วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 05, 2564

หายนะโควิด โทษใครดีในเมืองทิพย์แห่งนี้ ?



Thitinob Komalnimi
13h ·

ฝนตกหนักมากไล่อากาศร้อนอบอ้าวไป เหลือทิ้งไว้แต่ความกังวลของชาวบ้านและทีมแพทย์สนาม
.
ถ้ามีทีมลงตรวจเชื้อเชิงรุกในชุมชนแบบนี้ ตั้งแต่ 1 เดือนที่แล้ว ที่รู้ว่าเชื้อเดลต้าปรากฏตัวในกรุงเทพฯ วันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อจะไม่ทะลุไปถึง 20,000 คนต่อวัน คนตายเกือบ 200 คนต่อวัน
.
และวันนี้ยาฟาวิพิราเวียร์ในคลังองค์การเภสัชกรรมคงไม่หมด รอพรุ่งนี้ (5 สิงหาคม) ยาถึงจะเข้ามาอีก 4 ล้านเม็ด แต่ละโรงพยาบาลขณะนี้ หวงแหนยาไว้สำหรับผู้ป่วยสีเหลืองเข้มถึงแดง
.
นโยบายผู้ป่วยสีเขียวที่รักษาและกักกันตัวเองที่บ้าน (home isolation) จึงได้แต่รอคอยเมื่อไหร่จะได้รับยา
.
โทษใครดีในเมืองทิพย์แห่งนี้?
.
(1) โทษกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ไม่ยอมรับรอง Antigen Test Kit ให้เร็วกว่านี้ ให้แพทย์ระดับชุมชนสามารถแบ่งเบาห้องตรวจปฏิบัติการ ปล่อยให้การคอนเฟิร์มผู้ป่วยติดเชื้อนาน 2-3 วันกว่าจะแจ้งผล กว่าจะแยกผู้ป่วย ออกจากผู้เสี่ยงสูงเชื้อก็ลามวงกว้าง เพราะคนยังไม่หยุดเคลื่อนที่
.
ให้ตายเหอะ องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรอง ATK ที่มีประสิทธิภาพไม่ต่างจากการตรวจ RT-CORให้ 3 บริษัท จากเกาหลี แอบบอท และโรซซ์แล้ว ระบบราชการอันล้าหลังเหมือนหอยทาก ทั้งกรมวิทย์ฯ และการขึ้นทะเบียนของอย.ไม่ขยับเลย (2)
.
(3) ไหนจะสภานักเทคนิดการแพทย์กว่าจะยอมรับว่ารับมือไม่ไหว วัน ๆ เอามือโผล่จากรถพระราชทานตรวจ 5 วันตรวจได้ 1,200 คน x จำนวนรถกันเอง หรือ x หน่วยตรวจเอา ขณะที่ทีมแพทย์ชนบทและเครือข่ายตั้งเป้าวันหนึ่ง 24 จุด x 1,000 เคส พบอัตราการติดเชื้อมากถึง 36%
.
หมอบอกว่า ให้นึกภาพคน 6 คนเดินมาด้วยกันมีระเบิด 1 คน
.
ความหายนะที่ (4) ของเมืองทิพย์แห่งนี้ คือการออกระเบียบและกฎหมาย โดยกรมการแพทย์ว่าใครติดเชื้อต้องเข้าสถานพยาบาลสถานอย่างเดียว มิฉะนั้น จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 กว่าจะถอนหมุดถอนตะปูออกจากหุ่นปลุกเสกคาถาได้ คนไข้ล้นเตียง เบ่งเตียงยังงัยก็รักษาไม่ทัน เพราะบุคลากรมีจำกัด
.
วันที่ 17 กรกฎาคมเป็นวันแรกที่ผู้ติดเชื้อแตะหลักหมื่น และวันที่ 4 สิงหาคมขึ้นเป็น 20,000 กว่าคนวันแรก
.
(5) เมืองทิพย์ที่ให้น้ำหนักกับ “การแพทย์” (การรักษา) มากกว่า “การสาธารณสุข” (การป้องกัน) และประเทศไทยก็ติดหล่มความสำเร็จของตัวเอง คือ กรุงเทพฯ เนี่ย CCRT เขาจะแต่งตัวสวย ๆ เดินฉีดวัคซีนตามชุมนุมเป็นหลัก แต่การตรวจเชื้อเชิงรุกน้อย เพราะไม่เชี่ยวชาญเรื่องการตรวจ
.
มันเป็นวิธีคิดของผู้บริหารประเทศ ผู้บริหาร ศบค. และผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ต้องการเอาวัคซีนมาปิดจ็อบสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ แต่อาวุธที่คุณมีและการจัดการมันห่วยงัย ยุทธวิธีนี้ถึงไม่ได้ผล
.
(6) จะกล่าวเรื่องวัคซีนสั้น ๆ กรมควบคุมโรค มีหมอระบาดคนเก่ง คนดี คนมีความสามารถแค่เป็น “ข้าราชการ” ไม่กล้าคัดง้างกับฝ่ายการเมือง ฝ่ายนโยบายเขาบอกให้เอาหัวเดินทิ่มดิน ก็เดินแบบนั้นจริง ๆ
.
(7) หายนะจาก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2560 ทำให้หมอไม่กล้าซื้อกระสุนมายิงในสงคราม จะสั่งยา สั่งวัคซีนมาสำรองคงคลังจำนวนมาก ถ้าใช้หมดก็ดี แต่ถ้าเหลือใช้คนที่ลงนามสั่งซื้อต้องรับผิดชอบ ส่วนในระดับพื้นที่จะสั่งยาฟาวิพิราเวียให้ผู้ป่วยสักคนต้องกรอกเอกสารจนเจ้าหน้าที่ท้อใจ
.
คือ โควิด -19 ระบาดมาปีครึ่ง ระบบราชการแม่งเป็นฆาตกร ศบค.ผู้ไม่เคยเห็นหน้างานใด ๆ ได้แต่มาทำพิธีเปิดโน่นนี่ มึงคิดไม่ได้หรอกว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร แถมยังนั่งกำกับโครงสร้างที่อ่อนแอและล้าหลังไว้อีก
.
ทั้งที่ งานลงชุมชนในพื้นที่พิเศษแบบนี้ต้องใช้หมอเสนารักษ์ของทหาร นี่ก็กลัวจนขี้ขึ้นสมอง
.
มีแต่เรื่องหายนะรออยู่ในอนาคต
.
วันนี้มานั่งอยู่ที่ที่จุดตรวจ ณ วัดชัยฉิมพลี ดูโรงพยาบาลนาทวี จ.สงขลา ทำงานร่วมกับสำนักอนามัย และศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง เจ้าหน้ากทม. เปลี่ยนเวรกัน 2 รอบแล้ว และพอ 15.30 น. พวกเธอก็ถอดชุด PPE กลับบ้านกันสวย ๆ เลิกงานตรงเวลาเป๊ะ ส่วนทีมจากสงขลากับอาสาสมัครยังไม่มีเวลาพักกินข้าวเลย
17.00 น.แล้ว ค่อยๆ เครียล์คนและเก็บของ