Jittra Cotchadet
17h ·
พอรู้ข่าวว่าวันนี้ อ. วรเจตน์ ศาลยกฟ้อง คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ก็เป็นไปตามคาดหมายของตัวเอง!! เพราะของจิตราก็ยกฟ้อง!
จิตรากับอาจารย์เราโดนคดีแบบเดียวกัน “ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.” มีเพียงข้อเท็จจริงบางอย่างที่แตกต่างกัน และเราเป็นไม่กี่คนที่เลือกสู้คดี
ยังเคยคุยกับทนายว่า เราวางแผนสู้แบบให้คดีช้ากว่าคดีอาจารย์ เพราะอยากเห็นคดีอาจารย์พิพากษาก่อน
สุดท้ายด้วยสถานการณ์ต่างๆ ทำให้จิตราเดินเกมส์เร็ว ให้จบเรา แต่ขนาดเอาแบบเร็ว ตัดบางอย่างได้ตัด คดีจิตราใช้เวลา 3 ปี
นี่ถ้าใช้แผนเดิมที่คุยกับทนาย หลังอาจารย์วรเจตย์ พยานปากเอกฝ่ายทหารอาจจะตายไปแน่ๆ
และจิตราก็คงค้างอยู่ในประเทศเผด็จการ!!
รอดูหลังจากนี้ ว่าทางอาจารย์จะดำเนินยังงัยต่อ ถ้าจะฟ้องเอาค่าเสียหายขอเป็นโจทย์ร่วมด้วยนะคะ
iLaw
15h ·
+ศาลแขวงดุสิตยกฟ้องคดี "วรเจตน์" ไม่รายงานตัวต่อคสช. ชี้คำสั่งคสช.เรียกรายงานตัวขัดรัฐธรรมนูญ+
.
.
8 มิถุนายน 2564 ศาลแขวงดุสิตนัดฟังคำพิพากษาคดีของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคดีไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งคสช. ที่ 5/2557 และ 57/2557 ที่ออกโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 และ 9 มิถุนายน 2564 ตามลำดับอันเป็นความผิดตามประกาศคสช.ที่ 29 / 2557 และ 41/2557 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษที่ประกาศใช้บังคับตามหลังคำสั่งเรียกรายงานตัว มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
โดยในตอนที่คสช.มีคำสั่งเรียกรายงานตัวนั้น วรเจตน์อยู่ต่างประเทศจึงยังไม่ได้เข้ารายงานตัวต่อคสช. ต่อมาวันที่ 16 มิถุนายน 2564 วรเจตน์เข้ารายงานตัวกับคสช. โดยมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ไว้ก่อนแล้ว หลังรายงานตัวพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลทหารกรุงเทพขอฝากขังในชั้นสอบสวน ท้ายสุดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว คดีนี้ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในศาลทหารกรุงเทพเป็นเวลาเกือบหกปีและคดีถูกโอนกลับสู่ศาลยุติธรรมเมื่อปี 2562
.
บรรยากาศการฟังคำพิพากษาวันนี้ เวลา 09.09 น. วรเจตน์และทนายความเดินทางมาถึงหน้าตัวอาคารศาลแขวงดุสิต ทางเจ้าหน้าที่ศาลแขวงดุสิตแจ้งว่าศาลแขวงดุสิตไม่อนุญาตให้คนที่ไม่ใช่คู่ความในคดีเข้าบริเวณตัวอาคารศาล เนื่องจากเป็นมาตรการป้องกันโควิด-19 ของทางศาล ทำให้ผู้สังเกตการณ์คดีไม่สามารถติดตามไปยังห้องพิจารณาคดีได้
.
.
+++ศาลยกฟ้องอ้างตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โทษของการไม่มารายงานตัวขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 29+++
.
วรเจตน์อธิบายกระบวนการของศาลและคำพิพากษาว่า ศาลได้เริ่มอ่านคำฟ้องของอัยการที่ได้ฟ้องว่า เขาได้ฝ่าฝืนประกาศของ คสช. สองฉบับ [ประกาศคสช.ที่ 29 และ 41/2557] จากการไม่เข้ารายงานตัวกับ คสช. และในคดีนี้ได้มีกระบวนการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ประกาศ คสช. สองฉบับที่จะใช้ในการลงโทษขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ และศาลแขวงดุสิตได้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 30/2563 ไว้ว่า ประกาศของ คสช. ทั้งสองฉบับนั้นขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญในส่วนของโทษทางอาญาของประกาศทั้งสองฉบับ เนื่องจากขัดกับหลักความได้สัดส่วน ไม่พอสมควรแก่เหตุ และไม่มีการระบุเหตุของการไม่มารายงานตัวเอาไว้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29
.
ประกาศหนึ่งในสองฉบับนั้นยังได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ เรื่องการออกบทกำหนดโทษฐานไม่มารายงานตัวย้อนหลัง เนื่องจากมีการออกคำสั่งเรียกรายงานตัวในช่วงเช้า แล้วค่อยออกประกาศกำหนดโทษในภายหลังของวันเดียวกัน ซึ่งถือว่าตัวประกาศทั้งสองฉบับจึงไม่มีผลให้บังคับใช้ได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กรรวมถึงศาลแขวงดุสิตในคดีนี้ด้วย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนี้ จึงไม่ต้องพิจารณาในข้อเท็จจริงในคดีต่อไป ศาลพิพากษาให้จำเลยไม่มีความผิด ให้ยกฟ้องคดี
.
เขากล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นทางกฎหมายในคดีนี้ว่า เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กรของรัฐหมายความว่า ประกาศของ คสช. ที่ให้คนมารายงานตัวสองฉบับนี้เป็นอันใช้ไม่ได้ คนที่ฝ่าฝืนไม่ไปตามประกาศสองฉบับนี้ก็ไม่มีความผิด เพราะคดีของเขาศาลก็บอกว่า ไม่มีความผิด คงจะเป็นบรรทัดฐานให้คนอื่นๆที่ถูกดำเนินคดีไม่มีความผิดด้วย ซึ่งยังมีคดีความที่คงค้างอยู่ที่แจ้งความดำเนินคดีไว้ อย่างที่ทราบมาก็มีคดีที่ค้างในชั้นอัยการอยู่คดีหนึ่งที่กำลังจะพิจารณาว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ ก็คงจะได้รับอานิสงค์ของคำพิพากษาศาลแขวงดุสิตในวันนี้ไปด้วย
.
และคิดว่าคำพิพากษาของศาลแขวงดุสิตในวันนี้คงจะยุติลงเพียงเท่านี้ ไม่น่าจะมีการอุทธรณ์ เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยในทางข้อกฎหมายตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีจะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงในทางข้อเท็จจริงอีกแล้ว และคดีคงจะถึงที่สุดแล้ว
.
+++คดีวรเจตน์คือหนึ่งในตัวอย่างของกระบวนการยุติธรรมที่เสริมอำนาจ-สนองคณะรัฐประหาร+++
.
วรเจตน์กล่าวถึงคำพิพากษาในวันนี้ ทำนองว่า ที่ผ่านมาเขาสู้คดีนี้มาหกปีเดินทางไปศาลทั้งศาลทหารและศาลพลเรือนเกือบ 20 ครั้ง สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมาเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมในการเสริมอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นเครื่องมือที่เสริมและรองรับอำนาจที่ได้มาตั้งแต่ปี 2557 คำพิพากษาในวันนี้ถือได้ว่า เสมอตัวเท่านั้น ยังไม่เป็นชัยชนะ โดยยังมีอีกหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร แม้ว่า คสช.จะสิ้นอำนาจไปแล้วแต่คดีความและผลกระทบยังคงดำเนินต่อจนถึงวันนี้
.
“ที่ผ่านมาเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมในการเสริมอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นเครื่องมือที่เสริมและรองรับอำนาจที่ได้มาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งไม่ใช่ผมคนเดียวที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าว แต่ยังมีอีกหลายคนได้รับผลกระทบไม่ใช่เฉพาะจากการออกคำสั่งหรือประกาศ คสช. อย่างเช่นคดีของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่ถูกไล่ออกจากธรรมศาสตร์ คดียังคงค้างอยู่ในชั้นศาลปกครองสูงสุด หาพูดในแง่นี้ว่าการพิพากษาคดีในวันนี้ผมชนะอะไรไหม ผมเห็นว่าเราไม่ชนะอะไรเลย สำหรับผมถือว่าเสมอตัว แต่ความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในคดีอื่นเดือดร้อนกว่าผมยังมีอีกมากมาย...”
.
“....ที่สำคัญคือแสดงให้เห็นว่าตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมามีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือไปตอบสนองอำนาจการรัฐประหาร ทั้งที่การรัฐประหารมันยุติจบสิ้นไปแล้ว ได้ปกครองแล้ว มีการเลือกตั้งแล้ว แต่ยังปล่อยให้คดีพวกนี้ดำเนินต่อไป และการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการปล่อยให้อำนาจรัฐประหารเข้าสู่ระบบกฎหมายมากที่สุดอีกด้วย”
///////////////////////////////////////////////////////////////
ข้อมูลเพิ่มเติม
๐ ประกาศคสชที่ 29/2557 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/089/7.PDF
๐ ประกาศคสชที่ 41/2557 : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/092/7.PDF
๐ ข้อมูลคดี : https://freedom.ilaw.or.th/case/618
๐ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ : https://www.constitutionalcourt.or.th/.../article...
๐ คดีการเมืองยุค คสช. กำลังทยอยเดินทางจาก "ศาลทหาร" กลับสู่ "ศาลปกติ" : https://freedom.ilaw.or.th/blog/Mcourttransfer
.
.
Chana La