"ภูชนะ.
Voice TV
February 14 at 4:00 AM ·
ความฝันอันสูงสุดของ ‘ภูชนะ’ ก่อนถูกอุ้มฆ่า
โศกนาฏกรรมอุ้มฆ่าผู้ลี้ภัยทางการเมืองไม่เคยหายไปจากเมืองไทย เช่นเดียวกับความทรงจำของครอบครัวเหยื่อที่ไม่อาจลบเลือน
.
ในวันแห่งความรัก กึกก้อง บุปผาวัลย์ บุตรของ ‘ภูชนะ’ หรือ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ บอกว่า ความฝันอันสูงสุดของพ่อ คือ “คนเท่ากัน”
#VoiceOnline
.....
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
February 25 at 1:00 AM ·
[ ไม่ควรมีใครต้องลี้ภัยทางการเมืองหรือถูกบังคับสูญหาย ]
ในปัจจุบัน ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ (CED) และให้สัตยาบันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฎิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) แต่การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับสูญหายและการปฏิบัติในประเทศไทย มีเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง การใช้กำลังบังคับข่มขืนใจ และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง การกักขังหน่วงเหนื่ยวทำให้เสียเสรีภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถยอมความกันได้
ที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกบังคับสูญหายมักเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ผู้ที่ออกมารณรงค์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือ สหายภูชนะ, ไกรเดช ลือเลิศ หรือ สหายกาสะลอง, สุรชัย แซ่ด่าน, ทนงค์ โพธิ์อ่าน, สมชาย นีละไพจิตร, เด่น คำแหล้, วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และอีกหลายกรณี แต่ไม่เคยมีความพยายามสืบสวนหาข้อเท็จจริงและนำตัวผู้เกี่ยวข้องมาลงโทษแม้แต่น้อย แสดงให้เห็นว่าเราไม่มีกฎหมายที่เพียงพอต่อการเอาผิด ป้องกัน และคุ้มครองการบังคับสูญหาย ทั้งหมดนี้เป็นส่วนเสริมให้เกิดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด และทำให้เกิดกรณีแบบเดิมซ้ำๆ เพราะไม่มีใครเคยถูกลงโทษ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหายโดยเฉพาะ ดังนั้นการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้มีกฎหมายรับรองความผิดที่เป็นอาชญากรรมโดยรัฐ กำจัดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ สร้างมาตรการป้องกัน กระบวนการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระและคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวของผู้เสียหายอย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะมีความคิดทางการเมืองหรือความเชื่อแบบใด ก็ไม่ควรมีใครต้องลี้ภัยทางการเมืองหรือถูกบังคับสูญหาย
https://fb.watch/3GxsoXhbkP/
Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
February 25 at 1:00 AM ·
[ ไม่ควรมีใครต้องลี้ภัยทางการเมืองหรือถูกบังคับสูญหาย ]
ในปัจจุบัน ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้สูญหายโดยไม่สมัครใจ (CED) และให้สัตยาบันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฎิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) แต่การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับสูญหายและการปฏิบัติในประเทศไทย มีเพียงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง การใช้กำลังบังคับข่มขืนใจ และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง การกักขังหน่วงเหนื่ยวทำให้เสียเสรีภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาทเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถยอมความกันได้
ที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกบังคับสูญหายมักเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ผู้ที่ออกมารณรงค์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรณีของ ชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือ สหายภูชนะ, ไกรเดช ลือเลิศ หรือ สหายกาสะลอง, สุรชัย แซ่ด่าน, ทนงค์ โพธิ์อ่าน, สมชาย นีละไพจิตร, เด่น คำแหล้, วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และอีกหลายกรณี แต่ไม่เคยมีความพยายามสืบสวนหาข้อเท็จจริงและนำตัวผู้เกี่ยวข้องมาลงโทษแม้แต่น้อย แสดงให้เห็นว่าเราไม่มีกฎหมายที่เพียงพอต่อการเอาผิด ป้องกัน และคุ้มครองการบังคับสูญหาย ทั้งหมดนี้เป็นส่วนเสริมให้เกิดวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด และทำให้เกิดกรณีแบบเดิมซ้ำๆ เพราะไม่มีใครเคยถูกลงโทษ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหายโดยเฉพาะ ดังนั้นการผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้มีกฎหมายรับรองความผิดที่เป็นอาชญากรรมโดยรัฐ กำจัดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ สร้างมาตรการป้องกัน กระบวนการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระและคืนความยุติธรรมให้กับครอบครัวของผู้เสียหายอย่างแท้จริง
ไม่ว่าจะมีความคิดทางการเมืองหรือความเชื่อแบบใด ก็ไม่ควรมีใครต้องลี้ภัยทางการเมืองหรือถูกบังคับสูญหาย
https://fb.watch/3GxsoXhbkP/