อ่านเขาเล่าใหม่
15h ·
เพื่อความ “ศิวิไลซ์”
___
(1)
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับกรณี ปฏิรูปประเทศ สมัย ร.5 โดยเฉพาะเรื่อง “การเลิกไพร่ทาส” ฟังแล้วก็สนุกดี สร้างเซลล์สมองในหัวได้เยอะเลยทีเดียว
“ฉายซ้ำ” อีกรอบ หากใครยังไม่ได้ฟังการบรรยายของ อ.ธงชัย วินิจจะกูล
อ.ธงชัย ชวนตั้งคำถามว่า การปฏิรูปประเทศ สมัย ร.5 นั้น เพื่อไม่ให้ถูกชาติตะวันตกคุกคาม ยึดเป็นอาณานิคม จนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ จริงเหรอ?
หรือมีเหตุผลอื่น ที่เรียกว่า “เพื่อการเมืองภายใน”
เพราะเมื่อไล่เรืยงการปฏิรูปด้านต่างๆ เหตุผลของการปฏิรูปนั้น ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเรื่อง “รักษาเอกราช” ตรงไหน
อย่าง “การเลิกไพร่ทาส”
มีงานศึกษาไว้ว่า ชาวจีนจำนวนมาก อพยพเข้ามาสยามตั้งแต่ปลายอยุธยาแล้ว และมากขึ้นเมื่อต้นรัตนโกสินทร์
แรงงานรับจ้าง “คนจีน” นี้ต้นทุนถูกกว่าการเกณฑ์ไพร่
หมายความว่า แทนที่หลวงจะเกณฑ์ไพร่ไปทำงานอย่างเคยทำมา ก็เลิกเกณฑ์แล้วให้ไพร่ทำกินในที่ดินของตน จากนั้นนำเงินมาจ่ายภาษีกับหลวงแทน เงินที่ได้มานั้นหลวงก็เอาไปจ้าง “คนจีน” ที่ต้องการงานทำ
ต้นทุนถูกว่าการเกณฑ์ไพร่ และได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย
ขณะที่ทาส เหตุหนึ่งที่เลิกก็เพราะอาจกลายเป็นฐานซ่องสุมกำลังของเจ้านาย และอีกเหตุหนึ่ง สำหรับเจ้าทาสบางคนถ้าจัดการไม่ได้ ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
พูดอย่างง่ายก็ได้ว่า “คนจีนอพยพ” ทำให้เกิดการ “เลิกไพร่ทาส”
อย่างนี้ ก็ไม่น่าจะใช่ พระราชกรณียจ ร.5 ตามที่งานเขียนประวัติศาสตร์กระแสหลักเชิดชู
(2)
กรณีอย่างการจับตัว “ซาไก” หรือที่เรียกกันว่า “เงาะป่า” มาไว้ในวัง “เพื่อศึกษา” ไม่น่าจะเกิดขึ้นหากมีความคิดเรื่อง “เลิกไพร่ทาส”
ใช่ กำลังพูดถึง “คนัง” ที่ทราบกันดีว่าเป็น “คนป่า” กำพร้าพ่อแม่ ที่ ร.5 รับมาดูแล
แต่ที่ไม่ค่อยรู้คือ “คนัง” ถูกจับตัวมา ในช่วงครั้งหนึ่งที่ ร.5 เดินทางไปภาคใต้ และอยากเห็น “เงาะป่า” และนำมาชุบเลี้ยงไว้
ข้าราชการท้องถิ่นสนองพระราชประสงค์ แต่พวกเขาก็เมตตาพอที่จะไม่เอาตัวเด็กที่พ่อแม่ยังอยู่ ?
หวยออกที่ “คนัง”
ซึ่งถูกล่อหลอกมาขังไว้ก่อน และสุดท้าย ร.5 เป็นคนปล่อยตัวและมอบเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ ให้ “คนป่า” ใส่
กลายเป็น “เงาะป่า” มหาดเล็ผู้ที่ต่อมาประวัติศาสตร์กระแสหลักก็ยังยกย่องว่า เป็นผู้มีบุญวาสนา เป็นผู้มีความสามารถด้านการละคร, เป็นผู้ที่ไม่ลืมพื้นเพดั้งเดิม
และอีก บลา บลา บลา แล้วแต่อยากจะจินตนาการเชื่อมโยงให้เป็น
(3)
ย้อนกลับไป ข้อเสนอเรื่อง การปฏิรูป “เพื่อผลประโยชน์การเมืองภายใน” มีอยู่ 3 ข้อ
1.การปฏิรูประบบราชการ และการพัฒนาวัตถุต่างๆ ให้ทันสมัย
2.การปฏิรูปการปกครองหัวเมือง
3.การปฏิรูปเพื่อความศิวิไลซ์
ใน 2 ประการแรกนั้น คือ “กระบวนการ” สร้าง “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์”
ส่วนประการที่ 3 ก็ได้มาเข้าใจแจ่มชัดเมื่อเห็นรูปนี้ คือ ร.5 กำลังถ่ายรูปเงาะป่า
“การปฏิรูปเพื่อความศิวิไลซ์” นี้อันหมายถึง เจ้ากรุงเทพที่ต้องเทียมเท่ากับเจ้าอาณานิคมตะวันตก โดยเหนือกว่าเจ้าประเทศราช และราษฎรตนเอง
งานศึกษา “เงาะป่า ซาไง”
หรือแม้แต่ งานอย่าง “เงาะป่า” พระราชนิพนธ์ปี 2449 นี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความ “ศิวิไลซ์”
อันหมายถึงว่าเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงใหม่
ซึ่งกรณีนี้ก็คือ ศาสตร์อย่าง “ชาติพันธุ์วิทยา”
“ศิวิไลซ์” แบบเป็น “ชาติ” ที่ทัดเทียมกับตะวันตก และเหนือกว่าเจ้าประเทศราช และราษฎร
ครับ “ชาติ” ในความหมายนี้คือเฉพาะเจ้ากรุงเทพ
Yuttakan Krisanamontri
หลักความเป็นจริงปฎิรูปแค่รักษาอำนาจตัวเองแถมไปยึดล้านนามาอีก