วันพฤหัสบดี, เมษายน 15, 2564

ดูความต่างในการลำดับความสำคัญของการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณของระบบราชการไทย ระหว่างฟ้ากับดิน !!



Saiseema Phutikarn
April 10 at 5:59 AM ·

<ฟ้ากับดิน? การจัดสรรทรัพยากรตามลำดับความสำคัญของระบบราชการไทย>
มันจะเป็นไปได้ยังไงในช่วงที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโรคระบาดแต่โรงพยาบาลสนามที่ตั้งขึ้นเพื่อการนี้กลับขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มจนใช้วิธีรับบริจาค? โดยบางสำนักข่าวแจ้งว่าไม่รับบริจาคเป็นเงินเพราะไปซื้อไม่ทัน หรือแม้แต่ FBเพจ คณะแพทย์ศาสตร์ มช (Official) ก็ยังประกาศรับบริจาคอาหารและน้ำดื่มให้กับทีมบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์โควิดด้วย!!! จริงๆแล้ว รพ.ธรรมศาสตร์ก็เคยประกาศขอรับบริจาคทำนองนี้ ตอนเปิด โรงพยาบาลสนามที่ธรรมศาสตร์รังสิตใหม่ๆ แต่นั่นมันตั้งแต่เดือน มีนาคม 2563 สมัยที่เริ่มระบาดใหม่ๆเข้าใจได้ว่ามันเป็นเหตุฉุกเฉินจริงๆ ไม่คิดเลยว่าเรื่องความเดือดร้อนของราษฎรสำหรับราชการไทยผ่านไปปีกว่าก็ยังตกอยู่ในความ"ฉุกเฉิน" ทำงานอย่างฉุกละหุก ติดขัดกับข้อระเบียบราชการ กฎหมายจัดซื้อจัดจ้างสารพัด
แต่มันน่าจะเป็นปัญหาเรื่องลำดับความสำคัญมากกว่าเรื่องความไร้ประสิทธิภาพ เพราะถ้าเป็นเรื่องที่ถูกจัดลำดับความสำคัญสูงแล้ว ราชการไทยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพฉับไวไร้ข้อจำกัดด้านกฎระเบียบราชการใดๆ
ยกตัวอย่างเมื่อเดือนก่อน อบจ.เชียงใหม่ จังหวัดเดียวกันนี่แหละใช้เวลาไม่กี่วันสามารถดำเนินการจัดจ้างเอกชนเพื่อเตรียมการรับเสด็จได้อย่างรวดเร็ว โดยจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อเตรียมการรับเสด็จในวันที่ 22 มีนา 64 ซึ่ง ร.10,ราชินี และ เจ้าคุณพระฯ มีกำหนการเสด็จเชียงใหม่เพื่อเปิดอนุสาวรีย์พระนเรศวร (ทั้งที่จริงๆก็สร้างเสร็จเปิดให้คนเข้าเยี่ยมชมหลายปีแล้ว) ซึ่งทางเพจ ข้ารักเจ้า เปิดเผยว่า อบจ.เชียงใหม่ใช้งบประมาณสำหรับการจัดจ้างเตรียมการรับเสด็จโดยวิธีเฉพาะเจาะจงครั้งนี้ไปทั้งสิ้น 3.4 ล้านบาท
โดยการรับเสด็จครั้งนั้น ถ้าไม่นับประเด็น"ดราม่า" #ทัศนัยปราบมาร ที่คณะวิจิตรศิลป์ มช. ก็ถือว่าเป็นไปได้อย่างเรียบร้อยสมพระเกียรติ สมกับงบประมาณ 3.4 ล้านเป็นอย่างยิ่ง เครื่องบินพระที่นั่งลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่เวลา 19:21น ก่อนจะบินกลับกรุงเทพในเวลา 21:23น รวมเวลาที่เครื่องจอดที่เชียงใหม่ทั้งสิ้นประมาณ 122 นาที
ระบบราชการไทยไม่ใช้จะไร้ประสิทธิภาพ เพียงแค่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณก็ทำตามลำดับความสำคัญ ฟ้าสูง ดินต่ำ ฟ้ากับดินจะให้สำคัญเท่ากันได้อย่างไร? #เลิก112เพื่อปากท้อง







.....


ประชาไท Prachatai.com
April 12 at 6:41 AM ·

พบใช้งบฯ กว่า 2.8 ล้าน เพื่อเตรียมการและปรับปรุงอาคารที่ทำการศาลจังหวัดสุโขทัยเพื่อพิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่เสร็จนานแล้ว
วันที่ 12 เม.ย.2564 หลังจากเมื่อวันที่ 8 เม.ย.ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยเจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดสุโขทัย ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบงบประมาณเกี่ยวกับพิธีวางศิลาฤกษ์ และทรงเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดสุโขทัย นอกจากงบจ้างก่อสร้างปรับปรุงอาคารศาลเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับพิธีฯ โดยวิธีคัดเลือกมูลค่า 1,160,000 บาท แล้ว ในกรมบัญชีกลางยังพบงบฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมดังกล่าวผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กว่า 1,707,475 บาท ไม่ว่าจะเป็น ก่อสร้างมณฑลพิธี เช่าเต็นท์ผ้าใบโครงสร้างเหล็กทรงโค้ง (แบบโดม) พร้อมติดตั้งและรื้อถอน จ้างปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต บริเวณทางเข้าศาล จ้างปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต บริเวณทางเข้าศาล ซื้อวัสดุสำนักงานตามโครงการเตรียมการรับเสด็จฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบกิจกรรมเกี่ยวกับการวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารของศาล ซึ่งหลายที่เป็นอาคารที่สร้าเสร็จนานแล้ว ทำให้ในจำนวนนั้นต้องมีงบประมาณในการปรับปรุงเพื่อวางศิลาฤกษ์และเปิดอีก โดยใช้งบไม่ต่อว่า 8.3 ล้าน
ซึ่งนอกจากศาลจังหวัดสุโขทัยแล้ว ตั้งแต่ ช่วงเดือน พ.ย. 63 - มี.ค.64 นั้นประกอบด้วย
10 พ.ย. 2563 เปิดอาคารศาลเยาวชนและครอบครัว จ.อุดรธานี
18 พ.ย. 2563 พิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 7 และอาคารที่ทำการศาลจังหวัดนครปฐม
21 พ.ย. 2563 พิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลแขวงพระนครศรีอยุธยา
7 ธ.ค. 2563 ทรงเปิดอาคารที่ทำการ ศาลฎีกา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
12 มี.ค. 2564 พิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลจังหวัดพิษณุโลก
16 มี.ค. 2564 พิธีวางศิลาฤกษ์ และเปิดอาคารที่ทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุพรรณบุรี
อ่านรายงานทั้งหมดที่ : ส่องตัวอย่างงบ 'ปรับปรุงอาคารศาลสําหรับพิธีวางศิลาฤกษ์-เปิดอาคาร' 8.3 ล้าน https://prachatai.com/journal/2021/03/92371