วันศุกร์, ธันวาคม 20, 2567

"พลันเมื่อได้รับฟังข่าวการเมืองเกาหลีใต้ถึงการเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรด่วน เพื่อหักล้างการประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law) ในค่ำคืนวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ห้วงคำนึงของผู้เขียนก็ประหวัดนึกถึงประวัติศาสตร์การรัฐประหารของประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 หรือ 77 ปีก่อน"


The101.world
19 hours ago

·
"พลันเมื่อได้รับฟังข่าวการเมืองเกาหลีใต้ถึงการเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรด่วน เพื่อหักล้างการประกาศกฎอัยการศึก (Martial Law) ในค่ำคืนวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา ห้วงคำนึงของผู้เขียนก็ประหวัดนึกถึงประวัติศาสตร์การรัฐประหารของประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 หรือ 77 ปีก่อน"
.
"ครั้งนั้นถึงแม้ฝ่ายรัฐนาวาของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภายใต้การหนุนนำของนายปรีดี พนมยงค์ จะถูกล้มจนผู้นำฝ่ายบริหารต้องหลบหนีแบบกระเจิดกระเจิง แต่อย่างน้อยยังพบว่ามีการกระทำขัดขืนเชิงสัญลักษณ์จากหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัตินามว่า ‘พึ่ง ศรีจันทร์’"
.
นริศ จรัสจรรยาวงศ์ เขียนถึงชีวประวัติของ 'พึ่ง ศรีจันทร์' ประธานรัฐสภาไทยที่พยายามต่อต้านการรัฐประหาร 2490
.
อ่านได้ที่ https://www.the101.world/pueng-srichand/
.
"เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2490 ในสมัยประชุมสามัญ ส.ส.พึ่ง ศรีจันทร์ ก็ได้รับความไว้วางใจรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร"
.
"ทันทีที่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2490 การอภิปรายครั้งนั้นนับเป็นประวัติศาสตร์ที่เลื่องลือถึงทุกวันนี้ ถึงความทรหดยืดเยื้อข้ามวันข้ามคืนนาน 7 วัน"
.
"เมื่อเกิดการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ล้มล้างรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์และปรีดี พนมยงค์ เรื่องเล่าวีรกรรมความกล้าหาญของประธานรัฐสภาขณะนั้นอย่างนายพึ่ง ศรีจันทร์ ได้รับการกล่าวขานอย่างกว้างขวาง"
.
"สุพจน์ ด่านตระกูล เล่าไว้เมื่อ พ.ศ.2536 ว่า “เผอิญวันที่คณะทหาร (ชุดจอมพลผิน ชุณหะวัณ บิดาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน) ทำการรัฐประหาร เป็นวันตรงกับ วันประชุมสภาผู้แทนราษฎรเสียด้วย นายพึ่ง ศรีจันทร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรมาปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐสภาตามปกติ พอถึงเวลาเช้า 10.00 น. (สมัยนั้นสภาประชุม 10.00 น.) ก็เรียกประชุม"
.
"นายพึ่ง ศรีจันทร์ ทำหน้าที่เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมไปอย่างปกติ ไม่ยอมรับรู้ต่อสถานการณ์รัฐประหาร เพราะถือว่าการรัฐประหารนั้นคือการกบฏ (ต่อรัฐบาล) เป็นการผิดกฎหมาย"
.
ภาพประกอบ พิรุฬพร นามมูลน้อย