พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
10h ·
[ งบกลางคืออะไร? ทำไมไม่ควรเทงบที่ตัดได้ไปลงงบกลาง ]
.
งบกลางคืองบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยแยกต่างหากจากงบประมาณปกติ ซึ่งจำแนกรายกรม ปี 2565 ตั้งไว้ 571,047 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 11 รายการ (ถ้าอยากรู้ ดูเพิ่มในส่วนท้าย)
.
แต่รายการฮอตฮิตที่มีปัญหาเรื่อง “ความไม่โปร่งใส” มากที่สุด ก็คือรายการที่ 11
“เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น”
.
ซึ่งเปรียบเสมือน “เช็กเปล่า” ให้นายกฯ ใช้ เพราะนายกรัฐมนตรี มีสิทธิ์ขอให้ ครม. เซ็นไปใช้ได้ครอบจักรวาล ไม่ว่าจะนำไปแจกลงพื้นที่ของ ส.ส. คนใดหรือใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ โดยไม่ต้องมีตัวชี้วัดหรือแผนการใช้เงินที่ชัดเจน
.
ส่วนมากก็มีความซ้ำซ้อนกับงบประมาณปกติของกรมต่าง ๆ ในทางปฏิบัติ จึงเป็นเหมือนเงินที่เพิ่มขึ้นมาให้พื้นที่หรือโครงการต่าง ๆ ซึ่งอาจไม่ได้จำเป็นจริง ๆ
.
และที่สำคัญ “ตรวจสอบยากมาก”
เพราะมักไม่เปิดเผย หรือเปิดเผยไม่หมด หรือเปิดเผยเมื่อล่วงเลยเวลาที่คนอยากรู้ไปนานมาก
----------
[ งบกลางมีได้ แต่ไม่ควรมาก! ]
.
ในการพิจารณางบ 65 พรรคก้าวไกล พยายาม “รีดไขมัน” ให้ได้มากที่สุด ในฐานะ “เสียงข้างน้อย” การตัดโครงการหรือปรับลดงบประมาณทำได้ยากยิ่ง และต้องมีเหตุผลเพียงพอที่เสียงส่วนใหญ่ยอมให้ปรับลดในคณะอนุกรรมาธิการ ต้องแบกความไม่พอใจจากข้าราชการเพราะไม่มีกรมใดอยากได้งบน้อย แล้วยังต้องผ่านอีกชั้นในกรรมาธิการใหญ่ซึ่งรัฐบาลก็กุมเสียงข้างมาก
.
กว่าจะตัดงบแต่ละบาทนั้นแสนยาก การที่ กมธ. งบประมาณเสียงส่วนมาก เทงบประมาณทั้งหมด 16,362 ล้านบาท เข้ากระเป๋า พล.อ.ประยุทธ์ ในงบกลางนั้น จึงเหมือนกับ “ไถนามาให้ประยุทธ์กิน” กล่าวคือ กว่าจะตัดได้ ต้อง (ไถนา) เหนื่อยยากและแบกความเกลียดชังจากข้าราชการ
.
แต่พอตัดได้แล้ว กมธ. เสียงข้างมากกลับนำไปให้ประยุทธ์จัดสรรไปลงพื้นที่หรือทำโครงการตามใจประยุทธ์หรือคนขอโดยแทบไม่มีการตรวจสอบ ส.ส. คนไหนอยากได้ก็ไปไหว้ขอเอาจากนายกฯ กลายเป็นบุญคุณกันอีก!
----------
ในทางเทคนิค รัฐบาลอ้างว่าเป็น
“ค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”
ซึ่งฟังเผิน ๆ อาจดูดี แต่เอาเข้าจริงมันไม่ใช่!
.
เงินไม่ใช่ปัญหาเพราะ รัฐบาลเพิ่งออก พรก. เงินกู้สองฉบับยอดรวม 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่าเงินก้อนนี้มาก
เราจึงเห็นว่า “เงินไม่ใช่ปัญหาแต่รัฐบาลไม่มีปัญญาในการแก้ปัญหาโควิด"
.
ที่น่าห่วงคือ ในทางปฏิบัติ งบที่ตัดได้ 16,000 ล้านบาทก้อนนี้ จะกลายเป็น “งบ ส.ส. แบบกลายพันธุ์” โดยนายกฯ อาจใช้ 16,000 ล้านบาทสำหรับการแก้ปัญหาโควิดจริง แต่เก็บโควต้า 16,000 ล้านบาทจาก “เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 89,000 ล้านบาท” เอาไปจัดสรรทางการเมือง ซึ่งใครอยากได้ก็ไปไหว้นายกฯ ให้แบ่งมาลงพื้นที่ ง่ายต่อการแบ่ง ง่ายต่อการเก็บหัวคิว ไม่มีใบเสร็จให้ตรวจสอบหลักในการจัดสรร #มือใครยาวสาวได้สาวเอา
.
ส่วนข้อกังวลที่ว่า หากแปรงบไปให้หน่วยงานจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 144 นั้น อาจเป็นการกลัวเกินกว่าเหตุ เพราะงบประมาณทุกปี ตั้งแต่ 61-64 (หลัง รธน. ฉบับบังคับใช้) ก็มีการแปรงบไปให้หน่วยงานต่าง ๆ จะให้ไปไล่เบี้ยเอาผิดกมธ. งบ และ ผอ.สำนักงบฯ ตั้งแต่สมัยนั้น เอาไหม?
.
แน่นอนว่าการแปรญัตติคืนงบประมาณให้หน่วยงานอื่น จะมีการไปหาผลประโยชน์กันหรือไม่ (ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ก็คงต้องตามไปตรวจสอบกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ ตรวจสอบง่ายกว่างบกลางแน่นอน เพราะงบประมาณที่จัดสรรให้หน่วยงานต่างๆ นั้น สภาสามารถเรียกเอกสารขอหลักฐานได้ แต่สำหรับงบกลาง จะมีการเอาไปใช้กันอย่างไรขึ้นอยู่กับคนคนเดียว!!!
------------
[ เพิ่มเติม ]
.
งบกลาง 11 รายการ ในร่าง พ.ร.บ. งบ 65 (เดิม)
1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 800 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 5,000 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300 ล้านบาท
4. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 74,000 ล้านบาท
5. เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 500 ล้านบาท
6. เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 4,360 ล้านบาท
7. เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 310,600 ล้านบาท
8. เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ 11,547 ล้านบาท
9. เงินสมทบของลูกจ้างประจำ 570 ล้านบาท
10. เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ 72,370 ล้านบาท
11. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 89,000 ล้านบาท
.
#ก้าวไกล #งบประมาณปี65 #งบประมาณ #งบกลาง