วันศุกร์, มีนาคม 12, 2564

'ประชามติ' ปิดหัวปิดท้ายร่าง รธน.ใหม่ เข้าทางปลุกม็อบโค่น ฉบับ ๖๐ ที่ 'ออกแบบเพื่อพวกเรา'


ทำไปแล้วก็ทำมา ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ก็อปปี้วิถีชุดก่อน อายเป็นเหมือนกัน เมื่อวินิจฉัยว่า “รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจ จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มี อำนาจสถาปณารัฐธรรมนูญ ได้ลงประชามติเสียก่อน”

คำวินิจฉัยครั้งนี้สั้นหน่อย ย่อหน้าเดียวไม่ถึงสี่บรรทัด จึงต้องไปตีความกันต่อ ทั้งในสภาและบนท้องถนน สภากำหนดประชุมวาระสาม ๑๗ มีนานี้เรื่องตั้ง สสร.จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ก็ต้องเอาคำของศาลไปเป็นบรรทัดฐาน

ตอนนี้ว่ากันตามข้างทำเนียบและพื้นที่สาธารณะไปก่อน เมื่อเป็นประเด็นกฎหมายจึงไม่พ้น วิษณุ เครืองาม บริกรบริการคนนั้นบอก “ยังไม่เห็นคำวินิจฉัย” แต่ก็ว่าไปเป็นฉอดๆ แล้วหละ “ถ้าสภาเห็นว่าไม่เป็นไรโหวตไป” หมายถึงวาระสามนั้น

“โหวตแล้วก็อาจจะไม่ผ่านซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดให้เรื่องมันจบลงดีกว่าคาไว้” ไม่ทราบเรื่องแต่มีความเห็น “๑.อาจจะไม่มีคนมาประชุม ๒.มาแต่งดออกเสียงเพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี หรือ ๓.ลงมติไม่เห็นชอบ หรือคว่ำให้ตกไป ให้จบเรื่อง”

ก็คือสายข้างทำเนียบฯ ไม่ให้สภาเล่นต่อ แต่สายข้างถนนคนหนึ่ง ว่า “๒๕๐ ส.ว. กับ พปชร.ก็จะตีรวน อ้างว่าร่างแก้ไขเป็นโมฆะ ไม่ยอมโหวต” เหมือนที่วิษณุว่า เหมาะที่จะ “ปลุกม็อบกดดันอย่างที่พูดไว้ กดดันแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ไล่ ๒๕๐ ส.ว.”

เพราะพวกที่ตู่ตั้งมาเหล่านั้น โปเตโต้คัดง้างทุกทางอยู่แล้ว (โถ รธน.นี้เขาออกแบบมาเพื่อพวกเรา) ดังนั้นการที่ศาลฯ ให้ทำประชามติก่อนว่า “ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” จึงเปิดทางให้ฝ่ายประชาชนมีช่องทางงัดกับ ตู่ตั้ง

ถึงแม้จะต้องโหวตกันสองหน คือก่อนจะไปจัดเลือกตั้ง สสร. และหลังจาก สสร.ทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ “การลงประชามติแบบนี้จะมีพลังมหาศาล มีพลังกว่าการไปถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับการแก้ ม.๒๕๖ ตั้ง สสร.มาแก้ทั้งฉบับ”

ดัง Atukkit Sawangsuk ชี้ “แต่ยกเว้นหมวด ๑ หมวด ๒” ผ่านวาระสามไปก็ไล้ฟ์บอย ประมาณนั้น แล้วยังพวก สว.คอยตีรวน จะให้ยกเว้น ๓๘ มาตราที่มีคำว่า กษัตริย์ติดอยู่บ้างละ หรือ กวนทีน“ยังจะต้องให้ ๘๔ ส.ว.เห็นด้วยอยู่”

จึงไม่แปลกอะไรถ้าจะต้องทำประชามติปิดหัวปิดท้ายรัฐธรรมนูญใหม่ ในเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ “มาตรา 256 ในปัจจุบันบอกว่า เมื่อร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ ผ่านวาระสามแล้ว ต้องทำประชามติจากประชาชนก่อน ถึงจะประกาศใช้และตั้ง สสร.ได้”

เช่นนั้นต้องตัดตอนการก่อกวนของพวก สว.ลิ่วล้อตู่ตั้ง ด้วยการช่วยรณรงค์ให้ต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ ด้วยประชามติดังศาลฯ แนะ และที่ Pravit Rojanaphruk พูดถึง #ม็อบ11มีนา ที่แยกอโศกว่า “ตอนนี้กลายเป็นม็อบต่ำ ๑๐๐” นั้น


ไม่เพียง “พวกเขาที่เหลือก็ยังสู้ คนหนึ่งบอกผมว่าเหลือกี่คนก็จะออกมา” แท้จริงไม่ใช่เหลือ เพียงนิ่งไว้ก่อนเพื่อบ่มประเด็นที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้อง ม็อบข้างทำเนียบวานนี้ทั้งที่ประเด็นหลักอยู่ที่ #saveบางกลอย ก็ยังขึ้นป้าย “ประชาชนอยากแก้ไข รธน.”

การลงประชามติดังที่ศาล รธน.บ่ง จึงเท่ากับให้ประชาชนตัดสินว่าจะ โละ รัฐธรรมนูญฉบับที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ ร่างตามสั่ง คสช. ซ้ำการรณรงค์เพื่อประชามติ ยังดึงประเด็นที่ถูกกลั่นแกล้งด้วย อาญา ๑๑๒ขึ้นมาระดมใหม่ได้อีก


เพราะเรื่องการงัด ม.๑๑๒ มาใช้กับผู้ชุมนุมและแกนนำคณะราษฎรระลอกใหม่ ซึ่งประยุทธ์แถว่า “เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่” ตนไม่เกี่ยวนั่นถูกจับตา จับจ้องโดยสื่อนานาชาติจำนวนมาก ให้เห็นความโหดเหี้ย ม ความเกินเลยครรลองยุติธรรม ขณะนี้

ในภาวะที่ประเทศไทยในกะลา คล้ายคลึงและใกล้ชิดกับสถานการณ์ในพม่าอย่างมาก ไม่ยากที่ชุมชนนานาชาติจะผนวกการแสดงความไม่พอใจและการประณามไทยเข้าไปในกระบวนการด้วย ถ้าม็อบเกินร้อยกลับมาคึกคักอีก

(https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10165164556515551, https://www.matichon.co.th/politics/news_2619907 และ https://www.facebook.com/baitongpost/posts/3881155665299567)