Pruay Saltihead
March 3 at 6:28 AM ·
เมืองไทยนี่โจทย์การออกไปต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยนี่ยากสัสๆ เงื่อนไขโคตรเยอะ ทั้งฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเดียวกันเอง เห็นแล้วเหนื่อยแทน มืดมน หันไปดูพม่า ตอนนี้ยังดูมีลุ้นกว่า
Pruay Saltihead
March 3 at 7:40 AM ·
จริงๆคิดมาสักพักใหญ่แล้ว พอดีวันนั้นได้ไปพูดใน CH ห้องออกแบบอะไรสักอย่าง เลยลองเอามาเกลาดู สมมุติตัวเองว่า ถ้าได้โจทย์จากลูกค้ามาว่า ให้สร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ อีเวนท์ หรืออะไรก็ได้ เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1. ไม่ดูสร้างความรุนแรง ตามจริตคนไทย (โคตรยาก ไม่รุนแรงแต่ต้องกดดันได้ด้วย)
2. เข้าร่วมได้ง่าย ประหยัด เสียค่าใช้จ่ายในการประท้วงไม่มาก เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
3. ลงมือทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความสามารถมาก ไม่ร้อน ไม่เหนื่อย ไม่ใช้เวลาทำนานจนเกินไป
4. ปราศจากการแทรกซึมของฝ่ายรัฐ
5. ปราศจากการเข้ามาปะปนของฝ่ายต้องการใช้ความรุนแรง
6. หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะรัฐเริ่มใช้ความรุนแรงในการปราบปราม
7. ไม่เปิดเผยตัวตน ทำให้ยากในการตรวจสอบจับกุม
8. ต้องให้สาธารณะชนเห็นว่ามีคนกำลังประท้วงรัฐอยู่ ทุกๆวัน ทำให้แมสเสจส่งถึงคนจำนวนมากทุกๆที่
9. ทำให้รัฐปกติ ดำเนินไปอย่างปกติไม่ได้ สร้างความเสียหายในระดับที่พอรับได้ จนรัฐต้องยอมเจรจา
10. สร้างความไม่สะดวก จนทำให้ผู้เพิกเฉยต่อความอยุติธรรมใช้ชีวิตปกติอย่างสบายใจไม่ได้
ลองเสนอมาตรการ ละเลงเมือง
ไม่ต้องปะทะหรือเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ยังส่งเสียงเรียกร้องประจานความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศได้ด้วย โดยใช้วิธีกองโจร พ่นสี ขีดเขียน ติดโปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ ระบายให้ทั่วเมือง และพื้นถนน แบบติดแน่นๆ (ลองดูว่าวิธีไหนทำได้เร็วที่สุดเพื่อที่จะแอบทำได้ง่ายและถูกที่สุด) ในทุกสถานที่ แบบเบิ้มๆ ไม่ยกเว้นสถานที่ใดๆไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน มีโอกาสลับตาคนเมื่อไหร่ ลงมือทำเมื่อนั้น เพื่อให้เสียงเรียกร้อง ปรากฎอยู่ทุกที่ในเมืองเป็นจำนวนมาก จากที่ต้องเผชิญหน้าแบบเปิดเผยกับเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐอาจจะต้องเสียเวลาและกระจายกำลังพลไปตรวจดูหรือ เฝ้าจุดต่างๆทั้งกรุงเทพฯ ถ้าจะพร้อมใจกันเลือกใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ก็จะสร้างการจดจำได้ดี
อ่านเหตุผลด้านล่างนี้
ตอนนี้มันน่าจะเลยจุด ที่จะออกมาชุมนุมเพื่อส่งเสียงเรียกร้องไปแล้ว จริงๆก็ไม่ค่อยเห็นด้วยที่คนบอกว่า ต้องหาแนวร่วมเพิ่มให้ได้ 70%-80% เพราะไปดูได้การเมืองสมัยใหม่ในประเทศต่างๆมีน้อยมากที่จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเสียงส่วนใหญ่ขนาดนั้น รัฐบาลส่วนมากเป็นรัฐบาลผสม หรือชนะกันไม่มาก เพราะโลกทุกวันนี้ทุกคนมีสื่อในมือ ไม่ได้มีสื่อใหญ่สื่อใดสื่อเดียวที่จะสามารถกำหนดทิศทางความเห็นในแต่ละสังคมไปในทิศทางเดียวได้ การเมืองในแต่ละประเทศจึงสะท้อนความเห็นที่หลากหลายของคนในสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์
ปัญหาในเมืองไทยเราไม่ใช่หาเสียงส่วนใหญ่เป็นฉันทามติไม่ได้ แต่ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ที่มีฉันทามติแล้ว กลับเพิกเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ออกมาโวยวายรักษาสิทธิของตัวเองที่โดนโกงไป นึกภาพถ้าคนแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ที่โหวตเลือกตั้งคราวที่แล้ว รู้สึกเป็นเดือดเป็นแค้นกับการโดนโกงด้วยสูตรปาร์ตี้ลิสต์ ออกมาประท้วงเต็มท้องถนน ก็จะมีคนหลายล้านคนเต็มท้องถนน เสียงของประชาชนก็จะได้รับการตอบสนองมากกว่านี้ ไพบูลย์ นิติตะวัน ที่มีคะแนนแค่ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คงไม่มีบทบาทในสภาขนาดนี้
หรือในขณะนี้ ประชาชนทั้งประเทศเหมือนถูกผู้พิพากษาประเทศนี้ เอาตีนขยี้หน้าท้าทายอยู่ตอนนี้ แต่จำนวนคนที่รู้สึกเดือดร้อนกับมาตรฐานการให้ประกันตัวที่แตกต่างกันระหว่าง กปปส กับ ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยน้อยมาก คนในประเทศนี้สามารถอยู่กับความเละเทะ เลอะเทอะ เปรอะเปื้อน ของความอยุติธรรมที่เห็นตำตาได้ อย่างไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร เพราะทุกคนที่ไม่ได้ออกมาเรียกร้องคิดว่า ไอ้ความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนของความยุติธรรมนั้น ห่างไกลจากพวกเค้า เค้าไม่ได้เดือดร้อนอะไร
เพราะฉะนั้นการแสดงออกของประชาชนที่รักความยุติธรรมตอนนี้ คือต้องการอะไรสักอย่างที่กดดันทั้งรัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการทหารและคนในสังคม ให้ตระหนักไม่เพิกเฉยต่อความเลอะเทอะของกระบวนการยุติธรรมในประเทศ
เท่าที่เห็นการออกมาชุมนุมไม่สามารถสร้างแรงกดดันได้พอ ด้วยจำนวนคนที่รักในความยุติธรรมมีน้อยไป แถมเผด็จการสืบทอดอำนาจ มีความพร้อมฝ่ายเดียวในการใช้ความรุนแรง การเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ผู้ชุมนุมเสียเปรียบในทุกประตู แถมการนัดชุมนุมอย่างเปิดเผยไม่สามารถกรองคนของรัฐที่แฝงตัวเข้ามาในกลุ่มผู้ชุมนุมได้ แต่ถึงจะมีคนจำนวนมาก การชุมนุม “กดดัน” ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรุนแรง ยิ่งคนไทยเป็นพวกวี้ดวายอ่อนไหวกับความรุนแรงของผู้ชุมนุมด้วยแล้ว การชุมนุม “กดดัน” ในประเทศไทยจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะการ “กดดัน” ย่อมหมายถึง การกระทำใดที่ทำให้รัฐไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างปกติได้ในชั่วขณะหนึ่ง จนต้องหันมาเจรจากับผู้ชุมนุม แต่ในประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศไทย การมีรัฐที่หน้าด้านไม่ฟังเสียงประชาชนและกล้าที่จะใช้ความรุนแรง การชุมนุมทั้งเพื่อส่งเสียงข้อเรียกร้อง และ กดดัน แบบเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐจึงยากที่จะสำเร็จ
เราก็ต้องหาวิธีอื่นในการ “กดดัน” โดยไม่ต้องเผชิญหน้า เพื่อลดความสูญเสีย และเพื่อปรับวิธีการในเมื่อเรามีคนที่รักความยุติธรรมน้อยกว่าจำนวนคนที่เพิกเฉย ซึ่งเป็นโจทย์ที่โคตรยากสำหรับเมืองไทย เพราะไหนจะต้องพะวงกับฝ่ายเผด็จการทหารแล้วยังต้องระวังสร้างความไม่พอใจกับฝ่ายเดียวกันเองที่ตั้งมาตราฐานคุณธรรม จริยธรรมในการกดดันเผด็จการไว้สูงลิ่ว
การใช้ภาพและคลิปทางออนไลน์ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้คนจำนวนไม่มาก แต่ถ้าคนเพิกเฉยก็ไม่สนใจได้ง่ายๆ เพราะถ้าไม่เปิดดูก็ไม่เห็น แต่ถ้ามีความสามารถก็สามารถสร้างความเสียหายแก่เผด็จการสืบทอดอำนาจได้อย่างใหญ่หลวง เช่นการใช้แฮคเกอร์ทำลายระบบรัฐ หรือในระยะยาว การสร้างสกุลเงินดิจิตอล ขึ้นมาใช้เองในหมู่ประชาชนที่ต้องการต่อต้านอำนาจรัฐ ถ้าใครจะทำขอเสนอชื่อ “กุดชุมคอยน์” เพื่อเป็นที่ระลึกว่าครั้งนึงมีชาวบ้านใช้วิธีการนี้มาแล้วในภาคอีสานในชื่อ “เบี้ยกุดชุม” หรือมาตราการการไม่จ่ายภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟ
แต่ในระยะสั้นนี้ เราต้องการการ “กดดัน” และให้เห็นประจักษ์ชัดด้วยว่า มีคนกำลัง”กดดัน” อยู่ จึงอยากเสนอการแสดงออกในที่สาธารณะแบบไม่ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ ควบคู่ไปกับการชุมนุม ด้วยการ “ละเลงเมือง”
คุณจะอยู่เฉยกับเมืองศิวิไลซ์แต่เลอะเทอะ เละเทะ เปรอะเปื้อน ไปด้วยความอยุติธรรมแบบนี้ไม่ได้ เพราะกฎหมายความยุติธรรมมันต้องใช้กับทุกคนด้วยความเสมอภาค จะอ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ เพราะมันเห็นอยู่เป็นประจำเต็มตา ถ้าคุณเพิกเฉยเพราะคิดว่ามันอยู่ไกลตัว งั้นเราจะเอาไปให้เห็นใกล้ตัว รอบๆตัวคุณ และไหนๆก็ไหนๆแล้วเรามาอยู่กับความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนมันพร้อมๆกันทั้งเมืองเลยดีกว่าครับ อยู่กับความเลอะเทอะเท่าเทียมเสมอหน้ากันทุกคน
อาจจะมีคนแย้งว่า เห้ยคนอื่นที่เค้าไม่รู้เรื่องจะทำไง ก็ไม่ทำไงละครับ ก็แค่บอกไปที่รัฐก็แล้วกันว่า เห้ยมึงหยุดใช้ความอยุติธรรมที เท่านี้บ้านเมืองก็จะกลับมาสะอาดไร้ความเลอะเทอะกันอีกครั้ง
จะใช้พ่นสี เอาสีใส่ลูกโป่งปาตอนไม่มีคนไปทั่วเมืองก็ได้ครับ ทั้งบนพื้นถนน ตึก อาคาร สถานที่ หรือจะนัดกันทางออนไลน์ว่าวันนี้ จะเขียนพ่น คำว่าอะไรดี ใครอยู่ที่ไหนก็พ่นได้ ไม่ต้องเดินทางมาชุมนุม
แต่ยังไงก็แล้วแต่ ก็ต้องใช้คนจำนวนมากๆพร้อมใจกันทำอยู่ดีถึงจะเกิดการสั่นสะเทือน
ปล. พรบ รักษาความสะอาด มีโทษเป็นค่าปรับ