วันพฤหัสบดี, มีนาคม 25, 2564

มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล อ่านโคลงสี่สุภาพในกิจกรรม #ม็อบ24มีนา สี่แยกราชประสงค์ "เรียนทูลกษัตริย์แก้ว ตรับฟัง"





ประชาไท Prachatai.com
5h ·

มุ่งหมายตามล่าล้าง ดุจมิ ใช่คน
หมายมุ่งปราบมวลชน ลูกหลาน
จบแล้วซึ่งอดทน กดขี่
ทวยราษฎร์เลิกหมอบกราบ หมดสิ้น ศรัทธา
เรียนทูลกษัตริย์แก้ว ตรับฟัง
หากยังอยากหยุดยั้ง ก่อนช้า
มิให้ทุกสิ่งพัง พินาศ ดับสูญ
พสกราษฏร์ทั่วหล้า แซ่ซ้อง ยินดี
มายด์ ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
อ่านโคลงสี่สุภาพในกิจกรรม #ม็อบ24มีนา ช่วงประมาณ 20.30 น. สี่แยกราชประสงค์
อ้างอิงจากเพจแนวรวมธรรมศาสตร์และการชุมนุม https://www.facebook.com/104134454728017/posts/262850798856381/
.....


แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration
5h ·

ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ มวลชนชาวไทยต่างถูกกดขี่โดยกษัตริย์ผู้มิได้ปฏิบัติหน้าที่ประมุขของชาติภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซ้ำยังมุ่งที่จะปราบปรามมวลประชาที่เพียงแต่ต้องการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมที่เขาเหล่านั้นพึงได้รับเพียงเท่านั้น ขณะนี้ พวกเรามวลชนหมดแล้วซึ่งความศรัทธา และความอดทนที่จะยอมถูกข่มเหงโดยผู้มีอำนาจ เราจึงลุกออกมาต่อต้านกับระบอบที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชนร่วมกัน
.
เมื่อมวลประชาไม่ยอมที่จะถูกกดหัวอีกต่อไป หากผู้กุมอำนาจยังคงไม่รับฟัง ยังพยายามจะหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น สุดท้ายแล้วพลังของมวลชนทั้งหมดจะเป็นฝ่ายชนะ ส่วนผู้มีอำนาจนั้นจะเป็นฝ่ายที่ต้องพังพินาศลงเอง เมื่อถึงเวลานั้น พสกนิกรทั่วประเทศจะยินดีปรีดาที่ได้นำพาชัยชนะมาสู่ประชาชนทั้งปวง
.
จงออกมาร่วมแสดงพลัง ต่อต้านผู้มีอำนาจที่อ้างว่าตนนั้นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นเผด็จการอันมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สั่งการ
.
ในวันนี้และนับต่อจากนี้ไม่สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของพวกพ้องเราแล้ว จะไม่มีคำว่าถอยก่อน จะมีแต่คำว่าบุกและสู้จนกว่าชีวิตจะหาไม่!
.
ก่อนที่ความชิบหายจะบังเกิดจากความไร้มนุษยธรรม จงหยุดสำเร็จความใคร่ในเผด็จการของตนด้วยการลงโทษผู้บริสุทธิ์ มิเช่นนั้นสิ่งที่ท่านอาจต้องเผชิญสิ่งความคาดหมายจนไม่สามารถรับมือได้ทัน!
____
#ม็อบ24มีนา
#เพราะประเทศนี้เป็นของราษฎร


.....

"ส่วนตัวหนูไม่ได้ถือว่าเป็นการเข้าคุกนะ มันเป็นการเปลี่ยนสถานที่ในการต่อสู้"



24 มีนาคม 2021,
บีบีซีไทย

หนึ่งวันก่อนอัยการนัดฟังคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย นักกิจกรรมการเมืองที่ใช้ชื่อว่า "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" นัดชุมนุมที่แยกราชประสงค์ โดยมี 3 ผู้ต้องหาคดีดังกล่าว เป็น "ผู้ปราศรัยหลัก" เพื่อส่งต่ออารมณ์ให้มวลชน

ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือมายด์ เป็น 1 ใน 13 ผู้ต้องหาในคดีหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ยุยงปลุกปั่นฯ ตามมาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ จากการชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ซึ่งอัยการนัดส่งสำนวนคดีในวันพรุ่งนี้ (25 พ.ค.)

แม้มีรายงานข่าวปรากฏในสื่อมวลชนบางสำนักว่าอัยการอาจเลื่อนสั่งคดี เพราะทำสำนวนไม่ทัน แต่มายด์กับเพื่อนก็ไม่อาจวางใจ และเตรียมพร้อมเสมอในการรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

"เราไม่แน่ใจว่าวันที่ 25 มี.ค. เราจะได้ประกันตัวไหม เราจึงต้องการเปิดประเด็นเพื่อส่งต่ออารมณ์ให้มวลชนกลับมาศรัทธาในการชุมนุมอีกครั้ง" ภัสราวลีเผยที่มาของการนัดชุมนุมใหญ่ในวันนี้ (24 มี.ค.)

ม.112: อัยการเลื่อนฟังคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาหมิ่นสถาบันฯ-ยุยงปลุกปั่นคดีชุมนุม 19 กันยา-สถานทูตเยอรมัน
"มายด์ ภัสราวลี" ได้รับการประกันตัว หลังถูกจับข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
มายด์ ย้ำ ประชาชนมีสิทธิ์ลงถนน ขณะปารีณาบอก แก้ไข้รัฐธรรมนูญทุกมาตราคือการปฏิวัติ
เปิดบทสนทนาของนักศึกษากลุ่ม “ไทยภักดี” กับ “ประชาชนปลดแอก” ว่าด้วยท่อน้ำเลี้ยง-เพดาน-สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ท่ามกลางเสียงวิจารณ์เรื่อง "ม็อบแผ่ว-ไม่เป็นขบวน-เกิดความรุนแรง" สิ่งที่ขบวนการเคลื่อนไหวบนท้องถนนทิ้งเอาไว้หลังครบขวบปีตามทัศนะของภัสราวลีคือการทำให้การเมืองไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และประชาชนถูกติดอาวุธทางความคิดแล้ว แต่ถึงกระนั้นเธอก็ตระหนักดีว่าข้อเรียกร้องต่าง ๆ ไม่อาจสำเร็จลงได้ในพื้นที่การชุมนุม หากคนในรัฐสภาไม่สนองตอบ

นักกิจกรรมการเมืองวัย 26 ปีชี้ให้เห็น "ข้อดี" ของการจัดการชุมนุมทั้ง 2 ระบบ ซึ่งการชุมนุมแบบไม่มีแกนนำตามแนวทางของกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า "รีเด็ม" (Restart Democracy - REDEM) เป็นการเพิ่มอำนาจให้มวลชน ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการต่อสู้จริง ๆ และดึงจิตสำนึกทุกคนในฐานะเจ้าของประเทศได้ดีมาก แต่ต้องยอมรับว่าเมื่อไม่มีการจัดการ ทุกคนเลยต้องช่วย ๆ กัน ขณะที่การชุมนุมแบบมีแกนนำ มีเวทีปราศรัย มีการจัดการ เป็นพื้นที่ที่เหมือนมีความปลอดภัย แต่ถ้าเจ้าหน้าที่จ้องจะใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจัดชุมนุมแบบไหน ความรุนแรงก็เกิดขึ้นได้ แต่การชุมนุมแบบมีเวที มีจุดเด่นตรงที่การชูประเด็นและทำให้สามารถขยายความเข้าใจและส่งเนื้อหาให้แนวร่วมได้

"ท่านเด็ดดอกไม้ทิ้งจะยิ่งบาน"

นับจากต้นปี 2564 ความเคลื่อนไหวทางการเมืองบนท้องถนนเกิดขึ้นอย่างประปราย และเคลื่อนเข้าสู่ "การชุมนุมแบบไร้แกนนำ" มายด์-ภัสราวลียังไปปรากฏตัวตามสถานที่ชุมนุมหลายแห่ง ในฐานะ "ผู้ร่วมชุมนุม" ไม่ใช่ "ผู้ปราศรัย" หรือ "ผู้จัดการชุมนุม"

ทว่าหนึ่งวันก่อนถึงวันนัดสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนีของอัยการ มายด์เป็น 1 ใน 3 แกนนำปราศรัยหลัก ร่วมกับ "ผู้ต้องหาร่วมคดี" อย่าง เบนจา อะปัญ สมาชิกกลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" และ อรรถพล บัวใหญ่ หรือ "พ่อหมอ" หรือ "ครูใหญ่" สมาชิกกลุ่ม "ราษฎรโขง ชี มูล"

"ส่วนตัวหนูไม่ได้ถือว่าเป็นการเข้าคุกนะ มันเป็นการเปลี่ยนสถานที่ในการต่อสู้ หากต้องไปอยู่ในนั้นจริง ๆ เราก็อาจเขียนอะไรออกมาเพื่อยืนยันหลักการ เพื่อให้กำลังใจคนข้างนอก แบบที่พี่อานนท์ (นำภา แกนนำราษฎร) ที่กวิ้น (พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำราษฎร) หรือรุ้ง (ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำราษฎร) ทำและสู้อย่างเต็มที่" มายด์บอก

REUTERS
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ชูสามนิ้วหลังได้รับการประกันตัวที่ศาลแขวงปทุมวันในคดีที่เธอนำมวลชนหลายพันคนเคลื่อนขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมลาออกเมื่อเดือน ต.ค. 2563

"ท่านเด็ดดอกไม้ทิ้งจะยิ่งบาน" คือประโยคที่ภัสราวลีเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง หาใช่เพียงวาทกรรมหลอกเด็ก แม้มีคนบางคนหายไป แต่เธอมั่นใจว่าจะมีคนใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาเสมอ จึงต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านั้นได้แสดงบทบาท

เตือนกระบวนการ ยธ.-รบ. อย่าทำให้ประชาชนโกรธแค้นกว่าเดิม

แม้มีหนังตัวอย่างของแกนนำ "ราษฎร" ที่ตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยคดี 112 รายอื่น ๆ ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว และต้องนอนในเรือนจำในระหว่างการต่อสู้คดี แต่ภัสราวลียืนยันว่าไม่กังวลใจเรื่องอิสรภาพของตัวเอง

เธอฝากถึงคนในกระบวนการยุติธรรมว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะเป็นจุดสำคัญ เพราะเป็นการแสดงออกให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมจริงใจกับประชาชนหรือไม่ และเชื่อว่าคำสั่งคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมัน จะส่งผลต่อจิตวิทยาของแนวร่วมผู้ชุมนุม

"กระบวนการยุติธรรมหรือรัฐบาลต้องเล็งให้ดี ถ้าผิดพลาดเพียงนิดหนึ่ง อาจทำให้ประชาชนโกรธแค้นกว่าเดิมก็ได้" ภัสราวลีกล่าว

นักกิจกรรมการเมืองหญิงรายนี้ยังวิจารณ์รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่านำมาตรา 112 มาใช้ในทางที่ผิด เพื่อ "ตีกรอบ และปิดประตูการวิพากษ์วิจารณ์ โดยให้พูดได้แต่คำสรรเสริญ

"เมื่อเราเห็นความผิดปกติ เราควรพูดได้ บอกได้ เตือนได้ แต่นี่แม้แต่ใส่ชุดไทยก็ยังทำไม่ได้ มันเกินไปมาก... พวกหนูไม่จำเป็นต้องกลัวกฎหมายตัวนี้ เพราะยิ่งบังคับใช้อย่างเด็ดขาด ยิ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตย ต้องถามว่ามาตรา 112 เป็นผลดีหรือหรือเสียต่อสถาบันฯ กันแน่ รัฐบาลอาจมองว่ากำลังปกป้อง แต่มันไม่ได้สร้างผลดีให้กับประชาชนส่วนใหญ่เลย" ภัสราวลีให้ความเห็น

"ขอให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ลูกทำ ไม่ได้ผิด"

นอกจากบทบาทนักเคลื่อนไหวการเมือง มายด์ยังมีสถานภาพนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร นั่นทำให้เธอปรึกษาทนายไว้เบื้องต้นว่าอาจต้องยุติการเป็น "เด็กวิศวะ" ไปโดยปริยายหากถูกคุมขังภายในเรือนจำ เพราะคณะวิศวะฯ ต้องทำภาคสนามและทำแล็บ ซึ่งไม่สามารถทำได้ในนั้น และคงต้องหันเหไปเรียนคณะอื่นที่พอเรียนได้แทน

แต่เหนือสิ่งอื่นใด หน้าที่สำคัญที่สุดสำหรับมายด์คงไม่พ้นการเป็นบุตรสาวคนเดียวของบ้าน "ธนกิจวิบูลย์ผล" นั่นทำให้เธอต้องพูดคุย-ทำความเข้าใจกับพ่อแม่ตั้งแต่เนิ่น ๆ

"หนูก็บอกที่บ้านตรง ๆ ว่ามีสิทธิไม่ได้ประกันนะ ถ้าติด เราไม่มั่นใจว่าเมื่อไรจะได้ออก สิ่งที่ป๊ากับแม่ต้องทำคือการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ต้องเศร้า ไม่ต้องเครียด ขอให้เชื่อมั่นว่าสิ่งที่ลูกทำ ไม่ได้ผิด ขอให้เชื่อในสิ่งที่ลูกกำลังเดินอยู่ หนูแค่เปลี่ยนที่ ไปสู้ข้างใน และขอให้ป๊ากับแม่ให้กำลังใจตัวเองให้มาก ๆ" บุตรสาววัย 26 ปีเผยบทสนทนาทางโทรศัพท์กับครอบครัวของเธอ

มายด์ยังร้องขอไม่ให้พ่อและแม่เดินทางไปให้กำลังใจเธอศาล เพราะไม่ต้องการให้เกิดภาพแบบที่ครอบครัวแกนนำ "ราษฎร" รายอื่น ๆ ประสบมา

"หนูไม่อยากให้แม่มา แล้วจู่ ๆ มีคนเอาลูกไปต่อหน้าต่อตา อยากให้แม่เข้มแข็ง ถ้าเราต่างคนต่างรู้ว่าเรากำลังทำอะไร เราก็จะผ่านมันไปได้"


THAI NEWS PIX
มายด์ขึ้นปราศรัยในการชุมนุม "แฮร์รีพอตเตอร์ เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อ 3 ส.ค. 2563

ตลอดการสนทนากับบีบีซีไทย เสียงของผู้ต้องหาหญิงที่ยังไม่รู้ชะตากรรมของตนเองแน่ชัดยังสดใส มีเสียงหัวเราะเล็ก ๆ สลับดังขึ้นมาเป็นระยะ ๆ

"มันไม่ใช่เรื่องน่าเศร้า สำหรับหนูมองว่ามันเป็นอีกเกมหนึ่งที่เราต้องต่อสู้ไป ถ้าเศร้าก็ไม่รู้จะเอาพลังมาจากไหน แต่ถ้าเข้าใจ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปเสียใจ เศร้าโศก"

"หนูเตรียมความพร้อมตัวเองตั้งแต่วันแรกที่ก้าวขาออกมาประจันหน้ากับรัฐบาลแล้ว" ภัสราวลีเฉลยความคิดในวันเริ่มต้นชีวิตนักกิจกรรมการเมือง ในขณะที่ยังไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร

เกิดอะไรขึ้นที่สถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563

ภัสราวลีเป็นหนึ่งในแกนนำที่นำมวลชนซึ่งขณะนั้นใช้ชื่อกลุ่มว่า "คณะราษฎร 2563" เดินจากบริเวณแยกสามย่านไปที่สถานทูตเยอรมนี ถ.สาทร เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563

คณะราษฎร 2563 อธิบายว่ากิจกรรมในวันนั้นเป็นการ "ยกระดับการเคลื่อนไหว" หลังจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไม่ยอมลาออกภายในเส้นตายที่กลุ่มราษฎรกำหนดไว้ในเวลา 22.00 น. ของวันที่ 24 ต.ค. ซึ่งทางกลุ่มประกาศไว้ว่าหากนายกฯ ไม่ทำตามข้อเรียกร้องนี้ รวมทั้งไม่ปล่อยแกนนำผู้ชุมนุมที่ยังถูกคุมขัง ผู้ชุมนุมจะยกระดับการเรียกร้อง "ให้ไปไกลกว่ารัฐบาล" ซึ่งก็คือการเรียกร้องรัฐบาลเยอรมนีให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการประทับ การทรงงานและการเสียภาษีของในหลวง รัชกาลที่ 10 ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี


WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" ถือป้ายเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ หลังจากเดินขบวนจากสามย่านมาถึงสถานทูตเยอรมนีเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563

นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่การเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เริ่มขึ้นช่วงกลางเดือน ก.ค. 2563 ที่สถานทูตต่างประเทศกลายมาเป็นเป้าหมายของการชุมนุมซึ่งมีข้อเรียกร้องหลัก 3 ประการ คือ 1) ให้นายกฯ ลาออก 2) เปิดสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเรียกร้องของประชาชน และ 3) ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

หลังจากผู้ชุมนุมเดินทางถึงสถานทูตเยอรมนีในช่วงค่ำ ในเวลาประมาณ 19.40 น. พวกเขาได้ส่งตัวแทน 3 คน—หนึ่งในนั้นคือภัสราวลี เข้าไปยื่นจดหมายเปิดผนึกจากราษฎรชาวไทย ถึงสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ต่อนายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ระหว่างนั้นได้มีการอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องของกลุ่มให้ผู้ชุมนุมฟังเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน

ร.10 : เยอรมนีระบุจับตาการประทับของกษัตริย์ไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะกลุ่มปกป้อง-ปฏิรูปสถาบันฯ ชุมนุมหน้าสถานทูตฯ
ม. 112: เปิดสำนวนตำรวจ ทำอะไรถึงเข้าข่าย "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ"

แถลงการณ์ระบุว่า ประชาชนชาวไทยผู้รักในประชาธิปไตยขอเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมนีตรวจสอบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และข้าราชบริพารในประเด็นต่าง ๆ เช่น การทรงใช้อำนาจอธิปไตยในแผ่นดินเยอรมนี การเสียภาษีมรดกตามกฎหมายเยอรมัน ข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของข้าราชบริพาร เป็นต้น

แถลงการณ์ลงท้ายว่า "ด้วยความเชื่อมั่นอย่างถึงที่สุดว่าประชาชนชาวเยอรมัน จะเห็นแก่สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใด ขอแสดงความนับถือในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่มีค่าเป็นคนมิใช่ผงธุลี"

การชุมนุมในวันนั้นยุติลงเมื่อเวลา 21.00 น. โดยไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

13 ผู้ต้องหาคดีสถานทูตเยอรมนี

สามวันหลังการชุมนุมที่สถานทูตเยอรมนี สน.ทุ่งมหาเมฆได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอออกหมายจับแกนนำการชุมนุม 5 คน ซึ่งรวมทั้งภัสราวลี ในข้อหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 แต่ศาลยกคำร้อง เนื่องจากเห็นว่าทั้งหมดยังเป็นนักศึกษาและไม่มีพฤติการณ์หลบหนี

อีกราวหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ผู้จัดการชุมนุมและผู้อ่านเริ่มได้รับหมายเรียกจากตำรวจให้มารับทราบข้อกล่าวหาตามมาตรา 116 และต่อมาได้มีการแจ้งข้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มแก่บางคน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสรุปว่ามีแกนนำผู้ชุมนุมและผู้อ่านแถลงการณ์ที่สถานทูตเยอรมนีถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีทั้งหมด 13 คน ในข้อหาหลักคือมาตรา 116 และมาตรา 112 ได้แก่

  • ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล - นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร แกนนำผู้ชุมนุมและตัวแทนยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงสถานทูต
  • อรรถพล บัวพัฒน์ - แกนนำกลุ่มราษฎร
  • ชลธิศ โชติสวัสดิ์ - นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย
  • เบนจา อะปัญ - กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย
  • กรกช แสงเย็นพันธ์ - ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย
  • ชนินทร์ วงษ์ศรี - ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาไทย
  • ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา - ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ
  • วัชรากร ไชยแก้ว - ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ
  • โจเซฟ (สงวนชื่อจริงและนามสกุล) - พนักงานบริษัท ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาอังกฤษ
  • อัครพล ตีบไธสง - เอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อม ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน
  • รวิศรา เอกสกุล - ศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน
  • สุธินี จ่างพิพัฒนวกิจ - นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน
  • แอน (นามสมมติ) - พนักงานบริษัท ผู้อ่านแถลงการณ์ภาษาเยอรมัน
.....
สุรพศ ทวีศักดิ์
3h ·
ต้องโง่เขลาขนาดไหนถึงจะจับคนหนุ่มสาวที่เตือนสติผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมาขังคุกคนแล้วคนเล่า #ปล่อยเพื่อนเรา