วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 10, 2562

ทหารเจ้า 🇹🇭 #กบฏบวรเดช กับการรื้อถอนอนุสาวรีย์ปราบกบฏ




ทหารเจ้า

ทบ.ตั้งชื่อห้อง”บวรเดช”-
“ศรีสิทธิสงคราม” ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพบก รำลึกถึง””พระองค์เจ้าบวรเดช-พระยาศรีสิทธิสงคราม “ดิ่น ท่าราบ” คุณตาของ “พลเอกสุรยุทธ์” ทหารเจ้า ผู้จงรักภักดี/ ห้องที่ปรับปรุงใหม่ “นายกฯบิ๊กตู่”มาเปิด เพื่อยกย่อง ทหารเจ้า

ชื่อ ห้องใหม่ 2 ห้อง ของอาคารที่ปรับปรุงใหม่ ตามไอเดีย “บิ๊กตู่”สมัยเป็น ผบ.ทบ. ที่อาคารสรรพาวุธ พิพิธภัณฑ์ ทบ. ข้างบนห้อง “บวรเดช” ส่วนข้างล่าง ห้อง “ศรีสิทธิสงคราม”

“บวรเดช” พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำกบฏบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร

และ พันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม “ดิ่น ท่าราบ “แกนนำกบฏบวรเดชเมื่อปี 2476 พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นพ่อของ อัมโภชน์ ท่าราบ มารดา ของ บิ๊กแอ้ด พลเอก สุรยุทธ์ จุลานท์ องคมนตรี

แต่ทว่า เหตุที่ทบ.นำมาเป็นชื่อ ห้องประชุม ที่ปรับปรุงใหม่ ตามไอเดีย พลเอกประยุทธ์ ตอนเป็น ผบ.ทบ. นั้น ไม่ได้หมายถึง เหตุกบฎบวรเดช

แต่ เพราะ พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นนายทหารที่มีความจงรักภักดี อย่างที่สุด และไม่ได้ร่วมกับ คณะราษฎร ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เนื่องจากยึดมั่นในคำถวายสัตย์ฯ นั่นเอง
...



🇹🇭 #กบฏบวรเดช กับการรื้อถอนอนุสาวรีย์ปราบกบฏ
.
อนุสาวรีย์มีสถานะเป็นวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น “ชื่อ” ของอนุสาวรีย์ย่อมมีนัยยะสำคัญต่อการกำหนดความหมายต่อตัวอนุสาวรีย์ ดังสะท้อนได้จากการใช้ชื่อเหตุการณ์หรือชื่อบุคคลเพื่อสื่อความหมายว่าต้องการให้รำลึกถึงเหตุการณ์หรือบุคคลเฉพาะเหล่านั้น ทว่าอนุสาวรีย์แห่งหนึ่งที่ (เคย) อยู่ตำบลหลักสี่ กลับมีชื่อเรียกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อนุสาวรีย์ทหารปราบกบฏ, อนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ, อนุสาวรีย์หลวงอำนวยสงคราม, อนุสาวรีย์หลักสี่, อนุสาวรีย์บางเขน รวมไปถึง อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
.
จากเอกสารชั้นต้นปรากฏว่า ในช่วงแรกนั้นอนุสาวรีย์นี้ได้ถูกเรียกชื่อให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ #การปราบปรามกบฏบวรเดช ใน พ.ศ.2476 โดยชื่อที่อยู่ในเอกสารเก่าแก่ที่สุดคือ “อนุสาวรีย์ทหารปราบกบฏ” หรือ “อนุสาวรีย์ปราบกบฏ” ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2476 ที่พิจารณา “พระราชบัญญํติว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อขยายและตัดถนนเชื่อมการสัญจรระหว่างพระนครกับดอนเมืองและเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ทหารปราบกบฏ พ.ศ.2476”
.
#อนุสาวรีย์ปราบกบฏ นี้ คือหลักฐานของการต่อสู้ระหว่าง #คณะกู้บ้านเมือง ที่นำโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ที่นำทหารจากหัวเมืองต่างๆ เข้ายึดพื้นที่ดอนเมืองเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออก เมื่อการเจรจาจากฝ่ายรัฐบาลล้มเหลวในการให้คณะกู้บ้านเมืองนำทหารกลับสู่ที่ตั้ง พระยาพหลฯ จึงตั้งให้หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพคุมกองกำลังปราบปรามฝ่ายกบฏที่หมายล้มล้างรัฐบาลคณะราษฎร โดยมีการปะทะกันที่บางเขน ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม จนถึง 16 ตุลาคม 2476 และฝ่ายกบฏพ่ายแพ้ จนกระทั่งพระองค์เจ้าบวรเดชต้องลี้ภัยไปอินโดจีน ส่วนฝ่ายรัฐบาลได้สูญเสียทหารและตำรวจจำนวน 17 นายจากเหตุการณ์นี้ และมีดำริสร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏขึ้นที่ทุ่งบางเขน แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2477
.
อย่างไรก็ตาม ในคืนวันที่ 28 ธันวาคม 2561 อนุสาวรีย์ปราบกบฏกลับถูกรื้อถอนและหายไปอย่างไม่คาดฝัน คล้ายกับการรื้อถอนหมุดคณะราษฎรเมื่อเดือนเมษายน 2560 อันสะท้อนถึงการจัดการความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรและประชาธิปไตย ที่มิใช่เพียงเป็นการ #รื้อสร้างความหมาย แต่ยังเป็นการ #รื้อถอนความทรงจำ เสมือนไม่เคยมีอนุสาวรีย์แห่งนี้ หรือวัตถุใดที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการสถาปนาระบอบใหม่หรือการต่อสู้เพื่อพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญมาก่อน
.
อนุสาวรีย์ปราบกบฏมีจุดเริ่มต้นจากการเสียชีวิตของทหารและตำรวจ 17 นาย และจากการสูญเสียนี้ทำให้คณะราษฎรปกปักษ์รักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้ในที่สุด อนุสาวรีย์ปราบกบฏจึงมิได้มีคุณค่าเพียงแค่ที่ใช้เป็นที่บรรจุอัฐิวีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้เพียงเท่านั้น แต่ว่ายังเป็นเครื่องเตือนใจของชาติถึงการปกป้องประชาธิปไตย ว่าระบบการปกครองที่อำนาจสูงสุดอันเป็นของประชาชนนั้นมีราคาที่สูงค่าเพียงใด
.
แม้อนุสาวรีย์ปราบกบฏจะสูญหายไปในวันนี้ แต่ไม่อาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ได้ว่า อนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นสิ่งสะท้อนถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่สิ้นสุดลง...
.
#บรรยายภาพ : การเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏเพื่อหลบแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในคืนวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 ภาพจากผู้เขียน
.
☑️ #ข้อความจากหนังสือ : ราษฎรธิปไตย : การเมือง อำนาจ และความทรงจำของ (คณะ) ราษฎร
☑️ #ผู้เขียน : ศรัญญู เทพสงเคราะห์ Sarunyou Thep
.
ในงานมหกรรมหนังสือ 2562 นี้ พบกับ "#ราษฎรธิปไตย " ได้ที่บูธมติชน T06 ที่นี่! ที่เดียว!
.
สำหรับใครที่ไปงานมหกรรมหนังสือไม่ไหว
📌 สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่นี่ http://tiny.cc/3d8p8y
.
** สงวนสิทธิ์ เนื้อหาและภาพ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
.
.
📌 มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24
☑ บูธมติชน T06
☑ ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
☑ วันที่ 2 – 13 ตุลาคม 2562
☑ เวลา 10.00 – 21.00 น.


Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน