วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 10, 2562

ตาสว่างแล้วตาสว่างอีก





อมตะวาจาของ จอมพลป. พิบูลสงคราม

0.
"ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้ "

นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
"คำอภิปรายของนายกรัฐมนตรีกล่าวแด่มวลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ สภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวแก่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมบทฉะเพาะกาล พุทธศักราช 2483 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2483. ใน ข่าวโฆษณาการ, ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (2483). หน้า 1460 .

1.
ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500)
https://sameskybooks.net/index.php/product/9786167667188/

งานเขียนของณัฐพล ใจจริงที่รวมอยู่ในเล่มนี้นั้น เป็นผลจากการใช้เวลาร่วมทศวรรษรวบรวม “หนังสือเก่า” เกี่ยวกับการเมืองไทยภายหลังการปฏิวัติสยาม และเป็นผลจากการคิด ค้น และเขียนขึ้นในบริบททั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเพื่อ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นับตั้งแต่ยุคต้นของรัฐบาลไทยรักไทยถึงยุคการเคลื่อนไหว “เราจะสู้เพื่อในหลวง” กระทั่งเกิดปฏิกิริยา“ตาสว่าง” ต่อมาภายหลัง จนส่งผลให้เกิดข้อสงสัยและความสนใจใคร่รู้ในเรื่องสถาบันกษัตริย์ พร้อมกับกระแสการ กลับไปหา “คณะราษฎร” อีกครั้ง

แน่นอนว่า สถาบันกษัตริย์และเครือข่ายแวดล้อมมีความสำคัญต่อสังคมการเมืองไทย แต่การอภิปรายถึงสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์และเครือข่ายในยุค “หลังคณะราษฎร” เป็นต้นมา กลับถูกครอบด้วยแนวคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติและ “ต้อง” อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป รวมทั้งยังถูกจำกัดด้วยกฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์โดยตรงกับสถาบันกษัตริย์ ล่มสลายลงปัญญาชนไทยก็ค่อยๆ เลิกให้ความสำคัญต่อประเด็นสถาบันกษัตริย์ สภาวะเช่นนี้ทำให้งานเขียนในโลกวิชาการภาษาไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่มิใช่ลักษณะอาเศียรวาทสดุดีมีอยู่น้อยชิ้นและไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก

2.
ทหารเจ้า
วาสนา นาน่วม

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2577249042333538&set=a.440635312661599&type=3&theater
ทบ.ตั้งชื่อห้อง”บวรเดช”-
“ศรีสิทธิสงคราม” ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพบก รำลึกถึง”พระยาศรีสิทธิสงคราม “ดิ่น ท่าราบ” คุณตาของ “พลเอกสุรยุทธ์” ทหารเจ้า ผู้จงรักภักดี/ ห้องที่ปรับปรุงใหม่ “นายกฯบิ๊กตู่”มาเปิด เพื่อยกย่อง ทหารเจ้า

ชื่อ ห้องใหม่ 2 ห้อง อาคารปรับปรุงใหม่ ตามไอเดีย “บิ๊กตู่”
อาคารสรรพาวุธ พิพิธภัณฑ์ ทบ. ข้างบนห้อง “บวรเดช” ส่วนข้างล่าง ห้อง “ศรีสิทธิสงคราม”

“บวรเดช”พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม “ดิ่น ท่าราบ “แกนนำกบฏบวรเดชเมื่อปี 2476 พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นพ่อของ อัมโภชน์ ท่าราบ มารดา ของ บิ๊กแอ้ด พลเอก สุรยุทธ์ จุลานท์ องคมนตรี

แต่ทว่า เหตุที่ ทบ.นำมาเป็นชื่อ ห้องประชุม ที่ปรับปรุงใหม่ ตามไอเดีย พลเอกประยุทธ์ ตอนเป็น ผบ.ทบ. นั้น ไม่ได้หมายถึง เหตุกบฎบวรเดช

แต่ เพราะ พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นนายทหารที่มีความจงรักภักดี อย่างที่สุด และไม่ได้ร่วมกับ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ฯ นั่นเอง

ฟ้าเดียวกัน