วันศุกร์, มีนาคม 12, 2564

ศาลรัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ต้องให้ผ่านประชามติของประชาชนเสียก่อนว่า ต้องการรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ และร่างเสร็จแล้วต้องผ่านประชามติอีกครั้ง - จับตาดู 250 ส.ว. กับ พปชร. แม่งจะตีรวนอย่างไรในวาระ 3



Thuethan Prasobchoke
11h ·

ศาลรัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ต้องให้ผ่านประชามติของประชาชนเสียก่อนว่า ต้องการรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ และร่างเสร็จแล้วต้องผ่านประชามติอีกครั้ง
.....

Atukkit Sawangsuk
4h ·

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังถกเถียงกันนี้ อยู่ที่จะแย่งชิงการตีความในมุมไหน
แน่ละ ในเบื้องต้น มันจะมีผลคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3
แม้ฝ่ายสภาผู้แทนอาจตีความว่า
ยังไงก็ต้องทำประชามติก่อนไปเลือก สสร.มาแก้อยู่ดี
250 ส.ว. กับ พปชร.ก็จะตีรวน อ้างว่าร่างแก้ไขเป็นโมฆะ ไม่ยอมโหวต
:
ในทางการเมือง ก็ต้องดูว่าจะเป็นเงื่อนไขจะปลุกความไม่พอใจของประชาชนแค่ไหน
ที่จะนำไปสู่การ "ปลุกม็อบ" กดดัน อย่างที่พูดไว้
กดดันแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ไล่ 250 ส.ว.หรืออย่างน้อยก็โละอำนาจโหวตนายกฯ แก้บทบัญญัติเลือกตั้ง กดดันไปสู่ยุบสภา
ทำไมต้องม็อบ ก็เพราะว่าต้องอาศัย 84 ส.ว.ยอมโหวตตัดอำนาจตัวเอง มันไม่ยอมหรอก ต้องม็อบไล่
:
ขณะเดียวกันในทางหลักรัฐธรรมนูญ การที่ศาลรัฐธรรมนูญโยนเผือกร้อนไปข้างหน้า
อ้างว่าประชาชนมีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ต้องทำประชามติก่อน ว่าประชาชน "ประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่"
ความหมายของมันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า เป็นการ "ยกเลิก" รัฐธรรมนูญมีชัย
เป็นการปฏิเสธ ฉีกทิ้ง โดยประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนา
:
การลงประชามติแบบนี้จะมีพลังมหาศาล
มีพลังกว่าการไปถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ 256 ตั้ง สสร.มาแก้ทั้งฉบับ (แต่ยกเว้นหมวด 1 หมวด 2)
เพราะความหมายของมันยังเป็นแก้ไขภายใต้ข้อบังคับของรัฐธรรมนูญเดิม
:
ยิ่งถ้าเรารณรงค์ว่า มันคืออำนาจประชาชนประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญรัฐประหาร
ถ้าชนะ รัฐธรรมนูญ 60 จะมีสภาพเป็นแค่รัฐธรรมนูญชั่วคราว
รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้เมื่อไหร่ก็กดลงชักโครก
:
ในการทำประชามตินี้ ก็จะต้องช่วงชิงด้วยว่า
กลไกรัฐธรรมนูญ "ชั่วคราว" ต้องไม่สามารถขัดขวางการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
เช่น ประชาชนลงประชามติให้ทำฉบับใหม่แล้ว เมริงยังจะต้องให้ 84 ส.ว.เห็นด้วยอยู่หรือ
ยังจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมาวินิจฉัยหลังลงประชามติได้หรือ
ไหนศาลบอกเองว่า ประชาชนมีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
:
คือผมไม่ได้ให้ราคาอะไรกับกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มาถึงวาระ 3
ผ่านไปได้ มันก็เป็นปาหี่ซื้อเวลาให้ประยุทธ์กับ 250 ส.ว.
การจะลงประชามติ ให้แก้ 256 (แล้วมายกร่างโดยไม่แก้หมวด 1,2)
กับการลงประชามติ ที่มีความหมาย "โละ" รัฐธรรมนูญมีชัย
ซึ่งยังไงก็ทำในเวลาใกล้เคียงกัน แบบหลังมีความหมายกว่า
แม้กลับมานับหนึ่งใหม่ ก็มีพลังกว่า และอ้างศาลรัฐธรรมนูญได้เลยว่านี่คือการ "จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ดังนั้นจะมาห้ามแก้หมวด 1,2 ได้ไงวะ มันคือการทำของใหม่ไม่ใช่แก้ของเดิม
:
อย่างไรก็ตาม ถ้าย้อนตามที่ว่ามา
เฉพาะหน้าคือ ถ้าปลุกพลังความโกรธได้ ก็ม็อบกดดันให้แก้รายมาตราไล่ 250 ส.ว.
ระยะยาวคือ ไม่ให้แก้ 256 หรือ เอาสิวะ ทำประชามติแบบศาลบอก จี้รัฐบาลว่าต้องทำทันที แล้วรณรงค์ให้เป็นความหมายว่า "ประชาชนฉีกรัฐธรรมนูญมีชัย"
...


kovitw
@kovitw1

·8h

ทำไมทหารทำรัฐประหารแล้วฉีกรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องถามศาลรัฐธรรมนูญเลย แถมร่างรัฐธรรมนูญใหม่เองได้ด้วยอีก