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมต่างๆ โดยมีรัฐชาติสมัยใหม่เป็นเครื่องมือจำแนกนี่แหละ ที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการแบ่งชิ้นเค้ก ดินแดนรอบๆ ประเทศของเราจึงเต็มไปด้วย ศิลปะที่ปะหน้าไว้ด้วยทั้งยี่ห้อของ รัฐชาติ และเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะขอม ศิลปะพม่า ศิลปะไทย อยุธยา สุโขทัย หรืออะไรอีกสารพัด แต่ไม่ยักจะพูดถึงภูมิปัญญาและพัฒนาการของมนุษย์ในดินแดนละแวกนี้เลยซักกะติ๊ด?
.
แล้วอะไรที่เรียกว่า รำโทน เนี่ย มันก็ไม่ได้มีเฉพาะในไทยหรอกนะ มีกันให้เกลื่อนไปทั้งอุษาคเนย์แหละ การรีโนเวตให้เป็นรำวงมาตรฐานต่างหาก ที่ไปขู่เข็ญให้กลายเป็นสมบัติของไทยไปโดยเฉพาะ อะไรทำนองนี้ต่างหากที่ทำให้เราต้องมานั่งทะเลาะกับประเทศเพื่อนบ้านว่า โขนไทย หรือโขนเขมร และอะไรทำนองนี้อีกสารพัดกรณี
.
ศิลปะอะไรก็ตามเมื่อถูกแปะป้ายไว้ด้วยคำว่าชาติจึงดูจะเป็นเรื่องที่ชวนทะเลาะ เพราะความเลื่อนไหลของศิลปะนั้นไม่เคยผูกโยงอยู่กับรัฐชาติสมัยใหม่เพียงอย่างเดียวเสียหน่อย
.
ที่พีคไปกว่านั้นก็คือว่า คุณสมบัติของตำแหน่งศิลปินแห่งชาติในฟิลิปปินส์ ก็ขึ้นต้นด้วยการมีสัญชาติฟิลิปปินส์ ไม่ต่างไปจากไทย (ที่จริงเขาโอนอ่อนกว่าเราหน่อยว่า ถ้าหากเป็นชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศมาครบ 10 ปีแล้วก็สามารถรับตำแหน่งนี้ได้) ส่วนไอ้การริเริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติในไทย ที่เริ่มมีเมื่อ พ.ศ. 2527 นี่แม่งก็จัดตั้งขึ้นในรัฐบาลใต้เกือกรองเท้าบู๊ทกันเห็นๆ
.
ที่ร่ายมาทั้งหมดนี่คืออยากบอกว่า ที่พวกมึงปลดพี่สุชาติ สวัสดิ์ศรี ออกจากตำแหน่งศิลปินแห่งชาติอ่ะ เอาจริงใจนึงกูก็ดีใจนะ เพราะพี่เค้ามีดีเกินกว่าตำแหน่งโหนเจ้า เสียรองเท้าบู๊ทห่าอะไรของพวกมึงนี่เยอะเลยเหอะ การที่พวกมึงปลดพี่เค้าซะอีกที่จะทำให้โลกเค้าเห็นกันชัดเจนระดับ Full HD เพิ่มขึ้นว่า พี่เค้าไม่รับใช้เผด็จการแบบพวกมึง
.
จบ
.
เพิ่มเติม: ที่จริงเนื้อหาส่วนใหญ่ผมปรับมาจากข้อเขียนเก่าชื่อ 'ศิลปินแห่งชาติ มีไว้ทำไม?' ที่ผมเขียนให้ Voice ตั้งแต่เมื่อปี 2017 แต่หมั่นหนังหน้าพวกแม่งเลยปรับภาษาให้ใส่อารมณ์มากขึ้น และอัพเดตข้อมูลเข้าไปอีกหน่อย
(credit ภาพประกอบ: เว๊บไซด์ สยามรัฐ)
...
ศิลปินแห่งชาติหมา มีไว้เลีย...
..
Ons MyLife
#คงกะจะเอาไว้ให้เลียเพราะเขาไม่เลียก็ไปไล่กัด