วันศุกร์, สิงหาคม 20, 2564

20 ปีหลังจากการทำลาย บามียัน พระพุทธรูปโบราณ โดยกลุ่มตาลีบัน พระพุทธรูปโบราณที่ “ลี้ภัยสงคราม” สู่พิพิธภัณฑ์กรุงคาบูล อนาคตจะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่ เมื่อกลุ่มตาลีบันเข้ายึดอัฟกานิสถานได้แล่ว ?


ภาพถ่ายพระพุทธรูปที่สำนักงานคณะผู้แทนด้านโบราณคดีแห่งฝรั่งเศส (DAFA) ประจำกรุงคาบูลเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2017 (AFP PHOTO / Wakil KOHSAR)

17 สิงหาคม พ.ศ.2564
ศิลปวัฒรธรรม

รายงานของเอเอฟพี (เมื่อ 17 มีนาคม 2017) อัฟกานิสถานเตรียมจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ และยังสามารถมองเห็นสีสันได้อย่างชัดเจน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในกรุงคาบูล หลังถูกนำออกมาจากพื้นที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และผ่านการบูรณะเรียบร้อยแล้ว

พระพุทธรูปองค์นี้ถูกฝังอยู่ใต้ชั้นดินตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 3-5 ทั้งนี้จากข้อมูลของนักโบราณคดี ก่อนถูกค้นพบเมื่อปี 2012 ในเขต Mes Aynak ของจังหวัด Logar ห่างจากกรุงคาบูลไปทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มตาลีบัน กองกำลังติดอาวุธหัวรุนแรงที่เคยทำลายพระพุทธรูปยืนแห่งบามิยันมาก่อน

การค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นได้หลังกลุ่มทุนจีนเข้าไปลงทุนทำเหมืองทองแดงขนาดใหญ่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้พบกับกลุ่มวิหารโบราณบนพื้นที่กว้างขวางกว่า 4 ตารางกิโลเมตร

“รูปปั้นนี้อยู่ในสภาพที่เกือบสมบูรณ์ตอนที่ถูกค้นพบ โดยยังมีหัว (พระเศียร) อยู่ครบซึ่งถือว่าพบได้ยากมาก” เอร์มาโร คาร์โบนารา (Ermano Carbonara) ช่างบูรณะวัตถุโบราณชาวอิตาเลียนกล่าว

“มันถูกตั้งอยู่ตรงกลางซุ้มซึ่งประดับประดาด้วยภาพเขียนดอกไม้ต่างๆ ณ พื้นที่ศูนย์กลางขนาดใหญ่ (ที่เคยใช้) สำหรับสการสวดภาวนา” ช่างอิตาเลียนกล่าว ก่อนเสริมว่า “การย้ายออกมาจุดเดิมเป็นสิ่งที่ดีกว่า เพื่อการอนุรักษ์” เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้ทำจากดินเหนียว ความชื้นจากฝนอาจทำให้เกิดความเสียหายได้

คาร์โบนารายังชื่นชมว่ารายละเอียดของพระพักตร์ พระเกศาที่ม้วนเป็นพระเมาลี พระปรางค์สีชมพู และดวงพระเนตรสีน้ำเงิน ถือเป็นงานที่แสดงถึงเทคนิคอันลึกล้ำของช่างฝีมือในยุคโบราณของถิ่นกำเนิดพระพุทธรูปแห่งนี้

และด้วยเหตุที่พระพุทธรูปโบราณโดยเฉพาะส่วนพระเศียรเป็นวัตถุโบราณที่เป็นที่ต้องการสูงในตลาดมืด พระพุทธรูปจำนวนมากในอัฟกานิสถานจึงอยู่ในสภาพไร้พระเศียร การทิ้งพระพุทธรูปโบราณในสภาพสมบูรณ์เช่นนี้ไว้ในพื้นที่สาธารณะซึ่งเข้าถึงได้ง่ายจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก

เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ.2560


National Geographic Thailand
August 17 at 2:00 AM ·

20 ปีหลังจากการทำลาย บามียัน พระพุทธรูปโบราณ โดยกลุ่มตาลีบัน สิ่งที่เหลืออยู่คือโพรงบนผนังอันว่างเปล่าและความทรงจำ
.
บามียันเป็นพระพุทธหินคู่ที่เริ่มสร้างขึ้นในศตววรษที่ 6 องค์หนึ่งมีความสูง 38 เมตร ส่วนอีกองค์หนึ่งมีความสูง 55 เมตร ตั้งตระหง่านท่ามกลางทิวทัศน์หุบเขา แม้จะผ่านทั้งยุคสมัย การถูกละเลย และช่วงสงคราม บามียันก็ยังคงดำรงอยู่อย่างโดดเด่นในพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นจุดพักอันคึกคักในเส้นทางสายไหมและศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา
.
พื้นที่มรดกโลกของยูเนสโกแห่งนี้ได้ดึงดูดทั้งนักท่องเที่ยวและนักโบราณคดีจนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่ประเทศนี้อยู่ภาวะที่สั่นคลอนเกินกว่าจะรักษาพระพุทธรูปเหล่านี้ไว้
.
ถ้ำบามียันที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลกของยูเนสโก และภาพวาดสีน้ำมันที่วาดขึ้นในศตวรรษที่ 7 ซึ่งตกแต่งเพดานก็เป็นหนึ่งในภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
.
หลังกองกำลังตาลีบันได้ยึดครองกรุงคาบูลและก่อตั้งจักรวรรดิอิสลามและอัฟกานิสถานในปี 1996 ในตอนแรก พวกเขาแสดงความเคารพพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงนี้ แต่หลังจากมีผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งยิงพระพุทธรูป ก็ได้มีการออกคำสั่งเพื่อปกป้องมรดกโลกแห่งอัฟกานิสถานแห่งนี้ ทว่าในภายหลัง หลังจากที่พวกเขารู้สึกแค้นเคืองที่ไม่ได้การยอมรับในระดับนานาชาติและการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา ผู้นำตาลีบันก็เปลี่ยนใจ
.
ในเดือนมีนาคม 2001 กองกำลังตาลีบันวางระเบิดที่ฐานของพระพุทธรูปทำให้กลายเป็นเพียงซากปรักหักพัง พระพุทธรูปที่มีอายุมากกว่า 1,500 ปี นั้นพังถล่มลงมาในเวลาเพียง 2-3 อาทิตย์ และ 20 ปีให้หลัง Maitre เชื่อว่าภาพถ่ายของเขาบันทึกในช่วงเวลาสุดท้ายที่พระพุทธรูปยังคงตั้งตระหง่าน
.
“มันเป็นหายนะเลยล่ะครับ” Pascal Maitre ช่างภาพผู้ถ่ายภาพชุดนี้ กล่าวและเสริมว่า “มันเป็นมรดกโลกของยูเนสโกแห่งแรกที่ถูกทำลาย สิ่งที่สะเทือนใจผู้คนมากที่สุดคือการที่สถานที่หลายแห่งถูกทำลายเนื่องจากการปล้นสะดม และกับพระพุทธรูปนี้ ไม่มีใครปล้น แค่ถูกทำลาย จากจุดนี้ เหตุการณ์นี้ทำให้โลกเข้าใจถึงบางสิ่งที่เปลี่ยนไป นั่นคือไม่มีการเคารพพื้นที่มรดกโลกอีกต่อไป”
.
เรื่อง NINA STROCHLIC / ภาพถ่าย PASCAL MAITRE
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://ngthai.com/cultures/34468/revisitedbamiyan/